1 / 35

9. คำชี้แจง ประกอบคำขอปรับโครงสร้างของ กองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

9. คำชี้แจง ประกอบคำขอปรับโครงสร้างของ กองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ. 1. การวิเคราะห์ภารกิจ ( Business Analysis ). ภารกิจ ส่งเสริม สนับสนุน ควบคุมและกำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ. ใช่.

rogan-sharp
Download Presentation

9. คำชี้แจง ประกอบคำขอปรับโครงสร้างของ กองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 9. คำชี้แจงประกอบคำขอปรับโครงสร้างของกองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

  2. 1. การวิเคราะห์ภารกิจ (Business Analysis) ภารกิจส่งเสริม สนับสนุน ควบคุมและกำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ใช่ เพราะเป็นการควบคุม กำกับ ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ มีคุณภาพได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจบริการสุขภาพประกอบกับ มติ ครม. วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เรื่อง ร่างพรบ. กำหนดให้จัดตั้งสำนักส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพขึ้นในกรมสนับสนุนบิการสุขภาพ ๑.เป็นงานที่จำเป็นต้องปฏิบัติอยู่หรือไม่ ๒.เป็นงานที่มีการปฏิบัติซ้ำซ้อนอยู่ที่ใดหรือไม่ เพราะเป็นหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบในการส่งเสริม สนับสนุน ควบคุมและกำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งเป็นหน่วยงานเดียวที่สนับสนุนงานตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของชาติด้านสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่ ๓.เป็นงานที่ถือเป็นหน้าที่หลักใช่หรือไม่ เป็นหน่วยงานเดียวของประเทศที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ควบคุมและกำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐาน รวมทั้งมาตรฐานของบุคลากรตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (พ.ร.บ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ..... ) ใช่ ๔.เป็นงานที่มอบ/กระจายอำนาจไปให้ภูมิภาค/ท้องถิ่นได้หรือไม่ ไม่ใช่ เพราะอำนาจกฎหมายอยู่ที่ส่วนกลาง และต้องพัฒนา ปรับปรุง ตราใหม่ให้เป็นปัจจุบัน ทันสมัย ๕.เป็นงานที่ดำเนินการโดยจัดตั้งเป็นองค์กรของรัฐรูปแบบอื่นได้หรือไม่ เป็นองค์กรที่ต้องทำหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมกำกับมาตรฐานและคุณภาพให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยฯ จึงจำเป็นต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่ใช่ ๖.เป็นงานที่จำเป็นต้องดำเนินการโดยรัฐทั้งหมดใช่หรือไม่ เพราะเป็นหน่วยงานในการกำหนดมาตรฐานเพื่อควบคุมกำกับให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและความสงบสุขของประเทศ จึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยรัฐทั้งหมด ใช่ คงภารกิจของส่วนราชการ เพราะเป็นหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ต้องดำเนินงานทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศซึ่งเป็นการร่วมมือประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน จึงจำเป็นต้องดำเนินการโดยรัฐทั้งหมด

  3. 2. เหตุผลความจำเป็นในการขอจัดตั้ง เพื่อเป็นการปรับปรุงโครงสร้างให้รองรับภารกิจหลัก ของสำนักให้ชัดเจนตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการ เพื่อสุขภาพและต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน และการปฏิบัติราชการให้เกิดประสิทธิผล สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และอนาคต

  4. ๒.๑ เมื่อจัดตั้งขึ้นแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ของชาติในด้านใด นโยบายรัฐบาล ข้อ ๔นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อ ๔.๓.๗การขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในภูมิภาคเอเซีย นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ข้อ ๑๑ ส่งเสริมการจัดบริการสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub and Wellness) และระบบโลจิสติก โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับบริการสุขภาพโดยรวมของคนไทยโดยการสนับสนุนกิจการสปา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ การแก้กฎหมายกิจการสปา รวมทั้งการสนับสนุนโรงงานผลิตภัณฑ์สุขภาพไทยให้ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice)

  5. ๒.๒ เหตุผลที่แสดงว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและ / หรือสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร และประชาชนจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร ๒.๒.๑ จัดตั้งองค์กร จัดทำโครงสร้างอัตรากำลังให้สอดคล้องกับการขยายงาน/ภารกิจที่เพิ่มขึ้น ตามมติ ครม. เรื่องร่าง พ.ร.บ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. .....วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ให้จัดตั้ง สำนักส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพขึ้นในกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ๒.๒.๒ เพื่อควบคุมกำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยมาตรฐานของสถานที่ การบริการ ผู้ให้บริการ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบเพื่อการ รับรองให้เป็นไปตามมาตรฐานสำหรับสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๐๙ พ.ศ. ๒๕๕๑ และรองรับพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

  6. ๒.๒ เหตุผลที่แสดงว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการดำเนินงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและ/หรือสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร และประชาชนจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอย่างไร (ใส่ภารกิจ) ๒.๒.๓ เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ โดยราชการส่วนกลางจะทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรฐานคุณภาพของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พัฒนากลยุทธ์ นวัตกรรมและประสานความร่วมมือทั้งในและนอกประเทศ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒.๒.๔ พัฒนาและส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด และมาตรฐานสากล

  7. ๒.๓ ชี้แจงสาเหตุที่ต้องขอปรับปรุงส่วนราชการ ๒.๓.๑ หน้าที่ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไปโดยชี้แจง รายละเอียดว่ามีงานเพิ่มขึ้นอย่างไร หรือลักษณะงานเปลี่ยนแปลงไปประการใด อำนาจหน้าที่ของสำนักเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ ๑. คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้รับบริการด้านสุขภาพโดยทำหน้าที่ส่งเสริม พัฒนาและควบคุม กำกับ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสอบเพื่อการรับรองให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยได้มาตรฐานตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. ........ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ๒. พัฒนากลไกในการบังคับใช้กฎหมาย เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำแก่สถานประกอบการเพื่อสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ

  8. อำนาจหน้าที่ของสำนักเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ (ต่อ) • เป็นศูนย์ประสานความร่วมมือทางวิชาการ ศึกษา วิจัย พัฒนาและรับรองมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และระบบความปลอดภัยของผู้รับบริการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเจรจาข้อตกลงการค้าด้านธุรกิจบริการสุขภาพระหว่างประเทศ ๔.เป็นศูนย์สารสนเทศด้านธุรกิจบริการสุขภาพภาคเอกชน • พัฒนาการเป็นศูนย์กลางธุรกิจบริการสุขภาพในระดับสากลเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ • เป็นหน่วยหลักในการพัฒนาและติดตามยุทธศาสตร์ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ เพื่อให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพได้ดำเนินงานธุรกิจบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครบวงจร โดยบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการด้านการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน และเสริมสร้างศักยภาพให้ธุรกิจภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้านธุรกิจบริการสุขภาพเพื่อรองรับกระแสการค้าเสรีในตลาดโลก

  9. ๒.๓ ชี้แจงสาเหตุที่ต้องขอปรับปรุงส่วนราชการ ๒.๓.๒ มีการเปลี่ยนแปลงระบบ หรือวิธีการทำงานเฉพาะหน่วยงาน ๒.๓.๒.๑ มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานให้สอดคล้องกับภารกิจหลักของสำนัก และตอบสนองนโยบายของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ • กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มงานให้ชัดเจน และมี • ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น • ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนา และควบคุม กำกับให้สถานประกอบการเพื่อ • สุขภาพมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด • ส่งเสริมให้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพเข้าสู่มาตรฐานอาเซียนและ • มาตรฐานสากล

  10. ๒.๓ ชี้แจงสาเหตุที่ต้องขอปรับปรุงส่วนราชการ ๒.๓.๒ มีการเปลี่ยนแปลงระบบ หรือวิธีการทำงานเฉพาะหน่วยงาน ๒.๓.๒.๒ ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบวิธีการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับ ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นตามภารกิจหลัก โดยแยกหน่วยงานตามภารกิจหลักแต่ละด้านได้แก่ การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับประเทศ การพัฒนามาตรฐานระดับประเทศสู่อาเซียน การพัฒนางานวิชาการ วิจัยและพัฒนา การควบคุม กำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ การส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพเข้าสู่มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดและมาตรฐานสากล การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ เพื่อให้การทำงานครบวงจรทั้งระบบในแต่ละด้าน โดยมีหน่วยงานสนับสนุนภารกิจหลัก แยกตามกระบวนงาน คือ กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กลุ่มวิชาการ วิจัยและพัฒนา กลุ่มควบคุม กำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กลุ่มพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ กลุ่มส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และกลุ่มบริหารงานทั่วไป ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการมากขึ้น

  11. ๒.๓ ชี้แจงสาเหตุที่ต้องขอปรับปรุงส่วนราชการ ๒.๓.๓ ปัญหาการดำเนินงาน หรือการบริหารงานของสำนักอันเนื่องจากโครงสร้างส่วนราชการเดิมไม่เหมาะสม ๒.๓.๓.๑ หน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมีปริมาณงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับ พรบ.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ(ตามมติ ครม. เรื่องร่าง พ.ร.บ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. .....วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕) และตามนโยบายส่งเสริมและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเซียซึ่งกำหนดให้ธุรกิจบริการสุขภาพเป็นบริการที่สร้างรายได้ให้กับประเทศ และรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โครงสร้างเดิม เมื่อเทียบกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นไม่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และตอบสนองต่อนโยบายและการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

  12. ๒.๓ ชี้แจงสาเหตุที่ต้องขอปรับปรุงส่วนราชการ ๒.๓.๓ ปัญหาการดำเนินงาน หรือการบริหารงานของสำนักอันเนื่องจากโครงสร้างส่วนราชการเดิมไม่เหมาะสม ๒.๓.๓.๒ เนื่องจากอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ไม่มีสภาพบังคับ ไม่มีบทลงโทษแต่เป็นภาคสมัครใจ (ออกความตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.๒๕๐๙ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการแยกสถานบริการออกจากสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ) ทำให้มีผู้ประกอบการบางรายไม่ขอรับการตรวจรับรองมาตรฐานหรือต่ออายุ และมีบางมาตรการในประกาศฯ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม จึงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนด้านคุณภาพการบริการเพื่อสุขภาพ

  13. ๒.๓ ชี้แจงสาเหตุที่ต้องขอปรับปรุงส่วนราชการ ๒.๓.๓ ปัญหาการดำเนินงาน หรือการบริหารงานของสำนักอันเนื่องจากโครงสร้างส่วนราชการเดิมไม่เหมาะสม (ต่อ) ๒.๓.๓.๓ เนื่องจากเป็นทางเลือกใหม่ในการสร้างเสริมสุขภาพ จึงมีการพัฒนาและนำศาสตร์ใหม่มาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้บุคลากรด้านสุขภาพยังขาดความรู้ ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับการบริการเพื่อสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีสำนักส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานจากบุคลากรด้านสุขภาพที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด

  14. ๓. ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ๓.๑ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ๓.๑.๑ วัตถุประสงค์ • ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองด้านบริการเพื่อสุขภาพภาคเอกชน • สถานประกอบการเพื่อสุขภาพมีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด • บุคลากรด้านสุขภาพที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพมีสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนด • สถานประกอบการเพื่อสุขภาพมีศักยภาพในการแข่งขันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพแห่งเอเชีย • สำนักส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุม กำกับ และส่งเสริมมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

  15. ๓.๑.๒ หน้าที่และความรับผิดชอบ

  16. ๓.๑.๒ หน้าที่และความรับผิดชอบ

  17. ๓.๒ การแบ่งส่วนราชการ๓.๒.๑ แผนภูมิการแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน อัตรากำลัง ขรก. ๓๖ พรก. ขรก..๑..(ผอก.ระดับสูง/ชช.) กองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ • กลุ่มตรวจสอบ ควบคุม กำกับขรก. ๑๐ • สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พรก. ๑ • (ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ) ๑ คนลปจ. ๒ • มีอัตรากำลังดังนี้ • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ -๑* • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ -๑ • นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ/ชำนาญการ -๒* • นักวิเคราะห์นโยบายและแผน • ปฏิบัติการ/ชำนาญการ -๑* • กลุ่มงานยุทธศาสตร์ ขรก. ๕ • (ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ) ๑ คนพรก. ๑ • มีอัตรากำลังดังนี้ ลปจ. ๓ • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ -๑ • นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ -๑ • นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ -๑ • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ -๑ • นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ/ชำนาญการ -๑* • กลุ่มงานพัฒนาวิชาการขรก. ๕ • (ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ) ๑ คนพรก. - • มีอัตรากำลังดังนี้ ลปจ. - • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ -๑* • นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ/ชำนาญการ-๒* • นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ/ • ชำนาญการ -๒* • กลุ่มบริหารงานทั่วไปขรก. ๕ • (ชำนาญการพิเศษ) ๑ คนพรก. ๓ • มีอัตรากำลังดังนี้ ลปจ. ๔ • นักจัดการงานทั่วไป -๑* • เจ้าพนักงานการเงิน -๑ • เจ้าหน้าที่การเงิน -๑* • เจ้าพนักงานพัสดุ -๑ • ธุรการ -๑* • กลุ่มส่งเสริมพัฒนามาตรฐานบุคลากรขรก. ๕ • (ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ) ๑ คนพรก. ๑ • มีอัตรากำลังดังนี้ ลปจ. ๓ • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ -๑* • เภสัชกรชำนาญการพิเศษ /ชำนาญการ -๑* • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ -๑ • นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ/ • ชำนาญการ -๑* • นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ/ • ชำนาญการ -๑* • กลุ่มส่งเสริมพัฒนามาตรฐานบุคลากรขรก. ๕ • (ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ) ๑ คนพรก. ๑ • มีอัตรากำลังดังนี้ ลปจ. ๒ • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ -๑* • นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ -๒ • นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ -๑ • นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ/ชำนาญการ -๑* หมายเหตุ * หมายถึง ขออัตรากำลังเพิ่ม

  18. ๑.๑) โครงสร้าง / อำนาจหน้าที่ ๒. กองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๑. กลุ่มบริหารงานทั่วไป ๒. กลุ่มแผนงานและประเมินผล ๓.กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บทบาทหน้าที่ ๑.งานพัฒนากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับด้านการส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ ๒.งานธุรการ ๓.งานการเจ้าหน้าที่ ๔.งานพัสดุและยานพาหนะ ๕.งานการเงินและบัญชี ๖.งานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ๗.งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย บทบาทหน้าที่ ๑. บริหารขับเคลื่อนนโยบายธุรกิจบริการสุขภาพ ของประเทศไทยและกำหนดกลไกให้หน่วยงานหลักต่างๆ สามารถดำเนินงานตามนโยบายให้บรรลุผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายไปยังรัฐบาลและผู้บริหารระดับสูง ๒. ศึกษา วิจัย พัฒนา องค์ความรู้และสร้างนวัตกรรม และศูนย์การเรียนรู้ในงานธุรกิจบริการสุขภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าของบริการ ๓. พัฒนานโยบายและแผนการส่งเสริมธุรกิจบริการสุขภาพ ๔. งานแผนยุทธศาสตร์ แผน ปฏิบัติการ ๕. งานพัฒนาองค์กร (PMQA) ๖. วิจัยระบบการจัดการธุรกิจบริการสุขภาพ/แหล่งทรัพยากร ๗. ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี ๘. จัดสรรและบริหารทรัพยากร ๙. งานกำกับติดตามและประเมินผล ๑๐. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารงาน ๑๑. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย บทบาทหน้าที่ ๑. พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการแข่งขัน ๒. งานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์ ๓. งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ๔. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ๖.กลุ่มตรวจสอบ ควบคุม และกำกับมาตรฐาน ๔.กลุ่มส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานบุคลากร ๕.กลุ่มส่งเสริมและพัฒนากิจการเพื่อสุขภาพ บทบาทหน้าที่ ๑. ควบคุมกำกับ ตรวจมาตรฐาน สถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ๒. ออกใบรับรองประกอบกิจการ ดำเนินการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๓. ตรวจมาตรฐาน สถานประกอบการเพื่อสุขภาพหลังได้รับการรับรอง ๔. ปฏิบัติงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย บทบาทหน้าที่ ๑.งานควบคุมกำกับดูแลมาตรฐานบุคลากรในงานธุรกิจบริการสุขภาพ ๒.งานพัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรม ๓.งานรับรองและตรวจสอบหลักสูตร ๔.งานประเมินความรู้ความสามารถและขึ้นทะเบียน ๕.งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย บทบาทหน้าที่ ๑. งานพัฒนานวัตกรรมธุรกิจบริการสุขภาพ ๒. งานวิจัยกระบวนการและมาตรฐานการส่งเสริมสุขภาพ ๓. งานพัฒนาสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐานและพัฒนาไปสู่ระดับสากล ๔. งานพัฒนาการจัดบริการสุขภาพแบบครบวงจรแก่ชาวต่างชาติ ๕. งานการประกันคุณภาพการให้บริการของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๖. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

  19. ๓.๒.๒ เปรียบเทียบการแบ่งส่วนราชการที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่ขอปรับปรุงใหม่

  20. ๓.๓ หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละส่วนราชการ ๓.๓.๑ หน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละส่วนราชการที่ขอปรับปรุงเปรียบเทียบกับหน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน ๓.๓.๒สำหรับส่วนราชการที่ขอปรับปรุงให้ชี้แจงหน้าที่และความรับผิดชอบของส่วนราชการที่ขอปรับปรุง เปรียบเทียบกับหน้าที่ความรับผิดชอบในปัจจุบัน

  21. ๓.๓.๑ หน้าที่และความรับผิดชอบ

  22. ๓.๓.๑ หน้าที่และความรับผิดชอบ

  23. ๑.๑โครงสร้าง / ภารกิจ กองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ คณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กลุ่มส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กลุ่มวิชาการ วิจัยและพัฒนา กลุ่มพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ กลุ่มควบคุม กำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ กลุ่มบริหารงานทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ ๑. ศึกษา วิจัย พัฒนา องค์ความรู้/มาตรฐาน /นวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริการเพื่อสุขภาพ และการจัดการด้านบริการเพื่อสุขภาพในมิติการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้าง/เพิ่มมูลค่าบริการในธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ๒. พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านธุรกิจบริการสุขภาพเพื่อต่อยอดองค์ความรู้และนวัตกรรมการบริการเพื่อสุขภาพ (ร่วมกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาต่างๆ) ๓ .สร้างและพัฒนาเครือข่ายวิชาการและระบบการจัดการความ รู้ด้านธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ๔. ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ๕. ปฏิบัติงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่ ๑. กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพระดับประเทศ ๒. ควบคุมกำกับ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพของสำนักฯ ๓. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๔. ประสานความร่วมมือและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศในการดำเนินงานเกี่ยวกับการประกอบการเพื่อสุขภาพที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ๕. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศด้านบริการเพื่อสุขภาพโดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๖. จัดสรรและบริหารทรัพยากรให้เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และผลลัพธ์ของสำนักฯ ๗. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่ ๑. ควบคุม กำกับ ติดตามให้มีการปฏิบัติตามพรบ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๒. ดำเนินการออกใบอนุญาตการประกอบกิจการเพื่อสุขภาพให้กับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๓.เสนอความเห็นต่อผู้อนุญาตเพื่อเพิกถอนใบอนุญาต กรณีสถานประกอบการเพื่อสุขภาพปฏิบัติการไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามพรบ. ๔. ควบคุม กำกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๕. รับเรื่องร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการประกอบกิจการเพื่อสุขภาพ ๖. พิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๗. ปฏิบัติหน้าที่เป็นทีมเลขานุการคณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพเพื่อนำมติของคณะกรรมการฯ สู่การปฏิบัติ ๘. ให้คำแนะนำในการตรากฎกระทรวง ประกาศหรือระเบียบตาม พรบ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ....หรือให้คำปรึกษาในการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ. นี้ ๙. จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๙. ปฏิบัติงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่ ๑. กำหนดหลักเกณฑ์การรับรองหน่วยงาน สถาบัน องค์กรหรือสถาบันการศึกษาที่จัดฝึกอบรมผู้ดำเนินการหรือผู้ให้บริการ ๒. กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการประเมินความรู้ความสามารถเพื่อออกใบรับรองให้แก่ผู้ดำเนินการหรือผู้ให้บริการ ๓. ดำเนินการตรวจสอบและรับรองหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ ๔. ควบคุมกำกับและติดตามการพัฒนาและการประเมินสมรรถนะบุคลากรด้านสุขภาพตามหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๕. จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนผู้ดำเนินการและบุคลากรด้านสุขภาพที่ผ่านการรับรอง ๖. พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดอาเซียนและตลาดโลก ๗. ดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรด้านสุขภาพให้มีสมรรถนะที่สอดคล้องกับมาตรฐานบุคลากรด้านสุขภาพและความต้องการด้านการตลาด ๘. พัฒนาระบบแรงจูงใจและระบบการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม ๙. ปฏิบัติงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่ ๑. ส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพให้ได้มาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล ๒. ยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพสู่มาตรฐานอาเซียนและมาตรฐานสากล ๓. พัฒนาระบบการจัดบริการเพื่อสุขภาพแบบครบวงจรสำหรับผู้รับบริการสุขภาพทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ๔. ส่งเสริมการประกันคุณภาพการให้บริการของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๕. ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน/ได้รับการรับรอง (ร่วมกับกรมการแพทย์แผนไทยฯ อย. ) ๖. ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจหน้าที่ ๑. งานพัฒนาองค์กร (PMQA) ๒.งานการเจ้าหน้าที่และยานพาหนะ ๓. งานพัสดุ ๔. งานการเงินและบัญชี ๕. งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ๖. งานเผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์ ๖. งานบริหารความเสี่ยง ๗. งานแผนและประเมินผลระดับสำนักฯ ๘. งานวิเคราะห์ต้นทุน ต่อหน่วยผลผลิต (unit cost) ๙. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

  24. ๑.๑) โครงสร้าง / อัตรากำลัง กองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (อำนวยการระดับสูง 1) รวม 45 คน ขรก..45 คน ขรก 13 ๓. กลุ่มควบคุม กำกับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ๒. กลุ่มวิชาการ วิจัยและพัฒนา ขรก. 6 ๑. กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ ขรก. ๕ พรก - พรก - พรก - ลจป - ลจป - ลจป - มีอัตรากำลังดังนี้ 1. นักวิชาการสาธารณสุข (ชพ/ชช) 1 2. นักวิชาการสาธารณสุข(ชก/ชพ) 1 3. นักวิชาการสาธารณสุข(ปก/ชก) 10 4. เภสัชกร(ปก/ชก) 1 • มีอัตรากำลังดังนี้ • 1. นักวิชาการสาธารณสุข (ชพ/ชช) 1 • 2. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ชก/ชพ) 1 • 3. นักวิชาการสาธารณสุข (ปก/ชก) 3 มีอัตรากำลังดังนี้ 1. นักวิชาการสาธารณสุข (ชพ/ชช) 1 2. นักวิชาการสาธารณสุข(ชพ) 2 3. นักวิชาการสาธารณสุข(ปก/ชก) 3 ขรก 6 ๖. กลุ่มบริหารงานทั่วไป ๕. กลุ่มส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ขรก 7 ขรก 7 ๔. กลุ่มพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ พรก - พรก - พรก - ลจป - ลจป - ลจป - มีอัตรากำลังดังนี้ 1. นักจัดการงานทั่วไป (ชก/ชพ) 1 2. นักวิเทศสัมพันธ์(ชก) 1 3. นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (ชก) 1 4. เจ้าหน้าที่พัสดุชำนาญงาน 1 5. เจ้าหน้าที่การเงินชำนาญงาน 1 6. เจ้าหน้าที่ธุรการชำนาญงาน 1 มีอัตรากำลังดังนี้ 1. นักวิชาการสาธารณสุข (ชพ/ชช) 1 2. นักวิชาการสาธารณสุข(ชก/ชพ) 1 3. นักวิชาการสาธารณสุข(ปก/ชก) 5 มีอัตรากำลังดังนี้ 1. นักวิชาการสาธารณสุข (ชพ/ชช) 1 2. นักวิชาการสาธารณสุข(ชก/ชพ) 1 3. นักวิชาการสาธารณสุข(ปก/ชก) 5

  25. ๔. นโยบาย แผนงานสำคัญของรัฐบาลที่ กองส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรับผิดชอบ ความเชื่อมโยงระหว่างแผนระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับกรม แผนบริหารราชการแผ่นดิน/แผนงบประมาณ ยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ข้อ 2.2,2.3,2.4 สำนักส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

  26. ตารางแสดงปริมาณงานย้อนหลัง และเป้าหมายล่วงหน้า

  27. ตารางแสดงปริมาณงานย้อนหลัง และเป้าหมายล่วงหน้า

  28. ตารางแสดงปริมาณงานย้อนหลัง และเป้าหมายล่วงหน้า

  29. ตารางแสดงปริมาณงานย้อนหลัง และเป้าหมายล่วงหน้า

  30. ตารางแสดงปริมาณงานย้อนหลัง และเป้าหมายล่วงหน้า

  31. ตารางแสดงปริมาณงานย้อนหลัง และเป้าหมายล่วงหน้า

  32. ๖. ค่าใช้จ่าย กรอบค่าใช้จ่ายล่วงหน้า หน่วย : ล้านบาท

  33. ๗. อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ๗.๑ สรุปกรอบอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน /ขอปรับปรุง

  34. 8. ร่าง กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ พ.ศ..............

  35. 8. ร่าง กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ พ.ศ..............

More Related