1 / 42

อัลไซเมอร์ หลีกเลี่ยงอย่างไร

อัลไซเมอร์ หลีกเลี่ยงอย่างไร. สร้างโลกปลอดโรคอัลไซเมอร์ กินมะเขลือ ลดคอเลสเตอรอล. 。 กรกฎาคม ปีที่แล้ว ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้จัดประชุมโรคอัลไซเมอร์นานาชาติ ครั้งที่ 10 มีนักวิชาการกว่า 5 พันคนจาก 50 ประเทศเข้าร่วมประชุม.

Download Presentation

อัลไซเมอร์ หลีกเลี่ยงอย่างไร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อัลไซเมอร์ หลีกเลี่ยงอย่างไร

  2. สร้างโลกปลอดโรคอัลไซเมอร์สร้างโลกปลอดโรคอัลไซเมอร์ • กินมะเขลือ ลดคอเลสเตอรอล

  3. กรกฎาคม ปีที่แล้ว ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ได้จัดประชุมโรคอัลไซเมอร์นานาชาติ ครั้งที่ 10 มีนักวิชาการกว่า 5 พันคนจาก 50 ประเทศเข้าร่วมประชุม

  4. ประโยคที่น่าประทับใจอย่างยิ่งจากที่ประชุมคือ “สร้างโลกปลอดโรคอัลไซเมอร์” ทำได้ไหม โรคอัลไซเมอร์ที่เกิดจากพันธุกรรมมีไม่ถึง 5%

  5. ปัจจุบันแม้ยังไม่อาจรักษาให้หายขาด แต่เราสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยง เพื่อเลื่อนอายุการเกิดหรือไม่ให้เกิดโรคได้

  6. โรคอัลไซเมอร์มีปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งคืออายุ ซึ่งมีอาการมากตามอายุที่สูงขึ้น ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคอัลไซเมอร์1% จากนั้นจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก 5 ปี เมื่ออายุ 80 ปี ก็จะเป็นโรคอัลไซเมอร์เกือบ 20%

  7. หากสามารถเลื่อนอายุการเกิดโรคช้ากว่า 5 ปี ก็จะลดผู้ป่วยได้ครึ่งหนึ่ง นี่คือความหมายอันแท้จริงที่กล่าวว่า “สร้างโลกปลอดโรคอัลไซเมอร์”

  8. แล้วจะสร้างอย่างไร อาจลงมือดังนี้ ใช้สมองบ่อยๆ ให้สมองแข็งแรง

  9. งานวิจัยและการทดลองหลายปีที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ว่า ผู้มีการศึกษาสูง ไม่ค่อยเป็นโรคอัลไซเมอร์

  10. การใช้สมองคือการเพิ่มพลังสะสมแก่สมอง ให้เพียงพอสำหรับการเบิกจ่ายในยามสมองเสื่อมถอย

  11. ดังนั้น ใช้สมองบ่อยๆ จะเลื่อนเวลาเกิดอาการ หรือแม้กระทั่งเกิดอาการโรคอัลไซเมอร์แล้วก็ตาม ก็ไม่ถึงกับเสียสติปัญญา

  12. วิธีใช้สมองที่ได้ผลคืออ่านหนังสือ นอกจากนั้น การเล่นไพ่ เกมเรียงอักษร เกมผสมเลข เยี่ยมญาติมิตร ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน

  13. จงฝึกนิสัยเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตจงฝึกนิสัยเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต

  14. การเรียนถือเป็นวิธีใช้สมองที่ดีที่สุดสำหรับผู้เกษียณ จะเป็นการต่อยอดในวิชาชีพของตน เข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต ปลูกฝังความสนใจใหม่ๆ ก็ดี หรือเข้าร่วมในมหาวิทยาลัยชุมชนตลอดจนสมาคมต่างๆ ล้วนเป็นวิธีที่ดี

  15. ผูกมิตรถกฮวงจุ๊ย เจาะเวลาสู่อดีต

  16. ทำกิจกรรมต้องมีเพื่อนฝูง จึงจำเป็นต้องรักษาเครือข่ายสังคมไว้ ก็จะไม่รู้สึกเหงาหงอยหรือซึมเศร้า

  17. ยิ่งต้องคบกับคนรุ่นใหม่ เพื่อทดแทนเพื่อนเก่าที่นับวันล้มหายไป

  18. ออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วดีที่สุด การทดลองกับสัตว์แสดงว่า ออกกำลังกายแอร์โรบิก สามารถขยายเส้นเลือดฝอยในสมอง การเชื่อมต่อตลอดจนการเกิดใหม่ของเซลล์ประสาท

  19. ทั้งยังลดโอกาสการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ กระดูกพรุน เบาหวาน โรคอ้วนและซึมเศร้า เพิ่มสมาธิและสมรรถภาพการวางแผนและจัดการแก่ผู้สูงอายุ

  20. งานวิจัยทางระบาดวิทยาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกาย(โดยเฉพาะเดินเร็ว) สามารถบรรเทาอาการเสื่อมถอยของสติปัญญา

  21. The Nurses‘ Health `Studyในอเมริกาเฝ้าติดตามพยาบาล 18766 คน ผู้มีอายุ 70-81 ขวบ เป็นเวลา 8-15 ปี

  22. พบว่า ผู้ที่เดินอย่างน้อย 1.5 ชม./สัปดาห์ มีอาการสติปัญญาเสื่อมถอยน้อยกว่าผู้ที่เดินไม่เกิน 38 นาที/สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญ

  23. อีกงานวิจัยหนึ่งของ Honolulu - Asia Study

  24. เฝ้าติดตามชาวบ้านเพศชาย 2257 คน อายุตั้งแต่ 71-93 ขวบ เป็นเวลา 7 ปี พบว่า คนที่เดินไม่ถึง 0.4 กม./วัน มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ มากกว่าคนที่เดิน 3.2 กม./วัน 77%

  25. อาหารแถบทะเลกลางธรณี คือยาอายุวัฒนะ

  26. นักวิทยาศาสตร์สังเกตมานานแล้วว่า หากหนูลดปริมาณอาหาร 30% จะยืดอายุ 30% เช่นกัน พร้อมกับสมรรถภาพการทรงจำและการเรียนรู้ก็เพิ่มขึ้นด้วย

  27. การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ผู้ที่บริโภคอาหารประเภทปลาและไขมันไม่อิ่มตัวบ่อย โอกาสที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ค่อนข้างน้อย

  28. งานวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ปี 2006 ซึ่งเฝ้าติดตามชาวบ้าน 2258 คน อายุเฉลี่ย 77 ขวบเป็นเวลา 4 ปี พบว่า ผู้ที่บริโภคอาหารแบบทะเลกลางธรณี (เน้นผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช น้ำมันมะกอก ปลา เหล้าในปริมาณพอเหมาะ และเนื้อสัตว์อื่นเล็กน้อย)

  29. โอกาสที่จะเป็นอัลไซเมอร์น้อยกว่าผู้ที่ไม่กินอาหารแบบนี้ 40%

  30. ดังกล่าวข้างต้นเป็นหลักการบริโภคอาหารตามแบบฉบับโบราณ ซึ่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่พิสูจน์ว่าให้ผลดี

  31. ดังนั้น นับแต่วันนี้เป็นต้นไป คนทุกเพศทุกวัย ควรใช้สมองสม่ำเสมอ ฝึกนิสัยเรียนรู้ตลอดชีพ รักษาสายสัมพันธ์กับเพื่อน ร่วมกิจกรรมหย่อนใจ เดินอย่างน้อย 40 นาทีทุกวัน

  32. ระยะทางภายใน 10 นาทีให้ใช้วิธีเดิน บริโภคอาหารรสจืด เน้นพืชผักผลไม้ ก็จะมีสุขภาพแข็งแรง จิตใจผ่องใส โอกาสที่จะเป็นอัลไซเมอร์ลดน้อยลง

  33. มะเขลือทั้งสีเขียว สีขาวและสีม่วง มีคุณสมบัติเหมือนกันในแง่วิตามิน A、 B1、 B2、 C และโปรตีนไขมัน โดยเฉพาะอุดมด้วยวิตามินP

  34. มะเขลือ 1 กก. มีวิตามินPมากถึง 7200 มก. ถือเป็นสุดยอดของอาหารสุขภาพสำหรับชาวบ้าน

  35. วิตามินP มีคุณสมบัติเพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างเซลล์ ลดคอเลสเตอรอล รักษาความยืดหยุ่นของเส้นเลือดฝอย บริโภคมะเขลือบ่อย จะช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเส้นเลือดคนชรา ลดความดันโลหิตและป้องกันการแตกของเส้นเลือดฝอย

  36. วงการแพทย์ในสหรัฐจัดให้มะเขลือเป็นอันดับ 1 ของตัวลดคอเลสเตอรอล

  37. นอกจากนั้น มะเขลือยังประกอบด้วยสารต้านโรคมะเร็ง ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งจึงเสนอให้ มะเขลือเป็นอาหารประจำสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

  38. มะเขลือยังสามารถป้องกันอาการกระอักเลือด ปานคนแก่ โรคลักปิดลักเปิด และให้ผลดีกับโรคเกาต์

  39. ควรหลีกเลี่ยงการผัดมะเขลือด้วยน้ำมัน ทางที่ดีควรนำมะเขลือล้างให้สะอาด บากเป็นรอยแล้วนึ่งในหม้อจนสุก ปรุงรสด้วยขิงผง ต้นหอมซอย กะเทียม น้ำมันงา น้ำส้มสายชูและซีอิ้วเล็กน้อย เป็นอันรับประทานได้

  40. เมนูนี้ถือว่าอร่อยรสชาติดี เป็นอาหารสุขภาพเหมาะแก่คนชรา

  41. สรุป เดินวันละ 40 นาที กินน้อย เฮฮา หาเพื่อน ดวดเหล้าเก่า น่าจะสุขสบาย

  42. Goodbye!

More Related