1 / 44

ประเภทของ ทรัพยสิทธิ

ประเภทของ ทรัพยสิทธิ. ประเภทของทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์. ทรัพยสิทธิในทรัพย์ของตนเอง. ทรัพยสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่น. กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง. สิทธิครอบครอง สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระจำยอม ภาระติดในอสังหาริมทรัพย์. 1. กรรมสิทธิ์ ( OWNERSHIP).

redford
Download Presentation

ประเภทของ ทรัพยสิทธิ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประเภทของ ทรัพยสิทธิ

  2. ประเภทของทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ประเภทของทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ทรัพยสิทธิในทรัพย์ของตนเอง ทรัพยสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่น • กรรมสิทธิ์ • สิทธิครอบครอง • สิทธิครอบครอง • สิทธิอาศัย • สิทธิเหนือพื้นดิน • สิทธิเก็บกิน • ภาระจำยอม • ภาระติดในอสังหาริมทรัพย์

  3. 1. กรรมสิทธิ์ (OWNERSHIP) เป็นทรัพยสิทธิ ที่แสดงถึงอำนาจแห่งการเป็นเจ้าของทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่ การใช้สอย การจำหน่ายจ่ายโอน และได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น และมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้อง กับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบ

  4. สิทธิของบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินสิทธิของบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มาตรา 1336 “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สิน มีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผล แห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่ง ทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมี สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวของกับทรัพย์สินนั้น โดยมิชอบด้วยกฎหมาย”

  5. สิทธิผู้มีกรรมสิทธิ์ 1. มีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินนั้น 2. มีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน -เฉพาะเจ้าของทรัพย์เท่านั้นที่จะมีสิทธิจำหน่าย ทรัพย์นั้นได้ บุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของไม่มีสิทธิจำหน่าย -ผู้ได้ทรัพย์จากผู้ที่มิได้เป็นเจ้าของทรัพย์ ย่อมไม่ ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ นั้นไป (ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน)ยกเว้นแต่ มีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ 3. มีสิทธิได้ซึ่งดอกผลของทรัพย์สินนั้น

  6. สิทธิผู้มีกรรมสิทธิ์ 4. มีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ มีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

  7. แดนแห่งกรรมสิทธิ์ มาตรา 1335 “..แดนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินกินทั้งเหนือ พื้นดินและใต้พื้นดินด้วย”

  8. ข้อจำกัดแห่งกรรมสิทธิ์และแดนแห่งกรรมสิทธิ์ข้อจำกัดแห่งกรรมสิทธิ์และแดนแห่งกรรมสิทธิ์ 1. เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลตามธรรมชาติจาก ที่ดินแปลงสูงมายังที่ดินของตนเอง(ม.1339)

  9. 2. เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะการระบาย จากที่ดิน สูงมาในที่ดินของตน ถ้าก่อนที่ระบายนั้นน้ำได้ไหล เข้ามาในที่ดินของตนตามธรรมดาอยู่แล้ว เจ้าของที่ดินต่ำอาจ เรียกร้องให้เจ้าของที่ดินสูงทำ ทางระบายน้ำและออกค่าใช้จ่ายในการนั้นเพื่อ ระบายน้ำไป ให้ตลอดที่ดินต่ำจนถึงทางน้ำหรือท่อน้ำสาธารณะ (ม.1340)

  10. 3. เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะทำหลังคา หรือการปลูก สร้างอย่างอื่นทำให้ฝนตกลงยังทรัพย์สินซึ่งอยู่ติดต่อกันไมได้ (ม.1341)

  11. 4. เจ้าของที่ดินจะขุดบ่อ สระ หลุมรับน้ำโสโครก หรือ หลุมรับปุ๋ยหรือขยะมูลฝอยนั้นในระยะสองเมตรจากแนวเขต ที่ดินไม่ได้ (ม. 1342 ว.1) ถ้ากระทำใกล้แนวเขตต้อง ใช้ความระมัดระวัง ตามควร เพื่อป้องกันมิให้ดินหรือทรายพังลง หรือมิให้น้ำหรือ สิ่งโสโครกซึมเข้าไป

  12. 2 m

  13. 5. เจ้าของที่ดินจะ คูหรือการขุดร่องเพื่อวางท่อน้ำ ใต้ดินหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันนั้น ใกล้แนวเขตที่ดินกว่าครึ่ง หนึ่งแห่งส่วนลึกของคูหรือร่องนั้นไม่ได้ ยกเว้นแต่จะทำ ห่างแนวเขตหนึ่งเมตรขึ้นไป (ม. 1342 ว.2)

  14. 6. เจ้าของที่ดินจะขุดดินหรือบรรทุกน้ำหนักบน ที่ดินเกินควรจนอาจ เป็นเหตุอันตรายแก่ความอยู่มั่นแห่ง ที่ดินติดต่อไม่ได้ เว้นแต่จะได้จัดการเพียงพอเพื่อ ป้องกันความเสียหาย (ม. 1343 ว.1)

  15. 7. ถ้าเจ้าของที่ดินได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้ว ต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อ ระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของตน เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อ ซึ่งถ้าไม่ยอมให้ผ่านก็ไม่มีทางจะวางได้ หรือถ้าจะวางได้ก็เปลืองเงินมากเกินควร(ม. 1352)

  16. ข้อสังเกต 1. ถ้าจะต้องสร้างสิ่งดังกล่าว เหนือพื้นดินเจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ซื้อที่ดินของตนบางส่วนตามควรที่จะใช้ในการนั้น โดยราคาคุ้มค่าที่ดินและค่าทดแทนความเสียหาย ซึ่งอาจมีเพราะการขาย นั้นด้วย 2. เจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ย้ายถอนสิ่งที่วางนั้นไปไว้ ณ ส่วนอื่นแห่งที่ดินของตน ตามแต่จะเหมาะแก่ประโยชน์แห่งเจ้าของที่ดิน

  17. 8. ข้อจำกัดกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับกิ่งไม้ หรือรากไม้รุกล้ำ • มาตรา 1347 “เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามากจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้” • รากไม้ ตัดได้เลย โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน • กิ่งไม้ ต้องบอกกล่าวให้เจ้าของที่ดินตัดก่อน จึงจะตัดได้

  18. 9. ทางจำเป็น มาตรา 1349 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง สาธารณะได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ ทางสาธารณะได้ ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเลหรือมีที่ชัน อันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ”

  19. หลักเกณฑ์ 1. ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออก ถึงสาธารณะ หรือ 2. มีทางออกได้แต่ต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชัน อันระดับที่ดินกับทางสาธารณะสูงกว่ากันมาก

  20. น น ทางจำเป็น

  21. ข้อสังเกตทางจำเป็น 1. เจ้าของที่ดินสามารถเรียกร้องค่าทดแทน จากการ ผ่านทางได้ 2. ถ้ามีพฤติการณ์เปลี่ยนไปทำให้ทางจำเป็น ไม่เป็น ประโยชน์อีกต่อไป เจ้าของที่ดินสามารถเรียกร้องให้เพิก ถอนลักษณะทางจำเป็นได้ 3. ทางจำเป็นถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น บุคคลอื่น ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นด้วย (บริวาร, ญาติพี่น้อง)

  22. หมายเหตุ 1. การเปลี่ยนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่เป็นเหตุให้ทางจำเป็นสิ้นสุดลง 2. ทางจำเป็นนี้ไม่จำต้องจดทะเบียนก็สามารถยกขึ้น ต่อสู้บุคคลภายนอกได้ (เป็นขอยกเว้นการจดทะเบียน ทรัพยสิทธิ)

  23. 2. สิทธิครอบครอง(POSSESSORY RIGHT) หมายถึง สิทธิในการยึดถือ และใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน

  24. หลักเกณฑ์การจะมีสิทธิครอบครองหลักเกณฑ์การจะมีสิทธิครอบครอง 1. บุคคลนั้นจะต้องยึดถือทรัพย์สิน และ 2. บุคคลนั้นจะต้องยึดถือทรัพย์สินโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน

  25. สิทธิของผู้มีสิทธิครอบครองสิทธิของผู้มีสิทธิครอบครอง มีสิทธิใช้สอย ติดตามเอาคืน และป้องกันผู้เข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์นั้นโดยมิชอบ แต่ไม่มีสิทธิจำหน่าย และทำลายซึ่งตัวทรัพย์(ยกเว้นแต่จะมีสิทธิครอบครองในฐานะเจ้าของ)

  26. เช่น นายดำให้นายแดงเช่าที่ดิน และนายแดงได้เข้า อยู่อาศัยที่ดินแล้วเช่นนี้ นายแดงมีสิทธิครอบครอง ในที่ดินที่เช่าจากนายดำ จากการที่นายแดงได้ยึดถือและใช้ ประโยชน์ในที่ดินมิใช่เพราะจากทำสัญญาเช่า

  27. 3. สิทธิอาศัย สิทธิที่บุคคลหนึ่งมีสิทธิอาศัย ในโรงเรือนของบุคคลผู้อื่น โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า -ค่าเช่า คือ ค่าตอบแทนในการได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งอาจเป็นตัวเงิน หรือไม่ก็ได้ เช่น ข้าวเปลือก เช่น นายแดง ได้ให้นายดำน้องชาย อยู่อาศัยในบ้านของตนที่ต่างจังหวัดโดยนายดำ ไม่ต้องเสียค่าเช่า เพียงแต่นายดำ เป็นผู้รับผิดชอบค่าน้ำค่าไฟเอง ก็พอ

  28. ลักษณะของสิทธิอาศัย 1. สิทธิอาศัยจะได้มาก็แต่ด้วยทางนิติกรรมเท่านั้น 2. สิทธิอาศัยจะโอนไม่ได้ และไม่ตกทอดเป็นมรดก 3. สิทธิอาศัยถ้าไม่ได้จำกัดไว้ให้เฉพาะแต่ผู้อาศัยเท่านั้น บุคคลในครอบครัว และบริวารของผู้อาศัยจะอยู่ด้วยก็ได้

  29. 4. สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิของบุคคลที่มิได้เป็นเจ้าของที่ดิน แต่มีสิทธิ เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดิน หรือใต้ดินในที่ดินของผู้อื่น (ต่างจากสิทธิอาศัย ผู้ทรงสิทธิ อาศัยไม่ได้เป็นเจ้าของโรงเรือน) เช่น นาย ก ยกที่ดินให้แก่ นาย ข. และยกบ้านบนที่ดิน ดังกล่าวให้แก่นาย ค. อยู่อาศัยจนกว่าจะตาย

  30. ข้อสังเกต 1. สิทธิเหนือพื้นดินจะได้มา หรือก่อให้เกิดขึ้นได้ด้วยทางนิติกรรมเท่านั้น 2. สิทธิเหนือพื้นดินจะมีค่าตอบแทน หรือไม่ก็ได้ 3. สิทธิเหนือพื้นดินไม่สิ้นไปเพราะเหตุที่โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกสลายไป 4. สิทธิเหนือพื้นดิน ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นประการอื่น สามารถที่จะโอนกันได้ หรือตกทอดเป็นมรดกได้

  31. 5. สิทธิเก็บกิน สิทธิของผู้ที่มิใช่เจ้าของที่ดิน แต่มีสิทธิครอบครองใช้และถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น โดยจะเสียค่าเช่าหรือผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่าง นาย ก. กู้เงินจาก นาย ข. โดยให้นาย ข. มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนทำกินต่างดอกเบี้ย จนกว่าจะชำระหนี้หมด

  32. ลักษณะที่สำคัญของสิทธิเก็บกินลักษณะที่สำคัญของสิทธิเก็บกิน 1. ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีสิทธิเพียงครอบครอง และ ใช้ประโยชน์เท่านั้น ไม่มีสิทธิโอน หรือทำลายทรัพย์ 2. สิทธิเก็บกินจะได้มาก็โดยนิติกรรมเท่านั้น

  33. 6. ภาระจำยอม (SERVITUDES) • การที่อสังหาริมทรัพย์หนึ่งจะต้องยอมรับภาระบาง • อย่าง หรืองดเว้นการใช้สิทธิบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่ • อสังหาริมทรัพย์อื่น สามยทรัพย์ ภารยทรัพย์ ถนน ถนน

  34. ภาระจำยอม(SERVITUDES) ข้อสังเกต 1. ภาระจำยอมอาจก่อให้เกิดขึ้นได้โดยนิติกรรม หรือทางอื่นนอกจากนิติกรรมก็ได้ เช่น ทางอายุความ โดยบทบัญญัติของกฎหมาย 2. ภาระจำยอมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ อสังหาริมทรัพย์อื่น มิได้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เจ้า ของอสังหาริมทรัพย์

  35. การได้ภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์การได้ภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์ หลักเกณฑ์ 1. ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น 2. ด้วยเจตนาจะให้ได้ภาระจำยอม 3. โดยสงบ 4. โดยเปิดเผย 5. ครอบครองติดต่อกันมาครบ 10 ปี ภาระจำยอมกรณีนี้ แม้ไม่จดทะเบียนก็สามารถต่อสู้บุคคลภายนอกได้

  36. การได้ภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์การได้ภาระจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์ สามยทรัพย์ ภารยทรัพย์ ถนน

  37. สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของสามายทรัพย์สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของสามายทรัพย์ 1. ไม่มีสิทธิทำการใดๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ หรือในสามายทรัพย์ซึ่งเป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ 2. มีสิทธิทำการใดๆ เพื่อรักษาและใช้ภารจำยอมได้โดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง แต่ต้องก่อให้เกิดความเสียหายแก่ภารยทรัพย์น้อยที่สุด 3. ในกรณีที่เจ้าของภารยทรัพย์ได้รับประโยชน์ในการรักษาหรือซ่อมแซมภารยทรัพย์นั้นด้วย เจ้าของภารยทรัพย์ต้องออกค่าใช้จ่ายตามส่วนประโยชน์ที่ได้รับ

  38. สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของภารยทรัพย์สิทธิและหน้าที่ของเจ้าของภารยทรัพย์ 1. เจ้าของภารยทรัพย์จะทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกไปมิได้ 2. เจ้าของภารยทรัพย์มีสิทธิขอให้ย้ายภารจำยอมไปยังส่วนอื่นของภารยทรัพย์ได้ ในเมื่อไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามายทรัพย์ลดน้อยลงไป

  39. ผลของภาระจำยอม • ภาระจำยอมย่อมตกติดไปกับสามายทรัพย์(เปลี่ยนเจ้าของสามยทรัพย์ ภาระจำยอมก็ยังคงอยู่) • ภาระจำยอมซึ่งเจ้าของรวมแห่งสามายทรัพย์คนหนึ่งได้มาหรือใช้อยู่นั้น ให้ถือว่าเจ้าของรวมได้มาหรือใช้อยู่ด้วยกันทุกคน

  40. การระงับสิ้นไปแห่งภาระจำยอมการระงับสิ้นไปแห่งภาระจำยอม • เมื่อมีนิติกรรมระหว่างเจ้าของสามยทรัพย์ และเจ้าของภารยทรัพย์ตกลงให้ภารจำยอมที่มีอยู่ระงับสิ้นไป • เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมด • เมื่อภารยทรัพย์และสามยทรัพย์ตกเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน • เมื่อมิได้ใช้ภารจำยอมถึง 10 ปี

  41. 7. ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ • เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นคราวๆ ให้แก่บุคคลอื่น เรียกว่า ผู้รับประโยชน์ หรือต้องยอมให้ผู้อื่นได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์นั้น เช่น นายดำ ยกที่ดินพร้อมหอพัก ให้แก่นายแดง โดยมีข้อกำหนดให้นายแดง แบ่งค่าเช่าให้แก่ น้องชายของนายแดง ครึ่งหนึ่ง

  42. ก. ให้ ข. เดินผ่านที่ดินของตน เพื่อไปทำนาในที่นาของ ข. ซึ่งอยู่ถัดออกไปเฉพาะฤดูกาลทำนาเป็นเวลา 20 ปี

  43. ข้อสังเกตเกี่ยวกับภาระติดพันข้อสังเกตเกี่ยวกับภาระติดพัน 1. จะได้มาโดยทางนิติกรรมเท่านั้น 2.ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนให้แก่กันไม่ได้แม้ทางมรดก

  44. ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์นี้อาจจะระงับสิ้นไปภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์นี้อาจจะระงับสิ้นไป • ครบกำหนดเวลา • เมื่อผู้รับประโยชน์ตาย • ทำนิติกรรมระงับ • ผู้รับประโยชน์และเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้กลายเป็นบุคคลเดียวกัน • อสังหาริมทรัพย์ภายใต้ภารติดพันสลายไปทั้งหมด • มิได้ใช้อสังหาริมทรัพย์ภายใต้ภารติดพันถึง 10 ปี • เจ้าของภารติดพันบอกเลิกสิทธิของผู้รับประโยชน์

More Related