1 / 31

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น. ทำไมต้องทำ FTA กับญี่ปุ่น. คู่ค้าอันดับ 1 ของไทย (ตลาดส่งออกอันดับ 2/ นำเข้าอันดับ 1) มูลค่าการค้ากับญี่ปุ่นปี 2549 เท่ากับ 42 พันล้าน US$ ( นำเข้า 25 พันล้าน US$ ส่งออก 16 พันล้าน US$)

regina-best
Download Presentation

ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น

  2. ทำไมต้องทำ FTA กับญี่ปุ่น • คู่ค้าอันดับ 1 ของไทย (ตลาดส่งออกอันดับ 2/ นำเข้าอันดับ 1) มูลค่าการค้ากับญี่ปุ่นปี 2549 เท่ากับ 42 พันล้าน US$ (นำเข้า 25 พันล้าน US$ ส่งออก 16 พันล้าน US$) • ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนอันดับ 1 ของไทย โดยสัดส่วนการลงทุน (FDI) ปี 2549 คิดเป็นร้อยละ 43 • ญี่ปุ่นได้ลงนาม / อยู่ระหว่างการเจรจา FTA กับประเทศในอาเซียน ถ้าไทยไม่ทำจะเสียเปรียบอาเซียนอื่น • FTA ญี่ปุ่น-มาเลเซีย / ญี่ปุ่น-สิงคโปร์ (มีผลบังคับใช้แล้ว) • FTA ญี่ปุ่น-ฟิลิปปินส์ (ลงนามแล้ว รอมีผลบังคับใช้) • FTA ญี่ปุ่น-อินโดนีเซีย / ญี่ปุ่น-บรูไน (เจรจาช่วงสุดท้าย พร้อมที่จะลงนามในปี 2550) • FTA ญี่ปุ่น-เวียดนาม (เริ่มเจรจา คาดว่าแล้วเสร็จปี 2551)

  3. กระบวนการและขั้นตอน JTEPA มีผลใช้บังคับ เข้า ครม. 4 ครั้ง อภิปรายใน สนช. ชี้แจงคณะกรรมาธิการฯ ฟังความเห็นประชาชน เตรียมการภายใน เพื่อให้มีผลใช้บังคับ ลงนาม 3 เม.ย.2550 เจรจารายละเอียดและยกร่าง ก.ย.2548 - ก.พ.2549 ตรวจร่าง ก.พ.- มิ.ย.2549 เจรจาทางการ ก.พ.2547 -ก.ค.2548 ศึกษาความเป็นไปได้ ก.ย.2545 - พ.ย.2546 หารือเอกชน ชี้แจงสภา ศึกษาวิจัย เผยแพร่ ปชส. ผู้นำเห็นชอบให้คณะทำงานศึกษา 12 เม.ย.2545

  4. เอกสารที่ได้มีการลงนาม • ความตกลง JTEPA • แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) • ระหว่างผู้นำไทยและญี่ปุ่น • ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยและรัฐมนตรีกระทรวง METI • ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของไทยและญี่ปุ่น • หนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและญี่ปุ่น

  5. สรุปผลการเจรจา ความตกลง JTEPA • การเปิดเสรี • การค้าสินค้า • การค้าบริการ • การลงทุน • การเคลื่อนย้ายของบุคคลธรรมดา • กฎระเบียบ • กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า • ระเบียบพิธีการศุลกากร • นโยบายการแข่งขัน • ทรัพย์สินทางปัญญา • การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ความร่วมมือ ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม; การบริการการเงิน; เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร; วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม; การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์; การท่องเที่ยว; การค้าไร้กระดาษ; วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม; การส่งเสริมการค้าและการลงทุน; ความร่วมมือด้านเกษตร ป่าไม้ และประมง; การปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจ; มาตรฐานการยอมรับร่วมกัน

  6. การค้าสินค้า ตารางข้อผูกพันด้านภาษีของไทย • จำนวนสินค้าทั้งหมด 5,495 รายการ = 99.82 % ของรายการทั้งหมด • มูลค่านำเข้าจากญี่ปุ่นปี 2548 25,951.8 ล้าน USD= 99.98%ของมูลค่ารวม • มูลค่าประหยัดภาษีสำหรับผู้นำเข้าไทย ปีแรก 418 ล้าน USD ปีที่ 11 1,869 ล้าน USD (ตามการคำนวณของ TDRI) • ตารางข้อผูกพันด้านภาษีของญี่ปุ่น • จำนวนสินค้าทั้งหมด 8,612 รายการ = 92.95% ของรายการทั้งหมด • มูลค่านำเข้าจากไทยปี 2548 14,569.7 ล้าน USD= 98.06 % ของมูลค่ารวม • มูลค่าประหยัดภาษีสำหรับผู้นำเข้าญี่ปุ่น ปีแรก 289 ล้าน USD ปีที่ 11 380 ล้าน USD (ตามการคำนวณของ TDRI)

  7. การค้าสินค้า (ต่อ) สรุปการลดภาษีของไทย สรุปการลดภาษีของญี่ปุ่น *** สามารถขอเจรจาสินค้าที่ “ยกออกจากการเจรจา” (Excluded) ได้ *** *** ในปีที่ 10 หรือเร็วกว่า แล้วแต่สองฝ่ายจะตกลงกัน ***

  8. กลุ่มสินค้าสำคัญที่ไทยจะได้รับประโยชน์ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม / รองเท้า สินค้าเครื่องหนัง สินค้าปิโตรเคมี สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ

  9. สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป (1) ยกเลิกภาษีทันที • กุ้งสด กุ้งต้ม กุ้งแช่เย็น แช่แข็งและกุ้งแปรรูป • ผลไม้เมืองร้อน เช่น ทุเรียน มะละกอ มะม่วง มังคุด มะพร้าว ผลไม้แช่เย็น แช่แข็งหรือแช่ในน้ำตาล • ผักและผลไม้แปรรูป ผลไม้กระป๋อง ลดภาษีแต่ไม่ยกเลิก • ไก่ปรุงสุก ลดจาก 6% เป็น 3% ใน 5 ปี ทยอยลดภาษีเหลือร้อยละ 0 • อาหารทะเลสำเร็จรูป ลดจาก 9.6% เป็น 0 ใน 5 ปี • ปลาหมึกกล้วยแช่เย็น แช่แข็ง ลดจาก 3.5% เป็น 0 ใน 5 ปี • อาหารสุนัขและแมว ลดจากประมาณ 36-60 เยน/กก. เหลือ 0 ใน 10 ปี

  10. สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป (2) โควตาสินค้า • กล้วย ญี่ปุ่นให้โควตาปลอดภาษี 4,000 ตันในปีแรก และทยอยเพิ่มเป็น 8,000 ตันในปีที่ 5 • แป้งมันสำปะหลังแปรรูปที่ใช้ในอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นให้โควตาปลอดภาษีแก่ไทยปีละ 200,000 ตัน • กากน้ำตาล ญี่ปุ่นให้โควตา 4,000 ตันในปีที่ 3 และเพิ่มเป็น 5,000 ตันในปีที่ 4 • สับปะรดสด ญี่ปุ่นให้โควตาปลอดภาษี 100 ตันในปีแรก และเพิ่มเป็น 300 ตันในปีที่ 5

  11. สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม • ยกเลิกภาษีทันที สินค้ารองเท้าและเครื่องหนัง • ยกเลิกภาษีภายใน 7 – 10 ปี (ยกเลิกโควตาให้กับไทยด้วย) (ภาษีตั้งแต่ 3.4-60%) สินค้าปิโตรเคมีและพลาสติก • ยกเลิกภาษีทันที – 6 ปี สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ - ยกเลิกภาษีทันที

  12. ประโยชน์เพิ่มเติมจากความตกลง JTEPA - ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร - • ความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) • การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยี • ระบบควบคุม การตรวจและรับรองคุณภาพ • ส่งเสริมการลงทุนในการตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบอาหาร • ปรึกษาหารือเพื่อบ่งชี้และและแก้ไขประเด็นเกี่ยวกับการใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) • ความร่วมมือท้องถิ่น (Local-to-Local Linkage) • เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและสหกรณ์ของทั้งสองประเทศ • ปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร • ส่งเสริมการตลาดโดยเฉพาะสินค้า OTOP • โครงการส่งเสริมการค้าและการลงทุนเพื่อครัวไทยสู่ครัวโลก (Kitchen of the World)

  13. ประโยชน์เพิ่มเติมจากความตกลง JTEPA - ภาคอุตสาหกรรมไทย - • โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น • โครงการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ • โครงการเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน • โครงการเศรษฐกิจสร้างมูลค่า • โครงสร้างหุ้นส่วนภาครัฐและเอกชน • โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  14. เปรียบเทียบความตกลง JTEPA/JMEPA/JPEPA -การเปิดตลาดสินค้า/ความร่วมมือ- ญี่ปุ่นให้ประโยชน์ต่างกันในความตกลง JTEPA/JMEPA/JPEPA • ประโยชน์โดยรวมใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันในสินค้าที่แต่ละประเทศมีศักยภาพ เช่น สินค้าเกษตร ไทยได้ดีกว่ามาเลเซียและฟิลิปปินส์ ในบางรายการ เช่น ไก่สดและไก่ปรุงสุก ผลไม้แช่เย็น แช่เข็ง แป้งมันสำปะหลังดัดแปลง กุ้งต้ม • สินค้าอื่นๆ ที่ไทยมีศักยภาพ เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม/อัญมณี ญี่ปุ่นลดภาษีให้ไทย/ฟิลิปปินส์/มาเลเซีย ทันทีเช่นกัน แต่ฟิลิปปินส์และมาเลเซียก็ไม่ใช่คู่แข่งที่สำคัญไทยในตลาดญี่ปุ่น • แต่ญี่ปุ่นให้ความร่วมมือเกษตรแก่ไทย เน้นเรื่อง SPS เพื่อให้เข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น แต่ไม่มีความร่วมมือเกษตรกับฟิลิปปินส์ • มีความร่วมมือกับไทยในเรื่องที่ไทยมีศักยภาพ เช่น เหล็ก สิ่งทอ ยานยนต์ ขณะที่ไม่มีความร่วมมือในลักษณะนี้กับฟิลิปปินส์และมาเลเซีย

  15. เปรียบเทียบความตกลง JTEPA/JMEPA/JPEPA -การเปิดตลาดสินค้า- สินค้าประมง

  16. เปรียบเทียบความตกลง JTEPA/JMEPA/JPEPA -การเปิดตลาดสินค้า- ผักและผลไม้เมืองร้อน

  17. สินค้าที่ไทยได้รับผลกระทบ (เปรียบเทียบกับมาเลเซียและฟิลิปปินส์) ไทยให้ญี่ปุ่นน้อยมากเมื่อเทียบกับมาเลเซียและฟิลิปปินส์ • ชิ้นส่วนยานยนต์ • มาเลเซียยกเลิกภาษีในปี 2010 ทุกรายการ • ฟิลิปปินส์ยกเลิกภาษีในปี 2013 ทุกรายการ • ไทยยกเลิกปี 2011 และ 2013 (รายการอ่อนไหว) แต่มีเงื่อนไขเรื่อง OEM • ยานยนต์ • มาเลเซียจะยกเลิกภาษียานยนต์ทุกรายการ ในปี 2015 • ฟิลิปปินส์จะยกเลิกทุกรายการภายในปี 2013 • ส่วนไทยลดภาษียานยนต์มากกว่าหรือเท่ากับ 3,000 ซีซี เหลือ 60% นอกนั้นไม่ลด ให้นำมาเจรจาใหม่

  18. การเปิดเสรีการค้าบริการการเปิดเสรีการค้าบริการ ข้อผูกพันเปิดเสรีของญี่ปุ่น • ให้คนไทยหรือบริษัทไทยเข้าไปตั้งกิจการหรือให้บริการ • เพิ่มจากที่ผูกพันไว้ใน GATS 65 สาขาย่อย • ปรับปรุงจากที่ผูกพันไว้ใน GATS อีกกว่า 70 สาขาย่อย • เป็นการเปิดเสรีเพิ่มในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยน่าจะมีศักยภาพ • อาทิ บริการโฆษณา โรงแรม สปา ร้านอาหาร จัดเลี้ยง จัดการประชุม จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม วิศวกรรมโยธา สถาปนิก การสอนรำไทย มวยไทย/ดนตรีไทย/อาหารไทย ซ่อมบำรุงรถยนต์

  19. การเปิดเสรีการค้าบริการ (ต่อ) ข้อผูกพันเปิดเสรีของไทย • ให้ชาวญี่ปุ่นหรือบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาตั้งกิจการเพื่อให้บริการเพิ่มจากที่ผูกพันไว้ใน GATS ใน 14 สาขาย่อย อาทิ เช่น - ที่ปรึกษาด้านการจัดการทั่วไป (เป็นเจ้าของได้ถึง 100%) - บริการจัดการโครงการ ยกเว้นด้านการก่อสร้าง (49%) - ที่ปรึกษาด้านการจัดการด้านทรัพยากรบุคคล (49%) - ที่ปรึกษาการจัดการด้านการผลิต (49%) - ที่ปรึกษาด้านการตลาด (49%) - บริการที่ปรึกษาด้านโลจิสติกส์ (51%) - บริการซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ผลิตเองในไทย (60%)

  20. การเปิดเสรีการลงทุน ข้อผูกพันเปิดเสรีของญี่ปุ่น • ให้ชาวไทยหรือบริษัทไทยเข้าไปลงทุนภาคที่ไม่ใช่บริการได้ในทุกสาขา ยกเว้น การผลิตยา น้ำมัน อุตสาหกรรมอวกาศและยานอวกาศ อุตสาหกรรมพลังงาน เหมืองแร่ ประมง เกษตร ป่าไม้ • ไม่ใช้ Performance requirements ในทุกสาขาที่ไม่ใช่ภาคบริการ โดยผูกพันมากกว่าใน TRIMS

  21. การเปิดเสรีการลงทุน (ต่อ) ข้อผูกพันการเปิดเสรีของไทย • ให้ชาวญี่ปุ่นหรือบริษัทญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนใน 1 สาขา คือ การผลิตรถยนต์ โดยถือหุ้นได้ไม่ถึง (less than) 50% • ไม่ใช้ Performance requirements ในทุกสาขาที่ไม่ใช่ภาคบริการ โดยผูกพันเท่ากับใน TRIMS

  22. การเปิดเสรีการเคลื่อนที่ของบุคคลการเปิดเสรีการเคลื่อนที่ของบุคคล ข้อผูกพันของไทย • สาขาที่สำคัญ • ภาคการผลิตและบริการ จัดบริการ One Stop Service เพื่อความสะดวกในการต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงานและรับที่จะหารือในเรื่องการผ่อนปรนเงื่อนไขการออกและต่อใบอนุญาตทำงานในไทย และเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร ภายใน 2-3 ปีหลังจาก JTEPA มีผลใช้บังคับ สำหรับ นักธุรกิจ/ Intra-corporate transferees / นักลงทุนญี่ปุ่น • บริการคอมพิวเตอร์ ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการทั่วไป บริการวิศวกรรม บริการโรงแรม บริการร้านอาหาร เปิดให้คนญี่ปุ่นที่มีความรู้ระดับปริญญาตรีหรือมีความเชี่ยวชาญพิเศษ สามารถทำงานได้ โดยต้องมีสัญญาจ้างงานกับบริษัทในไทย • โรงเรียนนานาชาติ สถาบันการศึกษาสายเทคนิค สถาบันอุดมศึกษา การสอนหลักสูตรวิชาชีพหรือหลักสูตรระยะสั้น เปิดให้คนญี่ปุ่นเข้ามาทำงานสอนได้ แต่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด

  23. การเปิดเสรีการเคลื่อนที่ของบุคคล (ต่อ) ข้อผูกพันเปิดเสรีของญี่ปุ่น • สาขาที่สำคัญ • พ่อครัว-แม่ครัวไทย ไม่ต้องจบปริญญาตรี แต่ต้องได้รับการรับรองฝีมือแรงงานจากกระทรวงแรงงานและมีประสบการณ์ทำงานเป็นพ่อครัวในภัตตาคารในไทยอย่างน้อย 5 ปี ซึ่งญี่ปุ่นลดลงให้จาก 10 ปี • คนดูแลผู้สูงอายุ พนักงานสปาไทย ญี่ปุ่นรับจะเริ่มเจรจาภายใน 1-2 ปีหลัง JTEPA มีผลใช้บังคับเพื่อให้คนไทยสามารถเข้าไปประกอบอาชีพดังกล่าวได้ • ด้านมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยรวมญี่ปุ่นเปิดให้คนไทยที่มีวุฒิปริญญาตรี เข้าไปทำงานได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่นจะรับพิจารณาให้ปริญญาที่ได้รับในไทยเทียบเท่ากับปริญญาที่ได้รับในญี่ปุ่น

  24. ผลของความตกลงในด้านต่างๆผลของความตกลงในด้านต่างๆ ด้านการเปิดตลาดสินค้า ข้อดี • ผู้นำเข้ามีต้นทุนการนำเข้าต่ำลง • ผู้บริโภคซื้อของจากญี่ปุ่นถูกลง/ทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น • ส่งออกเพิ่มขึ้น ข้อเสีย • ผู้ประกอบการเหล็ก รถยนต์ ชิ้นส่วน ต้องปรับตัว

  25. อุตสาหกรรมไทยที่ต้องปรับตัวอุตสาหกรรมไทยที่ต้องปรับตัว เหล็ก / ชิ้นส่วนยานยนต์ • เหล็ก ลดภาษีตามขีดความสามารถในการผลิต และความต้องการเป็นวัตถุดิบ (ลดภาษีทันที / ทยอยลด / ให้โควตา / คงภาษีแล้วยกเลิกใน 6-10 ปี) • ชิ้นส่วนยานยนต์ คงภาษีให้เอกชนปรับตัว (5-10 ปี) เน้นเฉพาะชิ้นส่วนนำเข้าเพื่อใช้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ รถยนต์สำเร็จรูป (CBU) • รถยนต์สำเร็จรูปต่ำกว่า 3,000 ซีซี เจรจาใหม่ใน 5 ปี และลดภาษีรถเกิน 3,000 ซีซี ปีละ 5% จาก 80% เหลือ 60% • เปิดตลาดน้อยมาก เมื่อเทียบกับมาเลเซียและฟิลิปปินส์

  26. มาตรการเยียวยาสำหรับหากมีการนำเข้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายมาตรการเยียวยาสำหรับหากมีการนำเข้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย • JTEPA ได้มีข้อบทเรื่องมาตรการปกป้องสองฝ่าย(Bilateral Safeguard) ซึ่งเป็นมาตรการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นและเปรียบเสมือนเป็น Safety Valve ให้กับอุตสาหกรรมไทย โดยหากผลของการลด/ยกเลิก ภาษีศุลกากร ทำให้สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งจากอีกฝ่ายทะลักเข้ามาเป็นจำนวนมากจนก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแก่อุตสาหกรรมภายใน ฝ่ายที่โดนกระทบสามารถระงับการลดภาษี หรือ ขึ้นภาษีได้

  27. การค้าบริการ ข้อดี • เป็นการเปิดเสรีเพิ่มในสาขาที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการของไทยน่าจะมีศักยภาพอาทิ บริการ โฆษณา โรงแรม สปา ร้านอาหาร จัดเลี้ยง จัดการประชุม จัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม ที่ปรึกษากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายไทย วิศวกรรมโยธา สถาปนิก การสอนรำไทย มวยไทย/ดนตรีไทย/อาหารไทย ซ่อมบำรุงรถยนต์ ข้อเสีย • น่าจะมีผลกระทบน้อย เนื่องจากในสาขาที่ไทยเปิดให้ญี่ปุ่นเกินกว่า 49% นั้น ปัจจุบันบริษัทญี่ปุ่นได้เข้ามาเป็นเจ้าของธุรกิจเหล่านี้ได้ 100% โดยผ่านการขออนุญาตจากคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวอยู่แล้ว อาทิ ค้าส่ง ค้าปลีก ซึ่งเป็นบริการเฉพาะสำหรับสินค้าที่ผลิตเองไม่ได้ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป • สำหรับสาขาอื่นๆ เช่น โฆษณา โรงแรม และร้านอาหาร ไม่น่ากังวลเพราะเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง และผู้ประกอบการไทยค่อนข้างมีศักยภาพในการแข่งขัน

  28. การลงทุน ข้อดี • ญี่ปุ่นจะรับประกันให้บริษัทไทย/คนไทยเข้าไปลงทุนในทุกสาขาการลงทุนที่ไม่ใช่ภาคบริการ (ยกเว้นการผลิต ยา น้ำมัน อุตสาหกรรมอวกาศและยานอวกาศ อุตสาหกรรมผลิตพลังงาน เหมืองแร่ การประมง เกษตร ป่าไม้) • เป็นความตกลงด้านการลงทุนซึ่งครอบคลุมทั้งการเปิดเสรีและการคุ้มครองการลงทุนฉบับแรกที่ไทยมีกับญี่ปุ่น ข้อเสีย • ไทยแทบจะไม่ได้ให้อะไรญี่ปุ่นในชั้นนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติปัจจุบันญี่ปุ่นสามารถเข้ามาลงทุนผลิตรถยนต์ในไทยได้ 100% อยู่แล้ว โดยไม่ต้องขออนุญาตประกอบธุรกิจคนต่างด้าวเนื่องจากการผลิตรถยนต์ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของพ.ร.บ. ประกอบธุรกิจคนต่างด้าว

  29. การเคลื่อนที่ของบุคคลการเคลื่อนที่ของบุคคล ข้อดี • ญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายเงื่อนไขคุณสมบัติในการเข้าไปทำงานของพ่อครัวแม่ครัวไทย โดยลดประสบการณ์ทำงานจาก 10 เหลือ 5 ปี และไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรี • ญี่ปุ่นพร้อมจะอนุญาตให้บุคลากรในอาชีพครูสอนนาฏศิลป์ไทย สอนทำอาหารไทย สอนภาษาไทย สอนมวยไทย สอนดนตรีไทย สอนสปาไทย และ spa manager เข้าเมืองและอยู่ทำงานได้หากมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการเข้าเมืองตามกฎหมายญี่ปุ่น ข้อเสีย • ข้อผูกพันของไทยไม่น่าจะมีผลกระทบต่อตลาดแรงงาน เนื่องจากสิ่งที่ไทยให้ญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นเรื่องการอำนวยความสะดวกในการติดต่อขอ visa และ work permit

  30. มาตรการใช้ประโยชน์และรองรับผลกระทบจากเขตการค้าเสรีมาตรการใช้ประโยชน์และรองรับผลกระทบจากเขตการค้าเสรี • การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อติดตามและส่งเสริมสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากความตกลง JTEPA โดยประกอบไปด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ความตกลง JTEPA • กองทุนเพื่อการปรับตัวรองรับการเปิดเสรีทางการค้า โดยกองทุนฯ ดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ จากผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันที่เกิดจากการเปิดเสรี โดยจะเป็นความช่วยเหลือระยะสั้นไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ จะมีการศึกษาว่า sector ไหนได้รับผลกระทบและควรมีมาตรการใดในการให้ความช่วยเหลือ

  31. ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.depthai.go.th/ http://www.mfa.go.th/jtepa/ http://www.dtn.go.th/ http://www.thaifta.com/ Call Center: 1169

More Related