1 / 48

โครงสร้างภาษา และองค์ประกอบของภาษาปาสคาล

โครงสร้างภาษา และองค์ประกอบของภาษาปาสคาล. โครงสร้างของภาษาปาสคาล. โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาลแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1. ส่วนหัวโปรแกรม( Program Heading ) 2. ส่วนประกาศ 3. ส่วนกลุ่มคำสั่ง (Program Block) PROGRAM EX1; VAR x,y : Integer; BEGIN READLN(x,y);

reba
Download Presentation

โครงสร้างภาษา และองค์ประกอบของภาษาปาสคาล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงสร้างภาษา และองค์ประกอบของภาษาปาสคาล

  2. โครงสร้างของภาษาปาสคาลโครงสร้างของภาษาปาสคาล • โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาลแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1. ส่วนหัวโปรแกรม(Program Heading) 2. ส่วนประกาศ 3. ส่วนกลุ่มคำสั่ง(Program Block) PROGRAM EX1; VAR x,y : Integer; BEGIN READLN(x,y); WRITELN(x,y); END. ส่วนหัวโปรแกรม ส่วนประกาศ ส่วนกลุ่มคำสั่ง

  3. 1. ส่วนหัวโปรแกรม Program Heading • PROGRAMสำหรับกำหนดชื่อโปรแกรม ชื่อของโปรแกรมต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และเขียนตามด้วยตัวเลข หรือตัวอักษร ในชื่อ ของโปรแกรม ไม่มีเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ หรือเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ มีรูปแบบ ดังนี้ • PROGRAM ชื่อโปรแกรม ; • ต้องเริ่มต้นด้วยคำว่า PROGRAM แล้วตามด้วยชื่อโปรแกรม เช่น • PROGRAM Test; • PROGRAM Calculate_Grade; • PROGRAM Hello;

  4. 2. ส่วนประกาศ(Declarations) เป็นส่วนที่ใช้กำหนดประเภทของข้อมูลแบบต่างๆ เช่น การประกาศตัวแปร(Variables) การประกาศค่าคงที่(Constants) หรือชนิดข้อมูล(Data Types) 3. ส่วนของคำสั่ง(Executable Statements) เป็นส่วนของประโยคคำสั่งที่มีผลให้มีการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ในขอบเขตของ BEGIN และ END

  5. กำหนดชื่อโปรแกรม กลุ่มคำสั่ง ส่วนประกาศ กำหนดไลบรารี่ กำหนดชื่อลาเบล กำหนดตัวคงที่ กำหนดแบบข้อมูล ประกาศตัวแปร ส่วนโปรแกรมย่อยหรือฟังก์ชัน ประโยคคำสั่งของโปรแกรมหลัก 1. Program Heading 2. Declarations Libraries Labels Constants Type Definitions Variables Procedure and Functions 3Executable Statements BEGIN Executable Statements END.

  6. 2. ส่วนประกาศ(Declarations) • USESใช้สำหรับกำหนดไลบรารี่ที่ต้องใช้มีรูปแบบดังนี้ USES ชื่อ ไลบรารี [, ไลบรารี่ ] ; ตัวอย่างที่ 1USESCrt; ตัวอย่างที่ 2USESDos, Crt, Printer; ถ้าไม่ใช้ไลบรารี่ใด ๆ ก็ไม่ต้องมีรายการนี้ในโปรแกรม

  7. LABEL สำหรับกำหนดชื่อ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สเตตเมนต์ GOTO จะไปหา รูปแบบดังนี้ LABEL ชื่อ [,ชื่อ] ; • CONST สำหรับกำหนดชื่อ และค่าที่ไม่เปลี่ยนแปลง มีรูปแบบดังนี้ CONST ชื่อ = ค่าที่กำหนด ; เช่น CONST title = ‘TITANIC’; max = 200;

  8. TYPEสำหรับกำหนดชื่อและชนิดข้อมูลใหม่นอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว อาจกำหนดเป็นช่วงของข้อมูลหรือลำดับของข้อมูลก็ได้ มีรูปแบบดังนี้ TYPEชื่อ = ชนิดของข้อมูล ; เช่น TYPE Days = (SUN,MON,TUE,WED,THU,FRI,SAT); Scores = 0..100; Weekdays = MON..FRI;

  9. VARสำหรับกำหนด ชื่อ แวเรียเบิลและ ชนิดข้อมูลของ สเตตเมนต์ VARชื่อ [,ชื่อ] : ชนิดของข้อมูล ; เช่น VAR title : string; max, min, avg : integer; ในโปรแกรมที่ไม่ใช้ variable ก็ไม่ต้องมีรายการนี้ในโปรแกรม

  10. PROCEDURE (เป็นโปรแกรมย่อยที่ไม่มีการคืนค่าให้กับโปรแกรมหลัก) ใช้สำหรับสร้างโพรซีเยอร์ไว้ใช้ในโปรแกรม • FUNCTION (เป็นโปรแกรมย่อยที่มีการคืนค่ากลับมาที่โปรแกรมหลัก) ใช้สำหรับสร้างฟังก์ชันไว้ใช้ในโปรแกรม

  11. 3. ส่วนของคำสั่ง(Executable Statements) • เริ่มจาก BEGIN ถึง END ส่วนนี้ประกอบด้วยประโยคคำสั่งต่าง ๆ สำหรับสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานประเภทของสเตตเมนต์ แบ่งตามการทำงานมี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. สเตตเมนต์กำหนดค่า( assignment statement ) มีรูปแบบดังนี้ ชื่อตัวแปร := ค่าที่ต้องการกำหนด;

  12. 2. สเตตเมนต์นำข้อมูลออก ( output statement ) สำหรับนำข้อมูลจากหน่วยความจำไปที่อุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ หรือ เครื่องพิมพ์เช่นคำสั่ง writeln(‘Hello , World’);3. สเตตเมนต์นำข้อมูลเข้า( input statement ) สำหรับนำข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด เข้ามาในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เช่น คำสั่ง readln(name); {รับข้อมูลมาเก็บในตัวแปร name} 4. สเตตเมนต์ควบคุมลำดับการทำงานของโปรแกรม เป็นการควบคุมเกี่ยวกับจำนวนรอบของการทำงานและการทำงานตามเงื่อนไข

  13. กำหนดชื่อโปรแกรม กำหนดตัวคงที่ ประกาศตัวแปร ประโยคคำสั่งของโปรแกรมหลัก PROGRAM circle; CONST pi = 3.1415927; VAR radias, around : real; BEGIN write(‘Enter radias : ‘); readln(radias); around := 2* pi * radius; writeln(‘around = ‘,around); write(‘Press enter to exit’); readln; END. ผลลัพธ์Enter radias : 2 around = 1.25663708000066E+0001 Press enter to exit

  14. องค์ประกอบพื้นฐานของภาษาปาสคาลองค์ประกอบพื้นฐานของภาษาปาสคาล ควรที่จะต้องรู้จักก่อนการเขียนโปรแกรม มีดังนี้ 1. ตัวอักขระ 2. ชื่อ 3. คำสงวน 4. ชื่อมาตรฐาน 5. ข้อมูลแบบพื้นฐาน 6. ค่าคงที่ 7. ตัวแปร 8. นิพจน์ 9. ประโยคคำสั่ง 10. โพรซิเจอร์และฟังกชั่น

  15. 1. ตัวอักขระ(Character) หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถนำไปใช้ในการคำนวณได้ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ • ตัวเลข(Numeric) ได้แก่ ตัวเลข 0 ถึง 9 • ตัวอักษร(Alphabetic) ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ A ถึง Z • สัญลักษณ์พิเศษ(Special symbol) ได้แก่ เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น + - * / = := . : , ‘ ^ < > <= >= <> { } ( ) [ ]

  16. 2. ชื่อ(Identifiers) เป็นการกำหนดชื่อต่างๆ เช่น ชื่อค่าคงที่ ชื่อตัวแปร ชื่อโปรแกรม ชื่อฟังก์ชัน ชื่อประเภทข้อมูล ชื่อฟิลด์ในเรคคอร์ด ชื่อยูนิต หรือชื่อมาตรฐาน เพื่อนำไปใช้งานในโปรแกรม ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมเป็นคนกำหนดขึ้นมา

  17. การกำหนดชื่อมีกฏเกณฑ์ดังต่อไปนี้การกำหนดชื่อมีกฏเกณฑ์ดังต่อไปนี้ • ประกอบด้วยตัวอักษรตั้งแต่ A ถึง Z หรือตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9 และไม่มีสัญลักษณ์พิเศษอยู่ เช่น title • ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ ห้ามเป็นตัวเลข และตัวถัดไปอาจตามด้วยตัวเลข ตัวอักษรหรือเครื่องหมาย_ (underscore) เช่น Ex_1 • ตัวอักษรตัวใหญ่กับเล็กถือว่าเหมือนกัน เช่น num1 กับ NUM1 ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน • ชื่อตัวแปรจะมีความยาวได้ไม่เกิน 255 ตัวอักขระ • ชื่อจะต้องไม่เป็นคำสงวน(Reserve word) เช่น BEGIN END IF VAR CONST • การตั้งชื่อต้องไม่มีช่องว่าง ไม่มีการเว้นวรรค เช่น ex 1 ผิด

  18. ชื่อที่ถูกต้องชื่อที่ไม่ถูกต้องชื่อที่ถูกต้องชื่อที่ไม่ถูกต้อง R2D2O 2Bar02B Pattittan First*Run Top40_Farrah Fawcett-Major

  19. 3. คำสงวน(Reserved word) เป็นคำเฉพาะที่ภาษาปาสคาลได้สร้างหรือกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้ในตัวภาษาโดยเฉพาะ ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมไม่สามารถนำไปกำหนดเป็นชื่อ(Identifiers) ได้ มักนิยมเขียนด้วยตัวใหญ่เพื่อให้แตกต่างจากชื่ออื่นๆ แต่ถ้าจะเขียนเป็นตัวเล็กก็ไม่ผิด ตัวอย่าง AND END NIL SET ARRAY FILE NOT THEN BEGIN FOR OF TO

  20. CASE FUNCTION OR TYPE CONST GOTO PACKED UNTIL DIV IF PROCEDURE VAR DO IN PROGRAM WHILE DOWNTO LABEL RECORD WITH ELSE MOD REPEAT

  21. 4. ชื่อมาตรฐาน(Standard Identifiers) เป็นชื่อที่ภาษาปาสคาลได้สร้างหรือกำหนดขึ้นมาให้มีคุณสมบัติเฉพาะอย่าง เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถนำมาใช้งานได้ โดยชื่อมาตรฐานเหล่านี้อาจเป็นชนิดข้อมูลหรือโพรซีเยอร์หรือฟังก์ชัน ตัวอย่าง abs false pack sin arctan get page sqr boolean input pred sqrt char integer put succ

  22. cos maxint readln true dispose new real trunc eof odd reset unpack eoln ord rewrite write exp output round writeln

  23. 5. ข้อมูลพื้นฐาน (Simple Types Data) มีหลายประเภท ได้แก่ integer , real , character , string , boolean 5.1 ข้อมูลเลขจำนวนเต็ม (integer) คือตัวเลขที่มีค่าเป็นจำนวนเต็ม ได้แก่เต็มบวก เต็มลบ ศูนย์ ไม่มีเศษหรือทศนิยม มีค่าได้ตั้งแต่ -32 768 ถึง 32767 เช่น 0 1 -1 +1 -2225 12358

  24. 5.2 ข้อมูลเลขจำนวนจริง (real) คือชุดของข้อมูลเลขจำนวนจริง ที่ประกอบด้วยตัวเลข จุดทศนิยม ตัวเลขหลังจุดทศนิยม รวมทั้งเครื่องหมายบวกหรือลบที่มีค่าอยู่ระหว่าง 1 x 10-38 - 1 x 1038 สามารถเขียนในรูปแบบของเลขยกกำลัง(Exponent) โดยใช้ตัวอักษร E เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงการคูณ เช่น 3x1010 สามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบ E ได้ดังนี้ 3.0E+10 3.0E10 3e+10 3E10 0.3E+11 0.3e11 30.0E+9 30e9

  25. เช่น -7.026x10-17 สามารถเขียนให้อยู่ในรูปแบบ E ได้ดังนี้ -7.026E-17 -0.7026E-16 -70.26e-18 -0.0007026e-13 พิจารณาเลขจำนวนจริงต่อไปนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ … 9.E + 10 5e2.3 .333e-3 4E 10 8.9 e+4 ไม่มีตัวเลขหลังจุดทศนิยม ค่ายกกำลังต้องเป็นจำนวนเต็ม ไม่มีตัวเลขหน้าทศนิยม มีช่องว่างหลัง E มีช่องว่างอยู่ก่อน e

  26. 5.3 ข้อมูลแบบอักขระ (Character) ได้แก่ตัวอักขระเพียง 1 ตัว ที่อยู่ภายในเครื่องหมาย Single Quote หรือ Apostrophes(‘ ’) ซึ่งอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ และเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ ตัวอย่างเช่น ‘A’ , ‘2’ , ‘b’ , ‘*’ , ‘%’

  27. 5.4 ข้อมูลแบบสตริง (String) คือ กลุ่มของตัวอักขระ (characters) ที่นำมาเขียนเรียงกันภายในเครื่องหมาย Single quote หรือ Aspostrophes และไม่สามารถนำไปใช้ในการคำนวณใด ๆ ได้ และข้อมูลชนิดนี้จะมีความยาวไม่เกิน 255 ตัวอักขระ เช่น ‘PASCAL PROGRAMMING’ ‘270-32-222’ ‘3*(I+4)/J’ ‘She’’s a lovely girl’

  28. 5. ข้อมูลพื้นฐาน (Simple Types Data) (ต่อ) 5.5 ข้อมูลแบบตรรกศาสตร์ (Boolean) คือข้อมูลที่แสดงการตัดสินใจว่าข้อความหรือนิพจน์นั้นจริงหรือเท็จ มี 2 แบบ • True (จริง) • False (เท็จ)

  29. 6. ค่าคงที่(Constants) คือค่าคงที่ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อนำไปประมวลผลในโปรแกรม ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ ค่าคงที่เป็นได้ทั้ง • ตัวเลข (Number) • ตัวอักขระ (Character) • สตริง (String) • ตรรกศาสตร์ (Boolean) • ประโยชน์ของค่าคงที่ • สั้น และกะทัดรัด เขียนโปรแกรมได้ดี มีข้อผิดพลาดน้อย • ง่ายต่อการแก้ไข

  30. การเรียกใช้งานค่าคงที่การเรียกใช้งานค่าคงที่ CONST identifier = constant; Identifier หมายถึง ชื่อค่าคงที่ constant หมายถึง ค่าคงที่ อาจเป็น ตัวเลข , ตัวอักขระ , สตริง, ข้อมูลตรรกศาสตร์

  31. PROGRAM circle CONST pi = 3.1415927; VAR radias, around : real; BEGIN write(‘Enter radias : ‘); readln(radias); around := 2* pi * radius; writeln(‘around = ‘,around); write(‘Press enter to exit’); readln; END. around := 2 * 3.1415927 * radius;

  32. 7. ตัวแปร (Variables) เป็น Identifer ใช้เก็บค่าไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ • การเรียกใช้งานตัวแปร ก่อนเรียกใช้งานตัวแปร ต้องทำการประกาศตัวแปรทุกตัวในส่วนการประกาศก่อนเสมอ VAR identifier : type ;

  33. Identifier หมายถึง ชื่อตัวแปร • Type หมายถึง ชนิดข้อมูลของตัวแปรอาจเป็น ตัวเลข , ตัวอักขระ , สตริง, ข้อมูลตรรกศาสตร์ • ชนิดของข้อมูลที่เก็บอยู่ในตัวแปรแต่ละตัว ต้องสัมพันธ์กับชนิดของตัวแปรที่ประกาศไว้ในส่วนของ VAR ด้วย

  34. ตัวอย่าง ประกาศตัวแปร VAR radias ,high : real; value : integer; title : string; flag : boolean; answer : char;

  35. 8. นิพจน์(Expression) คือ กลุ่มของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวคงที่ 1 ตัวหรือมากกว่าตัวแปร 1 ตัว หรือมากกว่า ซึ่งเชื่อมกันด้วยสัญลักษณ์ทางการคำนวณ หรือเปรียบเทียบ • Operand ประกอบด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ 1 ตัวหรือมากกว่า • Operator คือ สัญลักษณ์ทางการคำนวณหรือการเปรียบเทียบ

  36. นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ เป็นนิพจน์ที่ประกอบด้วย Operand ที่เป็นตัวแปร หรือค่าคงที่ที่เป็นตัวเลข เชื่อมกันด้วย Operator เช่นเครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร • ตัวอย่างเช่น (b*b - 4*a*c) / (2*a) • Operator? • Operand?

  37. นิพจน์ทางตรรกศาสตร์ เป็นนิพจน์ที่ประกอบด้วย Operator ที่เป็นสัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์การเปรียบเทียบเช่น มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ หรือสัญลักษณ์ทางตรรกศาสตร์ได้แก่ AND OR NOT ตัวอย่างเช่น if pay < 1000 then num := false;

  38. 9. ประโยคคำสั่งปฏิบัติการ(Executable Statements) • เป็นคำสั่งในโปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถแบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม เช่น • คำสั่งการกำหนดค่า(Assignment Statement) • คำสั่งการเปรียบเทียบเงื่อนไข(Conditional Statement) • คำสั่งการทำซ้ำหรือวนลูป(Repetitive statement or Looping) • คำสั่งกำหนดลำดับการทำงานของโปรแกรม(GOTO statement)

  39. คำสั่งการกำหนดค่า • คำสั่งกำหนดค่าทำหน้าที่เปลี่ยนค่าของตัวแปรในโปรแกรม โดยการกำหนดค่าเริ่มต้น หรือเปลี่ยนค่าปัจจุบันของตัวแปร รูปแบบของคำสั่งกำหนดค่ามีดังนี้ คือ ชื่อตัวแปร := ค่าที่ได้จากนิพจน์ เช่น price := 100.00;

  40. คำสั่งการกำหนดค่า ข้อสังเกต • สัญลักษณ์ที่ใช้ในการกำหนดค่าข้อมูลจะใช้เครื่องหมาย := ไม่ใช่เครื่องหมาย = • ยกเว้นในส่วนของการประกาศที่ใช้เครื่องหมาย = • การเปรียบเทียบนิพจน์ทางตรรกศาสตร์ สามารถใช้เครื่องหมาย = ได้เช่นกัน เช่น IF (a=b) THEN writeln (‘a equal to b’); เปรียบเทียบว่า a เท่ากับ b หรือไม่ ไม่ใช่ให้ a มีค่าเท่ากับ b

  41. ตัวอย่าง การกำหนดค่าให้ตัวแปร • age := 6; หมายถึงกำหนดให้ตัวแปร age มีค่าเป็น 6 โดยที่ ':=' เป็นตัวดำเนินการของคำสั่งกำหนดค่า (assignment operator) • Number := 7 + 5; คำสั่งกำหนดค่าเป็นคำสั่งที่ใช้บ่อยที่สุดในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์     เริ่มจากการคำนวณนิพจน์ที่อยู่ด้านขวาของเครื่องหมาย ':=' และกำหนดค่าที่ได้ไว้ในตัวแปรที่อยู่ด้านซ้ายของเครื่องหมาย กรณีนี้หมายถึงตัวแปร Number มีค่าเป็น 12 (ผลบวกของ 7 และ 5) และสามารถใช้ Number ในนิพจน์อื่น ๆ ต่อไป เช่น Sum := Number + 9;

  42. ข้อสังเกตในการใช้คำสั่งกำหนดค่าข้อสังเกตในการใช้คำสั่งกำหนดค่า • 1. ตัวแปรที่จะนำมาใช้กับคำสั่งกำหนดค่า ต้องได้รับการ กำหนดค่าเริ่มต้น (intialize) ก่อนที่จะนำมาใช้ในนิพจน์นั้น ๆ สำหรับตัวแปรที่ไม่ได้กำหนดค่าเริ่มต้น ปาสคาลถือว่าไม่มีค่า จนกว่าจะมีการกำหนดค่าตัวแปรในโปรแกรม  • 2. การกำหนดค่าให้กับตัวแปร ค่าที่ให้จะต้องเป็นชนิดเดียวกับชนิดของตัวแปรที่ระบุไว้ที่ส่วนต้นของโปรแกรม เช่นกำหนดชนิดของตัวแปร Age เป็นเลขจำนวนเต็ม(integer) และตัวแปร Fraction เป็นเลขทศนิยม(real)      ข้อความสั่งกำหนดค่าที่ถูกต้อง     ข้อความสั่งกำหนดค่าที่ไม่ถูกต้อง      Age := 26;                         Age := 26.5;      Fraction := 26.5;                  Age := Fraction;

  43. อีกกรณีหนึ่งการกำหนดค่าเลขจำนวนเต็มให้กับ ตัวแปรเลขทศนิยมสามารถทำได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ของปาสคาล กรณีนี้จะมีการเก็บเลขจำนวนเต็มใน สภาพของเลขทศนิยม  และมีการแสดงผลลัพธ์เป็นเลขทศนิยม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงกรณีนี้   • 3. การกำหนดค่าให้กับตัวแปรชนิดตัวอักขระ (char) โดยใช้เครื่องหมาย ฝนทองเสมอ เช่น Initial := 'E'; Seventhcharacter := '7'; ตัวแปรชนิดตัวอักขระ 1 ตัวสามารถใช้เก็บตัวอักขระ(character)เพียง 1 ตัวเท่านั้น

  44. 10. โพรซีเยอร์หรือฟังก์ชัน(Procedures and Functions) • 1. โพรซีเยอร์หรือฟังก์ชันมาตรฐาน (Standard Procedures and Functions) • 2. โพรซีเยอร์หรือฟังก์ชันที่สร้างขึ้นเอง (User-defined Procedures and Functions)

  45. การเขียนหมายเหตุ (comment) • หมายเหตุ คือ ประโยค หรือวลีภาษาอังกฤษที่เขียนระหว่างเครื่องหมายวงเล็บ และ '*'สำหรับคำอธิบายต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นในโปรแกรม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจการทำงานของ โปรแกรมได้มากขึ้น โดยหมายเหตุนี้ไม่มีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ • เช่น program one; (*This is a comment*) • นอกจากนี้ยังสามารถเขียนหมายเหตุได้ครั้งละหลาย ๆ บรรทัดใน 1 โปรแกรม เช่น (* Program one by Ms.One two *)

  46. ข้อความสั่ง End • เป็นข้อความสั่งสุดท้ายในโปรแกรม และข้อความสั่งนี้ต้อง ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ('.') เสมอ รูปแบบ : END. • ตัวอย่าง program three; BEGIN writeln (’Hello world'); END. ผลลัพธ์ Hello world

  47. เครื่องหมายแบ่งข้อความคำสั่ง (statement separator) • เครื่องหมายอัฒภาค ';' เป็นเครื่องหมายในการแบ่งข้อความสั่ง ข้อความสั่งในภาษาปาสคาล ทุกคำสั่งต้องจบด้วย ';' ดังนั้นเครื่องหมายนี้ต่างจากเครื่องหมาย มหัพภาค ('.') เพราะเครื่องหมาย มหัพภาคนั้นเป็นการจบโปรแกรม ซึ่งใช้ตามหลังคำสั่ง END • เช่น writeln ('text');

  48. เครื่องหมายแบ่งข้อความคำสั่ง (statement separator) • ตัวอย่าง PROGRAM four; (*demonstrate the statement separator*) BEGIN WRITELN ('Hello, How are you?'); WRITELN ('Fine, thank you.') END. ผลลัพธ์ Hello, How are you? Fine, thank you.

More Related