120 likes | 262 Views
ความหมายของการ วิจัย / การศึกษาค้นคว้า.
E N D
ความหมายของการวิจัย/การศึกษาค้นคว้าความหมายของการวิจัย/การศึกษาค้นคว้า
คำว่าวิจัย ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Research ซึ่งในพจนานุกรมฉบับ Webster ได้ให้ความหมายของคำว่า Research ว่าเป็นคำผสมของคำสองคำ (Re + search) โดยคำว่า Re = again แปลว่า ซ้ำ และคำว่า Search แปลว่า ค้นหา ดังนั้น เมื่อรวมกันแล้วจึงมีความหมายว่า “การค้นหาซ้ำหรือการค้นคว้าอีก” นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของคำว่าวิจัยไว้อีกหลายท่าน เช่น
1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546 : 1,072) ได้ให้ความหมายว่า วิจัยหมายถึง การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชาการ 2. พ.ร.บ. สภาวิจัยแห่งชาติได้บัญญัติไว้ว่า การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้าที่มีระบบแบบแผนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3. เทียนฉาย กีระนันท์ (2541 : 2 - 3) ให้ความหมายว่า การวิจัย เป็นเรื่องของการศึกษาค้นคว้าเพื่อพิสูจน์หรือหาคำตอบ หรือข้อเท็จจริงอะไรบางอย่างที่ยังไม่มีการค้นพบในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน หรือ อาจจะมีการค้นพบมาแล้วแต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปก็ต้องการค้นหาคำตอบอีกครั้งหนึ่งก็ได้
จากความหมายของการวิจัยที่กล่าวมาแล้วนี้พอสรุปได้ว่า การวิจัย หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้าความจริง ความรู้ที่เราสงสัย เพื่อหาคำตอบหรือข้อเท็จจริงที่ดำเนินไปอย่างมีระเบียบและเป็นที่ยอมรับกันในทางวิชาการด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องกับปัญหาที่ตั้งไว้
วิธีการค้นหาความรู้ 1. การรับความรู้จากแหล่งภายนอกตนเอง 1.1 ผู้มีอำนาจ (authority) การรับความรู้จากผู้มีอำนาจเป็นการได้รับความรู้จากการบอกเล่าของผู้มีอำนาจ ซึ่งหมายถึง ผู้มีอิทธิพลทางความคิดหรือที่เรียกอย่างหนึ่งว่า นักปราชญ์ ในสมัยโบราณคนทั่วไปจะยกย่องนับถือนักปราชญ์ ความคิด ความเชื่อของนักปราชญ์เป็นสิ่งที่โต้แย้งไม่ได้ มนุษย์เราจึงเชื่อถือตามนักปราชญ์โดยไม่มีการพิสูจน์
1.2 ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) การรับรู้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเป็นการได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง เมื่อมีปัญหาหรือต้องการคำตอบเกี่ยวกับเรื่องใดก็ไปถามผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้น เช่น เมื่อเจ็บป่วยก็ไปหาแพทย์ นอกจากนี้การเข้าฝึกอบรม การประชุมสัมมนา และการศึกษาเล่าเรียนจากหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งจะได้รับการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรหรือครู อาจารย์ ก็ถือเป็นการรับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ1.3 ขนบธรรมเนียมประเพณี (Tradition) การรับความรู้จากขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นการได้ความรู้มาจากสิ่งที่บุคคลในสังคมประพฤติปฏิบัติสืบทอดกันมาจนเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงว่าสิ่งนั้นถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับการแต่งกาย การรับประทานอาหาร การพูด รวมทั้งประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น
วิธีการค้นหาความรู้ทางสังคม ซึ่งหมายรวมถึงศาสตร์ทางการศึกษาด้วย ก็เป็นวิธีการที่ประยุกต์มาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยการดำเนินงานเป็นขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 การตั้งสมมติฐาน ขั้นที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นที่ 5 การเขียนรายงาน
ขั้นตอนของการวิจัย/ศึกษาค้นคว้าขั้นตอนของการวิจัย/ศึกษาค้นคว้า 1. การกำหนดปัญหา การกำหนดปัญหาหมายถึง การกำหนดปัญหาวิจัย เป็นการเลือกเรื่องที่เป็นปัญหาที่ควรทำวิจัย วิเคราะห์ทำความเข้าใจประเด็นปัญหาให้ชัดเจน ระบุประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบคำตอบ ในทางปฏิบัติเมื่อได้ประเด็นปัญหาที่ต้องการทราบคำตอบแล้ว ผู้วิจัยต้องออกแบบการวิจัยเพื่อให้ได้แนวทางและวิธีดำเนินการวิจัย ที่จะนำไปสู่คำตอบของปัญหาการวิจัยนั้น รวมทั้งกำหนดขอบเขตของการวิจัยเกี่ยวกับประชากร ตัวแปร และระยะเวลาของเรื่องที่ศึกษา ตลอดจนตั้งวัตถุประสงค์ของเรื่องการวิจัย
2. การตั้งสมมติฐาน การตั้งสมมติฐาน หมายถึง การตั้งสมมติฐานการวิจัย เป็นการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้และผลการวิจัยที่มีมาก่อนเป็นแนวทาง
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย เป็นการดำเนินงานเพื่อให้ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์หาคำตอบของปัญหาตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย เป็นการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หรืออาจเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน ซึ่งควรมีการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลแล้วจึงดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามที่ออกแบบและวางแผนไว้และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จก็จะเป็นการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล และลงข้อสรุปที่เป็นผลการวิจัย
5. การเขียนรายงาน การเขียนรายงาน หมายถึง การเขียนรายงานการวิจัย เป็นการรายงานให้ทราบถึงกระบวนการวิจัย ที่ได้ทำไปแล้ว และผลการวิจัยที่รับอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร