480 likes | 1.59k Views
อ. กมลวรรณ ศิริจันทร์ชื่น. การวิเคราะห์งบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงิน. บทที่ 3-4. การวิเคราะห์งบการเงิน. กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน โดยการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ พยากรณ์ วินิจฉัยปัญหา ผู้วิเคราะห์ ต้องมีความรู้ และความชำนาญด้านการเงิน.
E N D
อ. กมลวรรณ ศิริจันทร์ชื่น การวิเคราะห์งบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงิน บทที่ 3-4
การวิเคราะห์งบการเงินการวิเคราะห์งบการเงิน • กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ • ฐานะทางการเงิน • ผลการดำเนินงาน • โดยการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ พยากรณ์ วินิจฉัยปัญหา • ผู้วิเคราะห์ ต้องมีความรู้ และความชำนาญด้านการเงิน
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงินวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์งบการเงิน • เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลของงบการเงินให้เป็นประโยชน์ • เพื่อใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้นำเป็นแนวทางในการตัดสินใจทางการเงินอย่างเหมาะสม • ภายใต้ต้นทุนการวิเคราะห์ที่คุ้มค่าต่อการได้รับประโยชน์ • ทั้งนี้ต้องแปลความหมายงบการเงินได้อย่างถูกต้อง • กลุ่มบุคคลที่ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์งบการเงิน ได้แก่ • ผู้เป็นเจ้าของ - ความสามารถในการทำกำไร • ผู้บริหาร - ปรับปรุงและวางแผนการบริหารงานฟ • นักลงทุน - อัตราผลตอบแทน และความเสี่ยง • เจ้าหนี้ - ความสามารถในการชำระหนี้ • ผู้สนใจอื่น ผู้วิเคราะห์ภายใน ผู้วิเคราะห์ภายนอก
ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงินขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงิน • 1. กำหนดวัตถุประสงค์ • 2. จัดเก็บรวบรวมข้อมูล • 3. จัดวางข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน • 4. เลือกเครื่องมือที่จะนำมาวิเคราะห์ให้เหมาะสม • 5. การแปลความหมายและประเมินผล
ข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์งบการเงิน • 1. การจัดสรรรายได้ และค่าใช้จ่ายสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งกับดุลยพินิจของบุคคล เช่น การตีราคาสินค้าคงเหลือ การคิดค่าเสื่อมราคา • 2. จำนวนเงินที่ปรากฎในงบดุลไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง เช่น ไม่แสดงราคาตามที่จะขายได้ในเวลานั้น ๆ • 3. ข้อจำกัดด้านงบดุลและงบกำไรขาดทุนที่จัดทำขึ้นต่างวาระ เช่น อำนาจซื้อของเงินในแต่ละช่วงเวลา • ดังนั้น การจะนำข้อมูลจากงบการเงินมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ จึงอยู่ภายใต้ข้อสมมติในการจัดทำบัญชีตามแต่ประเภทธุรกิจ ผู้วิเคราะห์จะต้องศึกษาวิธีการบัญชีที่ธุรกิจถือปฏิบัติก่อน จึงนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ต่อไป
ข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบงบการเงินข้อมูลที่ใช้เปรียบเทียบงบการเงิน • การเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกัน • การเปรียบเทียบกับเป้าหมาย • การเปรียบเทียบกับแนวโน้ม
การวิเคราะห์โดยใช้ อัตราส่วน • แบ่งตามการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ด้าน • 1. อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) • 2. อัตราส่วนวัดสภาพหนี้สิน (Debt Ratio) • 3. อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio) • 4. อัตราส่วนวัดความคุ้มครอง (Coverage Ratio)
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) • 1. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน • 2. อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว (Quick Ratio) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว = สินทรัพย์หมุนเวียน-สินค้าคงเหลือ-ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หนี้สินหมุนเวียน (เท่า) ยิ่งสูง ยิ่งดี
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) • 3. อัตราการหมุนของลูกหนี้ (Accounts Receivable Turnover Ratio) อัตราการหมุนของลูกหนี้= ขายเชื่อ ลูกหนี้เฉลี่ย • 4. ระยะเวลาในการเก็บหนี้ (Average Collection Period Ratio) ระยะเวลาในการเก็บหนี้ = 365 การหมุนของลูกหนี้ (ครั้ง) ยิ่งมาก ยิ่งดี (วัน) ยิ่งสั้น ยิ่งดี
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) • 5. อัตราส่วนการหมุนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover Ratio) อัตราส่วนการหมุนของสินค้าคงเหลือ = ต้นทุนขาย สินค้าคงเหลือเฉลี่ย • 6. ระยะเวลาในการขายสินค้า (Average Days Sales Ratio) ระยะเวลาในการขายสินค้า = 365 การหมุนของสินค้าคงเหลือ (ครั้ง) ยิ่งมาก ยิ่งดี (วัน) ยิ่งสั้น ยิ่งดี
อัตราส่วนวัดสภาพหนี้สิน (Debt Ratio) • 1. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Net Worth) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ = หนี้สินทั้งหมด ส่วนของเจ้าของ • 2. อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อเงินทุนระยะยาว (Long-term Debt to Total Capitalization) อัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อเงินทุนระยะยาว = หนี้สินระยะยาว เงินทุนระยะยาว • 3. อัตราส่วนหนี้สิน (Debt Ratio) อัตราส่วนหนี้สิน = หนี้สินทั้งหมด สินทรัพย์ทั้งหมด หนี้สินระยะยาว + ส่วนของเจ้าของ (เท่า) หรือ (x100 = %) ยิ่งน้อย ยิ่งดี
อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio) • 1. อัตราส่วนกำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) อัตราส่วนกำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น x 100 ยอดขาย • 2. อัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อัตราส่วนกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิ x 100 ยอดขาย • 3. อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Equity Ratio) อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน= กำไรสุทธิ - เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ x 100 ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ (%) ยิ่งสูง ยิ่งดี
อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio) • 4. อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return On Assets Ratio - ROA) หรือ อัตราผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return On Investment Ratio - ROI) ROA = กำไรสุทธิ สินทรัพย์ที่มีตัวตน • 5. อัตราการหมุนของสินทรัพย์ (Assets Turnover Ratio) อัตราการหมุนของสินทรัพย์=ยอดขาย สินทรัพย์ที่มีตัวตน (เท่า) หรือ (x100 = %) ยิ่งสูง ยิ่งดี (ครั้ง) ยิ่งสูง ยิ่งดี
อัตราส่วนวัดความคุ้มครอง (Coverage Ratio) • อัตราส่วนความคุ้มครอง (Time Interest Earned Ratio) อัตราส่วนความคุ้มครอง=กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี ดอกเบี้ยจ่าย (เท่า) ยิ่งสูง ยิ่งดี
ข้อจำกัดในการใช้อัตราส่วนทางการเงินข้อจำกัดในการใช้อัตราส่วนทางการเงิน • 1. ความแตกต่างในการบันทึกบัญชี เช่น • การตีราคาสินค้าคงเหลือ – FIFO หรือ Average • การคิดค่าเสื่อมราคา – เส้นตรง, ยอดลดลงทวีคูณ, ผลรวมจำนวนปี หรือ ตามชั่วโมงการใช้เครื่องจักร หรือผลผลิตที่ผลิตได้ • 2. ไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าปัจจุบันของเงิน • เวลาต่างกัน ค่าของเงินต่างกัน • 3. รอบระยะเวลาบัญขีแตกต่างกัน • เกิดความคลาดเคลื่อนหากนำมาเปรียบเทียบกัน • 4. เหตุการณ์ที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงิน • ควรใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาประกอบการพิจารณาตัดสินใจ
กรณีศึกษา • ให้แต่ละกลุ่มนำงบการเงินที่ค้นคว้ามาวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินในแต่ละด้าน เปรียบเทียบ 2 ปี ดังนี้ • ด้านสภาพคล่อง • ด้านสภาพหนี้สิน • ด้านความสามารถในการทำกำไร • ด้านความคุ้มครอง