240 likes | 517 Views
ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์กับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ : การประยุกต์ใช้ในเศรษฐกิจไทย. จากบทความของ ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว เรื่อง “ใครกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไทย” เสนอในการสัมมนาวิชาการประจำปี ๒๕๓๑ คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์. บทบาทและความสำคัญของทฤษฎี .
E N D
ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์กับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ: การประยุกต์ใช้ในเศรษฐกิจไทย จากบทความของ ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว เรื่อง “ใครกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไทย” เสนอในการสัมมนาวิชาการประจำปี ๒๕๓๑ คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์
บทบาทและความสำคัญของทฤษฎี บทบาทและความสำคัญของทฤษฎี • ทฤษฎี = ความรู้ความเข้าใจที่สามารถอธิบายปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษา • กระบวนทัศน์ (Paradigm) • การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) • บทบาท: อธิบายและพยากรณ์
ทฤษฎีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ(Theory of Economic Policy) • Economic Policy • Quantitative Policy: นโยบายที่ไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเกิดกับตัวแปรภายในระบบเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้จุดสมดุลในโครงสร้างเดิมเปลี่ยนที่ไป • Qualitative Policy: นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น การที่โครางสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบการแข่งขันเป็นระบบผูกขาด การรวมตัวทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นตลาดร่วม หรือการแปรสภาพกิจกรรมการผลิตสินค้าหรือบริการจากเอกชนสู่รัฐหรือจากรัฐสู่เอกชน
ทฤษฎีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ(Theory of Economic Policy) • วิธีวิทยา • ปริมาณ Inductive SpecificGeneral ทุนนิยม • อนุมาน DeductiveGeneralSpecific สังคมนิยม • ตัวแปรเป้าหมาย (Target Variable) • ตัวแปรเครื่องมือ (Instrument)
ทฤษฎีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ(Theory of Economic Policy) • Tinbergen • ไม่ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าหมายไว้กี่เป้าหมายก็ตามการจะให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆได้ รัฐบาลจะต้องมีเครื่องมืออย่างอย่างน้อยในจำนวนที่เท่ากัน หรืออีกนัยหนึ่ง รัฐบาลไม่สามารถตั้งเป้าหมายมากกว่าจำนวนเครื่องมือซึ่งสามารถนำเอามาใช้ได้ • ปัญหาหลักที่เราจะต้องพิจารณาในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจก็คือ ปัญหาเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ หลักเกณฑ์ก็คือ ผู้กำหนดนโยบายมุ่งหวังที่จะให้ผลที่เกิดกับตัวแปรเป้าหมายอันเนื่องมากจากการใช้ตัวแปรเครื่องมือมีค่าสูงสุดหรือดีที่สุด • กรอบของการกำหนดนโยบายและวิธีการวิเคราะห์ที่จะนำไปสู่การดำเนินนโยบายและการแก้ปัญหาของระบบเศรษฐกิจที่ได้ผลดีที่สุด
ทฤษฏีว่าด้วยรัฐแนวมาร์กซ์(Maxist Theory of the State) • มองรัฐว่าคือองค์กรของชนชั้นปกครอง ซึ่งมีเป้าหมายสุดท้ายคือการธำรงไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชนชั้นของตน โดยการดำเนินนโยบายที่จะขูดรีดกีดกันชนชั้นผู้ถูกปกครองซึ่งด้อยฐานะกว่า
ทฤษฏีการเลือกของสังคม(Public Choice Theory) • พยายามที่จะใช้แนวความคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (neoclassic) ในการอธิบายนโยบายเศรษฐกิจที่กำหนดขึ้นภายใต้การควบคุมของระบบการเมือง ข้อสมมุติหลักของทฤษฎีการเลือกของสังคมคือการแสวงหาอรรถประโยชน์ของบุคคลในระบบเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในสถานภาพแตกต่างกัน • Social/ Public goods vs. Private goods • Free rider • Market failure • Political Economy
ทฤษฎีการเลือกของสังคม(Theory of Public Choice) • James A. Buchanan • อรรถประโยชน์ส่วนบุคคล Self-interest • ประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งโดยทั่วไป • กลุ่มผลประโยชน์ • พรรคการเมือง • ข้าราชการประจำ
ทฤษฎีการเลือกของสังคม(Theory of Public Choice) • ประชาชนทั่วๆไป Rational People • ตัดสินใจได้ • เรียงลำดับทางเลือกตามความพึงพอใจได้ • มีความคงเส้นคงวา Transitive • เลือกประพฤติหรือปฏิบัติตามทางเลือกที่อยู่ในลำดับสูงสุด • ทำเช่นนี้ทุกครั้งที่เผชิญเหตุการณ์นี้
ทฤษฎีการเลือกของสังคม(Theory of Public Choice) • กลุ่มผลประโยชน์ Optimal Provision of Collective goods • กลุ่มยิ่งเล็กจะทำให้การมีประสิทธิภาพและได้ผลงานที่ใกล้เคียงกับจุดเหมาะสมได้ดีกว่ากลุ่มใหญ่เพราะไม่ต้องคอยเป็นห่วงเรื่องสมาชิกคนอื่นจะพลอยได้รับผลประโยชน์จากเงินลงทุนของตน • ในกลุ่มที่มีสมาชิกขนาดใหญ่และสมาชิกขนาดเล็กร่วมกับ สมาชิกขนาดใหญ่มักจะต้องเสียเปรียบสมาชิกขนาดเล็กในเรื่องผลประโยชน์ที่ได้รับและส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่จะต้องเสียไป
ทฤษฎีการเลือกของสังคม(Theory of Public Choice) • พรรคการเมือง: การได้รับเลือกตั้งประชาชนให้รัฐบาลบริหารประเทศ • Marginal Vote Gain (กิจกรรม) = Marginal Vote Loss (ภาษี) • ต้นทุนการกำหนดนโยบาย vs. ต้นทุนการให้ความร่วมมือ
ทฤษฎีการเลือกของสังคม(Theory of Public Choice) • ข้าราชการประจำ: ชื่อเสียง อำนาจ รายได้และทรัพย์สมบัติ ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่บริหารนโยบายสังคม • Assumption: • มีความมุ่งหวังที่จะได้มาซึ่งงบประมาณที่มากที่สุด มากการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด • ไม่มุ่งหวังกำไรแต่เป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากแหล่งอื่น • ได้เปรียบฝ่ายนิติบัญญัติในเรื่องข้อมูลสารสนเทศ เกี่ยวกับต้นทุนของกิจกรรมต่างๆในระบบราชการ
ทฤษฎีการเลือกของสังคม(Theory of Public Choice) • ข้อน่าสังเกตจากทฤษฏีของ Niskanen • รูปแบบพฤติกรรมของข้าราชการจะมีลักษณะที่กำหนดจากฝ่ายผู้ให้ (ข้าราชการ) มากกว่าผู้รับ (ประชาชน) (Supply-determined model of bureaucratic output) การได้รับงบประมาณมาทำกิจกรรมเป็นการรักษาบทบาทและสถานภาพของตนเองใช้อำนาจผูกขาดในเรื่องข้อมูลให้ได้มาซึ่งงบประมาณและขนาดกิจกรรมซึ่งสูงกว่าหรือมากกว่าขนาดที่เหมาะสมเมื่อพิจารณาจากแง่มุมของสังคมส่วนรวม • ความรู้สึกที่ว่ารัฐบาลที่มีขนาดใหญ่นั้นสิทธิการตัดสินใจหรือการกำหนดนโยบายจะถูกผ่องถ่ายจากมือของประชาชนโดยทั่วไปไปยังมือของนักการเมืองและข้าราชการประจำซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายแทนในนามของ “ผลประโยชน์ของส่วนรวม”
How about Thailand? • Riggs “อมาตยาธิปไตย” (Bureaucratic polity) • ดร.ศุภชัย (๑๙๘๑) • ระบบราชการจะเป็นตัววางกติกาของเกมทางเศรษฐกิจและจะเข้ามาแทรกแซงในเกมโดยใช้ช่องทางของระเบียบบริหาร • ฐานอำนาจของการบริหารอยู่ในเขตเมือง • มาตรการทางเศรษฐกิจระบบราชการมักจะเป็นมาตรการระยะสั้นแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า • เศรษฐศาสตร์ระบบราชการในประเทศไทยมุ่งเน้นไปในทิศทางของการแก้ไขปัญหาทาเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการเงินกับการคลัง • เศรษฐศาสตร์ระบบราชการของไทยชอบที่จะได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ • นโยบายราชการไทยมีความต่อเนื่องที่สถาบันอื่นอาจจะไม่มี
ทฤษฎีว่าด้วยการแสวงหาเศรษฐผล(Rent-seeking Theory) • รัฐบาลซึ่งมีอำนาจในการสร้างกฎเกณฑ์และการบังคับ สามารถก่อให้เกิดกำไรที่สูงขึ้นกว่าสภาพที่มีการแข่งขันกันเต็มที่ได้ โดยการจำกัดขนาดของการผลิตและการตั้งราคาให้สูงขึ้น ซึ่งก็คือลักษณะของการผูกขาดอย่างหนึ่งนั้นเอง ส่วนกำไรที่สูงขึ้นกว่าปกติหรือที่นี้เรียกว่า “เศรษฐผล” (rent) นี้ใครๆก็อยากได้เพราะฉะนั้นในสังคมที่ยอมให้มีการแข่งขันวิ่งเต้นด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิผูกขาดดังกล่าว ต้นทุนของกิจกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งเศรษฐผลนั้นย่อมเป็นต้นทุนที่เป็นความสิ้นเปลืองของสังคม • ทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นถึงโทษของกิจกรรมแสวงหาเศรษฐผลซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสังคมทุนนิยม หลังจากอธิบายว่าเพราะเหตุใดจึ่งมีความพยายามจากกลุ่มต่างๆวิ่งเต้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานภาพที่จะก่อให้เกิดเศรษฐผลให้แก่ตนได้
เศรษฐผลจากการผูกขาด Pm Pc LMC Qc Qm
ทฤษฎีว่าด้วยการแสวงหาเศรษฐผล(Rent-seeking Theory) • กิจกรรมการแสวงหาเศรษฐผล (Rent-seeking Acitivities) • ลักษณะปทัสฐานนิยม (Normative Aspect) • ลักษณะปฏิฐานนิยม (Positive Aspect • Normative Aspect • ต้นทุนของการแสวงหาเศรษฐผลในระบบเศรษฐกิจเป็นเท่าใด? • ประโยชน์ที่ได้จากเศรษฐผลจะถูกทำให้ละลายหมดโดยการวิ่งเต้น? • บทบาทของผู้บริโภคในการแสวงหาเศรษฐผลของผู้ผลิตหรือไม่?
ทฤษฎีว่าด้วยการแสวงหาเศรษฐผล(Rent-seeking Theory) • Positive Aspect • ทำไมบางภาคของระบบเศรษฐกิจจึงได้รับการคุ้มครองแต่บางภาคไม่ได้? • อะไรเป็นสาเหตุของสิทธิประโยชน์พิเศษที่บางคนได้รับจากรัฐ • องค์กร ส่วนใดของรัฐเป็นผู้ให้ประโยชน์และด้วยวิธีการใด?
รัฐเศรษฐศาสตร์ (Political Economics) กับนโยบายเศรษฐกิจ • พยายามหาความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์กับตัวแปรทางการเมือง เช่น ผลของสภาวะเงินเฟ้อหรือการว่างงานที่จะมีต่อความนิยมชมชอบทางการเมืองของพรรครัฐบาล เป็นต้น • มีการใช้วิธีการทางเศรษฐมิติเพื่อศึกษาพฤติกรรมทางรัฐศาสตร์ เป็นการพัฒนาคามรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจและการเมืองให้สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งอาจจะช่วยในการพยากรณ์หรือทำนายความเปลี่ยนแปลงในนโยบายทางเศรษฐกิจและการเมืองให้เป็นระบบและมีความแม่นยำมากขึ้นได้
รัฐเศรษฐศาสตร์ (Political Economics) กับนโยบายเศรษฐกิจ • รัฐบาลมีบทบาทมากน้อยเพียงใดในระบบเศรษฐกิจ? • มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอะไรบ้างที่มีอิทธิผลหรือผลกระทบต่อการตัดสินใจหรือนโยบายทางการเมือง ความเชื่อมั่นหรืออุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐบาลมีผลต่อนโยบายเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง? • ประชาชนในระบบประชาธิปไตยมีช่องทางหรือบทบาทมากน้อยเพียงใดที่จะผลักดันให้นโยบายเศรษฐกิจบางอย่างเกิดขึ้นได้หรือให้ยกเลิกไป? • รัฐบาลควรจะมีหลักการอย่างไรในการเปลี่ยนแปลงจุดเน้นในนโยบายเศรษฐกิจในช่วงเวลาหรือภาระทางสังคมต่างๆกัน?
รูปแบบระบบการเมืองเศรษฐกิจ(Politics-Economic Model) • เครื่องมือนโยบายเศรษฐกิจ • นโยบายการเงิน • นโยบายการคลัง • การควบคุมทางตรง ข้าราชการ (การดำเนินนโยบาย) เป้าหมายเรื่องการได้รับการเลือกตัวใหม่ หลักการ แนวคิด ลัทธิ รัฐบาล เศรษฐกิจ ความจำกัดด้านงบประมาณ • ผลทางเศรษฐกิจ • เงินเฟ้อ • การว่างงาน • การเติบโตทางเศรษฐกิจ ประชาชน (การสนับสนุนทางการเมือง) ความนิยมในรัฐบาล การแสดงออกในการเลือกตัว
เศรษฐศาสตร์วิวัฒนาการ (Evolutionary Economics) และการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ • เชื่อว่า: ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นปัญหาเชิงวิวัฒนาการซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ระบบเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของมนุษย์วิวัฒนากรหรือเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ฉะนั้นการจะแก้ปัญหาในลักษณะเช่นนี้ได้ก็โดยการสร้างสถาบันทางสังคมที่เหมาะสม ที่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับปัญหาและแก้ปัญหาในที่สุด • สถาบัน • Friedland: กลุ่มบทบาท (Roles) ที่ได้ถูกจัดระบบไว้เป็นอย่างดีแล้วเพื่อสนองเป้าหมายของสังคม (organized pattern of behavior) • Morse: ส่วนประกอบของสังคมที่มีลักษณะและขอบเขตแน่นอนและเป็นที่ยอมรับ ส่วนประกอบได้แก่ ความคิด มโนทัศน์ สัญลักษณ์ กฏเกณฑ์
เศรษฐศาสตร์วิวัฒนาการ (Evolutionary Economics) และการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ • เนื่องจากการจัดตั้งและการจัดการสถาบันทางสังคมต่างๆต้องใช้ทรัพยากร ดังนั้นนโยบายเศรษฐกิจเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่สร้างบทบาทให้แก่สถาบันเพื่อให้แก่สถาบันเพื่อให้การแก้ปัญหาให้แก่ผู้ซึ่งกำหนดนโยบายประสงค์จะให้แก้หากจะมีความขัดแย้งกันในผลประโยชน์ ผู้ซึ่งฉลาดกว่าหรือแข็งแรงกว่ายอมปรับเปลี่ยนสถาบันเพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน • Others • ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สิน (Economics of Property Rights) • ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์ (Theory of Economic Regulations)
ลักษณะเด่นของระบบเศรษฐกิจไทยดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช • ลักษณะเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นระบบเปิดต่อเศรษฐกิจโลก มีข้อจำกัดน้อยในการควบคุมและสร้างเสริมสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ • ลักษณะการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นลักษณะทุนพาณิชย์ไม่ใช่ทุนอุตสาหกรรมที่แท้จริงและพัฒนาของกิจการกลุ่มธุรกิจครอบครัว • กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นของคนไทยทำให้อิทธิผลและอำนาจของทุนต่างชาติต่อการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจโดยตรงเป็นไปได้ยาก • ภาครัฐมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจทั้งหมด แต่บทบาทของภาครัฐต่อระบบเศรษฐกิจมีมากเพราะรัฐมีเครื่องมือในการกำกับ ชี้นำ จำกัดและส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากมายหลายด้าน