290 likes | 474 Views
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. ตามการรับรู้ของพระนิสิตและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่. คณะผู้วิจัย. ผศ.ฉวีวรรณ สุวรรณาภา. นางสาวพัฒน์นรี อัฐวงศ์. ดร.สายัณห์ อินนันใจ. หลักการและเหตุผล.
E N D
ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของพระนิสิตและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่
คณะผู้วิจัย ผศ.ฉวีวรรณ สุวรรณาภา นางสาวพัฒน์นรี อัฐวงศ์ ดร.สายัณห์ อินนันใจ
หลักการและเหตุผล การศึกษาเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า การศึกษาทำให้ประชาชนเกิดความคิด สามารถปรับปรุงชีวิตของตนให้มีคุณภาพที่ดี
มหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีลักษณะแตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ในประเทศไทย คือ ผู้ศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นพระภิกษุ สามเณร เป็นการจัดการศึกษาที่ให้ความรู้ในทางวิชาการ ให้ความรู้ในทางทางธรรม ให้ความรู้ในทางทางโลกควบคู่กันไป
ได้ขยายการจัดการศึกษาของสงฆ์ไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั้งวิทยาเขตและห้องเรียนไปทั่วทุกภาคของประเทศ จำนวน 10 วิทยาเขต วิทยาเขตแพร่ - ผลิตบัณฑิตระดับอุดมศึกษาในภาคปกติ - การจัดการเรียนการสอน ในวันเสาร์และอาทิตย์ - จัดโครงการหลักสูตร ป.บัณฑิตวิชาชีพครู
หลักการและเหตุผล(ต่อ) ดังนั้น คณะผู้วิจัยเห็นความสำคัญของการจัด การศึกษาของพระภิกษุ สามเณร จึงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของพระนิสิตและนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของพระนิสิตใน 3 ด้าน คือ ด้านสถาบัน ด้านอาจารย์ และด้านบัณฑิต 2.เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของพระนิสิต ตามตัวแปร คือ ระดับชั้นที่ศึกษา ชั้นปีที่ 1 ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4
วัตถุประสงค์ 3. เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่ ในด้านสถาบันและด้านบัณฑิต 4. เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญและนักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่
ขอบเขตของการวิจัย ประชากรในการวิจัย มี 3กลุ่มได้แก่ 1) พระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่จำนวน 234 รูป 2) นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่ โรงเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน 3 โรงจำนวนนักเรียน 238 รูป 3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่ จำนวน 18 โรง จำนวน7,779 คน
ขอบเขตของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย มี 3กลุ่มได้แก่ • พระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย • วิทยาเขตแพร่จำนวน 188 รูป 2) นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่ จำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนพระพุทธโกศัยวิทยา โรงเรียนวัดเชตะวันและโรงเรียนร้องเข็มวิทยาจำนวนนักเรียน 208 รูป 3) นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่ จำนวน 381 คน (เปิดตาราง)
เนื้อหาศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ใน 3 ด้าน - ด้านสถาบัน - ด้านอาจารย์ - ด้านบัณฑิต
เนื้อหาเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ - ด้านสถาบัน - ด้านอาจารย์ - ด้านบัณฑิต
เนื้อหาศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ตามการรับรู้ของนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดแพร่ ใน 2 ด้าน - ด้านสถาบัน - ด้านบัณฑิต
ตัวแปร ที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรต้นระดับชั้นที่ศึกษา , สถานภาพผู้ตอบ ตัวแปรตามภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ 3 ด้าน คือ ด้านสถาบัน ด้านอาจารย์และด้านบัณฑิต
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย- แบบสอบถาม การหาคุณภาพของเครื่องมือ - ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา - หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา
นิยามศัพท์ ภาพลักษณ์ด้านสถาบัน คือ ภาพของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ที่เกิดในใจของพระนิสิตและนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ที่เกิดขึ้นจากการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ภาพลักษณ์ด้านอาจารย์ คือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาจารย์ มีความรู้ทางวิชาการ มีจิตใจใฝ่รู้และมีความคิดกว้างไกล กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
นิยามศัพท์ ภาพลักษณ์ด้านบัณฑิต คือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบัณฑิต ที่เกิดขึ้นในใจของพระนิสิต นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายด้านความประพฤติ ความคิดสร้างสรรค์ ความเสียสละ เป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นแบบอย่างที่ดี นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติศาสนกิจได้ อาจารย์ คือ บุคคลที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการให้กับพระนิสิต
นิยามศัพท์ บัณฑิต คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา คือพระภิกษุ สามเณรที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่ นักเรียน คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดแพร่
สถิติที่ใช้ในการวิจัยสถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า F-test
ผลการวิจัย ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ตามการรับรู้ของพระนิสิตและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่ พบว่า
การรับรู้ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ของ พระนิสิตชั้นปีที่ 1 โดยภาพรวม พบว่า ด้านสถาบันและด้านอาจารย์อยู่ในระดับมากส่วน ด้านบัณฑิตอยู่ในระดับปานกลาง พระนิสิตชั้นปีที่ 2 พบว่า ด้านอาจารย์อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านสถาบันและด้านบัณฑิตอยู่ในระดับปานกลาง
พระนิสิตชั้นปีที่ 3 โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน พระนิสิตชั้นปีที่ 4 โดยภาพรวม พบว่า ด้านอาจารย์ อยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านสถาบันและด้านบัณฑิต อยู่ในระดับปานกลาง
ผลการเปรียบเทียบ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ชั้นปีที่ 1, 2, 3 และ 4 มีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ด้านอาจารย์และนิสิต ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านสถาบัน นิสิตมีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของ วิทยาเขตแพร่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
โดยภาพรวมนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญในจังหวัดแพร่มีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของ วิทยาเขตแพร่ อยู่ในระดับการรับรู้ปานกลางทุกด้าน
โดยภาพรวมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่ มีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของ วิทยาเขตแพร่ ในระดับ การรับรู้ปานกลางทุกด้าน
ผลการเปรียบเทียบ นักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดแพร่มีการรับรู้ต่อภาพลักษณ์ของ วิทยาเขตแพร่ ในแต่ละด้านและโดยรวมทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะในการนำผลงานไปใช้ข้อเสนอแนะในการนำผลงานไปใช้ พระนิสิตส่วนใหญ่เห็นว่า อากาศในห้องเรียนร้อนเหม็นอาคารสถานที่คับแคบขาดสถานที่ฉันท์ภัตตาหารเพล ควรประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยให้มากกว่านี้ควรเปิดโอกาสให้ฆราวาสเข้าเรียนด้วย
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไปข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรจะได้มีการศึกษาให้หลากหลายและกว้างขวางมากขึ้น จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ศึกษาจากศิษย์เก่า จากผู้บริหารทั้งอดีตและปัจจุบัน จากผู้ใช้บัณฑิตในหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนครู อาจารย์ในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
จบการนำเสนอ Mahachulalongkornrajavidyalaya University