380 likes | 928 Views
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. Acute Myocardial Infarction. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน.
E N D
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน Acute Myocardial Infarction
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากหลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมีการตีบแคบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ หากการขาดเลือดนั้นนานจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นมีการตายเกิดขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย 1. อายุ พบมากในผู้สูงอายุ 2. เพศ พบมากในเพศชาย 3. กรรมพันธุ์ 4. มีไขมันในเลือดสูง 5. สูบบุหรี่ 6. ความดันโลหิตสูง
7. โรคเบาหวาน 8. ภาวะเครียด 9. ความอ้วน 10. ขาดการออกกำลังกาย
อาการแสดงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอาการแสดงของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 1. เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด โดยเจ็บแน่นบริเวณทรวงอกซ้ายหรือกระดูกลิ้นปี่ ร้าวไปที่หัวไหล่และแขนซ้าย โดยเฉพาะแขนซ้ายหรือร้าวไปที่คาง กราม หรือหลัง ระยะเวลาในการเจ็บครั้งหนึ่ง ๆ นานเกิน 30 นาที ความเจ็บจะไม่บรรเทาลงโดยการใช้ยาอมใต้ลิ้น
2. ความเจ็บปวดมักเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติ คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีอาการเหนื่อยหอบ ไอ และ/หรือมีอาการเขียวร่วมด้วย
การรักษา 1. รักษาด้วยยา โดยแพทย์จะให้ยาลดอาการปวด ยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ลดความดันโลหิตและลดการบีบตัวหัวใจ ยาละลายลิ่มเลือด
2. การรักษาโดยใช้ลูกโป่งเข้าไปถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ ที่ตีบตัน ภายหลังการตรวจสวนหัวใจ ซึ่งจะเป็นการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ แล้วเอกซเรย์ดูตำแหน่งที่ตีบหรือตันก่อน
3. การรักษาโดยการผ่าตัดต่อหลอดเลือดหัวใจ โดยทำทางเบี่ยงหลอดเลือดให้เลือดไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจได้
การปฏิบัติตัวเมื่อรู้ว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันการปฏิบัติตัวเมื่อรู้ว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 1. ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดย - งดสูบบุหรี่เด็ดขาด ถ้าไม่สามารถงดได้ทันทีควรลดการสูบลง ให้น้อยที่สุด - รักษาและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ( ถ้ามี )
- รักษาอุณหภูมิของร่างกายไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป โดยงดหรือลดการทำงานที่ต้องใช้กำลัง หรือการใช้สมองคิดติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ
หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ทั้งร่างกายและจิตใจ
2. อาหาร - ลดอาหารที่มีไขมันสูง ได้แก่ไขมันจากสัตว์ นม เนย มะพร้าว เครื่องในสัตว์ สำหรับไข่แดงไม่ควรรับประทานเกินกว่าสัปดาห์ละ 3 ฟอง และควรใช้น้ำมันพืช ยกเว้นน้ำมันปาล์มและมะพร้าว ทดแทนน้ำมันสัตว์
- งดการดื่มชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ซึ่งกระตุ้น การทำงานของหัวใจ - งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด ของหมักดอง - ควรรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้มาก ๆ เพื่อช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ - ควรรับประทานอาหารแต่ละมื้อแค่พออิ่ม - ควบคุมน้ำหนักตัว
3. การรับประทานยา ต้องรับประทานยาอย่างถูกต้อง ตามแผนการรักษา ไม่ลด หยุดหรือเพิ่มยาเอง และสังเกตอาการหลังรับประทานหากผิดปกติ รีบไปพบแพทย์ ส่วนการใช้ยาอมใต้ลิ้น ควรพกติดตัวตลอดเวลา
การใช้ยาอมใต้ลิ้น ใช้เมื่อมีอาการเจ็บอก หรือก่อนการออกกำลังกาย ให้อมยาใต้ลิ้น 1 เม็ดถ้าอาการเจ็บไม่ทุเลาให้อมยาซ้ำ อีก 2 ครั้งครั้งละ 1 เม็ด แต่ละครั้งห่างกัน 5 นาที หากยังไม่หายให้รีบไปพบแพทย์
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย 24 ชั่วโมงแรก ท่านต้องนอนพักบนเตียง ต่อไปจึงค่อย ๆ เพิ่มการออกแรงขึ้นทีละน้อยตามดุลยพินิจของแพทย์ และเมื่อท่านกลับไปบ้าน การเพิ่มกิจกรรมและการออกกำลังกาย ท่านจะต้องจับชีพจรตนเองก่อนหากขณะออกกำลังพบว่าชีพเพิ่มเกินกว่าเดิม 20 ครั้งต่อนาที หรือถ้ามีอาการเวียนศรีษะ ใจเต้นแรง เหนื่อยหอบ เจ็บอก ให้หยุดทันที หากเกิดมีอาการซ้ำในการออกกำลังครั้งต่อไปควรปรึกษาแพทย์
5. การพักผ่อน ท่านควรพักผ่อน นอนหลับ 8 ชั่วโมง และอีก 1 ชั่วโมงหลังอาหารกลางวัน ควรพักฟื้นที่บ้านจนกว่าจะครบ 8-12 สัปดาห์
6. การมีเพศสัมพันธ์ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ควรได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ภายหลังการออกกำลังมาก ๆ และเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้หลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ประมาณ 6-8 สัปดาห์
7. ท่านควรมาตรวจตามนัดเป็นประจำ หากท่านมีอาการผิดปกติก่อนวันนัด ให้รีบมาพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด