1 / 50

บทที่ 7

บทที่ 7. การค้าและการเงินระหว่างประเทศ. สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ. การกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความเหลื่อมล้ำกัน ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างกัน. ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ.

quinta
Download Presentation

บทที่ 7

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 7 การค้าและการเงินระหว่างประเทศ

  2. สาเหตุของการค้าระหว่างประเทศสาเหตุของการค้าระหว่างประเทศ • การกระจายทรัพยากรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีความเหลื่อมล้ำกัน • ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างกัน

  3. ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ • การค้าระหว่างประเทศทำให้เราได้บริโภคหรือใช้สินค้าอื่นๆที่จำเป็นในการครองชีพซึ่งประเทศของตนไม่สามารถผลิตได้ หรือมีสินค้าอื่นๆให้เลือกบริโภคได้มากขึ้น • การค้าระหว่างประเทศทำให้ได้ใช้และบริโภคของที่มีราคาถูกกว่า และทำให้มีสินค้าใช้ในจำนวนมากขึ้น • เกิดการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศ และทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดที่สุด และทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

  4. ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ • Smith การค้าระหว่างประเทศควรเป็นการค้าเสรีที่ปราศจากการควบคุมของรัฐบาล ทั้งในด้านการนำสินค้าเข้าและส่งออกสินค้า • เชื่อว่า “มือที่มองไม่เห็น” จะจัดการทุกสิ่งทุกอย่างเอง การเข้าแทรกแซงของรัฐบาลจะทำให้เกิดการจำกัดสินค้าโดยการตั้งกำแพงภาษี หรือการห้ามสินค้านำเข้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการผูกขาดสินค้าและผู้ได้รับประโยชน์ คือ พ่อค้า ผู้เสียผลประโยชน์ คือ ผู้บริโภค

  5. ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์(Theory of Absolute Advantage)

  6. ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์(Theory of Absolute Advantage) ข้อบกพร่อง • ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในการผลิตสินค้าทั้ง 2 ชนิดมากกว่าอีกประเทศหนึ่ง ก็ไม่ควรจะเกิดการค้าระหว่างประเทศทั้ง 2 แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่าประเทศใดประเทศหนึ่งมีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ในสินค้า 2 ชนิด แต่ก็ยังคงทำการค้ากับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งมีความเสียเปรียบโดยสมบูรณ์ในสินค้าทั้ง 2 ชนิด

  7. ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Advantage) • เดวิด ริคาโด • ประเทศใดที่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนเชิงเปรียบเทียบที่ต่ำกว่าประเทศอื่น ประเทศนั้นควรเป็น ผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าว เพื่อแลกกับสินค้าที่ประเทศตนผลิตแล้วต้นทุนเชิงเปรียบเทียบสูงกว่าประเทศอื่น

  8. ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Advantage)

  9. ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Advantage) ไทยมีอัตราส่วนต้นทุนในการผลิตข้าว : คอมพิวเตอร์ = 10 คน : 20 คน หรือ 0.5 : 1 เกาหลีใต้มีอัตราส่วนต้นทุนในการผลิตข้าว : คอมพิวเตอร์ = 60 คน : 40 คน หรือ 1.5 : 1

  10. ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ(Theory of Comparative Advantage) ไทยมีอัตราส่วนต้นทุนในการผลิตคอมพิวเตอร์ : ข้าว = 20 คน : 10 คน หรือ 2 : 1 เกาหลีใต้มีอัตราส่วนต้นทุนในการผลิตคอมพิวเตอร์ : ข้าว = 40 คน : 60 คน หรือ 0.67 : 1

  11. บัญชีดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) การเงินระหว่างประเทศ เป็นการบันทึกธุรกรรมทางเศรษฐกิจหรือรายการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ (Economic Transactions) ระหว่างผู้มีถิ่นฐานของประเทศนั้น (Residents) กับผู้ที่มีถิ่นฐานของต่างประเทศ (Non-residents)ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติคือ 1 ปี Residents หมายถึง ผู้พำนักอาศัยอยู่ในอาณาเขตของประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาเป็นการถาวรอยู่ในประเทศนั้น

  12. การเงินระหว่างประเทศ Economic transactions หมายถึง กิจกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินระหว่างบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่นๆ โดยทั่วไปการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดการรับจ่ายเงินให้กันและกัน สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศจะใช้เงินตราต่างประเทศหรือสินทรัพย์อื่นที่เป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศ

  13. องค์ประกอบของบัญชีดุลการชำระเงินองค์ประกอบของบัญชีดุลการชำระเงิน ดุลการ ชำระเงิน บัญชีดุลการ ชำระเงิน

  14. การเงินระหว่างประเทศ • อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คือ ราคาของเงินตราต่างประเทศ 1 หน่วย เมื่อคิดเทียบเป็นเงินตราภายในประเทศ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็คือ จำนวนเงินบาทที่สามารถแลกเงินดอลลาร์ได้ 1 ดอลลาร์ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนี้จะถูกกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ

  15. ความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยนความสำคัญของอัตราแลกเปลี่ยน • สะดวกในการชำระเงินในการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศ • การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อ ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน การนำเข้า ส่งออก และรายได้ประชาชาติ

  16. ตัวอย่าง 100,000 $ นำเข้า อัตราแลกเปลี่ยน 40 ฿ ต่อ 1$ 100,000 $ 4,000,000 ฿

  17. 100,000 $ หรือ 4,000,000 ฿ เงินบาทแข็งค่า เงินบาทอ่อนค่า

  18. ตัวอย่าง 1,000,000 ฿ ส่งออก อัตราแลกเปลี่ยน 40 ฿ ต่อ 1$ 1,000,000 ฿ 25,000 $

  19. 1,000,000 ฿หรือ 25,000 $ เงินบาทแข็งค่า เงินบาทอ่อนค่า

  20. สรุป • ถ้าเป็นผู้นำเข้า เงินบาทที่แข็งค่าจะทำให้ผู้นำเข้าชำระค่าสินค้าคิดเป็นเงินบาทถูกลง • แต่ถ้าเป็นผู้ส่งออก เงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้สินค้าเราถูกลงในสายตาชาวต่างชาติ เราจะสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น

  21. ชนิดของอัตราแลกเปลี่ยนชนิดของอัตราแลกเปลี่ยน • อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate) เป็นอัตราที่ถูกกำหนดในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่มีการแข่งขันอย่างเสรี • อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) เป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกำหนดโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ

  22. การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดุลยภาพภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี อัตราแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีจะถูกกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศซึ่งอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศเป็นอุปสงค์ต่อเนื่อง (Derived Demand) และอุปทานต่อเนื่อง (Derived Supply)

  23. อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ(Demand for Foreign Exchange) อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ (Demand for Foreign Exchange) คือ จำนวนต่างๆของเงินตราต่างประเทศสกุลนั้น ที่มีผู้ซื้อต้องการได้มา ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนต่างๆในระยะเวลาช่วงหนึ่งที่กำหนด ซึ่งจะมีความสัมพันธ์เป็นไปตามกฎอุปสงค์ กล่าวคือ ปริมาณเงินตราต่างประเทศสกุลใดสกุลหนึ่งที่มีผู้ต้องการซื้อจะแปรผกผันกับระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสกุลนั้นเสมอ

  24. ปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ • อัตราแลกเปลี่ยน • รสนิยมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าภายในประเทศและสินค้าต่างประเทศ • การเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ • รายได้ส่วนบุคคลและรายได้ประชาชาติ • ความแตกต่างด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • ความแตกต่างระหว่างอัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ • การเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ต่างๆ เช่น การคาดการณ์เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

  25. อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ (Demand for Foreign Exchange) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่ม เงินบาทอ่อนค่าลง ความต้องการเงินตราต่างประเทศลดลง 40 บาท : 1 ดอลล่าร์ 30 บาท : 1 ดอลล่าร์ D 100 200 ปริมาณเงินดอลล่าร์

  26. อุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศ (Demand for Foreign Exchange) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนลดลง เงินบาทแข็งค่าขึ้น ความต้องการเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น 50 บาท : 1 ดอลล่าร์ 20 บาท : 1 ดอลล่าร์ D1 D 100 200 ปริมาณเงินดอลล่าร์

  27. อุปทานของเงินตราต่างประเทศ (Supply of Foreign Exchange) อุปทานของเงินตราต่างประเทศได้จากการขายสินค้าและบริการให้ต่างประเทศ ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในแบบอื่นๆ ปริมาณของเงินตราต่างประเทศที่หามาได้นั้น ย่อมแปรผันโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้เนื่องจากว่าเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น ราคาสินค้าออกจะถูกลง การส่งออกมากขึ้น(หรือการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศของชาวต่างประเทศจะได้ผลตอบแทนมากขึ้น) อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะมากขึ้น ในทางตรงข้าม ถ้าอัตราแลกเปลี่ยนต่ำลง ราคาสินค้าออกจะแพงขึ้น การส่งออกมีแนวโน้มลดลง อุปทานของเงินตราต่างประเทศจะลดลง

  28. ปัจจัยที่กำหนดอุปทานของเงินตราต่างประเทศปัจจัยที่กำหนดอุปทานของเงินตราต่างประเทศ อุปทานของเงินตราต่างประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ คือ • อัตราแลกเปลี่ยน • รสนิยมในการบริโภคสินค้า • การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ • ต้นทุนการผลิตโดยเปรียบเทียบ • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี • การส่งเสริมการลงทุน มาตรการด้านภาษี และการกีดกันทางการค้า • รายได้ส่วนบุคคลและรายได้ประชาชาติ

  29. อุปทานของเงินตราต่างประเทศ (Supply of Foreign Exchange) อัตราแลกเปลี่ยน S 40 บาท : 1 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนเพิ่ม ราคาสินค้าส่งออกถูกลง ขายได้มากขึ้น Supply เงินตราต่างประเทศมากขึ้น 30 บาท : 1 ดอลล่าร์ 100 200 ปริมาณเงินดอลล่าร์

  30. อุปทานของเงินตราต่างประเทศ (Supply of Foreign Exchange) อัตราแลกเปลี่ยน S S1 30 บาท : 1 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนลดลง ราคาสินค้าส่งออกแพงขึ้น ขายได้น้อยลง Supply เงินตราต่างประเทศลดลง 20 บาท : 1 ดอลล่าร์ 100 200 ปริมาณเงินดอลล่าร์

  31. อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ อัตราแลกเปลี่ยน S P D Q ปริมาณเงินดอลล่าร์

  32. การเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ

  33. Change in Taste อัตราแลกเปลี่ยน S ความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยีการผลิตเครื่องจักรกลใหม่ของสหรัฐอเมริกา P1 P D1 D Q Q1 ปริมาณเงินดอลล่าร์

  34. Change in Taste อัตราแลกเปลี่ยน S S1 P ผ้าไหมไทยเป็นที่นิยมของนักออกแบบและผู้บริโภคต่างชาติ P1 D Q Q1 ปริมาณเงินดอลล่าร์

  35. Relative Income Change อัตราแลกเปลี่ยน S รายได้ประชาชาติของไทยเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่รายได้ประชาชาติของญี่ปุ่นคงที่ P1 P D1 D Q Q1 ปริมาณเงินเยน

  36. Relative Price Change อัตราแลกเปลี่ยน S S1 สินค้าส่งออกของไทย เมื่อคิดเป็นบาท ราคาถูกลง P P1 D Q Q1 ปริมาณเงินดอลล่าร์

  37. Capital Movement อัตราแลกเปลี่ยน S S1 ถ้าอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยสูงกว่าในประเทศญี่ปุ่น P P1 D Q Q1 ปริมาณเงินเยน

  38. ข้อดีของการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวข้อดีของการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว การกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด สามารถช่วยขจัดการชาดดุลและเกินดุลของดุลการชำระเงินได้ โดยที่รัฐบาลไม่ต้องแทรกแซง การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเสรี ทำให้ราคาสินค้าออกและราคาสินค้าเข้าเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนราคาภายในประเทศหรือราคาในต่างประเทศ

  39. ข้อเสียของการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวข้อเสียของการใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว อัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้การคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนทำได้ยาก อาจทำให้การค้าระหว่างประเทศลดลง

  40. อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate) อัตราแลกเปลี่ยน รัฐบาลต้องเข้าแทรกแซงอาจจะทำให้ Supply เพิ่มขึ้น หรือลดDemand ลง หรือทั้งสองอย่าง S S1 50฿ : 1 $ 40 ฿ : 1 $ D1 D S D ปริมาณเงินดอลล่าร์

  41. เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ การใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ Excess Supply รับซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อให้Supply ของเงินตราต่างประเทศลดลง Excess Demand ขายทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อให้ Supply ของเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น

  42. เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ อัตราแลกเปลี่ยน S S1 50฿ : 1 $ 40 ฿ : 1 $ D1 D S D ปริมาณเงินดอลล่าร์

  43. นโยบายการค้า เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ Excess Demand - กำหนดปริมาณการนำเข้า • ตั้งกำแพงภาษี • เก็บภาษีพิเศษจากการลงทุนในต่างประเทศ • ฯลฯ

  44. การควบคุมเงินตราต่างประเทศการควบคุมเงินตราต่างประเทศ เครื่องมือในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ Excess Demand รัฐบาลบังคับว่าเงินตราต่างประเทศทั้งหมดที่ผู้ส่งออกได้รับมา จะต้องนำมาขายให้กับรัฐบาล และรัฐบาลจะเป็นผู้จัดสรรปันส่วน Supply เงินตราต่างประเทศ ให้ผู้นำเข้า วิธีการนี้รัฐบาลจะสามารถควบคุมสินค้านำเข้าให้อยู่ในมูลค่าเท่ากับมูลค่าสินค้าส่งออกได้

  45. ข้อดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ข้อดีของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ผู้นำเข้าและส่งออก สามารถคำนวณต้นทุนการส่งออกและนำเข้าได้อย่างค่อนข้างถูกต้อง ลดความเสี่ยงการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เศรษฐกิจของประเทศค่อนข้างมีเสถียรภาพ ลดการเก็งกำไรจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

  46. ข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ข้อเสียของระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ธนาคารกลางต้องมีเงินตราต่างประเทศสำรองได้มากเพียงพอที่จะรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ได้ มาตรการในการรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลกระทบต่อการลงทุน การจ้างงานและการผลิตในประเทศ เกิดการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาดมืด

  47. การค้ากำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ (Arbitrage) เกิดขึ้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตรา สอง สกุลในทุกๆ ตลาดที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศไม่เท่ากัน โดยที่นักค้ากำไร (Arbitrageur) จะซื้อเงินตราจากตลาดที่ถูกกว่า และขายเงินตราสกุลนั้นในตลาดที่แพงกว่าในทันทีเพื่อที่จะทำกำไร

  48. การค้ากำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ (Arbitrage) กรุงเทพ 40 บาท : 1 ดอลล่าร์ นิวยอร์ค 35 บาท : 1 ดอลล่าร์ ซื้อเงินดอลลาร์ในตลาดนิวยอร์ค ด้วยราคา 35 บาท และนำเงินดอลลาร์ไปขายทันทีในตลาดที่กรุงเทพ ในราคา 40 บาท ดังนั้นจะได้กำไรจากส่วนต่างนี้ 5 บาทต่อ 1 ดอลลาร์

  49. การค้ากำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ (Arbitrage) นักค้ากำไรจะซื้อเงินดอลลาร์ใน NY ทำให้อุปสงค์ของเงินดอลลาร์ใน NY เพิ่มขึ้นเท่ากับเป็นการผลักดันให้ราคาของเงินดอลลาร์ในรูปของเงินบาทสูงขึ้น คือ อัตราแลกเปลี่ยนใน NY จะมากกว่า 35 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์ ในขณะเดียวกันการขายเงินดอลลาร์ใน BKK จะเป็นการเพิ่มอุปทานของเงินดอลลาร์ใน BKK และจะผลักดันให้ราคาของเงินดอลลาร์ในรูปของเงินบาทต่ำลง คือ อัตราแลกเปลี่ยนใน BKK จะน้อยกว่า 40 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์

  50. การค้ากำไรในตลาดเงินตราต่างประเทศ (Arbitrage) เหตุการณ์เช่นนี้จะดำเนินไปเรื่อยๆจนกระทั่งราคาของเงินดอลลาร์ในรูปของเงินบาทใน NYเท่ากับใน BKK สมมติว่าเท่ากับ 38 บาท ต่อ 1 ดอลล่าร์ การค้ากำไรก็จะหมดไป การค้ากำไรของเงินตรา 2 สกุลในตลาด เรียกว่า “Two-point Arbitrage”

More Related