1 / 55

การได้ยิน

เสียงและ . การได้ยิน . . ธรรมชาติของเสียง.

ronni
Download Presentation

การได้ยิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เสียงและ การได้ยิน

  2. ธรรมชาติของเสียง เมื่อเคาะส้อมเสียงจะได้ยินเสียงสูงต่ำต่างๆกันขึ้นอยู่กับ ส้อมเสียงนั้นๆว่ามีความถี่เท่าไร ถ้าจับส้อมเสียงจะรู้สึกได้ว่าส้อมเสียงสั่น หรือ หลังจากเคาะส้อมเสียงแล้วเอาส้อมเสียงจุ่มลงไปในน้ำจะเห็นน้ำกระเพื่อมกระจาย เป็นคลื่นออกไป นั่นแสดงว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ซึ่งการสั่นสะเทือนทำให้ตัวกลาง เกิดการสั่นแล้วถ่ายโอนพลังงานให้แก่อนุภาคของตัวกลางถัดไป เสียงและการได้ยิน

  3. เสียง เกิดจากการสั่นของวัตถุ พลังงานจากการสั่นจะถูกถ่ายโอนให้กับโมเลกุลของตัวกลาง ทำให้โมเลกุลของตัวกลางสั่น แล้วถ่ายโอนพลังงานที่ได้รับให้แก่โมเลกุลถัดไป โดยการสั่นของโมเลกุลตัวกลางจะสั่นในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง เสียงจึงเป็นคลื่นความยาว เสียงและการได้ยิน

  4. แหล่งกำเนิดเสียง 1. เกิดจากการสั่นของสายหรือแท่ง เช่น ไวโอลีน ส้อมเสียง ขิม ฯลฯ 2. เกิดจากการสั่นของผิว เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ ลำโพง ฯลฯ 3. เกิดจากการสั่นของลำอากาศ เช่น ขลุ่ย ปี่ แคน นกหวีด ฯลฯ เสียงและการได้ยิน

  5. ลักษณะของคลื่นเสียง คลื่นเสียงสามารถเขียนได้ 2 ลักษณะคือ1. คลื่นการกระจัดพิจารณาจากการเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลาง( คลื่นการกระจัดจะพิจารณาเรื่องการสะท้อน การหักเห)

  6. 2. คลื่นความดันพิจารณาจากความดันของตัวกลาง ซึ่งประกอบด้วย1) คลื่นอัดคือส่วนที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงจะมีความดันสูงกว่าความดันปกติ2) คลื่นขยายคือส่วนที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงและ มีความดันต่ำ

  7. คลื่นความดันจะพิจารณาเรื่องพลังงานของเสียง และบริเวณที่ความดันต่างไปจากความดันปกติเราเรียกความดันนั้นว่าความดันเกจ (Pressure Gage)ความดังของเสียงจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดคลื่นเสียงที่มีแอมพลิจูดสูงจะมีความดังมากกว่าคลื่นเสียงที่มีแอมพลิจูดต่ำคลื่นความดันและคลื่นการกระจัดจะมีเฟสต่างกัน 90 องศา

  8. การเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงในอากาศการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงในอากาศ เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเช่น การสั่นของส้อมเสียง พลังงานของการสั่นจะถ่ายโอนพลังงานให้กับตัวกลางที่สัมผัสกับแหล่งกำเนิด ทำให้อนุภาคตัวกลางมีการสั่น และอนุภาคนี้จะถ่ายโอนพลังงานให้กับอนุภาคถัดไปเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง เกิดคลื่นเสียงเคลื่อนที่จาก แหล่งกำเนิดเสียง ไปยังผู้ฟัง

  9. การเคลื่อนที่ของตัวกลางเป็นการเคลื่อนที่แบบสั่นดังนั้นเมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ ผ่านไปแล้วอนุภาคตัวกลางจะอยู่ที่เดิม และแนวการถ่ายโอนพลังงานการสั่นของโมเลกุลจะอยู่ในแนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่นเสียงดังนั้นจึงจัดได้ว่าคลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาว

  10. อัตราเร็วของคลื่นเสียง เนื่องจากเสียงเป็นคลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ดังนั้น อัตราเร็วของเสียงจึงขึ้นอยู่กับสมบัติต่างๆตัวกลางด้วย เช่นความหนาแน่น ความยืดหยุ่น และอุณหภูมิ เป็นต้น การหาอัตราเร็วของเสียงหาได้จากสมการ เสียงและการได้ยิน

  11. ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วของเสียงกับอุณหภูมิของอากาศ จากการทดลองพบว่า เสียงจะมีอัตราเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อเคลื่อนที่ใน ตัวกลางที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ดังสมการ เมื่อ = อัตราเร็วของเสียงในอากาศที่อุณหภูมิ t ใดๆ (m/s) t = อุณหภูมิของอากาศ (°C) เสียงและการได้ยิน

  12. สมบัติของคลื่นเสียง สมบัติการสะท้อนของเสียง เหมือนกับกรณีของคลื่นทั่วไป แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้ 1. คลื่นเสียงที่เคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย ไปสู่ตัวกลางทีมีความหนาแน่นมาก เฟสจะเปลี่ยน 180˚ 2. คลื่นเสียงที่เคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก ไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย คลื่นสะท้อนจะมีเฟสเหมือนเดิม เสียงและการได้ยิน

  13. เสียงก้อง คือ เสียงที่ออกจากแหล่งกำเนิดแล้วสะท้อนกลับมา โดยใช้เวลาในการเดินทางมาถึงหูผู้ฟังมากกว่าเวลาที่เสียงเดินทางมาถึงหูผู้ฟังโดยตรง เวลาก้องเสียง คือ เวลาที่นับจากขณะเสียงมีพลังงานมากที่สุด จนกระทั่งเสียงมีพลังงานลดลงถึงค่าหนึ่ง (ลดลง 60 dB) เสียงและการได้ยิน

  14. สมบัติการหักเหของเสียง เกิดขึ้นเมื่อเสียงเดินทางผ่านตัวกลางที่เปลี่ยนไป และยังขึ้นกับอุณหภูมิด้วย โดยเป็นไปตามกฎของสเนลล์ ดังนี้ เสียงและการได้ยิน

  15. ภาพการเกิดการหักเหของเสียงภาพการเกิดการหักเหของเสียง  เสียงและการได้ยิน

  16. สมบัติการเลี้ยวเบนของคลื่นเสียง การเลี้ยวเบนของเสียงที่มักพบในชีวิต ประจำวัน ได้แก่ การได้ยินเสียงจากแหล่งกำเนิด ที่อยู่คนละด้านของกำแพงหรือคนละด้านของ มุมตึก หรือเสียงที่ผ่านมาทางช่องประตูหน้าต่าง โดยที่ผู้ฟังมองไม่เห็นแหล่งกำเนิดเสียง เสียงและการได้ยิน

  17. สมบัติการแทรกสอดของเสียง เป็นเหมือนกับกรณีคลื่นทั่วไป โดยที่แหล่งกำเนิดคลื่นอาพันธ์คือลำโพงสองตัวที่ให้กำเนิดเสียงที่มีความถี่เท่ากัน โดยตำแหน่งที่คลื่นเสริมกัน(ปฏิบัพ)เราจะได้ยินเสียงดัง ส่วนตำแหน่งที่คลื่นหักล้าง(บัพ) เสียงจะเบาให้Pเป็นจุดบนแนวปฏิบัพ และ Q เป็นจุดบนแนวบัพของการแทรกสอด จะได้ความสัมพันธ์ ดังนี้ เสียงและการได้ยิน

  18. กำลังเสียง คือ อัตราการถ่ายโอนพลังงานเสียงของแหล่งกำเนิด หรือปริมาณพลังงานเสียงที่ส่งออกจากแหล่งกำเนิดในหนึ่งหน่วยเวลา มีหน่วยเป็น จูลต่อวินาที (J/s) หรือ วัตต์ (W) เสียงและการได้ยิน

  19. ความเข้มเสียงคือ กำลังเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงส่งออกไปต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ของหน้าคลื่นทรงกลมความเข้มของเสียงที่ตำแหน่งต่างๆ จากแหล่งกำเนิดเสียง หาได้จากสมการ โดยที่ I = ความเข้มเสียงที่ตำแหน่งต่างๆ จากแหล่งกำเนิดเสียง(W/) P = กำลังเสียงของแหล่งกำเนิด (W) R = ระยะห่างของตำแหน่งที่ต้องการหาความเข้มเสียงจาก แหล่งกำเนิดเสียง(m) เสียงและการได้ยิน

  20. ระดับเสียง คือปริมาณที่ใช้บอกความดังของเสียง โดยเปรียบเทียบความเข้มเสียงที่ต้องการวัดกับความเข้มเสียงที่ค่อยที่สุดที่มนุษย์ได้ยิน เขียนได้ดังสมการ โดยที่ β = ระดับเสียง (dB) I = ความเข้มเสียงที่ต้องการวัด (W/) = ความเข้มเสียงต่ำสุดที่มนุษย์ได้ยิน =W/ เสียงและการได้ยิน

  21. ระดับความเข้มเสียงในชีวิตประจำวันระดับความเข้มเสียงในชีวิตประจำวัน

  22. ระดับสูงต่ำของเสียงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ คลื่นใต้เสียง หมายถึง เสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 20 Hz คลื่นเสียง หมายถึง เสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20ถึง20,000 Hz คลื่นเหนือเสียง หมายถึง เสียงที่มีความถี่สูงกว่า 20,000 Hz เสียงและการได้ยิน

  23. ระดับสูงต่ำของเสียง (pitch) หมายถึง เสียงทุ้ม หรือเสียงแหลม ขึ้นอยู่กับความถี่ของแหล่งกำเนิดเสียง 1)เสียงทุ้ม หมายถึง เสียงที่มีความถี่น้อย (ระดับเสียงต่ำ) 2)เสียงแหลม หมายถึง เสียงที่มีความถี่มาก (ระดับเสียงสูง) เสียงและการได้ยิน

  24. การแบ่งระดับสูงต่ำของเสียงดนตรีในทางวิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น C, D, E, F, G, A, B, C’, D’, E’, F’, G’, A’, B’, C’’, E’’,… โดยกำหนดให้เสียงต่างๆมีความถี่ดังตารางต่อไปนี้ เสียงและการได้ยิน

  25. บีสต์ (Beats) เป็นปรากฏการณ์การแทรกสอดของคลื่นเสียง 2 ชุดที่มีความถี่ต่างกันเล็กน้อยเคลื่อนที่มาพบกันทำให้เกิดการรวมตัวขอคลื่นเป็นคลื่นลัพธ์ ซึ่งมีแอมพลิจูดไม่คงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บริเวณใดมีแอมพลิจูดมากเสียงจะดัง แต่บริเวณใดมีแอมพลิจูดน้อยเสียงจะค่อย จึงมีผลให้เกิดเสียงดังและเสียงค่อยสลับกันไป เสียงและการได้ยิน

  26. การคำนวณหาความถี่บีสต์และความถี่ที่ผู้สังเกตได้ยินเสียงการคำนวณหาความถี่บีสต์และความถี่ที่ผู้สังเกตได้ยินเสียง ความถี่ของเสียงที่ผู้สังเกตได้ยิน = = หาความถี่บีสต์ได้จากสูตร คือ เสียงและการได้ยิน

  27. คลื่นนิ่ง (Standing wave) คลื่นนิ่งของเสียงเกิดจากคลื่นสองคลื่น ซึ่งมีความถี่ ความยาวคลื่นและแอมพลิจูดเท่ากัน เคลื่อนที่สวนทางกันในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยปกติมักจะเกิดจากเสียงจากลำโพงสะท้อนผนังหรือสิ่งกีดขวางทำให้เฟสเปลี่ยนไป 180° และมารวมกับคลื่นเดิมกลายเป็นคลื่นนิ่ง เสียงและการได้ยิน

  28. คลื่นนิ่งของเสียง เกิดจากคลื่นเสียง 2 ชุดที่มีแอมพลิจูด,ความถี่ และ ความเร็วเท่ากัน ซึ่งมีเฟสตรงกันหรือต่างกันคงตัว เคลื่อนที่สวนกันในตัวกลางเดียวกัน คลื่นรวมที่ได้จะเป็นคลื่นนิ่ง ความถี่ธรรมชาติ คือ ความถี่ในการสั่นหรือแกว่งของวัตถุอย่างอิสระเป็นความถี่เฉพาะตัวของวัตถุ เสียงและการได้ยิน

  29. ความถี่ธรรมชาติของการสั่นของคลื่นนิ่งในเส้นเชือกความถี่ธรรมชาติของการสั่นของคลื่นนิ่งในเส้นเชือก กรณีปลายเชือกตรึงแน่นทั้งสองข้าง สามารถคำนวณหาความถี่ธรรมชาติของเชือกเมื่อปลายเชือกตรึงแน่นทั้งสองข้าง ได้จากสูตร โดยที่ =ความถี่ธรรมชาติ (Hz) n = 1,2,3,… L = ความยาวของเชือก(m) T = แรงตึงเชือก(N) μ = มวลของเชือกต่อหนึ่งหน่วยความยาว (kg/m) เมื่อ λ= เสียงและการได้ยิน

  30. 2) กรณีปลายเชือกตรึงแน่น อีกปลายหนึ่งอิสระ สามารถคำนวณหาความถี่ธรรมชาติของเชือก เมื่อปลายเชือกหนึ่งตรึงแน่น อีกปลายหนึ่งอิสระ ได้จากสูตร เมื่อ λ= เสียงและการได้ยิน

  31. ความถี่ธรรมชาติของลูกตุ้มนาฬิกา สามารถคำนวณได้จากสูตร โดยที่ f = ความถี่ธรรมชาติ (Hz) g = ความเร่งโน้มถ่วงของโลก =9.8 m/ l = ความยาวของเชือก(m) เสียงและการได้ยิน

  32. การสั่นพ้องหรือการกำทอน (resonance) คือการที่แรงมากระทำให้วัตถุสั่นหรือแกว่ง โดยความถี่ของแรงที่ทำให้วัตถุสั่นหรือแกว่ง เท่ากับความถี่ธรรมชาติของวัตถุนั้น จึงทำให้วัตถุนั้นเกิดการสั่นหรือแกว่งรุนแรงกว่าปกติ เสียงและการได้ยิน

  33. การสั่นพ้องหรือการกำทอน (resonance) เนื่องจากเสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดและการเคลื่อนที่ของเสียงเป็นการเคลื่อนที่แบบคลื่น ขณะที่เสียงเกิดทางผ่านตัวกลาง อนุภาคตัวกลางจะสั่นด้วยความถี่เดียวกับความถี่ของแหล่งกำเนิด ถ้าเราปรับความถี่เสียงให้มีค่าเท่ากับความถี่ธรรมชาติของอนุภาคของอากาศภายในหลอดเรโซแนนซ์ อนุภาคก็จะสั่นแรงที่สุดและทำให้เกิดเสียงออกมาจากปากหลอดเรโซแนนซ์ดังที่สุด เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การสั่นพ้องของเสียง (เดิมเรียกว่ากำทอน อภินาท เรโซแนนซ์ ) เสียงและการได้ยิน

  34. การเกิดการสั่นพ้องของเสียงในหลอดที่มีความยาวคงที่ 1. ความถี่มูลฐาน (fundamental) คือ ความถี่ต่ำสุดของคลื่นนิ่งในหลอด ซึ่งเป็นคลื่นที่มีความยาวมากที่สุดทำให้เกิดการสั่นพ้องภายในหลอดได้ 2. โอเวอร์โทน (Overtone)คือ ความถี่ของคลื่นนิ่งที่ถัดจากความถี่มูลฐานแล้วทำให้เกิดการสั่นพ้องของเสียงในหลอดนั้นๆได้ มีค่าเป็นขั้นๆ 3.ฮาร์โมนิค(Harmonic) คือ ตัวเลขที่บอกว่าความถี่นั้นเป็นกี่เท่าของความถี่มูลฐาน เสียงและการได้ยิน

  35. การเกิดการสั่นพ้องของเสียงในหลอดที่มีความยาวคงที่ ถ้าเราส่งคลื่นเสียงจากลำโพงเข้าไปในปากหลอด คลื่นเสียงจะสะท้อนที่ปากหลอดทั้งสองกลับไปกลับมาแล้วเกิดการแทรกสอดกัน ทำให้เกิดคลื่นนิ่ง และถ้าที่ปากหลอด เป็นตำแหน่งของปฏิบัพพอดี เราจะได้ยินเสียงออกมาจากหลอดดังที่สุด ซึ่งความถี่ของการสั่นพ้องมีได้หลายค่า ดังนี้ เสียงและการได้ยิน

  36. การสั่นพ้องของเสียง กรณีท่อปลายปิด สามารถคำนวณหาความถี่ธรรมชาติของคลื่นนิ่งในท่อปลายปิดได้จากสูตร เสียงและการได้ยิน

  37. 2) กรณีท่อปลายเปิด สามารถคำนวณหาความถี่ธรรมชาติของคลื่นนิ่งในท่อปลายเปิดได้จากสูตร โดยที่ f = ความถี่ธรรมชาติ (Hz) n = 1,2,3,… v = ความเร็วของเสียงในตัวกลาง (m/s) L = ความยาวของท่อ (m) เสียงและการได้ยิน

  38. ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้ฟังได้ยินเสียงที่มีความถี่เปลี่ยนไปจากความถี่ของแหล่งกำเนิดเสียงเดิม เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดเสียง (โดยที่การเคลื่อนที่นั้นจะต้องน้องกว่าความเร็วของเสียง) เสียงและการได้ยิน

  39. ภาพการเกิดปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ เสียงและการได้ยิน

  40. ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์เกิดขึ้นได้ เมื่อแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วน้อยกว่าความเร็วของเสียงหรือผู้ฟังเคลื่อนที่ หรือเคลื่อนที่ทั้งผู้ฟังและแหล่งกำเนิดเสียง เช่น ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เข้าหาผู้ฟัง ความยาวคลื่นปรากฏจะลดลง เสียงจะมีความถี่สูงขึ้นถ้าผู้ฟังเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดเสียง ความเร็วปรากฏของเสียงเพิ่มขึ้น เสียงจะมีความถี่สูงขึ้น เสียงและการได้ยิน

  41. ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ สามารถคำนวณหาความถี่เสียงที่ผู้ฟังได้ยิน ได้จากสูตร โดยที่ = ความถี่เสียงที่ผู้ฟังได้ยิน (Hz) = ความถี่เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียง (Hz) v = อัตราเร็วของเสียง (m/s) = อัตราเร็วของผู้ฟัง (m/s) = อัตราเร็วของแหล่งกำเนิดเสียง (m/s) เมื่อ เสียงและการได้ยิน

  42. การกำหนดเครื่องหมาย กรณีที่ผู้ฟังเคลื่อนที่ ถ้าผู้ฟังเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิด แล้ว เป็น บวก ถ้าผู้ฟังเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิด แล้ว เป็น ลบ กรณีแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ ถ้าแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ออกจากผู้ฟัง แล้ว เป็น บวก ถ้าแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่เข้าหาผู้ฟัง แล้ว เป็น ลบ เสียงและการได้ยิน

  43. คลื่นกระแทก (Shock wave) คือ ปรากฏการณ์ที่หน้าคลื่นเคลื่อนที่มาเสริมกัน มีลักษณะเรียงซ้อนกันเป็นรูปตัว V เกิดเนื่องจากแหล่งกำเนิดเคลื่อนที่ด้วยอัตราที่มากกว่าอัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง ( เสียงและการได้ยิน

  44. คลื่นกระแทก เป็นปรากฏการณ์ที่แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เร็วกว่าคลื่นเสียง เช่น เครื่องบินความเร็วสูง ทำให้ความดันอากาศบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็ว เป็นผลให้เกิดเสียงดังคล้ายระเบิดที่เรียกว่า โซนิคบูม(Sonic Boom) เสียงและการได้ยิน

  45. เลขมัค(Mach numder)คือ ตัวเลขที่บอกอัตราส่วนระหว่างอัตราเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่นต่ออัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง M = เลขมัค = อัตราเร็วของแหล่งกำเนิดคลื่น (m/s) v = อัตราเร็วของคลื่นในตัวกลาง (m/s) เสียงและการได้ยิน

  46. กลไกการได้ยินเสียง การได้ยินเกิดจากเสียงเดินทางจากแหล่งกำเนิดเสียงถึงหูผู้ฟัง โดยความถี่ของเสียงอยู่ในช่วงความถี่ 20 – 20000 Hz เสียงที่มีความถี่สูงกว่า20000 Hz เราไม่ได้ยิน เรียกว่าเสียงอุลตร้าโซนิก หรือเสียงที่มีความถี่น้อยกว่า 20 Hz เราไม่ได้ยินเรียกว่าเสียงอินฟราโซนิก ความดังของเสียงจะดังมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแอมพลิจูด(ความกว้างของคลื่น)ของคลื่นความดัน เสียงและการได้ยิน

  47. ส่วนประกอบต่างๆของหู โดยปกติหูคนเราไวต่อการรับรู้เสียงที่มีความถี่สูงมากกว่าเสียงที่มีความถี่ต่ำ เมื่อ เสียงนั้นมีระดับความเข้มเสียงเท่ากัน นอกจากนี้ความไวต่อการรับรู้เสียงของคนเรายังขึ้นอยู่กับอายุโดยพบว่าเด็กมีความรู้สึกไว  หูคนเราประกอบด้วย 3 ส่วนคือ1. หูส่วนนอก 2. หูส่วนกลาง 3. หูส่วนใน เสียงและการได้ยิน

  48. หน้าที่และการทำงานของหูหน้าที่และการทำงานของหู หูส่วนนอก รับคลื่นเสียง ส่งต่อไปยังหูส่วนกลางซึ่งประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียงไปยังหูส่วนใน การรับรู้เกิดขึ้นที่หูส่วนในซึ่งมีท่อกลวงเป็นก้นหอยที่เรียกว่าคลอเคลียภายในท่อนี้มีเซลล์ขนจำนวนมากคอยจับการสั่นของคลื่นเสียงพร้อมทั้งส่งสัญญาณไปยังสมอง สมองจะทำหน้าที่แปลสัญญาณที่ได้รับ ระดับเสียงจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความถี่ ความถี่สูง เสียงจะแหลมความถี่ต่ำเสียงจะทุ้ม เสียงและการได้ยิน

  49. ประโยชน์ของเสียง  1. เสียงด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรม วิศวกรใช้คลื่นเหนือเสียงในการตรวจสอบรอยร้าวหรือรอยตำหนิในโลหะ แก้วหรือ เซรามิก โดยการส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่ในช่วง 500 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 15เมกะเฮิรตซ์ ผ่านเข้าไปในชิ้นงาน ที่ต้องการตรวจสอบ แล้ววิเคราะห์ลักษณะของคลื่นสะท้อน หรือวิเคราะห์ลักษณะคลื่นที่รบกวนในคลื่นที่ผ่านออกไป วิธีนี้นอกจากจะใช้ตรวจสอบชิ้นงานประเภทโลหะหล่อ หรือเซรามิก เสียงและการได้ยิน

More Related