1 / 46

การอ่านและแปลความหมายในแผนที่

การอ่านและแปลความหมายในแผนที่. เนื้อหาบทเรียน 1.       ความหมายของแผนที่ 2.       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก 3.       ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ 4.       การจำแนกชนิดของแผนที่ 5.       องค์ประกอบของแผนที่ 6.       มาตราส่วนแผนที่ 7.       ระบบพิกัดบนแผนที่.

Download Presentation

การอ่านและแปลความหมายในแผนที่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การอ่านและแปลความหมายในแผนที่การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ เนื้อหาบทเรียน 1.       ความหมายของแผนที่ 2.       ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก 3.       ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ 4.       การจำแนกชนิดของแผนที่ 5.       องค์ประกอบของแผนที่ 6.       มาตราส่วนแผนที่ 7.       ระบบพิกัดบนแผนที่

  2. ภูมิสารสนเทศกับการวิเคราะห์งานด้านพื้นที่ภูมิสารสนเทศกับการวิเคราะห์งานด้านพื้นที่ เนื้อหาบทเรียน 1. การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล 1.1 รูปถ่ายทางอากาศ 1.2 ภาพถ่ายดาวเทียม 2. การกำหนดพิกัดบนผิวโลกด้วยดาวเทียม 3. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  3. การอ่านและแปลความหมายในแผนที่การอ่านและแปลความหมายในแผนที่ ในสมัยเริ่มแรกการทำแผนที่จะอาศัยข้อมูลการสำรวจภาคพื้นดินเท่านั้นแต่ต่อมามีเทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล(Remote Sensing) เกิดขึ้นจึงมีการนำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาช่วยในการทำแผนที่เพราะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องกว่าการสำรวจภาคพื้นดินเพียงอย่างเดียว

  4. แผนที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศการเรียนการสอนการประกอบอาชีพสาขาต่างๆและการนำไปใช้งานด้านต่างๆเช่นภูมิศาสตร์การสำรวจธรณีวิทยาการเกษตรป่าไม้การคมนาคมขนส่งกิจการทหารตำรวจศิลปวัฒนธรรมแผนที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศการเรียนการสอนการประกอบอาชีพสาขาต่างๆและการนำไปใช้งานด้านต่างๆเช่นภูมิศาสตร์การสำรวจธรณีวิทยาการเกษตรป่าไม้การคมนาคมขนส่งกิจการทหารตำรวจศิลปวัฒนธรรม

  5. ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์(Hardware) และซอฟแวร์(Software) มีมากขึ้นจึงมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาผลิตแผนที่ซึ่งทำได้สะดวกรวดเร็วและถูกต้องมากกว่าเดิมที่ทำด้วยมือคอมพิวเตอร์มีวิธีการแสดงผลภาพออกมาให้เหมือนจริงหรือทำเสมือนมองเห็นได้ในสภาพเป็นจริง(Visualization) เช่นแสดงความลึกสูงต่ำนูนรูปแบบภาพสามมิติเป็นลักษณะที่ง่ายต่อการสื่อความหมายมากขึ้น

  6. ความหมายของแผนที่ แผนที่คือสิ่งที่แสดงลักษณะของผิวโลกทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยแสดงลงบนพื้นราบอาศัยการย่อส่วนให้เล็กลงตามขนาดที่ต้องการและใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ปรากฏอยู่บนผิวโลกหรืออาจกล่าวได้ว่าแผนที่คือสิ่งที่เราบันทึกเรื่องราวและความรู้ต่างๆทางภูมิศาสตร์ไว้นั่นเอง

  7. การอ่านแผนที่คือการค้นหารายละเอียดบนภูมิประเทศซึ่งรายละเอียดบนภูมิประเทศดังกล่าวนี้หมายถึงสิ่งต่างๆบนผิวพิภพที่ปรากฏตามธรรมชาติและสิ่งที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์แผนที่ที่ดีที่ทันสมัยย่อมให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างมากการอ่านแผนที่คือการค้นหารายละเอียดบนภูมิประเทศซึ่งรายละเอียดบนภูมิประเทศดังกล่าวนี้หมายถึงสิ่งต่างๆบนผิวพิภพที่ปรากฏตามธรรมชาติและสิ่งที่เกิดจากแรงงานของมนุษย์แผนที่ที่ดีที่ทันสมัยย่อมให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้อย่างมาก - เครื่องหมายที่ใช้แทนลักษณะภูมิประเทศหรือสีที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ - ลักษณะภูมิประเทศ - กริดและอาซิมุทส์ - มาตราส่วนและทิศทาง

  8. สัณฐานของโลก โลก(Earth) โลกของเรามีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงรี(Oblate Ellipsoid)คือมีลักษณะป่องตรงกลางขั้วเหนือ-ใต้แบนเล็กน้อยแต่พื้นผิวโลกที่แท้จริงมีลักษณะขรุขระสูงต่ำไม่ราบเรียบสม่ำเสมอ * พื้นผิวโลกจะมีพื้นที่ประมาณ 509,450,00 ตารางกิโลเมตร * มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว 12,757 กิโลเมตร * มีเส้นผ่าศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือถึงขั้วโลกใต้ 12,714 กิโลเมตร จะเห็นว่าระยะทางระหว่างแนวนอน(เส้นศูนย์สูตร) ยาวกว่าแนวตั้ง(ขั้วโลกเหนือ -ใต้)

  9. สัณฐานของโลกมีอยู่ 3 แบบคือทรงกลม(Spheroid)ทรงรี(Ellipsoid) และยีออยด์(Geoid) 1. ทรงกลมหรือสเฟียรอยด์เป็นรูปทรงที่ง่ายที่สุดจึงเหมาะเป็นสัณฐานของโลกโดยประมาณใช้กับแผนที่มาตราส่วนเล็กที่มีขอบเขตกว้างขวางเช่นแผนที่โลกแผนที่ทวีปหรือแผนที่อื่นๆที่ไม่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง 2. ทรงรีหรืออิลิปซอยด์โดยทั่วไปคือรูปที่แตกต่างกับรูปทรงกลมเพียงเล็กน้อยซึ่งจะมีลักษณะใกล้เคียงกับสัณฐานจริงของโลกมากจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นผิวการรังวัดและการจัดทำแผนที่ที่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูงเช่นแผนที่ระดับชุมชนเมืองแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วนใหญ่ทั่วไปแผนที่นำร่องเป็นต้น 3. ยีออยด์เป็นรูปทรงที่เหมือนกับสัณฐานจริงของโลกมากที่สุดเกิดจากการสมมุติระดับน้ำในมหาสมุทรขณะทรงตัวอยู่นิ่งเชื่อมโยงให้ทะลุไปถึงกันทั่วโลกจะเกิดเป็นพื้นผิวซึ่งไม่ราบเรียบตลอดมีบางส่วนที่ยุบต่ำลงบางส่วนสูงขึ้นขึ้นอยู่กับความหนาแน่นและแรงโน้มถ่วงของโลกทุกๆแนวดิ่ง(Plumb Line) จะตั้งฉากกับยีออยด์ยีออยด์มีบทบาทสำคัญในงานรังวัดชั้นสูง (Geodesy) แต่กลับไม่มีบทบาทโดยตรงกับวิชาการแผนที่นอกจากจะใช้ในการคำนวณแผนที่ประกอบกับรูปทรงรี

  10. ภาพตัดขวางแสดงพื้นผิวภูมิประเทศเอลลิปซอยด์และยีออยด์ของโลกภาพตัดขวางแสดงพื้นผิวภูมิประเทศเอลลิปซอยด์และยีออยด์ของโลก

  11. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลกความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก 1.เส้นวงกลมใหญ่(Great Circle)คือเส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยผ่านที่ศูนย์กลางวงกลมแล้วบรรจบมาเป็นวงกลมเรียกว่า"วงกลมใหญ่" ตัวอย่างเช่นเส้นศูนย์สูตรเส้นเมอริเดียนที่อยู่ตรงข้ามกันเส้นแบ่งเขตมืด-สว่าง 2.เส้นวงกลมเล็ก(Small Circle)คือเส้นรอบวงที่เราลากผ่านไปรอบผิวโลกโดยไม่ผ่านที่ศูนย์กลางวงกลมแล้วบรรจบมาเป็นวงกลมตัวอย่างเช่นเส้นขนาน

  12. 3.เส้นศูนย์สูตร(Equator)คือเส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวตะวันออกและตะวันตกโดยจุดเริ่มต้นของเส้นที่ 0 องศาทางตะวันออกซึ่งเป็นวงกลมใหญ่วงหนึ่งเช่นกัน 4.เส้นเมอริเดียน(Meridians)คือเส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวเหนือและใต้โดยลากเชื่อมระหว่างจุดขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ 5.เส้นเมอริเดียนปฐม(Prime Meridian)คือเส้นเมอริเดียนที่ลากผ่านหอดูดาวที่ตำบลกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษใช้เป็นเส้นหลักในการกำหนดค่าลองจิจูดซึ่งถูกกำหนดให้มีลองจิจูดเป็นศูนย์ถ้าถือตามข้อตกลงนานาชาติค.ศ. 1884 จะเรียกว่าเส้นเมอริเดียนกรีนิชก็ได้

  13. 6.เส้นขนาน(Parallels)คือเส้นที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตรหรือวงกลมเล็ก6.เส้นขนาน(Parallels)คือเส้นที่ลากขนานกับเส้นศูนย์สูตรหรือวงกลมเล็ก 7.ละติจูด(Latitude)หรือเส้นรุ้งคือระยะทางเชิงมุมที่วัดไปทางเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตรนับจาก 0 องศาไปทางเหนือและทางใต้ 90 องศา 8.ลองจิจูด(Longitude)หรือเส้นแวงคือระยะทางเชิงมุมที่วัดจากเมอริเดียนปฐมซึ่งถือที่ 0 องศาตำบลกรีนิชเป็นหลักวัดไปทางตะวันออก 180 องศาตะวันออกและทางตะวันตก 180 องศาตะวันตก"รุ้งตะแคงแวงตั้ง" เป็นคำเรียกขานเพื่อให้ง่ายต่อการจำว่าเส้นละติจูดและลองจิจูดคืออะไรมีลักษณะอย่างไร

  14. 9.โครงแผนที่คือระบบของเส้นที่สร้างขึ้นในพื้นที่แบนราบเพื่อแสดงลักษณะของเส้นขนานและเส้นเมอริเดียนอันเป็นผลจากแบบและวิธีการสร้างรูปทรงเรขาคณิตและการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ในการถ่ายทอดเส้นเหล่านั้นจากผิวโลกซึ่งเป็นทรงกลมลงบนพื้นที่แบนราบซึ่งวิธีการนั้นเรียกว่าการฉายแผนที่โดยการใช้พื้นผิวรูปทรงเรขาคณิต 3 ชนิดคือรูประนาบ(Plane) รูปทรงกรวย(Cone) และรูปทรงกระบอก(Cylinder) ในการฉายเส้นโครงแผนที่ 10.โปรเจคชั่นของแผนที่คือระบบการเขียนแนวเส้นที่แทนเส้นเมอริเดียนและเส้นขนาน (Meridians and Parallels) ของพิภพทั้งหมดหรือส่วนใดส่วนหนึ่งลงบนพื้นแบนราบตามมาตราส่วน

  15. 11.ทิศเหนือจริง(True North)คือแนวที่นับจากตำบลใดๆบนพิภพไปยังขั้วโลกเหนือจะเห็นว่าเส้นลองจิจูด(Longitude) ทุกเส้นก็คือแนวทิศเหนือจริงตามปกติใช้สัญลักษน์รูปดาวแทนทิศเหนือจริงโดยทั่วโปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนที่ 12.ทิศเหนือกริด(แผนที่)(Grid North)คือแนวเส้นกริดใต้-เหนือบนแผนที่ใช้สัญลักษณ์ GN ทิศเหนือกริดให้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนเเผนที่และมุมของทิศ

  16. 13.ทิศเหนือแม่เหล็ก(Magnetic North)คือแนวตามปลายลูกศรที่แสดงทิศเหนือของเข็มทิศ. ซึ่งโดยปกติเข็มทิศจะชี้ไปทางขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกเสมอในแผนที่จะใช้สัญลักษณ์รูปลูกศรครึ่งซีกทิศเหนือแม่เหล็กจะใช้ประโยชน์ในการหาทิศทางเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง 14.อะซิมุท(Azimuth)เป็นวิธีการที่คิดขึ้นมาเพื่อใช้ในการบอกทิศทางคือวัดขนาดของมุมทางราบที่วัดจากแนวทิศเหนือหลักเวียนตามเข็มนาฬิกามาบรรจบกับแนวเป้าหมายที่ต้องการ มุมทิศอะซิมุทนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 360 องศาและเมื่อวัดมุมจากเส้นฐานทิศเหนือหลักชนิดใดก็จะเรียกตามทิศเหนือหลักนั้นเช่นอะซิมุทจริง, อะซิมุทกริด, อะซิมุทแม่เหล็ก

  17. เส้นศูนย์สูตรเส้นขนานเส้นเมอริเดียนและเส้นเมอริเดียนเริ่มแรกเส้นศูนย์สูตรเส้นขนานเส้นเมอริเดียนและเส้นเมอริเดียนเริ่มแรก

  18. ลักษณะพื้นผิวที่ใช้แสดงเส้นโครงแผนที่รูปทรงกระบอก(Cylinder) รูปทรงกรวย (Cone) และรูประนาบ(Plane)

  19. ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ความสำคัญและประโยชน์ของแผนที่ *แผนที่เป็นสิ่งที่แสดงให้ทราบถึงลักษณะของภูมิประเทศและการกระจายของกิจกรรมต่างๆของมนุษย์รวมทั้งความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆอีกด้วยเราจะเห็นว่าแผนที่นั้นอาจแสดงถึงสถิติต่างๆที่มนุษย์ต้องการทราบได้เกือบทุกอย่างเช่นปริมาณน้ำฝนอุณหภูมิลักษณะภูมิประเทศการกระจายของพลเมืองการกระจายของสัตว์พืชพรรณวิศวกรโยธาซึ่งทำงานเกี่ยวกับการสร้างทางหลวงการก่อสร้างจำเป็นต้องมีแผนที่ซึ่งแสดงถึงลักษณะภูมิประเทศ

  20. *ความจำเป็นต่อสาธารณะประโยชน์เช่นเพื่อใช้ในการวางแผนสร้างสถานีผลิตกระแสไฟฟ้าและการวางสายไฟการประปาสายโทรศัพท์และแหล่งที่จะทิ้งขยะมูลฝอยบริษัทประกันภัยก็ต้องใช้แผนที่เพื่อจะได้ศึกษาถึงทางเดินของพายุบริเวณที่ถูกภัยธรรมชาติบริเวณที่มักจะเกิดแผ่นดินไหวเป็นต้น*ความจำเป็นต่อสาธารณะประโยชน์เช่นเพื่อใช้ในการวางแผนสร้างสถานีผลิตกระแสไฟฟ้าและการวางสายไฟการประปาสายโทรศัพท์และแหล่งที่จะทิ้งขยะมูลฝอยบริษัทประกันภัยก็ต้องใช้แผนที่เพื่อจะได้ศึกษาถึงทางเดินของพายุบริเวณที่ถูกภัยธรรมชาติบริเวณที่มักจะเกิดแผ่นดินไหวเป็นต้น *แผนที่เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานต่างๆ -นำไปใช้ในการพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและในการวางแผนด้านการเศรษฐกิจและสังคมเช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำท่อน้ำโรงงานกรองน้ำเสียการขุดบ่อบาดาลหรือโครงการเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วม *การส่งเสริมการท่องเที่ยว -ทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่ายและสะดวกในการที่จะวางแผนการเดินทาง *ด้านการทหาร -การวางแผนยุทธศาสตร์ยุทธวิธี

  21. การจำแนกชนิดของแผนที่การจำแนกชนิดของแผนที่ 1. การจำแนกชนิดของแผนที่แบบทั่วไป 2. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วน 3. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามชนิดของการใช้และชนิดของรายละเอียด

  22. องค์ประกอบของแผนที่ 1.องค์ประกอบของแผนที่ที่อยู่ภายนอกขอบระวาง เรียกว่าองค์ประกอบภายนอกขอบระวาง 2.องค์ประกอบของแผนที่ที่อยู่ภายในขอบระวางเรียกว่าองค์ประกอบภายในขอบระวาง

  23. องค์ประกอบภายนอกขอบระวางแผนที่(Marginal information) 1. มาตราส่วนแผนที่(Map scale) 2. คำอธิบายสัญลักษณ์(Legend) 3. ศัพทานุกรม(Glossary) 4. ระบบบ่งบอกระวาง(Sheet identification system) 4.1 ชื่อชุดและมาตราส่วน(Series name and scale) 4.2 ชื่อระวาง(Sheet name) 4.3 ลำดับชุด(Series number) 5. บันทึกต่างๆ(Note) 6. แผนผังและสารบัญต่างๆ(Diagram and Index) 7. ศัพทานุกรม(Grossary) 8. คำแนะนำในการใช้ค่ากริด(Grid Reference Box) 9. หมายเลขสิ่งอุปกรณ์(Stock NO.)

  24. 1. มาตราส่วนแผนที่(Map scale) มาตราส่วนแผนที่เป็นข้อมูลที่จำเป็นที่สุดในการบอกให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่าแผนที่นั้นย่อมาจากภูมิประเทศจริงด้วยอัตราส่วนเท่าใดการแสดงมาตราส่วนแผนที่นั้นนอกจากจะแสดงในรูปตัวเลขเศษส่วน(Representative fraction) แล้วยังแสดงในรูปเส้นบรรทัด(Graphic scale) อีกด้วย

  25. มาตราส่วนแผนที่ (Map scale) = ระยะทางบนแผนที่(Map Distance) ระยะทางในภูมิประเทศ(Ground Distance) หรือ Scale = M.D G.D การบอกมาตราส่วนแผนที่ 1. มาตราส่วนเศษส่วน(Representative Fraction หรือ Fraction Scale หรือ Numerical Scale ใช้ตัวย่อ R.F.) 2. มาตราส่วนคำพูด(Verbal Scale) 3. มาตราส่วนรูปภาพหรือมาตราส่วนเส้นบรรทัด(Graphic Scale)

  26. 2. คำอธิบายสัญลักษณ์(Legend) ประกอบด้วยตัวอย่างของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏภายในขอบระวางของแผนที่นั้นพร้อมทั้งคำอธิบายและความหมายของสัญลักษณ์

  27. 3. ศัพทานุกรม(Glossary) เป็นส่วนที่ผู้ผลิตแผนที่แสดงไว้เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่(โดยเฉพาะชาวต่างประเทศ) เข้าใจความหมายของคำที่ใช้ในแผนที่ตัวอย่างเช่น Amphoe………………………………….secondary administrative division Ban……………………………………….village Changwat…………………………..…….primary administrative division Doi……………………………….………mountain

  28. 4. ระบบบ่งบอกระวาง(Sheet identification system) การผลิตแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศในโครงการใหญ่เช่นการผลิตแผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยต้องผลิตแผนที่ให้คลุมพื้นที่บริเวณกว้างใหญ่จำนวนแผนที่ที่ต้องทำการผลิตจึงมีหลายระวางดังนั้นเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บแผนที่และเรียกใช้จึงมีความจำเป็นต้องคิดระบบบ่งบอกระวางขึ้นมาซึ่งประกอบด้วย

  29. 4.1 ชื่อชุดและมาตราส่วน(Series name and scale) ในการผลิตแผนที่ซึ่งทำการผลิตครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเช่นครอบคลุมทั้งประเทศภูมิภาคหรือทวีปแผนที่นั้นอาจมีมาตราส่วนเดียวกันใช้ในจุดประสงค์เดียวกันดังนั้นการกำหนดชื่อชุดจะช่วยจำกัดบริเวณที่แผนที่ครอบคลุมอยู่ตัวอย่างเช่นประเทศไทย 1:50,000 ชื่อชุดและมาตราส่วนนี้จะปรากฏอยู่มุมบนด้านซ้ายของระวาง

  30. 4.2 ชื่อระวาง(Sheet name) ชื่อระวางของแผนที่จะปรากฏอยู่ตรงกลางด้านบนของขอบระวางตามปกติแล้วการตั้งชื่อระวางนิยมตั้งชื่อตามลักษณะที่เด่นของภูมิประเทศหรือลักษณะเด่นที่มนุษย์สร้างขึ้นที่ปรากฏบนแผนที่แผ่นนั้นเช่นดอยอ่างขางอำเภอบ้านโฮ่งเป็นต้น

  31. 4.3 ลำดับชุด(Series number)ลำดับชุดจะปรากฏอยู่มุมขวาด้านบนและมุมซ้ายด้านล่างของขอบระวางการกำหนดลำดับชุดมีสาเหตุในการกำหนดคือในพื้นที่บริเวณหนึ่งๆอาจมีการผลิตแผนที่ขึ้นหลายชุดที่มีขนาดของแผ่นระวางหรือมาตราส่วนที่แตกต่างกันการกำหนดชื่อชุดจะทำให้ผู้ใช้แผนที่ทราบได้ว่าเป็นแผนที่ชุดใดประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลข L 7017 มีความหมายดังนี้ L แทนRegional Areaหรือ Sub-Regional Area จะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ L เป็นภูมิภาคที่ครอบคลุมประเทศไทยลาวกัมพูชาเวียดนามมาเลเซียจีนไต้หวันเกาหลีและญี่ปุ่น 7 แทนมาตราส่วน(ระหว่าง 1:70,00 ถึง 1:35,000) 0 แทนบริเวณที่แบ่ง L เป็นภูมิภาคย่อย(Sub-Regional Area)คือบริเวณประเทศไทยลาวกัมพูชาเวียดนามมาเลเซียและจีน 17 แทนเลขลำดับที่การทำชุดแผนที่ที่มีมาตราส่วนเดียวกันและอยู่ในพื้นที่ภูมิภาค L เดียวกันประเทศไทยตรงกับลำดับชุดที่ 17

  32. 4.4 เลขหมายแผ่นระวาง(Sheet number) เลขหมายแผ่นระวางเป็นเลขหมายอ้างอิงเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาจัดระเบียบหรือแจกจ่ายสำหรับแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ได้กำหนดเลขหมายแผ่นระวางเป็นตัวเลข 4 ตัวและต่อท้ายด้วยเลขโรมันเช่น sheet 4745 I sheet 5136 IV เป็นต้นเลขโรมันจะมีตั้งแต่ I-IV เท่านั้นเลขหมายแผ่นระวางจะแสดงไว้ตรงมุมขวาด้านบนและมุมซ้ายด้านล่างของขอบระวางส่วนแผนที่ตามเลขหมายแผ่นระวางจะคลุมบริเวณใดก็ดูได้จากสารบาญแผนที่(map index)

  33. 5. บันทึกต่างๆ(Note)คือหลักฐานข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการทำแผนที่มีดังนี้ -    *ช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 เมตร(Contour Interval 20 Meters) *บันทึกการใช้ค่ารูปทรงสัณฐาน(Spheroid) *กริด(Grid) เป็นระบบอ้างอิงในทางราบ *เส้นโครงแผนที่(Projection) บอกให้ทราบว่าแผนที่ L 7017 มาตราส่วน 1:50,000 เส้นโครงแผนที่ชนิดทรานสเวอร์สเมอร์เคเตอร์(Transverse Mercator) จะแสดงอยู่ที่ขอบระวางใต้สเฟียรอยด์ *บันทึกหลักฐานทางอ้างอิง(Datum Note) เป็นระบบหลักฐานที่ใช้อ้างอิงในการกำหนดค่าทางแนวยืนและแนวนอนเพื่อใช้เป็นจุดบังคับทางความสูงและควบคุมตำแหน่งบนแผนที่ *หลักฐานทางแนวยืน(Vertical Datum) *หลักฐานทางแนวนอน(Horizontal Datum) *กำหนดจุดควบคุมโดย(Control By) * สำรวจชื่อโดย(Names Data By * แผนที่นี้จัดทำและพิมพ์โดย(Prepared and Printed By) *พิมพ์เมื่อ(Date) วันเดือนปีที่จัดพิมพ์ *บันทึกเกี่ยวกับเส้นแบ่งอาณาเขต(Boundary Note)   *หมายเหตุให้ผู้ใช้ทราบ(User Note) บอกให้ผู้ใช้ได้กรุณาแจ้งข้อแก้ไขและความเห็นในอันที่จะให้ประโยชน์ของแผนที่ระวางนี้ไปยังกรมแผนที่ทหารจะปรากฎที่มุมขวาตอนล่างสุด

  34. 6. แผนผังและสารบัญต่างๆ(Diagram and Index) * แผนภาพที่แสดงให้ทราบถึงค่ามุมเบี่ยงเบนของแนวทิศเหนือจริงแนวทิศเหนือกริดและแนวทิศเหนือแม่เหล็กณบริเวณศูนย์กลางของแผนที่ระวางนั้นแสดงความสัมพันธ์ระหว่างทิศเหนือ 3 ทิศ

  35. * คำแนะนำเกี่ยวกับระดับความสูง(Elevation Guide) * สารบาญระวางติดต่อ(Adjoining Sheets) * สารบัญแสดงแนวแบ่งเขตการปกครอง(Boundaries)

  36. 7. ศัพทานุกรม(Grossary)

  37. 8. คำแนะนำในการใช้ค่ากริด(Grid Reference Box)

  38. 9. หมายเลขสิ่งอุปกรณ์(Stock NO.)แสดงที่ขอบระวางด้านล่างสุดทางมุมขวาแสดงหมายเลขอุปกรณ์ซึ่งเป็นเครื่องบ่งให้ทราบถึงชนิดของแผนที่ต่างๆในระบบการส่งกำลังและเพื่อความมุ่งหมายในการเบิกแผนที่

  39. องค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่องค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่ องค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่หมายถึงรายละเอียดต่างๆที่แสดงไว้ภายในกรอบซึ่งล้อมรอบด้วยเส้นขอบระวางแผนที่ตามปกติแล้วจะประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆดังนี้ 1. สัญลักษณ์(Symbol) 2. สี(Color) 3. ชื่อภูมิศาสตร์(Geographical names) 4.ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง(Position reference system)

  40. 1. สัญลักษณ์(Symbol) ได้แก่เครื่องหมายซึ่งใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นภูมิประเทศการกำหนดรูปแบบของสัญลักษณ์ต้องยึดถือหลักว่าสัญลักษณ์ต้องเป็นแบบเรียบๆชัดเจนขนาดพอเหมาะกับมาตราส่วนของแผนที่ สัญลักษณ์มีหลายชนิดแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้ *ประเภทใช้แทนแหล่งน้ำเช่นแม่น้ำลำคลองหนองบึง *ประเภทใช้แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่นอาคารบ้านเรือนถนนทางรถไฟ *ประเภทใช้แทนลักษณะความสูงต่ำของพื้นผิวภูมิประเทศ *ประเภทใช้แทนพืชพันธุ์ไม้ต่างๆเช่นนาสวนและลักษณะของป่าชนิดต่างๆ

  41. 2. สี(Color) สีที่ใช้ภายในขอบระวางจะเป็นสีของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดของแผนที่แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศจะมีสีของสัญลักษณ์อยู่ 4 สีและสีนั้นมักจะสอดคล้องกับรายละเอียดที่ใช้สัญลักษณ์นั้นๆแทนตัวอย่าง สีดำหรือสีแดงใช้แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สีน้ำเงินใช้แทนแหล่งน้ำ สีเขียวใช้แทนพืชพันธุ์ สีน้ำตาลใช้แทนลักษณะสูง-ต่ำของภูมิประเทศ

  42. 3. ชื่อภูมิศาสตร์(Geographical names) เป็นตัวอักษรที่กำกับรายละเอียดต่างๆเพื่อบอกให้ทราบว่าสถานที่นั้นหรือสิ่งนั้นมีชื่อว่าอะไร 4.ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง(Position reference system) คือเส้นหรือตารางที่แสดงไว้ในแผ่นระวางเพื่อใช้ในการกำหนดค่าพิกัดของตำแหน่งใดๆบนแผนที่ระวางนั้นระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่งที่ใช้โดยทั่วไปมีอยู่ 2 ชนิดคือ ก. พิกัดภูมิศาสตร์(Geographic co-ordinate) ได้แก่เส้นละติจูด(latitude) และเส้นลองจิจูด(longitude) ซึ่งจะแสดงให้เห็นเป็นเส้นยาวแทนขอบระวางภายในของแผนที่โดยมีตัวเลขแสดงค่ากำกับไว้ด้วย ข. พิกัดกริด(Grid co-ordinate) เป็นหมู่ของเส้นขนาน 2 ชุดที่มีระยะห่างเท่าๆกันตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากแต่ละเส้นของหมู่เส้นขนานจะมีตัวเลขแสดงค่ากำกับด้วย

  43. ระบบพิกัดภูมิศาสตร์

  44. การแบ่งกริดโซนระบบพิกัดกริด UTM

  45. การหาตำแหน่งของสถานที่บนพื้นโลกการหาตำแหน่งของสถานที่บนพื้นโลก

  46. งานคู่หรือเดี่ยว 1. HTTP://WWW.RTSD.MI.TH กรมแผนที่ทหาร(Royal Thai Survey Department) สังกัดกระทรวงกลาโหม 1.1 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ? 2. HTTP://WWW.GISTDA.OR.TH 2.1 ชื่อหน่วยงาน ไทย/อังกฤษ สังกัดกระทรวง? 2.2 บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ?

More Related