420 likes | 630 Views
การประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม. ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต เลขาธิการ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ onipon@yahoo.com. ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety). แนวความคิดในเรื่องของความปลอดภัย เมื่อพูดถึงความปลอดภัย = safety นึกถึงอะไร.
E N D
การประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมการประเมินความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต เลขาธิการ สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ onipon@yahoo.com
ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety) แนวความคิดในเรื่องของความปลอดภัย เมื่อพูดถึงความปลอดภัย = safety นึกถึงอะไร การกระทำใดๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย คำถาม มีไหมในโลกนี้ที่ทำอะไรแล้วไม่ก่อให้เกิดอันตราย เมื่อไม่มี แล้วเราจะคุยในเรื่องของความปลอดภัยอย่างไร
ความเสี่ยง (Risk) = โอกาสที่จะเกิด และขนาดที่เกิด นั่นคือ ถ้าเราสามารถลดความเสี่ยงได้มากเท่าไร ความปลอดภัยก็มีมากขึ้นเพียงนั้น
การประเมินความเสี่ยง หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงที่มีต่อสิ่งแวดล้อม การประเมินความเสี่ยงที่มีต่อสุขอนามัยมนุษย์ (อาหาร)
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยง จะต้องอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความคุ้ยเคย จะต้องอยู่บนพื้นฐานของแต่ละกรณีๆ ไป จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินเป็นขั้นตอน จะต้องอยู่บนพื้นฐานที่สาธารณชนได้มีส่วนร่วม จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเทียบเท่า
จำแนกอันตรายที่อาจส่งผลจำแนกอันตรายที่อาจส่งผล กระทบที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ประเมินผลทางลบที่จะตามมา ประเมินความน่าจะเป็น ประเมินหรือกำหนด ลักษณะความเสี่ยงทั้งหมด ให้คำแนะนำในการลด หรือจัดการความเสี่ยง
www.thinkquest.org www.departmentresults.state.mn.us www.usep.edu.ph ตัวอย่างพืชเทคโนชีวภาพ • ทนทานสารกำจัดวัชพืช • ต้านทานแมลงศัตรูพืช • ทนทานสารกำจัดวัชพืชและต้านทานแมลงศัตรูพืช • ทนทานสารกำจัดวัชพืช • ต้านทานแมลงศัตรูพืช • ทนทานสารกำจัดวัชพืชและต้านทานแมลงศัตรูพืช • ต้านทานเชื้อไวรัส ใบด่างจุดวงแหวน • ทนทานสารกำจัดวัชพืช • เพิ่มปริมาณกรดไขมัน ที่เป็นประโยชน์
ทางด้านสิ่งแวดล้อม ประเมินอะไรบ้าง 1. การเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชป่าที่มีความใกล้ชิด 2. การเคลื่อนย้ายยีนไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น 3. ศักยภาพที่จะเป็นวัชพืช 4. ผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่มิใช่เป้าหมาย
การเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชป่าที่มีความใกล้ชิดการเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชป่าที่มีความใกล้ชิด สิ่งที่เป็นกังวลคือ พืชป่ากลายเป็นวัชพืชที่ไม่สามารถกำจัดได้ (ในกรณีของยีนที่ทนทานสารกำจัดวัชพืช) มีความเป็นไปได้ แต่โอกาสน้อย จัดการได้โดยใช้วิธีกลอื่นๆ
พืช GM อาจจะสามารถอยู่รอดที่ได้ดีกว่าพืชปกติ และอาจบุกรุกขยายพันธุ์เข้าไปในพื้นที่ของพืชปกติได้ ถ้ามีค่า fitnessที่สูงกว่าเช่น ต้านทานแมลง เชื้อโรค หรือสิ่งแวดล้อมที่จำกัดการเจริญได้ ยีนจากพืช GM อาจหลุดออกไปผสมข้ามกับพืชท้องถิ่นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน ถ้าเกิดการผสมข้ามหลายรอบ พืชลูกผสมอาจเข้ามาแทนที่พืชท้องถิ่นที่หายาก จนอาจสูญพันธุ์ได้ (Ellstrand et al., 1999) แต่ไม่พบว่าผลกระทบดังกล่าวมีค่าสูงกว่าผลจากพืชไร่ปกติที่ปลูกกันอยู่ในขณะนี้
การเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชปกติที่การเคลื่อนย้ายยีนไปยังพืชปกติที่ ไม่ใช่พืชเทคโนชีวภาพ สิ่งที่เป็นกังวลคือ ผลผลิตที่ได้ของพืชปกติไม่สามารถ จำหน่ายได้ในลักษณะของผลิตผลอินทรีย์ เป็นเรื่องของการจัดการ ในข้าวโพดพบว่า ในระยะห่าง 100 ฟุต จะมีโอกาสผสมข้าม เพียง 1% และที่ระยะห่าง 1000 ฟุต ไม่พบว่ามีการผสมข้าม
การเคลื่อนย้ายยีนไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นการเคลื่อนย้ายยีนไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น สิ่งที่เป็นกังวลคือ การเคลื่อนย้ายของยีนที่ต้านทานสารปฏิชีวนะไปสู่ แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค ส่งผลให้ไม่สามารถรักษาได้ มีความเป็นไปได้ในห้องปฏิบัติการ ในธรรมชาติคาดว่าจะเกิดได้เพียง 10-17 สิ่งที่ต้องคำนึง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้จุลินทรีย์นั้นอยู่รอด และยีนที่เคลื่อนย้ายไปนั้นเป็นยีนตัวใหม่หรือไม่
ศักยภาพที่จะเป็นวัชพืชศักยภาพที่จะเป็นวัชพืช ลักษณะวัชพืช เมล็ดมีชีวิตนาน เจริญเติบโตเร็ว ผลิตเมล็ดได้มาก แข่งขันกับพืชอื่นได้ดี พืชเทคโนชีวภาพ ไม่ได้ทำให้มีลักษณะ ดังกล่าว สิ่งที่กังวลคือ การกลายเป็นวัชพืชของ พืชเทคโนชีวภาพ
เมล็ดของ GM canola อาจหลงเหลือในแปลงเพาะปลูก มันอาจผสมกับ canola ปกติที่ปลูกต่อมา กลายเป็นพืชลูกผสมที่ยีนต้านยากำจัดวัชพืช และอาจเจริญเป็นวัชพืชต่อพืชอื่นได้ ในอีกหลายปีต่อมา (Pekrun et al., 1997 &1998)
ผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่มิใช่เป้าหมายผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตที่มิใช่เป้าหมาย สิ่งที่เป็นกังวลคือ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มีประโยชน์จะได้รับผลกระทบ ทางลบ สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ แมงมุม ด้วงเต่าลาย ผึ้งน้ำหวาน และไส้เดือน เป็นต้น
ผลกระทบโดยตรง– พืช GM ที่วางแผนสร้างอย่างดีแล้ว จะเป็นพิษจำเพาะต่อแมลงศัตรูพืชมากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่เป็นเป้าหมาย สารพิษจากพืช GM อาจส่งผลที่คาดไม่ถึงต่อแมลงอื่น โดยเฉพาะกับแมลงผู้ล่า ที่กินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหารหลัก (Hilbeck et al., 1998a)
กรณีเด่น: เปรียบเทียบการเจริญระหว่างแมลงผู้ล่าที่อาศัยเหยื่อซึ่งที่กินพืช GM กับพวกที่เหยื่อกินพืชปกติ • ส่วนใหญ่พบว่า ผู้ล่าของแมลงที่กินพืช GM จะเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่า • อาจถูกตีความผิดว่าเกิดจากความเป็นพิษโดยตรงของ GM crop • แต่ผลวิเคราะห์โดยละเอียดพบว่า เกิดจากการผลกระทบทางอ้อมของ GM crop ที่มีต่อปริมาณของอาหาร (จำนวนของแมลงที่เป็นเหยื่อ) และคุณภาพของอาหาร (สภาพของเหยื่อ) ของผู้ล่าและปรสิตนั้น (Conner et al., 2003)
Ex.(Birch et al., 1999) การเจริญพันธุ์/ จำนวนไข่ที่วาง/ ช่วงอายุของแมลงเต่าทองtwo-spot ladybird ลดลงชัดเจน หลังเลี้ยงด้วยเพลี้ยที่กินมันฝรั่ง GM ที่มียีนสร้างโปรตีน snowdrop lectin หรือ GNA • การทดลองภายหลังพบว่า ไม่มีผลกระทบเกิดขึ้น ถ้าน้ำหนักของเพลี้ยที่กินมันฝรั่ง GNA มีค่าเท่ากับเพลี้ยปกติในชุดควบคุม • พัฒนาการที่ลดลงของแมลงเต่าทองน่าจะเกิดจากน้ำหนักที่ลดลงของเพลี้ยซึ่งเลี้ยงด้วยมันฝรั่ง GNA--> “ตีความผิด”
กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อแมลง lacewing • Ex. (Hilbeck et al., 1998)ตัวอ่อนของแมลง lacewing ซึ่งเป็นแมลงผู้ล่าที่มีประโยชน์ต่อข้าวโพด จะตายได้ถ้ากินสารพิษ BT ที่ละลายน้ำ และย่อยด้วยเอนไซม์ทริปซินแล้ว หรือถ้ากินเหยื่อที่เติบโตบนข้าวโพด BT • ถูกแย้งว่า ตัวอ่อนแมลงในธรรมชาติไม่น่าจะกินสาร BT โดยตรงได้ และเหยื่อที่มันกินมักจะเป็นเพลี้ย มากกว่าแมลง ที่ใช้เป็นเหยื่อในการทดลอง • (Lozzia et al., 1998) ต่อมาพบว่า การตายหรือพัฒนาการของตัวอ่อนแมลง lacewing ไม่ได้ถูกกระทบ แม้จะให้กินเพลี้ยที่โตบนข้าวโพด BT
กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อนก skylark • Ex.(Watkinson et al., 2000)ศึกษาผลกระทบทางอ้อมของ sugar beet GM ต่อนก skylark ที่กินวัชพืชของต้น sugar beet พบว่าจะส่งผลกระทบต่อเมื่อจำนวนประชากรวัชพืชต้องลดลงเป็นอย่างมากเท่านั้น • จริงๆ แล้ว จำนวนของวัชพืชจะมากน้อยขึ้นกับการจัดการของเกษตรกร • นอกจากนี้ การจัดการเกษตรที่ดี พร้อมการนำเอาพืช GM มาใช้แทนยากำจัดวัชพืชสังเคราะห์ อาจทำให้ประชากรของนกเพิ่มขึ้นได้ เพราะช่วยลดการทำลายห่วงโซ่อาหารของนก จากยากำจัดวัชพืช (NRC, 2002)
กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อผึ้งพันธุ์ • Ex.เป็นที่กังวลกันว่า ละอองเรณูของพืช GM จะส่งผลกระทบต่อผึ้งพันธุ์ (Apis melifera) ได้ แต่ผลการศึกษาโปรตีนที่สกัดจากผึ้ง พบว่าแทบไม่มีความเป็นพิษโดยตรงอยู่เลย และไม่พบผลกระทบใดต่อความสามารถในการสร้างรังของผึ้ง (Malone & Pham-Delegue, 2001) • แต่พบด้วยว่า สาร serine protease inhibitor จากเรณูของพืช GM ไปยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสในกระเพาะของผึ้งได้ และถ้ามีมากพอ จะทำให้ผึ้งตัวเต็มวัยมีอายุสั้นลง
กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อผึ้งพันธุ์ (ต่อ) • Ex.ละอองเรณูที่มียีนสร้างสาร cowpea trypsin (CpTi) inhibitorจะลดความสามารถในการเรียนรู้ของผึ้ง เพื่อตอบสนองต่อกลิ่นของดอกไม้ได้ (Picard-Nizouet al., 1997)--> แต่ การแสดงออกของยีนนี้ในละอองเรณูไม่น่าจะสูงพอจะทำให้เกิดผลเสียดังกล่าว • การศึกษาต่อมา (Girard et al., 1998; Jouanin et al., 1998)พบว่าสาร serine protease inhibitor อีกสองชนิด และสาร oryzacystatin ซึ่งเป็นสาร cystein proteaseinhibitor ไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้หรือการเก็บละอองเรณูของผึ้ง
กรณีเด่น: ความเป็นพิษของสาร BT ต่อผีเสื้อ monarch • Ex.(Losey et al.,1999) ประชากรผีเสื้อลดลงถึง 44 % เมื่อให้กินใบต้น milkweedที่ปนเปื้อนด้วยเกสรจากข้าวโพด BT --> ถูกโต้แย้งอย่างมากว่าไม่น่าเชื่อถือ การทดลองใน lab ไม่น่าเกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ • การวิจัยต่อมา (Searset al., 2001; Wraight et al., 2000; Hellmich et al., 2001; Oberhauser et al., 2001; Pleasants et al., 2001; Stanley-Harn et al., 2001) สรุปว่า สาร BT จากละอองเกสรข้าวโพด GM แทบจะไม่ส่งผลกระทบตามธรรมชาติต่อผีเสื้อโมนาร์กเลย
Ex.(Gathmann et al., 2006) ติดตามผลกระทบของเรณูของข้าวโพด BT ต่อผีเสื้อโมนาร์กในภาคสนามถึง 3 ปี ใช้พื้นที่ 6 เฮกตาร์ ทำ 8 ซ้ำช่วงข้าวโพดออกดอก • ไม่พบความแตกต่างของจำนวนตัวอ่อนผีเสื้อ บนไม้พุ่มซึ่งเป็นที่อยู่ปกติของผีเสื้อ ระหว่างแปลงควบคุมและแปลงที่อยู่ติดกับข้าวโพด BT เลย • ต่างจากจำนวนของตัวอ่อนผีเสื้อโมนาร์กในแปลงที่อยู่ติดกับข้าวโพดที่ใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
กรณีเด่น: อัตราการดื้อของแมลงต่อสารพิษจากพืช GM • Ex.(Tabashnik et al., 2000 & 2003) ปี 1997 พบว่ามีตัวอ่อนของหนอน pink ballwormในอะริโซน่าถึง 3.2 % ที่ต้านทานสารพิษฝ้าย BTได้ • แม้ค่าจะคงที่ไปอีกหลายปี แต่ก็ได้วิตกกันมาก เพราะมีค่าสูงกว่าที่คาดไว้ • อย่างไรก็ตาม แมลงเป้าหมายนี้จะต้องมีค่า fitness สูงมาก จึงจะสามารถถ่ายทอดลักษณะการดื้อสาร BT ต่อไปได้ • สรุปว่า สิ่งมีชีวิตเป้าหมายสามารถวิวัฒนาการให้ดื้อต่อสารพิษจากพืช GM ได้ และไม่มีพืช GM ใดที่จะแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชได้อย่างถาวร (Ervin et al., 2001; NRC, 2002)
ในด้านการเกษตรอาจจะต้องดูถึงในด้านการเกษตรอาจจะต้องดูถึง ผลของการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีต่อการปลูกพืชหมุนเวียน ผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตในแปลง ผลที่มีต่อจุลินทรีย์ดิน ผลที่มีต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ และ แผนการจัดการที่เป็นไปได้ต่อความต้านทานของแมลง
ผลกระทบของพืช GM ต่อจุลินทรีย์ในดินนั้นน่าจะเป็นไปได้น้อยมาก (Kowalchuk et al.,2003)โดยถ้าจะเกิดอาจจะมี 2 ลักษณะคือ • 1. พืช GM อาจสร้างสารผลิตภัณฑ์ขึ้น แล้วสารนี้อาจซึมผ่านออกมาทางรากของพืช แล้วจึงส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในดิน • 2. การดัดแปลงพันธุกรรมของพืชอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเนื้อเยื่อพืช แล้วคุณภาพของเนื้อเยื่อพืชที่เปลี่ยนแปลงไปนี้อาจส่งผลกระทบต่อไปยังจุลินทรีย์ที่กินมันเข้าไป
มีรายงานถึงการรั่วไหลของโปรตีนที่พืชสร้างขึ้น ผ่านทางรากพืชออกสู่ดินได้ โปรตีนนี้ได้กลายเป็นสารอาหารให้จุลินทรีย์บางกลุ่มใช้ในการเจริญเติบโตได้ (Angle, 1994)
สารพิษ BTจากดินรอบต้นพืช GM มีค่าhalf lifeสูง 10 – 30 วัน • อัตราการย่อยสลายของสาร BT ขึ้นกับลักษณะของดินเป็นหลัก (Crecchio &Stotzky, 1998; Glandorf et al., 1997) คือ ถ้าดินมีอนุภาคของดินเหนียว (clay) อยู่สูง จะจับและหยุดปฏิกิริยาของสาร BT ได้ถาวร โดยไม่ถูกดูดซึมไปเก็บสะสมในพืชต้นอื่น (Saxzena &Stotzky, 2001) • (Dunfield &Germida, 2004) มีโอกาสมากที่โปรตีนจากพืช GMและจุลินทรีย์ในดินจะสัมผัสกันหลังฤดูกาลการเก็บเกี่ยว • หลังการเก็บเกี่ยว พืชจะเริ่มถูกย่อยสลาย และอาจจะปลดปล่อยโปรตีน ออกมาสู่ดิน
ถ้าไม่มีการไถพรวนดิน จะทำให้โปรตีนเหล่านั้นตกค้างอยู่ตามหน้าดิน โอกาสที่จุลินทรีย์ในดินจะสัมผัสถูกโปรตีนนั้นจึงมีน้อยมาก • แต่ถ้ามีการไถพรวนดินเกิดขึ้น กลับจะเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกันระหว่างเชื้อจุลินทรีย์และโปรตีนจากพืช GM ให้มากขึ้นไปด้วย • Dunfield และ Germida (2004) รวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาผลกระทบของพืช GM ด้วยวิธีการต่างๆต่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่รอบราก (rhizosphere) ของมัน
1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • แนวโน้มของปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืช GM กับสังคมของสิ่งมีชีวิตในดิน (ดัดแปลงจาก Dunfield &Germida, 2004)
ส่วนใหญ่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของประชากรจุลชีพในแนวดินรอบรากของพืช GM(Griffithset al., 2000) • มีเพียงส่วนน้อยที่พบการเปลี่ยนแปลงของประชากรแบคทีเรีย เชื้อรา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน • Ex.ปริมาณแบคทีเรียและเชื้อราในดินรอบต้นฝ้าย BTมีเพิ่มขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับฝ้ายที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม (Donegan et al., 1995) • แต่ผลการใช้เชื้อBacillus thuringiensisเป็นสารปราบศัตรูพืชทางชีวภาพโดยตรง กลับไม่แสดงปรากฏการณ์นี้ (Glare &O’Callaghan, 2000)
1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • อีกปัญหาใหญ่ของผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืช GM และเชื้อจุลินทรีย์ในดิน คือ โอกาสของการถ่ายทอดยีนในแนวราบหรือ HGT(horizontal gene transfer) • Nielsen et al. (1998) ได้เสนอแผนภาพของความเป็นไปได้แบบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อ DNA จากพืช GM ได้หลุดรอดออกมาสู่ดิน
1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • ปัญหาใหญ่ของ HGT คือ การที่ยีนพิเศษในพืช GM อาจถ่ายทอดไปยังจุลินทรีย์ในดิน หรือจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของคนและปศุสัตว์ได้ ซึ่งอาจนำไปสู่อันตรายใหญ่หลวงทางสาธารณะสุข • เช่น เชื้อโรคอาจได้รับยีน marker ต้านยาปฏิชีวนะจากพืช GM จนทำให้สามารถดื้อต่อยาได้ • ในขณะนี้ ยังไม่มีรายงานการพบกลไกที่จะทำให้เกิด HGT จากพืชไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้ แต่มีการทดลองเป็นอันมากเพื่อพิสูจน์ว่าจะเกิด HGT จากพืช GM ไปสู่แบคทีเรียได้หรือไม่
1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • ผลการทดลองส่วนใหญ่ สรุปว่า HGT ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ (Bertolla &Simonet, 1999; Gebhard &Smalla, 1999; Nielsen et al., 1998; Schlüter และคณะ, 1995) เพราะ DNAที่ถูกถ่ายทอดไปจากพืชจะต้องมีลำดับคล้ายกับของแบคทีเรีย จึงจะคงอยู่ในจีโนมของเชื้อได้ • แม้ว่าต่อมา จะมีการทดลองดัดแปลงให้ยีนต้านยา kanamycin จากข้าวโพด GM ถ่ายทอดไปอยู่ในเชื้อ Acinetobacterได้ ด้วยเทคนิค marker rescueซึ่งเป็นการเพิ่มลำดับ DNA ที่เหมือนกับของแบคทีเรียเข้าไป --> แต่ถ้าไม่มีการดัดแปลงนี้แล้ว จะไม่สามารถทำให้เกิด HGT เช่นนี้ได้
1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • งานวิจัยช่วงหลัง ได้ค้นพบว่าอาจจะเกิด HGTระหว่างพืชและจุลินทรีย์ในดินได้บ้างถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม • Ex.(Kay et al., 2002) อาจมี HGT ของยีนจากต้นยาสูบ GMไปยังจุลินทรีย์บางชนิดที่มีลำดับเบสเหมือนกับDNA ของคลอโรพลาสต์ • Ex.(Kurtland et al., 2003) HGT ที่เกิดขึ้นอาจถูกกำจัดออกไปจากจีโนมได้ ถ้าไม่มีความกดดันของการคัดเลือก (selection pressure) • สรุปว่า HGT ระหว่างสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถที่จะเกิดขึ้นได้จริง แต่เป็นไปได้น้อยมาก (Conneret al., 2003)
1.2ผลกระทบของพืช GM ที่มีต่อจุลินทรีย์ในดิน • นอกจากการทดลองในแบคทีเรียนี้แล้ว ยังมีการทดลองที่พบ HGT จากพืชไปสู่เชื้อราที่อาศัยอยู่กับพืชได้ แต่ยังขาดหลักฐานที่แสดงถึงความเสถียรของการถ่ายทอดยีนและการแสดงออกของยีน • นอกจากนี้ ยังมีการรายงานถึงการคงอยู่ของ DNA จากพืช GM ในดิน แต่กลับไม่พบว่ามีการแลกเปลี่ยนยีนซึ่งกันและกันระหว่างจุลินทรีย์ในดินเลย (Widmer et al., 1997; Paget et al., 1998; Gebhard &Smalla, 1999)
แนวทางการประเมินความปลอดภัยของกรมวิชาการเกษตรแนวทางการประเมินความปลอดภัยของกรมวิชาการเกษตร แบ่งการตรวจสอบออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาทดลองในโรงเรือนและ/หรือห้องปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาทดลองในแปลงทดลอง ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาทดสอบในสภาพไร่ สภาพโรงเรือนและ/หรือห้องปฏิบัติการต้องผ่านการตรวจสอบและ รับรองจากคณะทำงานตรวจสอบความปลอดภัยทางชีวภาพภาคสนาม ของกรมวิชาการเกษตร
แนวทางการประเมินความปลอดภัยของกรมวิชาการเกษตรแนวทางการประเมินความปลอดภัยของกรมวิชาการเกษตร • กำหนดให้ทำการศึกษา • ลักษณะทาง พฤกศาสตร์ • ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ • การเกิดโรค การทำลายของแมลงและการเป็นวัชพืช • ผลกระทบต่อแมลงที่เป็นประโยชน์ • ผลกระทบต่อจุลินทรีย์ดิน • ผลกระทบต่อคน สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น • ผลกระทบต่อพืชและวัชพืชข้างเคียง และพืชปลูกตามหลัง • อื่นๆ ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการกำหนดวิธีดำเนินงานและข้อปฏิบัติในเรื่องของความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น การเผาทำลายต้นพืชและชิ้นส่วนต่างๆ เมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง เป็นต้น
3. ผลกระทบต่อพืชและวัชพืช หลังการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตมะละกอจีเอ็มโอนักวิจัยได้ปลูกพืชอื่นอีก 6 ชนิด คือ ถั่วลิสง ผักบุ้ง ข้าวโพด ผักกาด ถั่วฝักยาว และวัชพืช พบว่าพืชดังกล่าวข้างต้นมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ และมะละกอไม่กลายพันธุ์เป็นวัชพืชในแปลง4. ผลกระทบต่อผึ้ง ผึ้งที่ได้รับสารอาหารเหลวจากมะละกอจีเอ็มโอ และไม่ใช่จีเอ็มโอ มีเปอร์เซ็นต์การรอดตาย การเจริญเติบโตของตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยเหมือนกัน และผึ้งเต็มวัยมีรูปร่างลักษณะที่เป็นปกติ5. ผลกระทบต่อหนูนอร์เวย์ หนูนอร์เวย์ที่กินมะละกอจีเอ็มโอ และไม่ใช่จีเอ็มโอต่างมีน้ำหนักตัวและการเจริญเติบโตรวมทั้งการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างกัน
6. การศึกษาการปลิวของละอองเกสร ละอองเกสรของมะละกอจีเอ็มโอ สามารถแพร่กระจายและปลิวได้ในระยะ 2 – 2.5 เมตร แต่ในระยะ 10 – 20 เมตรไม่พบยีนของมะละกอจีเอ็มโอ7. จุลินทรีย์ ดินที่ปลูกมะละกอจีเอ็มโอ และไม่ใช่จีเอ็มโอ ต่างมีจำนวนจุลินทรีย์ และจำนวนสายพันธุ์ของจุลินทรีย์เท่ากันและมีจำนวนจุลินทรีย์ดินที่มีประโยชน์ในการเป็นปุ๋ยชีวภาพไม่ว่าจะเป็นเชื้อไรโซเบียม หรือเชื้อไมโคไร่ซ่า ในดินทั้งก่อนปลูกและหลังปลูกเท่ากันอีกด้วย http://www.doa.go.th/th/ShowArticles.aspx?id=1249
การวิเคราะห์ความปลอดภัยทางชีวภาพการวิเคราะห์ความปลอดภัยทางชีวภาพ 1 2 การประเมิน ความเสี่ยง การจัดการ ความเสี่ยง 3 4 การสื่อสาร ความเสี่ยง การพิจารณา เพื่อการตัดสินใจ สัมมนาวิชาการเกษตรปี 2546, (27 ม.ค.)คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น