290 likes | 411 Views
ระบบข้อมูลสารสนเทศ และ การ นำข้อมูลมาปรับใช้เพื่อการบริหาร. นพ. วิเชียร เทียนจารุวัฒนา โรงพยาบาลขอนแก่น. ระบบข้อมูล สารสนเทศ. ระบบสารสนเทศ ( Information System : IS ) เป็นระบบพื้นฐานของการทำงาน ต่าง ๆ ในรูปแบบ ของ : การเก็บ ข้อมูล ( input ) การ ประมวลผล ( processing )
E N D
ระบบข้อมูลสารสนเทศและระบบข้อมูลสารสนเทศและ การนำข้อมูลมาปรับใช้เพื่อการบริหาร นพ. วิเชียร เทียนจารุวัฒนา โรงพยาบาลขอนแก่น
ระบบข้อมูลสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ (Information System:IS) เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่าง ๆ ในรูปแบบของ: การเก็บข้อมูล(input) การประมวลผล (processing) เผยแพร่(output) ส่วนจัดเก็บข้อมูล (storage) องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • ซอฟต์แวร์ (Software) • มนุษย์ (People ware) • กระบวนการ (Process) • ข้อมูล (Data, Information) • เครือข่าย (Network)
ระบบสารสนเทศ (Information System:IS) ข้อมูล(Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ เทคโนโลยีสารสนเทศ/ ไอที (Information technology: IT) หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึง การรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการสืบค้นสารสนเทศ
ระบบข้อมูลสารสนเทศ • ข้อมูลนำเข้า (Input data): จำนวนเตียง บุคลากร ด้านบริการ ด้านการเงิน ฯลฯ • ข้อมูลส่งออก (Output/ outcome data): จำนวนผู้ป่วยรอดชีวิต/ เสียชีวิต เกิดภาวะแทรกซ้อน ความพึงพอใจ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลฯลฯ • ส่วนจัดเก็บข้อมูล (Storage): Data Server การนำข้อมูลมาปรับใช้เพื่อการบริหาร • ระดับประเทศ • ระดับพวงบริการ (12 พวงบริการ)/ ระดับเขต (18 เขต) • ระดับจังหวัด • ระดับโรงพยาบาล
การนำข้อมูลมาปรับใช้เพื่อการบริหารการนำข้อมูลมาปรับใช้เพื่อการบริหาร ข้อมูล(Data) Electronic data สารสนเทศ (Information) ความรู้ (Knowledge) Plan Act Do Check
16 15 10 17 11 12 18 14 13 4 1 3 5 9 6 7 เขตตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข 18 เขต 8
โรงพยาบาลที่ส่งรายงาน พิจารณาในระดับประเทศ
โรงพยาบาลที่ส่งรายงาน พิจารณาตามพวงบริการ
โรงพยาบาลที่ส่งรายงาน พิจารณาตามเขต
โรงพยาบาลที่ไม่ส่งรายงาน ในไตรมาสที่ 2 พิจารณาระดับจังหวัด
การวิเคราะห์แบ่งตามกลุ่ม risk scoring ในระดับพวงบริการ • ระดับความเสี่ยงทางการเงิน (Risk score) 0-7 • ระดับความเสี่ยงที่ 7 = มีความเสี่ยงสูงสุด
การวิเคราะห์แบ่งตามกลุ่ม risk scoring ในระดับเขต
โจทย์ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาการเงินของโรงพยาบาลโจทย์ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหาการเงินของโรงพยาบาล
ต้นทุน (Cost) ระยะเวลา 1 ปี “Unit Cost (ต้นทุนต่อหน่วยบริการ)” “Average Cost (ต้นทุนเฉลี่ย)” “Cost/ Output (ต้นทุนต่อผลผลิต 1 หน่วย)” Total Cost (ต้นทุนทั้งหมด) ค่าใช้จ่ายหรือทรัพยากรที่มีหน่วยวัดเป็นตัวเงินที่จ่ายออกไป เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือบริการในการดำเนินงานจัดบริการเพื่อสุขภาพอนามัยแก่ผู้รับบริการ Total Output (ผลผลิตทั้งหมด)
การวิเคราะห์ต้นทุนผลผลิตต่อหน่วย (Unit cost) • ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยนอก (ต่อครั้ง/ ต่อราย) • ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยใน(ต่อรายวันนอน) • ต้นทุนเฉลี่ยต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์(Relative Weight: RW) หรือ ค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับปรุง(Adjusted Relative Weight: adj. RW) • ต้นทุนเฉลี่ยผู้ป่วยในตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Group:DRG) • ต้นทุนรายโรคเฉลี่ย (ต่อโรค) • ต้นทุนเฉลี่ยตามศูนย์ฯ/ หน่วยความรับผิดชอบ(Responsibility center/ unit) ต่อหน่วยงาน แผนก หอผู้ป่วย กลุ่มงาน หรือโรงพยาบาล • ต้นทุนเฉลี่ยแยกตามสิทธิผู้ป่วย หรือกองทุน
ต้นทุนในทัศนะของผู้ประเมินต้นทุนในทัศนะของผู้ประเมิน • 1. ต้นทุนในทัศนะของผู้ให้บริการ(Provider perspective) • ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการผู้ป่วย โดยไม่เท่ากับค่าบริการ (Charge) ที่คิดกับผู้รับบริการ • 2. ต้นทุนในทัศนะของผู้รับบริการ(Patient perspective) • ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ผู้รับบริการต้องจ่ายในการมารับบริการ รวมค่าเสียโอกาส และค่าใช้จ่ายที่เป็นผลมาจากการเจ็บป่วยในครั้งนั้น ทั้งตัวผู้ป่วยและญาติ • 3. ต้นทุนในทัศนะของผู้ซื้อบริการ(Purchaser perspective) • ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการผู้ป่วย โดยผู้ซื้อบริการจ่ายให้หน่วยบริการตามข้อตกลง โดยไม่เท่ากับค่าบริการที่คิดกับผู้รับบริการ • 4. ต้นทุนในทัศนะของสังคม (Society perspective) • จะเป็นผลรวมของต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในสังคมนั้น
ปัจจัยที่มีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาการเงิน โรงพยาบาลภาครัฐ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข • หลักเกณฑ์การจัดสรรและการหักเงินเดือนของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่สอดคล้องกับบริบทที่แท้จริงของหน่วยบริการ • งบของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ได้รับจัดสรรต่ำกว่าผลงานการให้บริการจริงในขณะที่มีอัตราบริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว • แนวโน้มที่ลดลงในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลของสิทธิประกันสังคมและสิทธิข้าราชการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งทั้ง 2 สิทธิส่วนใหญ่ได้กำไร • สิทธิข้าราชการในปัจจุบันมีการควบคุมค่าใช้จ่ายที่เข้มงวด ทำให้การชดเชยเพื่อลดปัญหาการขาดทุนข้ามกองทุน (Cross subsidy) ลดลง
Unit Cost สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข • กระทรวงฯ ใช้เพื่อ: • ต่อรองงบขาขึ้นและงบขาลงที่เหมาะสม • ต้นทุนต่อหน่วย (ต่อผู้ป่วยนอก ต่อ adj.RW ต่อสิทธิ์/กองทุน ต่อโรค) • การจัดสรรเงินที่เหมาะสม: • การหักเงินเดือน (Operating cost = Labour cost + Material cost) • * หักระดับประเทศ * หักระดับเขต • การจัดสรรตามพื้นที่ • * พื้นที่ปกติ * พื้นที่พิเศษ: กันดารระดับ 1, กันดารระดับ 2 วางนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่เหมาะสมกับปัญหาสาธารณสุขของประเทศ และบริบทของพื้นที่ การบริหารการเงินการคลังของหน่วยบริการ
หน่วยบริการ/ โรงพยาบาล ได้ประโยชน์ • รู้ต้นทุนของตนเอง • ภาพรวมของโรงพยาบาล • เปรียบเทียบระดับโรงพยาบาลเดียวกันในปีงบประมาณเดียวกัน • เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของโรงพยาบาลตนเองในแต่ละปีงบประมาณ • ต่อ visit ของผู้ป่วยนอก, ต่อรายผู้ป่วยนอก • ต่อ adj. RW • ต่อสิทธิ์หรือกองทุน: → UC ประกันสังคม สิทธิข้าราชการ • ต่อโรคที่สำคัญ: → โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง Acute appendicitis • ภาพย่อย/ หน่วยงานย่อยของโรงพยาบาล (Segmental report) • เปรียบเทียบหน่วยงานย่อยระดับเดียวกัน
ผลประกอบการของโรงพยาบาล (กำไร/ ขาดทุน) • ภาพรวมของโรงพยาบาล • หน่วยงานย่อย • สาเหตุของกำไร/ ขาดทุน • ภาพรวมของโรงพยาบาล • ต้นทุนค่าแรง • ต้นทุนค่าวัสดุ • ต้นทุนค่าลงทุน • ระดับหน่วยงานย่อย → ดู Cost to charge ratio แยกแต่ละรายการของแต่ละหน่วยงานย่อย ดูรายกิจกรรม+ รายละเอียดต้อง explore ในระดับหน่วยงาน →สาเหตุจากหมวดใด? → ค่าแรง ค่ายา ค่าเครื่องมือ ค่าวัสดุ ค่าอวัยวะเทียม ค่า X-raysค่า Lab งบลงทุน ฯลฯ)
พัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานย่อยของโรงพยาบาล • ต้นทุนสูงจากสาเหตุใด? • ควรดำเนินการปรับ/ ลดหมวดใด? • เพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างไร? การวางแผนพัฒนาได้ตรงกับสาเหตุ/ ปัญหา อุปสรรค หรือข้อจำกัดที่มีอยู่ • การวางแผนในอนาคต: การลงทุนในแต่ละหน่วยงานย่อย แต่ละกิจกรรม • การเพิ่ม/ ลดยอดผู้รับบริการ: ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน • การส่งต่อผู้ป่วย • การส่งเสริม ป้องกันโรค (การบริการเชิงรุก)
การรายงานผล Unit cost ของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข • ระดับโรงพยาบาล • โรงพยาบาลศูนย์ • โรงพยาบาลทั่วไป • โรงพยาบาลชุมชน • 2.ต้นทุนต่อหน่วย • ต่อการรับบริการผู้ป่วยนอก (/visit OP) • ต่อการบริการผู้ป่วยใน (/adj. RW) • ต่อสิทธิการรักษาพยาบาล • 3. เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วย • ภาพรวมของประเทศ • ระดับเขต/ ภาค • ระดับจังหวัด