390 likes | 667 Views
เราอยากให้ เด็กสาธิต. วิชาการที่เต็มที่ อยู่ในคนที่เต็มคน. กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ มีคุณธรรม และจิตอาสา. 1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้รูปแบบ. COMPETENCY MODEL. แนวทางการพัฒนา.
E N D
เราอยากให้ เด็กสาธิต วิชาการที่เต็มที่ อยู่ในคนที่เต็มคน กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ มีคุณธรรม และจิตอาสา 1
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้รูปแบบ COMPETENCY MODEL
แนวทางการพัฒนา พัฒนาเติมเต็มตามศักยภาพ Collaboration Participation C P Technology Overlearning E C Y Critical Thinking Nurture Executive Yardstick Motivation Efficiency 3
C = Cultivated, Critical Thinking ผู้เรียนมีลักษณะของการเป็นผู้มีการศึกษาที่ดี มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิจารณญาณ ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย ใช้การสอนแบบบรรยายในแต่ละเรื่องเฉพาะเนื้อหาสาระที่สำคัญ และฝึกให้นักเรียนค้นคว้า อภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ให้มากขึ้น การฝึกให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง O = Overlearning การทบทวนบทเรียนซ้ำๆภายหลังที่ได้เรียนบทเรียน นั้นๆไปแล้ว คือ การมอบหมายงาน หรือการบ้านให้นักเรียนได้ฝึกทบทวนความรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ
M = Motivation การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละครั้ง ผู้สอนต้องหาวิธีการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ให้เกิดความสนใจในเรื่องที่กำลังจะเรียนโดยใช้วิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น การใช้สื่อเทคโนโลยี การใช้เกมส์ เป็นต้น P = Participation การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทั้งผู้เรียน และผู้สอนจะต้องมีกิจกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะบทบาทของผู้เรียนจะต้องมีส่วนร่วมมากที่สุด และทุกคนมีส่วนร่วมที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันโดยมีผู้สอนเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ
E = Executive การมีทีมบริหารที่จะคอยขับเคลื่อนให้ผู้สอนและผู้เรียนประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการวางกรอบนโยบายเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม บุคลากร หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการจัดการเรียนรู้ จะต้องมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีการกำกับติดตามการดำเนินงานและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง T = Technology มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และ การบริหารงาน เพราะในโลกปัจจุบัน สื่อ เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การใช้ความคิด และค่านิยมของผู้เรียนเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันแหล่งความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นคลังความรู้ที่สามารถสืบค้นได้ด้วยเทคโนโลยี หรือ ใช้เทคโนโลยี มาพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ สืบค้นล่วงหน้า ทบทวนความรู้เดิม ตลอดจน อำนวยความสะดวกในการจัดการข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ เทคโนโลยียังสามารถนำมาใช้ ในการพัฒนาระบบบริหารงาน ให้มีความรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
E = Efficiency ความมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องมีการวางแผนการสอนที่ดี มีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นกิจกรรมร่วมอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ที่ดี คือหากผู้เรียนและผู้สอนใช้เวลาและความพยายามพอสมควรและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มาก พัฒนาตนเองได้ดี มีคุณลักษณะ ตามปรัชญาของโรงเรียน เราถือว่าประสิทธิภาพในการสอนดี N = Nurture การดูแลเอาใจใส่ผู้เรียนทุกคน ให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้าน พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย โดย ผู้สอนจะต้องเอาใจใส่นักเรียนทุกคน เน้นการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มีการวิเคราะห์ความสามารถของผู้เรียน ทั้งความสามารถทางสติปัญญา ความสามารถทางร่างกาย และสภาวะจิตใจ ของผู้เรียน เพื่อให้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่เหมาะสม และให้คำปรึกษา หรือช่วยแก้ปัญหาผู้เรียนได้
C = Collaboration ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความร่วมมือในการทำงาน โดยเฉพาะความร่วมมือของผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาการเรียนรู้ ร่วมกัน และเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาทักษะการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้ยังรวมถึง ความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่นผู้บริหาร ผู้ปกครองนักเรียน ที่จะต้องมีความจริงใจและร่วมมืออย่างจริงจังในรูปแบบกัลยาณมิตร จึงจะนำพาทุกฝ่ายไปสู่ความสำเร็จหรือเป้าหมายที่วางไว้ Y = Yardstick การวัดผลและประเมินผลผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน เพราะการวัดและประเมินผล เป็นปัจจัยสำคัญ ในการบ่งบอกคุณภาพและความสามารถของผู้เรียน ผู้สอนจึงจะต้องมีวิธีการวัดผลที่หลากหลาย และวัดตามศักยภาพของผู้เรียน โดยไม่มีอคติ และต้องนึกถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ต้องเข้าใจว่าคนเรา มีความถนัดและความ สามารถไม่เท่ากัน ผู้สอนจะใช้เกณฑ์ๆเดียววัดคนหลายๆคนพร้อมกัน และต้องการให้ได้มาตรฐานตามความคิดของผู้สอนทุกๆคนนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น การวัดและประเมินผล จึงควรมีความยืดหยุ่นและมีวิธีการที่หลากหลาย จึงจะพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพโดยแท้จริง
กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4C การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การอ่าน คณิตศาสตร์ การเขียน ความคิดสร้างสรรค์ การร่วมมือ
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 • ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม • ความคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา • การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะชีวิตและการทำงานทักษะชีวิตและการทำงาน • ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว • ความคิดริเริ่มและการชี้นำตนเอง • ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม • การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด • ความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี • พื้นฐานด้านสารสนเทศ • พื้นฐานด้านสื่อ • พื้นฐานด้านไอซีที
หลักสูตรในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ควรเป็นหลักสูตรเชิง สหวิทยาการ (Interdisciplinary)มีการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการ และยึดโครงงานเป็นฐาน เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาในโลกที่เป็นจริง และสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้ เน้นทักษะ การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมัลติมีเดีย ประเมินผลตามสภาพจริงและนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง
ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูควรให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ ควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถ ดังนี้ • ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือการเรียนรู้และกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ • ครูสามารถจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการเนื้อหาวิชาทั้งภายในและระหว่างวิชา
ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูควรให้มีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ ควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถ ดังนี้ • ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน เชื่อมโยงการเรียนรู้สู่ชีวิตจริง • ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ ฝึกคิด และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะที่สอดรับกับทักษะพื้นฐาน และทักษะในศตวรรษที่ 21 ร่วมด้วย
ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูควรให้มีศักยภาพในการจัดการ เรียนรู้ ควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถ ดังนี้ • ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานแบบร่วมมือ • ครูสามารถออกแบบการวัดและประเมินผลที่รองรับการประเมินผลอย่างต่อเนื่องของการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน
ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาครูควรให้มีศักยภาพในการจัดการ เรียนรู้ ควรได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถ ดังนี้ • ครูสามารถใช้เทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดียเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเรียนรู้ • ครูสามารถจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาเป็นรายบุคคลตามศักยภาพของผู้เรียน
การสอนนำการเปลี่ยนแปลงการสอนนำการเปลี่ยนแปลง
คนยุคใหม่ต้องมีคุณภาพคนยุคใหม่ต้องมีคุณภาพ
ระบบช่วยเหลือนักเรียน+การเรียนรู้เน้นการคิดระบบช่วยเหลือนักเรียน+การเรียนรู้เน้นการคิด
ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายวิชาการ • พัฒนานักเรียนตามพฤติกรรม • กวดขัน/แก้ปัญหานักเรียนที่มีความเสี่ยง • จัดกิจกรรม/โครงการเพื่อเสริมศักยภาพ • พัฒนานักเรียนตามศักยภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน • อาจารย์ประจำวิชาดูแลงานที่มอบหมาย/ประสานงานผู้ปกครอง • อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบความประพฤติ ความรับผิดชอบ ฝ่ายบริการ ฝ่ายบริหาร • จัดสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ อาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ • จัดสถานที่เรียนรู้นอกห้องเรียนที่เหมาะสม • สนับสนุน ส่งเสริม จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียน เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง • มีบุคลากรที่มีคุณภาพ • ส่งเสริม สร้างขวัญและกำลังใจ • พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการแก่นักเรียนการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการแก่นักเรียน
กระบวนการดำเนินงานด้านวินัยนักเรียนกระบวนการดำเนินงานด้านวินัยนักเรียน มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ 1. การรู้จักนักเรียนมีข้อมูลเป็นรายบุคคล/เพื่อน/ครอบครัว 2. การสำรวจข้อมูลวินัยนักเรียนพื้นฐาน • 3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา • 4. การส่งเสริมและพัฒนาเต็มศักยภาพ 5. การนำไปใช้ให้เกิดผล สรุปรายงานและส่งต่อข้อมูล
เชื่อไหมว่านี่คือบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบันเชื่อไหมว่านี่คือบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบัน
นโยบายของนักเรียนหอพักนโยบายของนักเรียนหอพัก ปัจจุบัน โรงเรียนจัดหอพักให้นักเรียนพักตามนโยบาย 3 หอพัก คือ หอพักหญิงในโรงเรียนสาธิต ฯ หอพักชื่นชม หอพักของมหาวิทยาลัย และ หอพักในกำกับ หอพักสินทรัพย์ นักเรียนหอพักต้องไม่มาโรงเรียนสาย โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นักเรียนหอพักต้องมีกิจกรรมเสริมทางวิชาการ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน นักเรียนหอพักต้องได้รับการฝึกระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และมีความประพฤติดี นักเรียนหอพัก ต้องเป็นหอพักสีขาว ปราศจากสิ่งเสพติดทุกชนิด
การสื่อสารข้อมูลกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ผ่านระบบสารสนเทศและเว็บไซต์ http://www.satit.msu.ac.th/ http://www4(3,2).satit.msu.ac.th/e-school/index.php
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปกครองและนักเรียนระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปกครองและนักเรียน การ Login เข้าระบบสำหรับนักเรียน User : รหัสนักเรียน Password : รหัสนักเรียน การ Login เข้าระบบสำหรับผู้ปกครอง User : รหัสนักเรียน Password : รหัสประชาชนนักเรียน
ตรวจสอบและบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตรวจสอบและบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด.ช.แจ็ค เทียนสี ณ ร้อยเอ็ด 10 ธ.ค.2520 34512000xxxx เบอร์โทรศัพท์ เบอร์โทรศัพท์
ตรวจสอบและบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตรวจสอบและบันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคลให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลเชิงลึก เพื่อนสนิท ด.ญ.วันเหลิม คงเชื้ออ้วน ด.ช.สัจจโก้ ญาติเอือมระอา 086-6461919 089-9650560 ด.ช.วีวี่ บุญมากก๊าก 084-0270058
2. การสำรวจข้อมูลวินัยนักเรียน 4.6)รายงานพฤติกรรม
การดูแลพื้นฐานวินัยนักเรียนการดูแลพื้นฐานวินัยนักเรียน 1. พบปะนักเรียนเลือกหัวหน้าห้อง กรรมการห้อง จัดป้ายหน้าห้อง 2. จัดเวรทำความสะอาดห้องเรียน จัดล็อคเกอร์ 3. ตรวจสอบข้อมูล เด็กบ้าน เด็กหอ หอใน หอชื่นชม หอพักในกำกับ(มีนักเรียนพักหอนอกต้องแจ้งสำรวจว่าได้ขออนุญาต อย่างถูกต้องหรือไม่) ต้องลดความเสี่ยงในการพักอาศัยเอง 4. สำรวจทรงผม การแต่งกาย การปฏิบัติตัวของนักเรียน 5. แจ้งข้อตกลงแนวปฏิบัติที่ถูกต้องแก่นักเรียน สิ่งสำคัญ คือ เราจะร่วมกันทำโรงเรียนให้น่าอยู่อย่างสร้างสรรค์ 6. .ใส่ไอเดียดีลงไปจะได้เป็นแบบอย่างให้แก่พวกเรา
คู่มือผู้ปกครอง สำหรับการประสานงาน ติดต่อสื่อสารกับโรงเรียน
รายละเอียดของคู่มือผู้ปกครองรายละเอียดของคู่มือผู้ปกครอง สายด่วนผู้รักษาการผู้อำนวยการ 081-369-5075 e-mail : arunkaewman808@gmail.com
ขอบพระคุณทุกท่าน • ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบาย • เพื่อพัฒนาโรงเรียนสาธิตฯ ของเราสู่โรงเรียนต้นแบ