200 likes | 284 Views
เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและบริการ. วิวัฒนาการอุตสาหกรรมไทย ก่อน 2503 เริ่มจริงจังในการพัฒนาราวทศวรรษ 2500 เน้น การใช้แรงงาน ( Labour intensive) 2503-2514 เน้นอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า
E N D
เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและบริการเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมและบริการ • วิวัฒนาการอุตสาหกรรมไทย • ก่อน 2503 เริ่มจริงจังในการพัฒนาราวทศวรรษ 2500 เน้น การใช้แรงงาน ( Labour intensive) • 2503-2514 เน้นอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า • 2514-2524 เน้นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เพราะอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้ามีปัญหาในเรื่อง • อุปสงค์ในประเทศน้อยเกินไป • การนำเข้าโดยรวมไม่ได้มีมูลค่าน้อยลง ไม่ช่วยปัญหาการขาดดุล • อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าไม่ช่วยให้เกิดการจ้างงานเท่าใดนัก
2528-2538 ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตส่งออก และการเติบโตอย่างก้าวกระโดด • ผลจาก Plaza Accord & Louvre Accord • การส่งออกภาคอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากร้อยละ 24.7 ในปี 2527-38 เป็น ร้อยละ 30.7 ในปี 2529-33 ในขณะที่การส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 6.5 และ 5.8 ในช่วงเดียวกัน ( ปี 2528 เป็นปีแรกที่ส่งออกอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตร) • สัดส่วนมูลค่าการส่งออก เกษตร จาก 38%ในปี 2528 เป็น 11.4 ในปี 2538 ขณะที่อุตสาหกรรม จาก 49.5 %ในปี 2528 เป็น 81.9ในปี 2538
2531-2533 : ยุคทองของเศรษฐกิจไทย * ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ * ความได้เปรียบในเรื่องค่าจ้างแรงงาน *ความมีเสถียรภาพทางการเมือง *การเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบอินโดจีน *สังคมไทยมีความสงบและประนีประนอม *การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง รองรับนักลงทุนญี่ปุ่นได้ดี
ภาวะอุตสาหกรรมปี 45 และแนวโน้มปี 46 ภาพรวม ในปี 2545 เทียบกับ ปี 2544 ดีขึ้นมาก คือ ยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง ทรงตัว คือ อาหาร สิ่งทอ อิเล็กทอนิกส์ มีปัญหามากที่ต้องเร่งแก้ไข คือ อุตสาหกรรมเบา ที่แข่งกับจีน
เหตุผล 3 ประการที่ทำให้ภาพรวมดีขึ้นคือ • นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ลงไปถึงรากหญ้า การแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน • ประเทศไทยเริ่มประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเป็นฐานการประกอบ การผลิตชิ้นส่วนชิ้นส่วนที่สำคัญ • ฐานะการเงินของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น อันเป็นผลจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น และการปรับโครงสร้างทางการเงิน
แนวโน้ม ปี 2546 คาดว่าจะยังคงฟื้นตัวต่อเนื่องโดยอยู่บนเงื่อนไข 3 ประการ คือ • เศรษฐกิจโลก • สงครามสหรัฐ-อิรัค • การแข่งขันในตลาดส่งออก
ภาพการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมภาพการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ( 2538 = 100) เพิ่มขึ้นจากระดับ 110.1 ในเดือนกันยายน 2544 เป็น 120.9 ในเดือนกันยายน 2545 • แนวโน้มการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจาก 55.6% เป็น 61.4% โดยอุตสาหกรรมที่ใช้กำลังการผลิตเกินกว่า 80% คือ ปิโตรเคมี เส้นใยสังเคราะห์ ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ สังกะสี
ภาพการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม (ต่อ) • การส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดย มค.-สค.45 การส่งออกทั้งสิ้น 37,902 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 1.5% • การลงทุน ได้รับการอนุมัติ จาก BOI ปี 44 จำนวน 419 โครงการ เงินลงทุน 121,047 ล้านบาท จ้างงาน 81,328 คน ในขณะที่ปี 45 จำนวน 451 โครงการ เงินลงทุน 111,175 ล้านบาท จ้างงาน 90,428 คน โดยอุตที่ฟื้นการลงทุนมากคือ ยานยนต์และอุตเกษตร ที่ลดการลงทุนลงมาก คือ อิเล็กทอนิกส์และปิโตรเคมี
ภาพการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม (ต่อ) • การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น จาก 3.3 ล้านคน ในเดือน สค. ปี 44 เป็น 3.6 ล้านคน ในช่วงเดียวกันของปี 45 โดยเพิ่มขึ้นทุกหมวด ยกเว้น รองเท้า ผลิตภัณฑ์หนัง และดอกไม้ประดิษฐ์
ทิศทางไปสู่เศรษฐกิจฐานของความรู้ทิศทางไปสู่เศรษฐกิจฐานของความรู้ • เศรษฐกิจฐานของความรู้ ( Knowledge-based Economy) คือ เน้นการเพิ่มผลผลิตจากผลิตภาพ ( Productivity ) มากกว่าการเพิ่มจากการใช้ปัจจัยการผลิต รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการ ( Entrepreneur) ภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจฐานความรู้ เช่น ซอฟต์แวร์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ
สู่ความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมเกษตรสู่ความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมเกษตร • มีแนวโน้มดีขึ้นทั้งในส่วนการส่งออกและความพยายามที่จะสร้างความแข็งแกร่งในระยะยาว โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้าง การพัฒนาไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และการสร้างแบรนด์สินค้าในต่างประเทศ สิ่งที่น่าห่วงคือ ความเด่นในฐานะฐานการผลิตปลาทูน่ากระป๋อง และสับปะรดกระป๋องจะค่อยๆลดลง เนื่องจากการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น
การฟื้นตัวของหมวดวัสดุก่อสร้างการฟื้นตัวของหมวดวัสดุก่อสร้าง • เพิ่มขึ้นมากทั้งในส่วนของปูนซีเมนต์ กระจกแผ่น และเหล็ก แนวโน้มดีเพราะการปรับโครงสร้างการผลิตและการเงินได้ก้าวหน้าไปมาก • เหล็กฟื้นตัว แต่ยังมีปัญหา NPLs • ผลิตปูนซีเมนต์เพิ่มจาก 36 เป็น 42 ล้านตัน • หันไปผลิตกระจกแผ่นที่มีราคาสูงขึ้น
ความท้าทายที่จะปรับตัวสู่ศูนย์กลางแฟชั่นความท้าทายที่จะปรับตัวสู่ศูนย์กลางแฟชั่น • ปัญหาอุตสาหกรรมเบา เช่น สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม มีความสามารถในการแข่งขันลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะการแข่งขันจากจีน หลังการเปิดเสรีสิ่งทอ ปี 2548 • เครื่องหนังโดยรวมลำบาก • เฟอร์นิเจอร์ค่อนข้างดี
ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเซียอาคเนย์ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเซียอาคเนย์ • แนวโน้มน่าจะดี โดยเฉพาะหลังปี 2547 เมื่อการย้ายฐานการผลิตรถยนต์ปิกอัพของโตโยต้าและอิซูซุมายังไทยแล้วเสร็จสมบูรณ์
จากการสัมมนาล่าสุดเมื่อกลางปี 2545 กำหนดเป้าหมาย คือ • ผลักดันให้ประกอบรถยนต์ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านคัน/ปี ส่งออก 40%ภายในปี 49 และมีมูลค่าการผลิตมากกว่า 500,000 ล้านบาท/ปี • ผลิตจักรยานยนต์ ไม่น้อยกว่า 2 ล้านคัน/ปี ส่งออก 20% และมีมูลค่าการผลิตมากกว่า 100,000 ล้านบาท • พัฒนาให้ไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ที่ได้มาตรฐานและเป็นแบรนด์ของตนเอง • พัฒนาให้ไทยมีความสามารถผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีมูลค่าเพิ่มภายในประเทศไม่ต่ำกว่า 60% ภายในปี 2549
อุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์อยู่ในภาวะทรงตัวอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์อยู่ในภาวะทรงตัว • ภาพรวมอยู่ในภาวะทรงตัว • White Goods ค่อนข้างดีเนื่องจากมีบรรษัทข้ามชาติมาตั้งฐานการผลิตเพื่อการส่งออกในไทยในไทยมากขึ้น • หมวดเซมิคอนดักเตอร์ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ปัญหาสำคัญอยู่ที่การแข่งขันกับจีน • Hard Disk Drive คู่แข่งในระยะสั้นคือมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ระยะยาวคือ จีน
อุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์อยู่ในภาวะทรงตัวอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์อยู่ในภาวะทรงตัว • การประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูป ประเทศไทยสำเร็จน้อย การผลิตกระจุกตัวอยู่ในเม็กซิโก ไต้หวัน และมาเลเซีย • การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
สรุปการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในรอบห้าทศวรรษสรุปการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในรอบห้าทศวรรษ • เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว GDP ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มจากร้อยละ 13.6 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 35.2 ในปี 2543 • มีการจ้างงาน 5 ล้านคนในปี 2543 • การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 84.9 ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2544
สรุปการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในรอบห้าทศวรรษสรุปการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในรอบห้าทศวรรษ • เกิดผลเสีย เช่น • ไม่ค่อยเอาใจใส่ปัญหาสิ่งแวดล้อม • ปัญหามลพิษทั้งอากาศ และน้ำ • อุตสาหกรรมไทยเติบโตภายในการคุ้มครองพิเศษ ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าแพง
ปัญหาการพัฒนาเทคโนโลยีของไทยปัญหาการพัฒนาเทคโนโลยีของไทย • ประเทศไทยมีการใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยอยู่ในระดับต่ำ • ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยของรัฐบาลซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในภาคการผลิต • พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลัก • ขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • SME มีความเสียเปรียบด้านเทคโนโลยี