200 likes | 414 Views
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ
E N D
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล
21. ลุ่มน้ำภาคใตัฝั่งตะวันออก ที่ตั้ง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีพื้น ที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขต 7 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีลุ่มน้ำตาปี ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ ลุ่มน้ำปัตตานี แทรกตัวอยู่เป็นช่วงๆ ตามรูปที่21.1 รูปที่ 21-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ลักษณะภูมิประเทศ ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นพื้นที่ชายฝั่งติดอ่าวไทย ลักษณะชายฝั่งทะเลราบเรียบ มีที่ราบแคบตั้งแต่จังหวัดชลบุรีไปถึงจังหวัดนราธิวาส แม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆไหลลงสู่อ่าวไทย ทางตะวันตกจะเป็นทิวเขาภูเก็ต ซึ่งเป็นทิวเขาต่อเนื่องมาจากทิวเขาตะนาวศรี ทอดยาวลงมาทางใต้จนถึงจังหวัดพังงา แล้วเบนออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้จรดทิวเขานครศรีธรรมราชพาดผ่านลงมาทางใต้ ผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดตรัง ลงไปจนถึงจังหวัดสตูล แล้วไปจรดกับทิวเขาสันกลาคีรี รูปที่ 21-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก
พื้นที่ลุ่มน้ำ ตารางที่ 21-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ประมาณ 26,365 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 13 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 21-1 และ รูปที่ 21-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย 21.01 21.02 21.03 21.04 21.05 21.06 21.07 21.08 21.10 21.09 21.11 21.12 21.13 รูปที่ 21-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้วตามตารางที่ 21-2 ซึ่งแต่ละรายการจะเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 21-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ
ปริมาณน้ำฝน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยผันแปร ตั้งแต่ 1,400 มิลลิเมตร จนถึงประมาณ 3,800 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 2,052.3 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนได้แสดงไว้ตาม ตารางที่ 21-4 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย ตามรูปที่ 21-4 รูปที่ 21-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายเดือนเฉลี่ย รูปที่ 21-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 21-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 26,353 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยประมาณ 22,260.7 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 21-4 หรือมีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 26.79 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร และตามรูปที่ 21-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนของแต่ละลุ่มน้ำย่อย
ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า
ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกสามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืช ออกได้เป็น 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 21-5 และแต่ละกลุ่มดินมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 21-4 ตารางที่ 21-4 รูปที่ 21-5 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช
● การใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1.) พื้นที่ทำการเกษตร.....................55.43 % พืชไร่.....................................0.08 % ไม้ผล–ยืนต้น.........................70.96 % ข้าว................................. ....18.91 % พืชผัก....................................0.01 % รูปที่ 21-6 การทำเกษตร 2.) ป่าไม้.....................................39.23 % เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า................. 5.80 % เขตอุทยานแห่งชาติ.................... 14.55 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์.......................... 79.65 % รูปที่ 21-7 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3.) ที่อยู่อาศัย............................... 1.55 % 4.) แหล่งน้ำ................................. 0.02 % 5.) อื่นๆ....................................... 3.77 % รูปที่ 24-8 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่การเกษตรทั้งหมดประมาณ 14,607.47ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชต่างๆประมาณ 8,825.20 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 60.42 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 4,223.69 ตารางกิโลเมตร (18.9 %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 1.41 ตารางกิโลเมตร (0.10 %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 10.98 ตารางกิโลเมตร (0.08%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 10,365.13 ตร.กม. (70.96%) พื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกพืช ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณท้ายน้ำของลำน้ำย่อยต่างๆ ที่ไหลลงอ่าวไทยทางทิศตะวันออกของลุ่มน้ำ ซึ่งจะมีพื้นที่หนาแน่นบริเวณแม่น้ำปากพนัง ซึ่งรวมแล้วประมาณร้อยละ 33.49 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตรพบว่าการใช้พื้นที่ปลูกพืชส่วนใหญ่มีการปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น และข้าวบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมดี แต่ในการปลูกพืชผักและพืชไร่ยังปลูกบนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสมอยู่ รูปที่ 21-9 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร รูปที่ 21-9 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร
พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบชลประทานในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส่วนใหญ่จะกระจายอยู่บริเวณท้ายน้ำของลำน้ำที่ไหลลงสู่อ่าวไทยทางทิศตะวันออกของลุ่มน้ำโดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,770.63 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 54.06 ของพื้นที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือคิดเป็นร้อยละ 32.66 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 21-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นทีที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน
การประเมินความต้องการน้ำ การประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากร ทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง และนอกเขตเมืองรวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 21-10 รักษาระบบนิเวศ ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) ชลประทาน อุปโภค - บริโภค อุตสาหกรรม รูปที่ 21-10 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท
ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัยสภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ∶- • 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขาต่างๆ จะเกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามากจนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับมีสิ่งกีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคารระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร อำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอลานสะกา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอนาทวี อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา อำเภอสุคีริน อำเภอจะแนะ และอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม จะเกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอสิชล อำเภอขนอม อำเภอท่าศาลา อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอชะอวด และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำนี้ เกิดจาภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ ด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 ในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด3,199 หมู่บ้าน พบว่า มีหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งจำนวน 1,562 หมู่บ้าน (ร้อยละ 48.83) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 827 หมู่บ้าน (ร้อยละ 25.85) และ หมู่บ้านที่ขาดแคลนทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและเพื่อการเกษตรจำนวน 735 หมู่บ้าน (ร้อยละ 30.67) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่ จะอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชถึง 479 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 30.67 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 21-10 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกัน เมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวม โดยสรุปดังนี้ 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางในแต่ละลุ่มน้ำสาขาที่มีศักยภาพ เพื่อเก็บ กักปริมาณน้ำหลากในฤดูฝน และส่งน้ำให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้งของลุ่มน้ำสาขานั้นๆ 2) เพิ่มประสิทธิภาพ หรือขีดความสามารถกระจายน้ำให้ทั่วถึง 3) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตัวเมืองและพื้นที่โดยรอบ มิให้ลุกล้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ 5) ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สระเก็บน้ำประจำไร่นา ฯลฯ ในพื้นที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ / นอกเขตชลประทานตามความเหมาะสมของพื้นที่