410 likes | 701 Views
สัญญาประกันภัย และ ส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย. โดย. นายวุฒดนัย เผือกสวัสดิ์. นิติกร กรมการประกันภัย อาจารย์ สถาบันประกันภัยไทย. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย การประกันภัย.
E N D
สัญญาประกันภัย และส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย โดย นายวุฒดนัย เผือกสวัสดิ์ นิติกร กรมการประกันภัย อาจารย์ สถาบันประกันภัยไทย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย การประกันภัย • ม.861 อันว่าสัญญาประกันภัย นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสิน ไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้นหรือในเหตุการณ์ อย่างอื่นในอนาคตดั่งระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงส่งเงิน ซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย
บุคคลผู้เกี่ยวข้องในสัญญาประกันชีวิต และหน้าที่ของบุคคลนั้นๆ “ ผู้รับประกันภัย ” ท่านหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ “ ผู้เอาประกันภัย ” ท่านหมายความว่าคู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย “ ผู้รับประโยชน์ ” ท่านหมายความว่าบุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำนวนเงินใช้ให้ @ ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลเดียวกันได้
ผู้รับประโยชน์ บุคคลภายนอก อาจเป็น บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล กรณีไม่ระบุผู้รับประโยชน์ไว้ ให้ตกแก่ทายาทโดยธรรม
สัญญาประกันวินาศภัย Contract of Indemnity สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้รับประกันภัย ตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีมีวินาศภัยตามที่ระบุไว้ในสัญญาเกิดขึ้นในอนาคต โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง คือผู้เอาประกันภัยตกลงจะชำระเบี้ยประกันภัยเป็นการตอบแทน “ วินาศภัย ” หมายถึง ความเสียหายอย่างใดๆ บรรดาซึ่งพึงประมาณเป็นเงินได้ ตาม ม. 869
ม. 877 ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนดังต่อไปนี้เมื่อมีวินาศภัยเกิดขึ้น 1. เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง 2. เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย 3. เพื่อบรรดาค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ
สัญญาประกันชีวิต (Life Insurance Contract) สัญญาที่คู่สัญญาที่เป็นฝ่ายผู้รับประกันภัยตกลง ใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ เมื่อมีเหตุอย่างอื่นในอนาคต ที่ระบุไว้ในสัญญา ขณะที่ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ จ่ายเบี้ยประกันภัยเป็นการตอบแทน ซึ่งเหตุอย่างอื่นในอนาคตที่ว่าก็คือ ความทรงชีพ หรือมรณะ ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 889
ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาประกันชีวิตกับสัญญาประกันวินาศภัย # จำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยตกลงชดใช้ให้ตามสัญญาประกันชีวิตกฎหมายจะไม่ใช้คำว่า“ ค่าสินไหมทดแทน” # ความเสียหายต่อชีวิตนั้นไม่อาจประมาณเป็นเงินได้จึงให้ชดใช้เงินจำนวนหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้แทน
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันชีวิตความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันชีวิต 1. ความคุ้มครองตามสัญญาประกันชีวิตหลัก เป็นการประกันชีวิต 2. ความคุ้มครองตามสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ เช่น สัญญาประกันอุบัติเหตุ สัญญาประกันสุขภาพ เป็นการประกันวินาศภัย
หลักการประกันภัย 1. หลักส่วนได้เสีย ( มาตรา 863 ) 2. หลักสุจริตใจอย่างยิ่งต่อกัน ( มาตรา 865 ) 3. หลักการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ตามความเสียหาย ที่แท้จริง ( มาตรา 877 ) 4. หลักการประกันภัยซ้อน ( มาตรา 870 ) 5. หลักการรับช่วงสิทธิ ( มาตรา 880 ) 6. หลักความเสียหายต่อเนื่อง ( เหตุใกล้ชิด )
หลักส่วนได้เสีย (Insurable Interest) มาตรา 863 “อันสัญญาประกันภัยนั้นถ้าผู้เอาประกันภัย มิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด” ส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย หมายถึง เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้ใดมีส่วนที่จะได้รับประโยชน์ หรือมีส่วนที่จะต้องเสียหายในเหตุการณ์นั้น ผู้นั้นย่อมมีส่วนได้เสีย สามารถเอาประกันภัยใน เหตุการณ์นั้นได้
บุคคลย่อมมีส่วนได้เสียในการเอาประกันชีวิต ชีวิตตนเอง บุพการีและผู้สืบสันดาน (บิดา มารดา กับบุตร) คู่หมั้น คู่สมรส (สามี ภรรยา รวมทั้งชายหญิงที่ใช้ชีวิตร่วมกันโดยมิชอบด้วยกฎหมายด้วย)
บุคคลย่อมมีส่วนได้เสียในการเอาประกันชีวิตบุคคลย่อมมีส่วนได้เสียในการเอาประกันชีวิต * ญาติในลำดับต่างๆซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ม. 1629 * ญาติในลำดับต่างๆ ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม ตาม ม. 1629 * ผู้มีความสัมพันธ์กันทางธุรกิจ (นายจ้าง ลูกจ้าง) * ผู้มีความสัมพันธ์กันทางธุรกิจ (นายจ้าง ลูกจ้าง) * เจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเอาประกันชีวิตลูกหนี้ได้ แต่ลูกหนี้ไม่มีส่วนได้เสียไม่สามารถเอาประกันชีวิตเจ้าหนี้ • * เจ้าหนี้มีส่วนได้เสียเอาประกันชีวิตลูกหนี้ได้แต่ลูกหนี้ • ไม่มีส่วนได้เสียไม่สามารถเอาประกันชีวิตเจ้าหนี้
ผลของการไม่มีส่วนได้เสีย “ ไม่ผูกพันคู่สัญญา” “ ผู้รับประกันภัยเรียกให้ชำระเบี้ยไม่ได้ ” “ ผู้เอาประกันภัยเรียกให้ชำระค่าสินไหมทดแทนไม่ได้ ” “ ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยแล้ว เรียกคืนไม่ได้ ”
ผลของการไม่มีส่วนได้เสีย ม. 407 บุคคลใด ได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจ เหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มี ความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้น หามีสิทธิ จะได้รับคืนทรัพย์ไม่
เวลาที่ต้องมีส่วนได้เสียเวลาที่ต้องมีส่วนได้เสีย * ขณะตกลงทำสัญญาประกันภัย * ภายหลังทำสัญญาประกันภัย * ส่วนได้เสียสิ้นสุดลงภายหลังจากการทำสัญญาแล้ว
ลักษณะของสัญญาประกันภัย 1.เป็นสัญญาต่างตอบแทน 2. เป็นสัญญาเสี่ยงโชค 3. เป็นสัญญาที่ต้องการความซื่อสัตย์อย่างยิ่ง 4. เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ (แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องคดี) 5. เป็นสัญญาที่ทางราชการควบคุม
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทน สัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน หน้าที่ของฝ่ายผู้เอาประกันภัย คือ การส่งเบี้ยประกันภัย หน้าที่ของฝ่ายผู้รับประกันภัย คือ ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาเสี่ยงโชค สัญญาซึ่งการชำระหนี้ตามสัญญานั้นจะกระทำกันต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนเกิดขึ้น ฝ่ายผู้เอาประกันภัย เสี่ยงโชคชำระเบี้ยประกันภัย ถ้าเกิดภัยขึ้น ก็จะได้ค่าสินไหมทดแทน ฝ่ายผู้รับประกันภัย เสี่ยงโชคที่จะต้องเสียค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันภัยอยู่บนพื้นฐานของหลักความสุจริตอย่างยิ่ง (Principle of utmost good faith) สัญญาอยู่บนพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกัน กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ เปิดเผยข้อความจริงอันเป็นสาระสำคัญ
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ (แต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือในการฟ้องคดี) สัญญาประกันภัยมิได้กำหนดแบบของสัญญาไว้ สัญญาเกิดขึ้นทันที เมื่อคู่สัญญาเสนอและสนองต้องตรงกัน ไม่ต้องรอออกกรมธรรม์ @ ในกรณีที่กฎหมายกำหนดแบบของนิติกรรมไว้ หากคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตาม สัญญาดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะ
การฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัย ผู้ฟ้องร้องจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มาตรา 867 อันสัญญาประกันภัยนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
สัญญาประกันชีวิต เป็นสัญญาที่ทางราชการควบคุม พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 29 วรรคแรก กรมธรรม์ประกันภัยที่บริษัทออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย ต้องเป็นไปตามแบบและข้อความที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ
กรมธรรม์ประกันภัย มาตรา 867 วรรคสอง และวรรคสาม ให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญานั้นแก่ผู้เอาประกันภัยฉบับหนึ่ง กรมธรรม์ประกันภัย ต้องลงลายมือชื่อของ กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท และมีรายการดังต่อไปนี้
รายการที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัย - วัตถุที่เอาประกันภัย - ภัยใดซึ่งผู้รับประกันภัยรับเสี่ยง - จำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัย - จำนวนเบี้ยประกันภัย และวิธีส่งเบี้ยประกันภัย
รายการที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัยรายการที่ปรากฏในกรมธรรม์ประกันภัย - ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับประกันภัย - ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย - ชื่อของผู้รับประโยชน์ ถ้าจะพึงมี - วันทำสัญญาประกันภัย(วันที่สัญญาเกิด)
เงื่อนไขและเอกสิทธิของกรมธรรม์ประกันภัย เงื่อนไขว่าด้วยสัญญาประกันภัย “ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่ที่จะต้องแถลงข้อเท็จจริงที่ปรากฏในใบคำขอเอาประกันภัยใบแถลงสุขภาพหรือรายงานการตรวจสุขภาพของแพทย์ตามความเป็นจริงมิฉะนั้นอาจมีผลทำให้สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 865” ผู้รับประกันภัยบอกล้างสัญญาโดยต้องคืนค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือทายาท
เวลาที่ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่เปิดเผยข้อเท็จจริง 1. ขณะเสนอขอเอาประกันภัย 2. การขอต่ออายุการประกันภัย
ข้อเท็จจริงที่ต้องแถลงตามมาตรา 865 @ ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัย เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น @ ข้อเท็จจริงที่จะจูงใจให้ผู้รับประกันภัย บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา
กรณีไม่สุจริตทั้งสองฝ่าย ถ้าในขณะทำสัญญา ผู้เอาประกันภัยแถลงเท็จ แต่ผู้รับประกันภัยรู้ว่าคำแถลงนั้นเป็นเท็จ หรือควรได้รู้หากใช้ความระมัดระวังตามสมควร สัญญาประกันชีวิตนั้นสมบูรณ์ผูกพันคู่สัญญา
การไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย ระยะเวลาตามกฎหมาย ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้สิทธิบอกล้างภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ หรือถ้ามิได้ใช้สิทธิภายใน5 ปี นับแต่วันทำสัญญา สิทธิที่จะบอกล้างสัญญาย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป
การไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัยการไม่โต้แย้งหรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย ระยะเวลาตามสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้สิทธิบอกล้างภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้ อย่างไรก็ตามไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา มิฉะนั้น ผู้รับประกันภัยก็หมดสิทธิที่จะบอกล้างได้
การกระทำอัตวินิบาตกรรม ภายใน 1 ปี(กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับมาตราฐาน) ให้ผู้รับประกันภัยคืนเบี้ยประกันภัย ที่ได้รับชำระมาแล้วทั้งหมด กรณีที่ถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตาย ผู้รับประกันภัยต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ ให้กับทายาทโดยธรรม
การแถลงอายุคลาดเคลื่อนการแถลงอายุคลาดเคลื่อน • ต่ำกว่าจริง ลดจำนวนเงินที่จะต้องพึ่งชดใช้ลงตามส่วน • สูงกว่าจริง คืนเบี้ยประกันภัยส่วนที่เกินให้ • 3. ถ้าอายุที่แท้จริงอยู่นอกจำกัดอัตราตามทางค้าปกติของผู้รับประกันภัย สัญญาตกเป็นโมฆียะ
การบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตการบอกเลิกสัญญาประกันชีวิต มาตรา 894 ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะบอกเลิกสัญญา ประกันภัยเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ด้วยการงดไม่ส่งเบี้ยประกันภัยต่อไป
Thank you for your attention โทร.02-547-5002