1 / 19

GED 3801 การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60)

GED 3801 การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60). ผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. การติดต่อผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา. ห้องพักอาจารย์ อาคาร 29 สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย

rhea-cook
Download Presentation

GED 3801 การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. GED3801การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60)GED3801การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60) ผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

  2. การติดต่อผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา ห้องพักอาจารย์ อาคาร 29 สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย Email & MSN & facebook : ajau.cmru@hotmail.comHomePage : www.er.cmru.ac.th โทรศัพท์ 086-192904X(ใช้ mail หรือ fb จะดีกว่า)

  3. เนื้อหา หน่วยที่ 1 สภาพทั่วไปของสถานศึกษา หน่วยที่ 2 งานในหน้าที่ครูผู้สอน หน่วยที่ 3 งานในหน้าที่ครูประจำชั้น หน่วยที่ 4 งานบริหารสถานศึกษา หน่วยที่ 5 งานบริการของสถานศึกษา หน่วยที่ 6 สภาพชุมชนและความสัมพันธ์ ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน

  4. หน่วยที่ 4 งานบริหารสถานศึกษา สาระสำคัญการบริหารสถานศึกษาเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผู้บริหารจำเป็นต้องศึกษา ฝึกฝนอบรมและสามารถนำไปใช้ได้จริง ความสามารถในการบริหารที่ดีมีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรหรือสถานศึกษาดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าและมีการพัฒนายิ่งๆ ขึ้น

  5. จุดประสงค์ • นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของคำว่าการบริหารได้ถูกต้อง • นักศึกษาสามารถระบุประเภทของงานด้านการบริหารต่างๆ ในสถานศึกษาได้ • นักศึกษาแสดงออกถึงความกระตือรือร้น สนใจ ติดตามซักถามขณะที่เรียนอย่างสม่ำเสมอ • นักศึกษาเข้าเรียนและทำกิจกรรมด้วยความตั้งใจต่อเนื่อง • นักศึกษาสามารถอภิปรายสภาพการบริหารสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ • นักศึกษาทำแบบฝึกหัดได้อย่างถูกต้อง

  6. เนื้อหา • ความหมายและความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา • ปัจจัยและกระบวนการในการบริหารสถานศึกษา • โครงสร้างการบริหารสถานศึกษาโดยทั่วไป • การบริหารสถานศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน (School based Management) • หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษา • บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการปฏิรูปการเรียนรู้ • บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษา • ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารสถานศึกษา

  7. กิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมการเรียนการสอน ให้แต่ละกลุ่มนำข้อมูลจากหนังสือพิมพ์มาอภิปราย วิพากษ์ วิจารณ์ ตามหัวข้อเนื้อหา

  8. มอบหมายงาน • เจอกันวันที่ 11 มกราคม 2555 • ส่งการค้นคว้าหน่วยที่ 4 การบริหารสถานศึกษา(ก่อนวันที่ 9 มค) • หาข่าวการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานจากหนังสือพิมพ์ หรือหนังสือพิมพ์ online หรือ(กฤตภาคข่าว)clipping กลุ่มละ 1 ข่าว(ไม่ซ้ำกัน)พร้อมการวิเคราะห์ข่าวว่าเกี่ยวข้องกับหลักการ POSDCORB หรือ 4 M'S หรือ SBM อย่างไร --> present ในห้องเรียน

  9. ผู้บริหารคือใคร? การบริหาร หมายถึง การใช้ศาสตร์และศิลป์ของบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมหรืองานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ร่วมกัน โดยอาศัยกระบวนการ และทรัพยากรทางการบริหารเป็นปัจจัยอย่างประหยัด และให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  10. POSDCORB P – Planning หมายถึง การวางแผนO – Organizing หมายถึง การจัดองค์การS – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงานD – Directing หมายถึง การสั่งการCo – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือR – Reporting หมายถึง การรายงานB – Budgeting หมายถึง งบประมาณ

  11. 4 M'S ปัจจัยสำคัญการบริหาร 4Ms คน (Man) เงิน (Money) วัสดุสิ่งของ (Materials) การจัดการ (Management)

  12. 1. คน (Man) – บุคคลที่ผู้บริหารจะต้องเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา(ครู พนักงานราชการ ลูกจ้างนักการภารโรง)นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน รวมถึงบุคลากรจากหน่วยงานอื่น ดังนั้นในการทำงานร่วมกับบุคคลต่างๆ ผู้บริหารต้องมีทักษะในการทำงานร่วมกัน มีมนุษย์สัมพันธ์ มีสามารถในการบริหารผู้ใต้บังคับบัญชา มีการบริหารบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงการให้ขวัญกำลังใจในการทำงาน ส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้จักการทำงานเป็นทีม 2 เงิน (Money) – ในเรื่องเงินซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งสำหรับการบริหารงาน ผู้บริหารจำเป็นต้องมีการจัดการบริหารด้านการเงินให้ดี มีการแสวงหาทุนจากแหล่งต่างๆ ด้วยการหาภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาการศึกษา เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ เงินบริจาค รวมถึงเงินลงทุนต่างๆ ผู้บริหารจะต้องใช้หลักการบริหารทางการเงินที่มีอยู่ในการจัดได้ มีระบบตรวจสอบ การถ่วงดุล การใช้จ่ายเงิน การทำบัญชีทำการเงิน ต้องกระทำให้รูปของคณะกรรมการ ต้องยึดหลักความโปร่งใส่ ตรวจสอบได้ ไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์นอกระบบใดๆ3. วัสดุสิ่งของ(Materials) – หมายถึง วัสดุ ครุภัณฑ์ หรือทรัพย์สินต่างๆ ที่เป็นสมบัติของโรงเรียน ผู้บริหารต้องมีระบบการจัดเก็บ การใช้ประโยชน์ การดูแล บำรุงรักษา ให้มีคณะกรรมการดำเนินการตรวจสอบ ดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน มีระบบการจัดหา จัดสรร หรือได้มาซึ่งวัสดุ ครุภัณฑ์ หรือทรัพย์ต่างๆ ด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามระเบียบของการทรวงการคลังด้วย4. การจัดการ (Management) – การบริหารจัดการ เป็นส่วนสำคัญที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมี และประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับโรงเรียนที่ตนเองบริหารอยู่ให้ได้มากที่สุด การบริหารจัดการที่ดี จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์กร ต่อผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่สำคัญที่สุด โรงเรียนจะมีความเจริญก้าวหน้า

  13. SBM การบริหารจัดการโดยมีสถานศึกษาเป็นฐาน “ School-based management ” ความเป็นมาของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล การปฏิรูปการศึกษามีความมุ่งหมายที่จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และมีความสุข การดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลัง และมีประสิทธิภาพจำเป็นที่จะต้องมีการกระจายอำนาจ และให้ทุกฝ่ายการมีส่วนร่วม ซึ่ง สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ เป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ซึ่งให้มีการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาของไทย มีเอกภาพเชิงนโยบาย และมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่ การศึกษา และสถานศึกษา ดังปรากฏในบทบัญญัติมาตรา 39 ที่ว่า “มาตรา ๓๙ กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้ง ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและ สำนักงานเขตพื้นการศึกษาและสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง” การกระจายอำนาจดังกล่าวจะทำให้สถานศึกษามีความคล่องตัว มีอิสระในการบริหาร จัดการเป็นไปตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based ๗ Management : SBM) ซึ่งจะเป็นการสร้างรากฐานและความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากแนวคิดดังกล่าวเพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัว มีอิสระ และมีความเข้มแข็ง รัฐจึงให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล โดยได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ ในมาตรา ๓๕ ดังนี้ “มาตรา ๓๕ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา ๓๔ (๒) เฉพาะที่เป็น โรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล เมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่ง ให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง” “มาตรา ๓๙ กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้ง ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นการศึกษาและสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง” การกระจายอำนาจดังกล่าวจะทำให้สถานศึกษามีความคล่องตัว มีอิสระในการบริหาร จัดการเป็นไปตามหลักของการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management : SBM) ซึ่งจะเป็นการสร้างรากฐานและความเข้มแข็งให้กับสถานศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากแนวคิดดังกล่าวเพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัว มีอิสระ และมีความเข้มแข็ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕

  14. แนวทางส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลแนวทางส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล การบริหารจัดการของสถานศึกษาซึ่งมีหน้าที่ให้บริการการศึกษาแก่ประชาชนและเป็น สถานศึกษาของรัฐ จึงต้องนำหลักการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ซึ่งเรียก กันโดยทั่วไปว่า “ธรรมาภิบาล” มาบูรณาการในการบริหารและจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนในฐานะที่เป็นนิติบุคคลด้วย หลักการดังกล่าว ได้แก่ ๑. หลักนิติธรรม ๒. หลักคุณธรรม ๓. หลักความโปร่งใส ๔. หลักการมีส่วนร่วม ๕. หลักความรับผิดชอบ ๖. หลักความคุ้มค่า หลักธรรมาภิบาลอาจบูรณราการเข้ากับการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาซึ่งได้แก่ การดำเนินงานด้านวิชาการ งบประมาณ บริหารงานบุคคล และบริหารทั่วไป และเป้าหมายใน การจัดการศึกษาคือทำให้ผู้เรียนเป็นคนดี เก่ง และมีความสุข

  15. สมิท และคนอื่นๆ (Smith and others, 1971, p.170) ให้ความเห็นถึงความสำคัญของ การบริหารงานวิชาการว่า การบริหารการศึกษาต้องรับผิดชอบ โดยพิจารณาถึงความเหมาะสม กับการบริหารโรงเรียน ดังนี้ งานบริหารวิชาการ ร้อยละ 40 งานในหน้าที่ทั่วไป ร้อยละ 5 งานบริหารบุคลากรที่เป็นผู้สอนและ ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอน ร้อยละ 20 งานบริหารการเงิน ร้อยละ 5 งานบริหารงานอาคารสถานที่ ร้อยละ 5 งานบริหารกิจกรรมนักเรียน ร้อยละ 20 งานบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ร้อยละ 5

More Related