350 likes | 653 Views
รายงานการสอบบัญชี. กลุ่มมาตรฐานการสอบบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี. กระบวนการสอบบัญชี. การปฏิบัติงานสอบบัญชีและกระดาษทำการ. การรายงานการสอบบัญชี. การวางแผนงานสอบบัญชี. 2. มาตรฐานการรายงาน. การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี. การรายงานผลการตรวจสอบบัญชี.
E N D
รายงานการสอบบัญชี กลุ่มมาตรฐานการสอบบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี
กระบวนการสอบบัญชี การปฏิบัติงานสอบบัญชีและกระดาษทำการ การรายงานการสอบบัญชี การวางแผนงานสอบบัญชี 2
มาตรฐานการรายงาน การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี การรายงานผลการตรวจสอบบัญชี การรายงานผลการปฏิบัติงาน 3
ประเด็นสำคัญ 1. ความสำคัญของรายงานการสอบบัญชีสหกรณ์2. การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำ รายงานของผู้สอบบัญชี3. หลักการเขียนรายงานของผู้สอบบัญชี 4
1. ความสำคัญของรายงานการสอบบัญชีสหกรณ์ - เป็นผลงานขั้นสุดท้ายของกระบวนการสอบบัญชี - เป็นรายงานที่อธิบายถึงสิ่งที่ผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติและข้อสรุปที่ได้ จากการรวบรวมและประเมินหลักฐานการสอบบัญชี รวมถึงขอบเขตการปฏิบัติงานตรวจสอบ ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน รวมทั้งความรับผิดชอบของคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินที่ตรวจสอบ 5
1. ความสำคัญของรายงานการสอบบัญชีสหกรณ์ ให้ จัดทำ ผู้สอบบัญชี รายงานของผู้สอบบัญชี ผู้ใช้ แก่ นำเสนอ ข้อสรุปหรือ ผลงานขั้นสุดท้าย 6
2. การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี ปรึกษาหารือ ผู้สอบบัญชี ไม่มีเงื่อนไข การแสดงความเห็น ต่องบการเงิน มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป มีเงื่อนไข สตส./สตท. ระเบียบ กตส.ว่าด้วยการแสดง ความเห็นต่องบการเงิน พ.ศ. 2544 ไม่ถูกต้อง กตส. หนังสือที่ กษ 0403/ว.1019 ลว.9 ก.ค.47 แนวการแสดงความเห็นต่องบการเงิน และการจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี ไม่แสดงความเห็น กตส. 7
2. การแสดงความเห็นต่องบการเงินและจัดทำรายงานของผู้สอบบัญชี 2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐาน 2.2 ประเภทการแสดงความเห็นต่องบการเงิน 2.3 สถานการณ์ที่กระทบและไม่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2.4 ระดับความมีสาระสำคัญที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 8
2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐานประกอบด้วย 8 ส่วนดังนี้ 1) ชื่อรายงาน 5) วรรคความเห็น 6) ลายมือชื่อผู้สอบบัญชี 2) ผู้แต่งตั้งผู้สอบบัญชี 3) วรรคนำ 7) ที่ตั้งสำนักงาน 4) วรรคขอบเขต 8) วันที่ในรายงาน 9
2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐาน รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ นายทะเบียนสหกรณ์ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุล ณ วันที่ ................... 25X2 และ 25X1 งบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปี ของสหกรณ์..........................จำกัด ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงิน เหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน ดังกล่าว จากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า 1. ชื่อรายงาน 2. ผู้แต่งตั้ง ผู้สอบบัญชี 3. วรรคนำ 10
2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐาน ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ที่รับรองทั่วไปและตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ซึ่งกำหนดให้ข้าเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่น อย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐาน ประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่สหกรณ์ใช้ และ ประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งคณะกรรมการดำเนินการเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึง ความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวได้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่าง เหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า 4. วรรคขอบเขต 11
2.1 รายงานของผู้สอบบัญชีแบบสามวรรคหรือแบบมาตรฐาน ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ ...... 25X2 และ 25X1 ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดสำหรับปีสิ้นสุด วันเดียวกันของแต่ละปี ของสหกรณ์ ................................... จำกัด โดยถูกต้องตามควรในสาระสำคัญตามระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์ กำหนด ลงชื่อ......................................... (........................................) ผู้สอบบัญชี สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์......................... กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ วันที่.................................. 5. วรรคความเห็น 6. ลายมือชื่อ ผู้สอบบัญชี 7. ที่ตั้งสำนักงาน 8. วันที่รายงาน 12
2.2 ประเภทการแสดงความเห็นต่องบการเงิน จำแนกได้ 4 อย่างคือ 2.2.1 การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข 2.2.2 การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข 2.2.3 การแสดงความเห็นว่างบไม่ถูกต้อง 2.2.4 รายงานว่าไม่แสดงความเห็น นำไป ใช้เป็น หลักฐาน ข้อสรุป ความเห็น สู่ เกณฑ์แสดง 13
2.2.1 การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข ผู้สอบบัญชีแสดงวามเห็นต่องบการเงินแบบไม่มีเงื่อนไข ได้เมื่อ 1) ผู้สอบบัญชีสามารถปฏิบัติงานตรวจสอบได้ตามมาตรฐานการสอบบัญชีและ ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ได้แก่ การวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบ เพื่อให้ทราบว่างบการเงินแสดงข้อมูลไม่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ2) ผู้สอบบัญชีเชื่อมั่นว่างบการเงินที่ตรวจสอบ แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด (สหกรณ์ออมทรัพย์) ของสหกรณ์ โดยถูกต้องตามที่ควรใน สาระสำคัญตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด รวมถึงได้มีการเปิดเผยข้อมูล อย่างเพียงพอแล้ว 14
2.2.2 การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข ผู้สอบบัญชีต้องแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ต่อไปนี้ โดยมีสาระสำคัญ 1) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรฐานการสอบบัญชี และระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เรียกว่า “ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด” ซึ่งการถูก จำกัดขอบเขตการตรวจสอบจะต้องไม่ใช่สาเหตุที่เกิดจากผู้สอบบัญชีเอง 2) งบการเงินที่ตรวจสอบมิได้แสดงรายการและข้อมูลทางการเงินของสหกรณ์โดยถูกต้องตามที่ควร ในสาระสำคัญ ตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เรียกว่า “การปฏิบัติผิดหลักการบัญชี” 3) งบการเงินที่ตรวจสอบมิได้เปิดเผยข้อมูลในงบการเงินและในหมายเหตุประกอบงบการเงินอย่าง เพียงพอ อันอาจทำให้เกิดการหลงผิดหรือเสียหายแก่สหกรณ์และผู้ใช้งบการเงิน เรียกว่า “การ เปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอ” 4) บัญชีและงบการเงินที่ตรวจสอบมิได้จัดทำตามที่กฎหมายและระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ กำหนด เรียกว่า “การผิดกฎหมายบัญชี” 15
ผู้สอบบัญชีต้องแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง เมื่อผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี และระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด จนได้หลักฐานต่างๆ อย่างเพียงพอที่แสดงว่างบการเงินไม่ถูกต้องในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีตามข้อ 2.2 ข้อ 2) ข้อ 3) และข้อ 4) โดยมีสาระสำคัญมาก 2.2.3 การแสดงความเห็นว่างบไม่ถูกต้อง 16
2.2.4 รายงานว่าไม่แสดงความเห็น ผู้สอบบัญชีต้องไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน เมื่อไม่สามารถตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี และระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนดในส่วนที่เป็นสาระสำคัญมาก เป็นสาเหตุให้ไม่สามารถรวบรวมหลักฐานได้อย่างเพียงพอในการแสดงความเห็นต่องบการเงินว่า งบการเงินที่ตรวจสอบมีความถูกต้องเพียงใด รวมทั้งต้องรายงานว่าไม่แสดงความเห็น เมื่อเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณีดังต่อไปนี้ โดยมีสาระสำคัญมาก 1) ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้สอบบัญชีได้ตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรฐานการสอบบัญชีและระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด 2) มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของ สหกรณ์ และ/หรือมีความไม่แน่นอนอื่นในอนาคตที่มีสาระสำคัญมาก อันอาจ กระทบถึงฐานะการเงินของสหกรณ์นั้น 17
2.3 สถานการณ์ที่กระทบและไม่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2.3.1 สถานการณ์ที่ไม่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี - เพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ - ไม่กล่าวถึงในวรรคความเห็น 2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี - มี 5 กรณี - เพิ่มวรรคอธิบาย - กล่าวถึงในวรรคความเห็น 18
2.3.1 สถานการณ์ที่ไม่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี เช่น - มีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญที่อาจกระทบต่อฐานะการเงินและผลการ ดำเนินงานในอนาคต ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของสหกรณ์ เช่น หนี้สินที่อาจ เกิดขึ้น ภาวะค้ำประกันความไม่แน่นอนของผลการฟ้องร้องคดีฯ - มีการเปลี่ยนแปลงหลักการบัญชีหรือประมาณการทางบัญชี - มีเหตุการณ์ที่สำคัญภายหลังวันที่ในงบการเงิน ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องการเน้นข้อมูลและเหตุการณ์เพื่อเตือนให้ผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี ให้ผู้สอบบัญชีเพิ่มวรรคเน้น เพื่อเน้นข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่อท้ายวรรคความเห็น พร้อมทั้งเน้นด้วยว่า ความเห็นของผู้สอบบัญชียังคงเป็นความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข 19
2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี มี 5 กรณี ดังนี้ 1) ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด 2) มีความไม่แน่นอน (นอกเหนือจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ ความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกร) 3) มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่อง 4) ความขัดแย้งกับผู้บริหารสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร 5) การเปลี่ยนแปลงทางบัญชี 20
2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 1. ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด หมายถึง ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด และ/หรือมาตรฐานการสอบบัญชี และ/หรือระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นที่พอใจในความถูกต้องตามที่ควรของรายงานในงบการเงิน หรือไม่สามารถหาหลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับรายการนั้นๆ เนื่องจากสหกรณ์ไม่นำหลักฐานมาให้ตรวจสอบและ ไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นทดแทนได้ แต่ถ้าสามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นทดแทนจนได้หลักฐานเป็นที่พอใจ ในกรณีนี้ไม่ถือว่าถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ เพราะว่าตรวจสอบได้ในที่สุด ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัดโดยสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัดโดยสถานการณ์ 21
2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 1.1) ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัดโดยสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร กรณีสหกรณ์/ กลุ่มเกษตรกรไม่ให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี หรือขัดขวางการปฏิบัติงาน ตรวจสอบของผู้สอบบัญชี หรือไม่ยินยอมให้ตรวจสอบ อาจมีเจตนาปกปิด หรือปิดบังการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ไม่ให้ผู้สอบบัญชีทราบ เช่น - ไม่ให้ยืนยันลูกหนี้/เจ้าหนี้ - ไม่ให้ยืนยันยอดธนาคาร - ไม่ให้ตรวจโฉนดที่ดิน และหลักฐานการซื้อขาย - ไม่ให้ตรวจสัญญาทางการค้าที่สำคัญ - สหกรณ์ปฏิเสธที่จะออกหนังสือรับรองของสหกรณ์ 22
2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 1.2) ขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัดโดยสถานการณ์ เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์หรือ เหตุการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุมของสหกรณ์หรือคณะกรรมการดำเนินการ และเห็นว่าเป็นเรื่องพ้นวิสัยของสหกรณ์และผู้สอบบัญชีเอง เช่น - ลูกหนี้ตอบทักท้วงหรือปฏิเสธ และสหกรณ์ยังไม่อาจหาสาเหตุที่แท้จริง ได้เพื่อปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้อง - ไม่สามารถเข้าสังเกตการณ์ตรวจนับสินค้าคงเหลือได้ เนื่องจากไฟไหม้ หรือน้ำท่วมสินค้า - ทนายความปฏิเสธที่จะตอบเกี่ยวกับผลของคดีฟ้องร้อง 23
2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2. มีความไม่แน่นอน (นอกเหนือจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความ สามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร)เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วและอาจมีผลกระทบต่องบการเงิน แต่คณะกรรมการดำเนินการ ไม่สามารถคาดคะเนหรือประมาณได้อย่างมีเหตุผล ว่าจะคลี่คลายไปในทางใด ณ วันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี ขึ้นอยู่กับผลของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดได้ว่าควรปรับปรุงงบการเงินหรือไม่ เช่น ผลการฟ้องร้องคดี หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น 3. มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องถ้ามีข้อบ่งชี้ทางการเงิน การดำเนินงานหรือด้านอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอาจไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น - มีหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ - มีขาดทุนสะสมเป็นจำนวนสูงมากจนทำให้ ส่วนของทุนสหกรณ์ติดลบหรือหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน 24
2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 4. ความขัดแย้งกับผู้บริหารสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรมี 2 กรณี คือ นโยบายบัญชีหรือวิธีปฏิบัติทางบัญชี ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด แต่คณะกรรมการดำเนินการไม่เห็นด้วยกับผู้สอบบัญชี หรือไม่ยอมปรับปรุงงบการเงินให้ถูกต้อง เช่น ไม่ได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญให้เพียงพอ เป็นต้น การเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอ อาจทำให้ผู้ใช้งบการเงินเกิดการหลงผิดหรือเข้าใจผิดหรือเสียหายแก่สหกรณ์หรือบุคคลอื่น เช่น - ไม่เปิดเผยภาระผูกพันต่างๆ เช่น การนำที่ดินของสหกรณ์ไปค้ำประกันเงินกู้ฯ - ไม่เปิดเผยหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า เช่น การถูกฟ้องร้องค่าเสียหาย - ไม่เปิดเผยเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน 25
2.3.2 สถานการณ์ที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 5. การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีกรณีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี เปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชีไม่เป็นไปตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนดหรือมาตรฐานการบัญชีและมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ เช่น เปลี่ยนวิธีตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นร้อยละ 5 ของยอดขายทั้งสิ้น โดยไม่คำนึงถึงระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์กำหนด เป็นต้น 26
2.4 ระดับความมีสาระสำคัญที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2.4.1) ระดับความมีสาระสำคัญ หมายถึง ขนาดหรือลักษณะของความไม่ถูกต้องของข้อมูลและรายการที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของงบการเงินที่ตรวจสอบ ซึ่งผู้สอบบัญชีต้องใช้วิจารณญาณเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีในการพิจารณาจาก - สิ่งที่วัดได้เป็นตัวเลข เช่น จำนวนเงิน อัตราร้อยละฯ - สิ่งที่วัดเป็นตัวเลขไม่ได้ เช่น การเปิดเผยข้อมูลไม่เพียงพอหรือไม่เปิดเผยข้อมูล - ผลกระทบที่มีต่อยอดคงเหลือของแต่ละบัญชีที่เกี่ยวข้องและต่องบการเงินโดยรวม ระดับความมีสาระสำคัญ แบ่งเป็น 3 ระดับ (1) ไม่มีสาระสำคัญ คือ ไม่มีผลกระทบหรือมีผลกระทบน้อยมากต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้งบการเงิน (2) มีสาระสำคัญ คือ มีผลกระทบพอสมควรต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน (3) มีสาระสำคัญมาก คือ มีผลกระทบอย่างมากต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน 27
2.4 ระดับความมีสาระสำคัญที่กระทบต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี 2.4.2) ผลของความมีสาระสำคัญต่อการแสดงความเห็นต่องบการเงิน (1) ไม่มีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ (2) มีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข (3) มีสาระสำคัญมาก ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง (กรณีมีความขัดแย้งกับผู้บริหารในเรื่องที่มีสาระสำคัญมากต่องบการเงิน) หรือไม่แสดงความเห็น (กรณีมีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญมาก หรือการถูกจำกัดขอบเขตที่มีสาระสำคัญมาก) 28
3. หลักการเขียนรายงานของผู้สอบบัญชี 3.1 การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข 3.2 การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข 3.3 การแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง 3.4 รายงานว่าไม่แสดงความเห็น 29
3.1 การแสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข วรรคนำ วรรคขอบเขต วรรคความเห็น วรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ เน้นว่าความเห็นของผู้สอบบัญชียังคงเป็นแบบไม่มีเงื่อนไข (ถ้ามี) 30
3.2 การแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข วรรคนำ วรรคขอบเขต เหตุผล / ผลกระทบ / รายงานและจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องในงบการเงินปีใด วรรคอธิบาย - ยกเว้นผลของรายการปรับปรุงที่อาจจำเป็น (กรณีขอบเขตการตรวจสอบถูกจำกัด) - ยกเว้นผลกระทบต่องบการเงิน (กรณีขัดแย้งกับผู้บริหาร) วรรคความเห็น “ยกเว้น” 30
3.3 การแสดงความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง วรรคนำ วรรคขอบเขต วรรคอธิบาย เนื่องจากเรื่องที่กล่าวในวรรคที่ 3 (วรรคอธิบาย) มีสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงินปี...... ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้ไม่ได้แสดงฐานะการเงิน.... วรรคความเห็น 30
3.4 การรายงานว่าไม่แสดงความเห็น วรรคนำ วรรคขอบเขต (อาจไม่มี) วรรคอธิบาย วรรคความเห็น ...... เนื่องจาก(รายการที่ตรวจสอบ) ดังที่กล่าวในวรรคที่ 3 (วรรคอธิบาย) มีสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงิน ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็น..... 30
สวัสดี... C A D กลุ่มมาตรฐานการสอบบัญชี สำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี