270 likes | 380 Views
ผลของการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือก ต่อความวิตกกังวล ความทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียน และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด Effects of Nursing of Integrating Alternative Medicine
E N D
ผลของการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือกผลของการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือก ต่อความวิตกกังวล ความทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียน และคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด Effects of Nursing of Integrating Alternative Medicine on Anxiety ,Distress of Nausea\Vomiting and Quality of Life in Breast Cancer Patient undergoing Chemotherapy บุญมี สันโดษ (พย.ม. การพยาบาลผู้ใหญ่) กลุ่มงานศัลยกรรมโรงพยาบาลมหาสารคาม 22 ตุลาคม 2551
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • สถิติมะเร็งเต้านมสูงเป็นอันดับ 1 • แนวโน้มสูงขึ้นทุกปี
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • ความทุกข์ทรมานจากภาวะโรคเรื้อรัง • แนวทางการรักษาทั้งการผ่าตัดและให้ยาเคมีบำบัด • ผลกระทบจากอาการข้างเคียงการรักษาผ่าตัดและยาเคมีบำบัดทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตลดลง • การเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ ผิวคล้ำเกรียม ผมร่วง • อาการข้างเคียงอื่นๆ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา • นโยบายการใช้การบำบัดทางเลือกและการแพทย์ทางเลือกสูงขึ้น • บทบาทอิสระในการบำบัดทางการพยาบาลที่พยาบาลสามารถทำได้ • เน้นการดูแลองค์รวม
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือกต่อความวิตกกังวล ความทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้ อาเจียนและ คุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับยาเคมีบำบัด วัตถุประสงค์รอง 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความทุกข์ทรมานจากการอาการคลื่นไส้ อาเจียน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
กรอบทฤษฎีในการวิจัย • Symptom management • Alternative Medicine
กรอบแนวคิดในการวิจัย ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม • โปรแกรมการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือก • ประกอบด้วย :- • การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม • กลิ่นบำบัด ( Aromatherapy) • - กิจกรรมการผ่อนคลาย ตามแผ่นซีดีที่มีเนื้อหาประกอบด้วย • * การผ่อนคลายกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง (Progressive muscle relaxation) • * การสร้างจินตภาพ (Visualization) • * การหายใจแรง-ลึก (Deep breathing) • (จัดกิจกรรมทั้งหมดจำนวน 6 ครั้ง หรือ 3 course) 1.ความวิตกกังวลลดลง 2. ความทุกข์ทรมานจากการคลื่นไส้อาเจียน 3. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัด - ความผาสุกด้านร่างกาย - ความผาสุกสังคม / ครอบครัว - ความผาสุกด้านอารมณ์ / จิตใจ - ความผาสุกด้านการปฏิบัติกิจกรรม
รูปแบบงานวิจัย การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม (control group) = 20 คน ได้รับการพยาบาลระบบปกติ กลุ่มทดลอง (experimental group) = 20 คน ได้รับการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือก * การให้ข้อมูลเตรียมความพร้อม ( Preparatory information ) * การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ(Progressive muscle relaxation) * การหายใจแรง ลึก (Deep breathing)* การใช้จินตภาพ (Guided imagery) * กลิ่นบำบัด (Aroma therapy )
สมมติฐานการวิจัย การเปรียบเทียบภายในกลุ่ม 1.กลุ่มทดลองภายหลังการทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนการทดลอง 2. กลุ่มทดลองภายหลังการทดลองมีความทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียน น้อยกว่าก่อนทดลอง 3. กลุ่มทดลองภายหลังการทดลองมีคุณภาพชีวิตดีกว่าก่อนทดลอง
สมมติฐานการวิจัย การเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม 4.กลุ่มทดลองภายหลังการทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 5. กลุ่มทดลองหลังการได้รับการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือกมีความทุกข์ทรมาน จากอาการคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 6. กลุ่มทดลองหลังการได้รับการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือกมีคุณภาพชีวิตดีกว่า กลุ่มควบคุม
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในหอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาสารคามระหว่างวันที่1 มีนาคม 2550 – 31 พฤษภาคม 2550 กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive sampling)จำนวน 40 คน กลุ่มควบคุม (control group) = 20 คน กลุ่มทดลอง (experimental group) = 20 คน จำแนกกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรยาเคมีและรอบของการมารับยา
คุณสมบัติกลุ่มตัวอย่าง 1. ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับยาเคมีบำบัด course 2-4 ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2550 - 31 พฤษภาคม 2550 หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 2. รับยาเคมีบำบัดสูตร CMF , FAC 3. สามารถติดต่อสื่อสารด้วยการฟัง การเขียนได้ และสามารถให้ข้อมูลได้ 4. ไม่มีปัญหาในการรับกลิ่น 5. มีสภาพร่างกาย จิตใจพร้อมและมีความยินดี ให้ความร่วมมือในการศึกษา
เครื่องมือในการวิจัย เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย • คู่มือเอกสารการสอน เรื่อง มะเร็งเต้านม ยาเคมีบำบัด การดูแลตนเองเมื่อรับยาเคมีบำบัด การแพทย์ทางเลือก เทคนิคผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกการหายใจ บทพูดการฝึกจินตนาการ • แผ่นซีดีคลายเครียดของกรมสุขภาพจิต • น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ ที่ผลิตโดยกลุ่มงานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลมหาสารคาม (ผ่านการทดลองและการคัดเลือกจากความชอบผู้ป่วยจำนวน 30 ราย)
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล • 1. แบบสอบถามเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย :- • 2. แบบวัดความวิตกกังวล Spielberger(1967):- State Anxiety และTrait Anxiety • มาตราส่วนประเมินค่า (rating scale) มี 4 ระดับ จำนวน 20 ข้อ • เกณฑ์คะแนนข้อความทางลบ เกณฑ์คะแนนข้อความทางบวก • มากที่สุด ให้ 4 คะแนน ให้ 1 คะแนน • ค่อนข้างมาก ให้ 3 คะแนน ให้ 2 คะแนน • มีบ้าง ให้ 2 คะแนน ให้ 3 คะแนน • ไม่มีเลย ให้ 1 คะแนน ให้ 4 คะแนน • คะแนนความวิตกกังวลเป็นคะแนนรวมจากแบบวัดที่มีค่าต่ำสุด 20 คะแนน สูงสุด 80 คะแนน • โดยใช้เกณฑ์ในการประเมินคะแนนความวิตกกังวลเป็น 3 ช่วงคะแนนดังนี้ ดังนี้ • คะแนน 20 - 39 หมายถึง มีความวิตกกังวลระดับต่ำ • คะแนน > 39 - 59 หมายถึง มีความวิตกกังวลระดับปานกลาง • คะแนน > 59 - 80 หมายถึง มีความวิตกกังวลระดับมาก ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา 0.87
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. แบบวัดความทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้ อาเจียนของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมที่รับยาเคมีบำบัด เป็นแบบวัดความทุกข์ทรมานของ Johnson(Jacox, 1977 อ้างอิงใน อุราวดี เจริญไชย, 2541) เส้นตรงความยาว 10 เซนติเมตร แทนความต่อเนื่องของคะแนนความทุกข์ทรมาน ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0-100 คะแนน โดยกำหนดค่าคะแนนดังนี้ ค่าคะแนน 0 หมายถึง ไม่ทุกข์ทรมานเลย ค่าคะแนน > 0 -≤ 25 หมายถึง ทุกข์ทรมานเล็กน้อย ค่าคะแนน > 25 - ≤ 50 หมายถึง ทุกข์ทรมานปานกลาง ค่าคะแนน > 50 - ≤75 หมายถึง ทุกข์ทรมานค่อนข้างมาก ค่าคะแนน > 75 -≤100 หมายถึง ทุกข์ทรมานมากที่สุด 0 25 50 75 100 ค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟา 0.80
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4. แบบประเมินคุณภาพชีวิต Functional Assessment of Cancer Therapy – General (FACT – G) version 423 (Cella, D.F. et al, 1993) แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1. ความผาสุกทางด้านร่างกาย (Physical Well-Being : PWB) จำนวน 7 ข้อ 2. ความผาสุกด้านครอบครัวและสังคม (Social / Family Well-Being : SWB) จำนวน 7 ข้อ 3. ความผาสุกด้านอารมณ์และจิตใจ (Emotional Well-Being : EWB) จำนวน 6 ข้อ 4. ความผาสุกด้านการปฏิบัติกิจกรรม(Functional Well-Being : FWB)จำนวน 7 ข้อ เกณฑ์คะแนนข้อความทางลบ เกณฑ์คะแนนข้อความทางบวก มากที่สุด ให้ 4 คะแนน ให้ 0 คะแนน ค่อนข้างมาก ให้ 3 คะแนน ให้ 1 คะแนน ปานกลาง ให้ 2 คะแนน ให้ 2 คะแนน เล็กน้อย ให้ 1 คะแนน ให้ 3 คะแนน ไม่มีเลย ให้ 0 คะแนน ให้ 4 คะแนน โดยใช้เกณฑ์ในการประเมินคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต ดังนี้ คะแนน 2.67-4.00 หมายถึง คุณภาพชีวิตดี คะแนน 1.34-2.66 หมายถึง คุณภาพชีวิตปานกลาง คะแนน 0.00-1.33 หมายถึง คุณภาพชีวิตไม่ดี
รูปแบบการทดลอง Pre-test , Post – test control group designs
แบบแผนการดำเนินการทดลอง กลุ่มทดลอง ได้รับการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือก Day 1 , Day 8 ของแต่ละ Course ติดต่อกัน 3 Course รวม 6 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลระบบปกติตามมาตรฐานการรักษาพยาบาลDay 1 , Day 8 ของแต่ละ Course ติดต่อกัน 3 Course รวม 6 ครั้ง
การดำเนินการทดลอง กลุ่มควบคุม กิจกรรมการพยาบาลระบบปกติ ใน 1 course มี 2 วัน Day 1 , Day 8 ของแต่ละ Course รวม 6 ครั้ง (ทำกิจกรรม 2 ครั้ง) ทำติดต่อกัน 3 course ( 3 เดือน 6 ครั้ง)
การดำเนินการทดลอง กลุ่มทดลอง Day 1 , Day 8 ทำกิจกรรม 2 ครั้งทำติดต่อกัน 3 course ( 3 เดือน 6 ครั้ง)
สถิติที่ใช้ในการวิจัย • 1. คำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน • เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองภายในของแต่ละกลุ่มใช้ • Wilcoxon Signed-Ranks Test • เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มใช้ Mann – Whitney U Test • สถิติทดสอบการกระจายของข้อมูล Kolmogorov - Smirnov Test
สมมติฐานการวิจัย การเปรียบเทียบภายในกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง 1.กลุ่มทดลองภายหลังการทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่าก่อนการทดลอง (p = 0.05) 2. กลุ่มทดลองภายหลังการทดลองมีความทุกข์ทรมานจากอาการคลื่นไส้อาเจียน น้อยกว่าก่อนทดลอง (p = 0.05) 3. กลุ่มทดลองภายหลังการทดลองมีคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้านดีกว่าก่อนทดลอง(p = 0.05)
สรุปผลการวิจัย เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มภายหลังการทดลอง • 1.กลุ่มทดลองภายหลังการทดลองมีความวิตกกังวลน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p = 0.05) • 2. กลุ่มทดลองหลังการได้รับการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือกมีความทุกข์ทรมาน • จากอาการคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่ากลุ่มควบคุม (p = 0.05) • กลุ่มทดลองหลังการได้รับการพยาบาลผสมผสานการแพทย์ทางเลือกมีคุณภาพชีวิต • ทั้ง 4 ด้านดีกว่า กลุ่มควบคุม (p = 0.05)
อภิปรายผล การรักษาแผนปัจจุบันที่เน้นเรื่องโรคและการรักษาทางกายทำให้ผู้ป่วยหายหรือบรรเทาจากโรคที่เป็นอยู่ หรืออาจทำให้เพิ่มความรุนแรงของโรคได้หากไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบจากการรักษาที่ให้แก่ผู้ป่วย ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล ความทุกข์ทรมาน ทางด้านจิตใจ สังคม เศรษฐกิจ หรือองค์รวม แต่การพยาบาลที่ใช้การแพทย์ทางเลือกมาร่วมดูแล เน้นที่ตัวบุคคล ที่จะทำให้เกิดความสมดุลของร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการบำบัดทางการพยาบาล บทบาทอิสระที่ง่ายในการปฏิบัติ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความสุข สมดุลทุกด้าน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการรับการรักษาที่ต่อเนื่องได้
ข้อเสนอแนะ • 1. บุคลากรในทีมสุขภาพควรเน้นการดูแลองค์รวมมากขึ้น • ควรนำการแพทย์ทางเลือกมาผสมผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างเป็น • รูปธรรมและมีการประเมินผลลัพธ์จากการใช้แพทย์ทางเลือกอย่างต่อเนื่อง • 3. บุคลากรทางการพยาบาลควรได้รับการฝึกอบรม ให้มีความรู้ ทักษะในการให้การพยาบาลแบบแพทย์ทางเลือก • 4. สถานศึกษาควรกำหนดหลักสูตรการใช้การแพทย์ทางเลือกในการบำบัดผู้ป่วย • 5. ผู้บริหารควรผลักดันนโยบายการใช้แพทย์ทางเลือกร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพสูงสุด
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ