1 / 17

การพัฒนาคุณภาพการ

บริหารจัดการภาครัฐ ปี 2551. การพัฒนาคุณภาพการ. Public Sector Management. Quality Award ( PMQA ). ความเป็นมา.

roman
Download Presentation

การพัฒนาคุณภาพการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บริหารจัดการภาครัฐ ปี 2551 การพัฒนาคุณภาพการ Public Sector Management Quality Award (PMQA)

  2. ความเป็นมา • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548 ได้เห็นชอบให้นำการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐมาใช้ ตามข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อเป็นเครื่องมือผลักดันให้การพัฒนาระบบราชการมีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการทำงานไปสู่ระดับมาตรฐานสากล

  3. ความหมาย • เป็นเครื่องมือในการประเมินองค์กรด้วยตนเอง (Self Assessment) • ทบทวนสิ่งที่องค์กรดำเนินการอยู่ (ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล) • เปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ • ได้ข้อมูล จุดแข็ง และโอกาสปรับปรุงองค์กร • ตรวจพบว่าเรื่องใดยังไม่อยู่ในระดับที่พอใจเมื่อเทียบกับเกณฑ์ • ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงองค์กร • ต้องประเมินจากข้อมูลที่มีอยู่จริง ไม่ใช่จากการคาดเดา หรือลางสังหรณ์ • สามารถประเมินองค์กรได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ทำให้เกิดการปรับปรุงตลอดเวลา

  4. แนวคิดหลักของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐแนวคิดหลักของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ • ก.พ.ร.ต้องการที่จะเห็นสำนักงานเกษตร ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นให้การนำองค์กรเป็นไปอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งเสริมให้ข้าราชการพัฒนาตนเอง มีความคิดริเริ่มและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศอย่างแท้จริง และทำงานโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นสำคัญ

  5. เป้าหมายการพัฒนาปี 2551 ไม่เน้นความเป็นเลิศ แต่เน้นการตื่นตัว กระตุ้นให้รู้ เข้าใจและยอมรับ หรือเห็นด้วยPMQA MODEL ว่าเจ้าหน้าที่เรา ต้องปรับเปลี่ยนอย่างไร ภายใต้ปัจจัยภายนอก ที่บีบคั้นอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อไปสู่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

  6. การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐแบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ลักษณะสำคัญขององค์กร เป็นการอธิบายภาพรวมของสำนักงานเกษตร สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานกับผู้รับบริการ ส่วนราชการ และเกษตรกร สิ่งที่มีผลต่อการดำเนินการ และความท้าทายที่สำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ จำนวน 15 ข้อคำถาม 2. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ แบ่งออกได้ 7 หมวด 90 ข้อคำถาม ดังนี้

  7. แนวทางการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐแนวทางการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 1. ประเมินด้านข้อมูลการปฏิบัติราชการ การจัดทำรายงานใช้วิธีการประเมินองค์กรด้วยตนเองจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ในแต่ละข้อคำถาม พร้อมทั้งอ้างอิงหลักฐานในการดำเนินการ 2. ใช้วิธีตรวจประเมินจากมาตรฐานที่กำหนด โดยคณะทำงานใช้วิธีตรวจประเมินจากมาตรฐานที่กำหนด (Check List ) และประเมินวงจรการจัดการที่ดี ทั้งในส่วนของการวิเคราะห์กระบวนการคือ ADLI และส่วนของการวิเคราะห์ผลลัพธ์ คือ LeTCLi โดยมีการประเมินผลค่าระดับในทุกคำถามตามวงจรการจัดการที่ดี ที่สามารถนำเสนอได้ในรูปตารางคะแนนหรือกราฟคะแนน เพื่อใช้ประโยชน์ในการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงจุดแข็งและโอกาสที่ต้องปรับปรุงองค์กร

  8. 3. เป็นการประเมินที่บูรณาการตัวชี้วัด ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการในมิติที่ 4 เข้าด้วยกัน ปีงบประมาณ 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ผนวกรวมตัวชี้วัดที่อยู่ในมิติที่ 4 ได้แก่ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ( HR Scorecard) การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล(Individual Scorecard)การบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ(IT) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เข้ารวมอยู่ในตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA)

  9. 4. มีการตรวจประเมินผลโดยผู้ตรวจประเมินภายนอก4. มีการตรวจประเมินผลโดยผู้ตรวจประเมินภายนอก ปีงบประมาณ 2551 ก.พ.ร. ได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกมาประเมินภายหลังการประเมินองค์กรด้วยตนเองแล้ว ตามกรอบการประเมินวงจร ADLT และ LeTCLi ซึ่งสำนักงานเกษตรจะต้องเตรียมหลักฐานอ้างอิงยืนยันผลการประเมินตนเอง 5. มีการนำผลคะแนนประเมินไปใช้พิจารณาระดับความก้าวหน้าด้วย ปีงบประมาณ 2551 มีการประเมินผลเพื่อวัดระดับผลการดำเนินการพัฒนาปรับปรุงองค์กร เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และนำผลไปสู่การปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆไป

  10. ตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐตัวชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ 2551 ก.พ.ร. ได้กำหนดตัวชี้วัดที่ 11 ได้แก่ ระดับความสำเร็จ ของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(เน้นหนักร้อยละ 20 ) แบ่งออกเป็น 3 ตัวชี้วัดย่อยดังนี้ ตัวชี้วัด 11.1 ระยะเวลาการส่งรายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเอง น้ำหนักร้อยละ 1 ตัวชี้วัด 11.2 ระดับความสำเร็จเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของความครบถ้วนของการจัดทำ รายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเอง น้ำหนัก 6 ตัวชี้วัด 11.3 ผลคะแนนจากรายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเอง ตามเกณฑ์ 7 หมวด น้ำหนัก ร้อยละ 13

  11. รายละเอียดตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ 11.1 ระยะเวลาการส่งรายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเอง ไปยังสำนัก บริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม สำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 4 ชุด พร้อมข้อมูลบรรจุในแผ่น CD จำนวน 2 แผ่น ภายในวันที่ 31 ต.ค. 2551 ตัวชี้วัดที่ 11.2 ระดับความสำเร็จเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของความครบถ้วนของการจัดทำ รายงาน การประเมินองค์กรด้วยตนเอง น้ำหนักร้อยละ 6 แยกเป็น 1. ความครบถ้วนของการจัดทำรายงานลักษณะสำคัญของ องค์กร น้ำหนักร้อยละ 1 2. ความครบถ้วนของการจัดทำรายงาน ประเมินองค์กรด้วย ตนเอง หมวด 1-7 น้ำหนักร้อยละ 1

  12. 3. ความครบถ้วนของการแสดงผลกราฟระดับคะแนนการประเมินองค์กรด้วยตนเองตามรายหัวข้อ ที่ปรากฏใน 7 หมวด น้ำหนัก ร้อยละ 1 4. ความครบถ้วนของการจัดทำ รายงานจุดแข็ง และโอกาส ในการปรับปรุงใน 7 หมวด น้ำหนัก ร้อยละ 1 5. ความครบถ้วนของการจัดทำรายการ การจัดลำดับความสำคัญของโอกาสในการปรับปรุงองค์กร ใน 7 หมวด น้ำหนัก ร้อยละ 0.5 6. ความครบถ้วนของการจัดทำแผนปรับปรุงองค์กร อย่างน้อย 2 แผน น้ำหนักร้อยละ 0.5 7. ความครบถ้วนของการจัดทำรายงานผลการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับ PMQA ให้กับเจ้าหน้าที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ 2 ครั้ง น้ำหนักร้อยละ 1

  13. ตัวชี้วัดที่ 11.3 ผลคะแนนจากรายงานการประเมินองค์กรด้วยตนเองตามเกณฑ์ 7 หมวด น้ำหนักร้อยละ 13 แยกเป็น ผลการประเมินองค์กร ด้วยตนเองเชิงคุณภาพน้ำหนักร้อยละ 8 และความครบถ้วนของ หลักฐานประกอบผลการประเมินองค์กรด้วยตนเอง น้ำหนัก ร้อยละ 5

  14. ผลระดับคะแนน การประเมินสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ

  15. ผลกราฟระดับคะแนนการประเมินสำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ รายหัวข้อ

More Related