200 likes | 368 Views
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำวัง ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ
E N D
สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำวัง • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล
7. ลุ่มน้ำวัง ที่ตั้ง ลุ่มน้ำวังตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดลำปาง และตาก ลักษณะลุ่มน้ำวางตัวตามแนวเหนือ-ใต้ ทิศเหนือของลุ่มน้ำติดกับลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำกก ทิศใต้และทิศตะวันตกติดกับลุ่มน้ำปิง และทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำยม รูปที่ 7-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำวัง
ลักษณะภูมิประเทศ ลุ่มน้ำวังเป็นลุ่มน้ำขนาดเล็ก ลักษณะภูมิประเทศเทือกเขาล้อมรอบตลอดแนวทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำ คือเทือกเขาขุนตาล ส่วนทิศตะวันออก คือเทือกเขาผีปันน้ำ และมีพื้นที่ราบลุ่มสลับกับที่ราบแคบๆตามหุบเขา และมีความยาวของลุ่มน้ำสั้นกว่าลุ่มน้ำอื่นๆ ในภาคเหนือ แม่น้ำวังมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาฝีปันน้ำไหลผ่านหุบเขา ที่บริเวณอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง แล้วไหลลงทางทิศใต้เข้าสู่ที่ราบแคบๆ ตามหุบเขาและไหลสู่ที่ราบในจังหวัดตาก ก่อนจะบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก รูปที่ 7-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำวัง
พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำวัง มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 10,792 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 7 ลุ่มน้ำ ตามตารางที่ 7-1 และรูปที่ 7-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย ตารางที่ 7-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย 7.02 7.03 7.04 7.05 7.06 7.07 7.08 รูปที่ 7-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำวัง
ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ ได้แสดงไว้แล้วตามตารางที่ 7-2 ซึ่งแต่ละรายการจะเป็นค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 7-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ
ปริมาณน้ำฝน ลุ่มน้ำวังมีปริมาณฝนผันแปรตั้งแต่ 900 มิลลิเมตร จนถึง 1,400 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,098.6 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้ ตามตารางที่ 7-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝนของลุ่มน้ำย่อยต่างๆ ตามรูปที่ 7-4 ตารางที่ 7-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือน รูปที่ 7-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 7-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่า ลุ่มน้ำวัง มีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด10,792 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติเฉลี่ยประมาณ 1,617.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 7-3 หรือมีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝน 4.75 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร ตามรูปที่ 7-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย
ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า
ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำวัง สามารถจำแนกชนิดของดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืช ออกได้เป็น 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 7-6 และแต่ละประเภทกลุ่มดินจะมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 7-4 ตารางที่ 7-4 รูปที่ 7-6 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช
1) พื้นที่ทำการเกษตร.................... 24.76 % พืชไร่................................ 52.07 % ไม้ผล-ไม้ยืนต้น.................... 5.10 % ปลูกข้าว............................ 42.53 % อื่นๆ................................... 0.30 % รูปที่ 7-7 การทำเกษตร 2) ป่าไม้.............................................. 67.90 % เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า................. 1.85 % อุทยานแห่งชาติ...........................22.08 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์............................76.07 % รูปที่ 7-8 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย.......................................2.32 % 4) แหล่งน้ำ.........................................0.72 % 5) อื่นๆ...............................................4.31 % รูปที่ 7-9 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน
ลุ่มน้ำวังมีพื้นที่การเกษตรทั้งหมดประมาณ 2,672.08 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก 1,096.99 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 41.05% พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 760.06 ตารางกิโลเมตร (69.28%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 0.26 ตารางกิโลเมตร (0.04%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 251.91 ตารางกิโลเมตร (22.96%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 84.75 ตารางกิโลเมตร( 7.72%) พื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะอยู่ตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งลำน้ำของแม่วัง ซึ่งรวมแล้วประมาณร้อยละ10.06ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตร พบว่าการใช้พื้นที่ปลูกพืช ส่วนใหญ่การปลูกพืชไร่และพืชผักบนพื้นดินที่ไม่มีความเหมาะสม แต่การปลูกข้าวและไม้ผล-ไม้ยืนต้นได้ปลูกบนพื้นดินที่มีความเหมาะสมดีอยู่แล้ว รูปที่ 7-10 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร
พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพสำรับการพัฒนาระบบชลประทานในลุ่มน้ำวัง ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งของลำน้ำของแม่น้ำวัง โดยมีพื้นที่ประมาณ 511.60 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 46.64 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 19.15 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 7-5 ตารางเปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาระบบชลประทาน
การประเมินความต้องการน้ำ การประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการน้ำสำหรับการขยายตัวของภาคอุสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 7-11 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุตสาหกรรม อุปโภค - บริโภค รูปที่ 7-11 สรุปแนวโน้มปริมาณความต้องการน้ำแต่ละประเภท
ปัญหาของลุ่มน้ำ ●ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขาต่างๆ เกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามาก จนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ประกอบกับมีสิ่งกีดขวางจากเส้นทางคมนาคมขวางทางน้ำ และมีอาคารระบายน้ำไม่เพียงพอ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำได้แก่ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม จะเกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มและแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ บริเวณอำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง อำเภอบ้านตาก และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคและการเกษตร รวมทั้งการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆ ด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี 2542 หมู่บ้านในลุ่มน้ำนี้มีทั้งหมด 705 หมู่บ้าน พบว่า มีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำ 467 หมู่บ้าน (ร้อยละ 66.24) แยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร 266 หมู่บ้าน (ร้อยละ 37.73) กับหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร 201 หมู่บ้าน (ร้อยละ 28.51) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดลำปาง 431 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ92.29 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้วทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 7-11 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้ 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และขนาดเล็กในพื้นที่ตอนบนของลำน้ำสาขาที่สำคัญ ได้แก่ น้ำนึง น้ำแม่ตุ๋ย เพื่อเก็บกักน้ำและชะลอปริมาณน้ำหลากในช่วงที่ฝนตกหนัก และปล่อยน้ำที่เก็บกักลงทางท้ายน้ำในช่วงฤดูแล้ง เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งให้พื้นที่สองฝั่งลำน้ำ 2) การก่อสร้างระบบส่งน้ำและกระจายน้ำให้พื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้งและอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำสายหลักมากนัก โดยอาจดำเนินการในลักษณะก่อสร้างฝาย/ประตูระบายน้ำ พร้อมระบบคลองส่งน้ำ/ระบบสูบน้ำ และส่งน้ำด้วยท่อ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง 3) การขุดลอกลำน้ำสายหลักในช่วงที่ตื้นเขินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) การปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ สะพาน ท่อลอดถนน และอาคารอื่นๆที่กีดขวางทางน้ำและเป็น อุปสรรคต่อการระบายน้ำให้มีความสามารถในการระบายน้ำที่พอเพียงและเหมาะสมกับสภาพทางน้ำ 5) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตัวเมืองและพื้นที่โดยรอบให้เป็นไปตามผังเมืองที่วางไว้และควบคุมการรุกล้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ 6) ส่งเสริมการขุดสระน้ำประจำไร่นา ขุดบ่อน้ำตื้น/บ่อบาดาล ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สำหรับพื้นที่ที่อยู่ ห่างไกลจากแหล่งน้ำตามสภาพความเหมาะสมของพื้นที่