490 likes | 1.03k Views
4. ระบบสารสนเทศทางการตลาด. ความหมายของระบบสารสนเทศทางการตลาด ความสำคัญของระบบสารสนเทศทางการตลาด องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการตลาด กระบวนการวิจัยการตลาด. ระบบสารสนเทศทางการตลาด (Marketing Information System - MKIS).
E N D
4 ระบบสารสนเทศทางการตลาด ความหมายของระบบสารสนเทศทางการตลาด ความสำคัญของระบบสารสนเทศทางการตลาด องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการตลาด กระบวนการวิจัยการตลาด
ระบบสารสนเทศทางการตลาด(Marketing Information System - MKIS) • ระบบที่ประกอบไปด้วย คน อุปกรณ์ และกระบวนการทำงานต่าง ๆ เพื่อที่จะ เก็บรวบรวม จำแนก วิเคราะห์ ประเมิน และแจกจ่ายข้อมูล ที่มีความหมายไปยังผู้มีหน้าที่ตัดสินใจทางการตลาดตามที่ต้องการ อย่างถูกต้อง และตรงตามเวลาที่กำหนด
ความสำคัญของระบบสารสนเทศทางการตลาดความสำคัญของระบบสารสนเทศทางการตลาด Fromlocaltonational toglobal business Fromprice tonon-price competition Frombuyer needs tobuyer wants
ระบบสารสนเทศทางการตลาดระบบสารสนเทศทางการตลาด ผู้บริหารด้านการตลาด สิ่งแวดล้อมทางการตลาด องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการตลาด ระบบข้อมูล ภายใน ระบบข่าวสาร การตลาด ระบบสนับสนุน การตัดสินใจ ทางการตลาด ระบบการวิจัย การตลาด
1. ระบบข้อมูลภายใน (Internal Records) • เก็บรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายอื่น ๆ ในองค์การเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจทางการตลาด • ตัวอย่างเช่น • งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด • รายงานการขาย สรุปคำสั่งซื้อจากลูกค้า • ต้นทุนการผลิต ตารางการผลิต • ระดับสินค้าคงคลัง
เป้าหมาย ขายจริง ผลต่าง น้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง รังผึ้ง 3,800 2,400 1,800 600 8,600 2,400 1,420 1,900 480 6,200 -1,400 -980 +100 -120 -2,400 ตัวอย่างรายงานจากระบบข้อมูลภายใน รายงานการวิเคราะห์การขายของฟาร์ม “ผึ้งน้อย” เดือนมิถุนายน 2545
2. ระบบข่าวสารการตลาด (Marketing Intelligence) • เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางการตลาดภายนอกอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาด • แหล่งที่มาของข่าวสารการตลาด ได้แก่ ผู้บริหาร พนักงาน คนกลาง ผู้ขายวัตถุดิบ สื่อมวลชน รายงานของคู่แข่งขัน รายงานของทางราชการ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร Internet และการซื้อข้อมูล
3. ระบบการวิจัยการตลาด(Marketing Research) • การออกแบบ เก็บรวบรวม วิเคราะห์ และรายงานข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารให้ความสนใจ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งอย่างชัดเจน • ช่วยให้ผู้บริหารทราบปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด(Marketing Decision Support) • เป็นระบบที่นำข้อมูลจากระบบข้อมูลภายใน ระบบข่าวสารการตลาด และระบบการวิจัยการตลาดมาเชื่อมโยงและวิเคราะห์อย่างละเอียด โดยใช้คอมพิวเตอร์และการคำนวณทางสถิติ เพื่อที่จะเสนอแนะให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเป็นระบบ • ความน่าเชื่อถือของการตัดสินใจขึ้นอยู่กับ วิธีการเก็บข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูลที่มี และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
กระบวนการวิจัยการตลาดกระบวนการวิจัยการตลาด • การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย • การพัฒนาแผนการวิจัย • การเก็บรวบรวมข้อมูล • การวิเคราะห์ข้อมูล • การนำเสนอข้อค้นพบ
ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย • วิเคราะห์ปัญหาทางการจัดการ (Management Problem) ให้เป็นปัญหาการวิจัย (Research Problem) • กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัยต่อไป • ตัวอย่างเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ • ปัญหาทางการจัดการ : บริษัทจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ดีหรือไม่ • ปัญหาการวิจัย :ผู้บริโภคจะยอมรับผลิตภัณฑ์เพียงใด • วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ใหม่
ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เลือกวิธีการออกแบบการวิจัยที่เหมาะสม • การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Research) • ทำให้เข้าใจปัญหา หรือทราบข้อมูลเบื้องต้น • การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) • อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในรูปแบบเชิงปริมาณ • การวิจัยเชิงเหตุผล (Causal Research) • ศึกษาถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ต่าง ๆ
ขั้นที่ 2 การพัฒนาแผนการวิจัย • แหล่งข้อมูล • ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) • ข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้วเพื่อวัตถุประสงค์อื่น • ควรศึกษาข้อมูลทุติยภูมิก่อนข้อมูลปฐมภูมิ • ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) • ข้อมูลที่จัดเก็บขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยที่กำลังจัดทำอยู่
ขั้นที่ 2 การพัฒนาแผนการวิจัย • แนวทางการทำวิจัย • การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) • การเจาะกลุ่ม (Focus Group) • การสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) • การใช้เทคนิคการแสดงออก (Projective Technique) • การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) • การสำรวจ (Survey) • การสังเกต (Observation) • การทดลอง (Experimentation)
ขั้นที่ 2 การพัฒนาแผนการวิจัย • แผนการเลือกตัวอย่าง • หน่วยการเลือกตัวอย่าง(กำหนดประชากร) • ขนาดตัวอย่าง • วิธีการเลือกตัวอย่าง เลือก ตัวอย่าง เพื่อเก็บ ข้อมูล อ้างอิง ผลลัพธ์ เพื่ออธิบาย ประชากร
ขั้นที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล • เป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูง และจะต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด • ควรมีการคัดเลือกพนักงานเก็บข้อมูล ฝึกอบรม และควบคุมดูแลการเก็บข้อมูลอย่างใกล้ชิด • อาจใช้วิธีการแจกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การจดบันทึกจากการสังเกต ฯลฯ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการวิจัย และการกระจายตัวของกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล • ประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้ • การลงรหัสข้อมูล • การบันทึกข้อมูล • การประมวลผล • มักใช้คอมพิวเตอร์และวิธีการทางสถิติ • นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางการตลาด
ขั้นที่ 5 การนำเสนอข้อค้นพบ • รายงานการวิจัย • รายงานเชิงเทคนิค • รายงานเชิงบริหาร • การนำเสนอด้วยวาจา • อภิปรายและซักถาม
4 ระบบสารสนเทศทางการตลาด ความหมายของระบบสารสนเทศทางการตลาด ความสำคัญของระบบสารสนเทศทางการตลาด องค์ประกอบของระบบสารสนเทศทางการตลาด กระบวนการวิจัยการตลาด