70 likes | 202 Views
การ. บอร์ดแห่งการเรียนรู้. KM. ผลิตชาใบหม่อนเชิงพาณิชย์. ชา. ใบหม่อน. 1.
E N D
บอร์ดแห่งการเรียนรู้ KM ผลิตชาใบหม่อนเชิงพาณิชย์
ชา ใบหม่อน 1 เป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชั้นเยี่ยม อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง สารดีเอ็นเจ (DNJ) ลดน้ำตาลในเลือด สารกาบา (GABA) ลดความดันโลหิต อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด ชาใบหม่อนเกิดจากการวิจัยของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯจนกลายเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรที่ดื่มได้ทุกเพศทุกวัย ดื่มได้ทั้งร้อนและเย็น นับเป็นเภสัชโภชนาภัณฑ์ที่น่าสนใจยิ่ง ต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตเชิงพาณิชย์
2 ประโยชน์ของชาใบหม่อน ในใบหม่อนมีสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ ที่มีสรรคุณทางเภสัชศาสตร์ได้แก่ • สารเควอซิติน (Quercetin) เคมเฟอรอล (Kaempferol) รูติน (Rutin) ซึ่งมาสารต้านอนุมูลอิสระ มีผลในการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ • สารดีเอ็นเจ (DNJ : 1-deoxynojirimycin) มีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด • สารกาบา (GABA : gamma amino butyric acid) มีผลในการลดความดันโลหิต • สารฟายโตสเตอรอล (Phytosterol) มีผลในการลดระดับคอเลสเตอรอล • กรดอะมิโนครบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ และยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่เป็นประโยชน์อีกหลายชนิด อาทิ แคลเซียม โพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ และบี ฯลฯ การบริโภคชาใบหม่อน • บริโภคร้อน ใช้ชาใบหม่อน 1 กรัมต่อน้ำร้อน 100 ซีซี ชงทิ้งไว้อย่างน้อย 6 นาที ก่อนดื่ม • บริโภคเย็น ใช้ชาใบหม่อน 10 กรัมต่อน้ำร้อน 800 ซีซี ชงทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที กรองกากออก เติมน้ำตาล 190 กรัม เกลือ 10 ใส่น้ำแข็ง ก่อนดื่มให้ผสมน้ำมะนาวตามชอบ
พันธุ์คุณไพ การผลิตชาใบหม่อนเชิงพาณิชย์ สามารถดำเนินการได้ทั้งการผลิตแบบครัวเรือน และแบบโรงงานอุตสาหกรรม โดยต้องคำนึงถึง การผลิตที่ถูกต้องตามมาตรฐานผลิตที่ถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชาใบหม่อนของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ถูกสุขลักษณะของกระทรวงสาธารณสุข วัตถุดิบใบหม่อนที่ใช้ในการผลิตชาใบหม่อนควร คำนึงถึง พันธุ์หม่อน พันธุ์แนะนำได้แก่ พันธุ์คุณไพ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 และพันธุ์นครราชสีมา 60 ความสด สะอาด สมบูรณ์ของใบหม่อน ใบไม่แคระแกรน ไม่มีสิ่งปลอมปน ปราศจากโรค แมลง สารเคมี และต้องรักษาความสดของใบหม่อนก่อนการผลิต พันธุ์คุณไพ พันธุ์ บร.60 3 พันธุ์ นม.60
การผลิตชาใบหม่อนแบบโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตชาใบหม่อนแบบโรงงานอุตสาหกรรม • หั่นใบหม่อนตามความกว้างของใบ ให้มีขนาด 1-2 เซนติเมตร ด้วยเครื่องหั่น • อบไอน้ำให้หม่อนที่หั่นแล้ว ที่อุณหภุมิกว่า 95 องศาเซลเซียส นาน 40-50 นาที • คั่วครั้งที่ 1 ที่อุณหภูมิ 80-90 องศาเซียส ใช้เวลาประมาณ 35 นาที • นวด เพื่อทำให้หม่อนม้วนใบ ด้วยเครื่องนวด ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที • คั่วครั้งที่ 2 ใช้เวลาประมาณ 35 นาที ที่อุณหภูมิ 65-68 องศาเซลเซียส • คัดก้านขนาดใหญ่ออก • คั่วครั้งที่ 3 อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที • อบความร้อน ในเครื่องอบ อุณหภูมิ 80-90 องศาเซลเซียส ใช้เวลาประมาณ 25 นาที • บรรจุถุง ถุงสำเร็จมี 3 ชั้น กระดาษ - พลาสติก -กระดาษ เพื่อป้องกันความชื้น และเพิ่มความแข็งแรง การผลิตชาใบหม่อนแบบครัวเรือน หั่นใบหม่อนเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด (0.5-1.0) x (3.0-4.0) เซนติเมตร2 นึ่งด้วยไอน้ำเดือด ในกรณีที่ใช้หวดเป็นภาชนะ ให้นึ่งนาน 2 นาทีก่อนพลิกกลับใบหม่อน แล้วนึ่งต่ออีก 2 นาที กรณีใช้ซึงเป็นภาชนะ ควรนึ่งใช้นาน 1 นาทีก่อนพลิกกลับใบหม่อน แล้วนึ่งต่ออีก 1 นาที นวดใบหม่อนด้วยมือแรงๆ เพื่อให้เซลล์ใบหม่อนแตกและให้ชิ้นใบหม่อนม้วนตัว คั่วจนกระทั่งแห้งใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที อบใบหม่อนในตู้อบที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมงเพื่อให้มีความชื้นต่ำกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ เก็บไว้ในภาชนะที่มิดชิด เพื่อป้องกันความชื้น แสงแดดและมอดยาสูบ