1 / 42

การสืบสวนและการสอบสวน

การสืบสวนและการสอบสวน. การสืบสวน. หมายความถึง “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงาน ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบ รายละเอียดแห่งความผิด”. การสอบสวน. หมายถึง “ การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลาย

quanda
Download Presentation

การสืบสวนและการสอบสวน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสืบสวนและการสอบสวนการสืบสวนและการสอบสวน การสืบสวน หมายความถึง “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงาน ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบ รายละเอียดแห่งความผิด” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  2. การสอบสวน หมายถึง “การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลาย อื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวน ได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือ พิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  3. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  4. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ สอบสวนคดีอาญา เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ สืบสวนคดีอาญา • รับคำร้องทุกข์ จัดให้มีการร้องทุกข์ • จับ • ค้น • ควบคุมผู้ถูกจับ • ปล่อยชั่วคราว • ออกหมายเรียก • ขอให้ศาลออกหมายอาญา • สอบสวนคดีอาญา(ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  5. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา มาตรา 17 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวน คดีอาญาได้” มาตรา 2(16) “เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความ สงบเรียบร้อยของประชาชนให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพ สามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและ เจ้าพนักงานอื่นๆในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปราม ผู้กระทำความผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  6. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ พัศดี เจ้าพนักงานสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง ป่าไม้ ฯลฯ จับผู้กระทำผิด ได้ทุกเรื่อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  7. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร อำนาจติดอยู่กับพื้นที่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  8. คำพิพากษาที่ 500/2537จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นตำรวจโดย ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึง เป็นเจ้าพนักงาน แม้จะรับราชการประจำอยู่ที่กองกำกับการตำรวจน้ำ ทำหน้าที่ ช่างเครื่องซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเรือที่ใช้ในราชการตำรวจน้ำ เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะคำสั่งแต่งตั้งทางราชการ แต่โดยทั่วไปจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 17 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  9. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวน ป.วิ.อ.มาตรา 2(6) พนักงานสอบสวน หมายความถึง“เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน” กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  10. เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนคดีอาญาเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนคดีอาญา แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ ก. ความผิดเกิดในราชอาณาจักร 1. กรณีทั่วไป ม.18 2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19 ข. ความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ม.20 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  11. ม.18 ยศ ตำแหน่ง สถานที่ ความผิดเกิดในราชอาณาจักร 1. กรณีทั่วไป ม.18 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  12. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  13. -ท้องที่ที่ ความผิดเกิด ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง มีความแน่นอนว่าความผิดได้เกิดในท้องที่นั้น -ท้องที่ที่ ความผิดอ้างว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ยังไม่มีความแน่นอนว่าความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ นั้นจริงหรือไม่ หากแต่มีผู้กล่าวอ้างว่าเกิดในท้องที่นั้น -ท้องที่ที่ ความผิดเชื่อว่าเกิดภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ในความคิดเห็นของเจ้าพนักงาน มีพฤติการณ์ น่าเชื่อว่าความผิดได้เกิดขึ้นในท้องที่นั้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  14. -ท้องที่ที่ ผู้ต้องหามีที่อยู่ ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. คำว่า“มีที่อยู่” หมายถึง ถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงขณะที่ตกเป็นผู้ต้องหา -ท้องที่ที่ ผู้ต้องหาถูกจับ ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับภายในเขตอำนาจของเจ้าพนักงาน โดยไม่พิจารณาว่าเจ้าพนักงานผู้จับจะเป็นเจ้าพนักงานใน ท้องที่นั้นหรือไม่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  15. คำพิพากษาฎีกาที่ 4479/2532 ตาม ป.วิ.อ.ม. 22 (1) และม. 18 คำว่าจำเลยมีที่อยู่ หมายถึง ถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยขณะที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหา ตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนไว้ ซึ่งอาจเป็นภูมิลำเนาหรือมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยก็ได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  16. ฎีกาที่ 5982/2550 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตน นอกจากสามกรณีดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีการอ้างหรือเชื่อว่าความผิดนั้นได้เกิดภายในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือพนักงานสอบสวนเข้าใจหรือมีความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุว่าความผิดได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน ซึ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ที่ความผิดไม่ได้เกิดในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนแต่ได้เกิดในสถานที่อื่นนอกเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนนั้น • บริเวณถนนสายบ้านร่องบง – บ้านติ้วที่จ่าสิบตำรวจ ม. กับพวกตั้งจุดตรวจชั่วคราว และจุดที่พบถุงบรรจุเมทแอมเฟตามีนเป็นถนนนอกเขตชุมชน ตลอดแนวถนนไม่มีป้ายหรือสิ่งปลูกสร้างใดแสดงให้ปรากฏว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตท้องที่หมู่บ้านหรือตำบลใด จ่าสิบตรวจ ม. กับพวกผู้ร่วมจับกุมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้ว ย่อมต้องมีความเชื่อว่าบริเวณที่ตั้งจุดตรวจอยู่ในเขตอำนาจรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้วแม้จำเลยจะโยนเมทแอมเฟตามีนทิ้งในเขตตำบลบ้านหวาย แต่จ่าสิบตำรวจ ม. ก็พบเห็นการกระทำความผิดในเขตตำบลบ้านติ้วและเรียกให้จำเลยหยุดที่จุดตรวจต่อเนื่องกัน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเชื่อว่าเหตุเกิดและจำเลยถูกจับในท้องที่ตำบลบ้านติ้ว กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  17. เช่น -นาย ก. เข้าไปลักทองรูปพรรณในบ้านของนาย ข. ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านอิงดอย ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบของ สถานีตำรวจภูพิงค์ฯ -จากการสอบสวน นาย ก. มีบ้านอยู่อำเภอเมือง จ.ลำพูน -ต่อมาศาลจังหวัดเชียงใหม่ ได้ออกหมายจับนาย ก. -ส.ต.ท.แดง ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ ส.ภ.อ.แม่สาย พบนาย ก. เห็นว่าเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ จึงจับกุมนาย ก. ส่งพนักงานสอบสวน ของ ส.ภ.อ.แม่สาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  18. 2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19 • 1. เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดใน • ระหว่างหลายท้องที่ ได้แก่ กรณีที่ไม่ทราบแน่ชัดว่า การกระทำความผิดเกิดขึ้น ในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  19. คำพิพากษาฎีกาที่ 23/2513 ใช้ปืนยาวยิงไปที่เรือโดยทราบดีว่ามีคนอยู่ในเรือนั้น กระสุนปืนถูกแขนคนในเรือได้รับอันตรายแก่กาย ดังนี้ เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า เหตุเกิดในทะเล ไม่ทราบชัดว่าอยู่ในเขตจังหวัดใด ป. หรือ ซ. หรือ ส. ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเมืองสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนอำเภอนั้นมีอำนาจสอบสวนได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  20. คำพิพากษาฎีกาที่ 2494/2526 ขณะพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์เริ่มทำการสอบสวนยังไม่ทราบแน่ว่าจำเลยร่วมกับ พ. ลักทรัพย์ หรือจำเลยเพียงกระทำผิดฐานรับของโจร หากเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ย่อมไม่แน่ว่าได้กระทำผิดในท้องที่ใดตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัดสิงห์บุรี แม้ต่อมาได้ความตามทางสอบสวนว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรี และได้มีการฟ้อร้องจำเลยในความผิดฐานนี้ก็ถือว่าพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว เพราะเป็นกรณีไม่แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใด ในระหว่างหลายท้องที่ตาม ป.วิ.อ.ม.19(1) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  21. ฎีกาที่ 1655/2530 จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วส่งมอบให้โจทก์ร่วมซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางรัก จำเลยรับเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมในอีกท้องที่หนึ่งแล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่แน่ว่าจำเลยทำการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วมในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักจึงมีอำนาจสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  22. ฎีกาที่ 582/2549 ข้อที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าเป็นกรณีพยานโจทก์ผู้จับกุมไม่แน่ใจว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายความเฉพาะเมื่อสภาพการกระทำผิดอาญานั้นเองเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการไม่แน่ว่ากระทำขึ้นในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบสวนมิได้หมายความถึงกรณีที่ตัวพนักงานสอบสวนหรือผู้จับกุมสับสนในเรื่องพื้นที่เขตอำนาจของตนเสียเอง ทั้งที่เป็นการแน่นอนแล้วว่าความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญยังขืนสอบสวนความผิดนี้ การสอบสวนนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน เมื่อยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  23. 2. เมื่อความผิดส่วนหนึ่งได้กระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่ง ในอีกท้องที่หนึ่ง เช่น นาย ก. ลักทรัพย์ของ นาย ข. ในท้องที่ของ สภ.ต.ภูพิงค์ นาย ข. ติดตามนาย ก. ไปทันในท้องที่ของ สภ.ต.ช้างเผือก นาย ข. เข้าแย่งทรัพย์คืนจากนาย ก. นาย ก. จึงทำร้ายนาย ข. เพื่อความสะดวกเอาทรัพย์นั้นไป และเพื่อจะหลบหนี เช่นนี้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนหนึ่งได้กระทำในท้องที่หนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งได้กระทำในอีกท้องที่หนึ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  24. 3. เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกัน ในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป • ความผิดต่อเนื่อง หมายถึง ความผิดที่มีสภาพของความผิดอยู่ต่อเนื่องอยู่ชั่วขณะหนึ่งโดยมีการกระทำและเจตนาประกอบกันอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่การกระทำนั้นยังคงมีปรากฏอยู่ • เช่น ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตาม ป.อ.มาตรา ๒๐๙ ฐานมีเงินตราปลอมตาม มาตรา ๒๔๔ ความผิดตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ ฐานอยู่ในราชอาณาจักรโดยเข้ามาผิดกฎหมาย ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ เป็นต้น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  25. คำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2537 เมื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐานรับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทรโยค จึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 ที่ 3 • คำพิพากษาฎีกาที่ 2070/2543 การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 การออกเช็คในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่า การกระทำความผิดอาญาได้กระทำลงในท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  26. ฎีกาที่ 1586/2526 จำเลยกับพวกบังคับหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายชาวมาเลเซียเพื่อเรียกค่าไถ่ และบังคับให้ผู้เสียหายขับรถไปส่งยังชายแดนประเทศไทยซึ่งน่าจะได้ควบคุมเข้าไปในเขตแดนไทยด้วย เพราะภูมิลำเนาของจำเลยกับพวกอยู่ในราชอาณาจักรจึงเป็นความผิดต่อเนื่องทั้งในและนอกราชอาณาจักร พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งจับจำเลย จึงมีอำนาจสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยได้ • คำพิพากษาฎีกาที่ 3903/2531 แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์กับความผิดฐานรับของโจร เกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็เป็นความผิดต่อเนื่องกัน โดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่ง นำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง ดังนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ.ม. 19 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  27. ฎีกาที่ 3240/2550 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 บัญญัติมีใจความว่า เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ คดีนี้การกระทำความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม เกิดขึ้นต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแม่สอดจนถึงอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมจึงมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิดที่กระทำต่อเนื่องกันซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกด้วย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  28. 4. เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่างๆกัน คำพิพากษาฎีกาที่ 3430/2537 ผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี แก่จำเลยในข้อหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 ต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ.นราธิวาสซึ่งเป็นท้องที่ที่ความ ผิดเกิด แต่จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเภอสุไหงโกลก ว่า เช็คดังกล่าวหาย เช่นนี้เป็นความผิดที่มีหลายกรรม กระทำลง ในท้องที่ต่างๆกัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  29. จำเลย ซื้อสินค้า แล้วออกเช็คชำระหนี้ จำเลย แจ้งความเท็จว่าเช็คหาย อ.เมือง จ.นราธิวาส อ.สุไหงโกลก กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  30. ฎีกาที่ ๑๔๐๑/๒๕๒๗ จำเลยถูกกล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดซึ่งมีลักษณะหลายกรรม คือ ความผิดฐานทำปลอมเงินตรา มีเครื่องมือปลอมเงินตรา และมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งกระทำลงในท้องที่ต่างๆกันและกระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดทีเกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา ๑๙ (๓) (๔) เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจอำเภอสามพรานเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่จับได้ จำเลยที่ ๑ ซึ่งต้องหาว่ามีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ และกล่าวหาว่า จำเลยที่ ๑ ร่วมกับจำเลยอื่นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตราด้วย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอสามพรานจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  31. 5. เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง 6. เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  32. กรณีความผิดคาบเกี่ยวข้างต้น พนักงานสอบสวนในท้องที่ คาบเกี่ยวมีอำนาจสอบสวนความผิดที่เกิดขึ้น(ทุกๆข้อหา) หมายเหตุ การกระทำความผิดหนึ่ง อาจจะเป็นกรณี ความผิดคาบเกี่ยวได้หลายอนุ พร้อมๆกันได้ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  33. คำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2537 เมื่อการกระทำความผิดฐาน ลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐาน รับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็น ความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอไทรโยค จึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 ที่ 3 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  34. ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  35. ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  36. ข้อสังเกต : ในความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในท้องที่ที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ และถูกจับไม่มีอำนาจเป็นพนักงานสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  37. ผู้ลักฯ ถูกเจ้าพนักงานจับที่ อ.อู่ทอง ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  38. กรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักรกรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ตาม ม. 20 ได้แก่ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคสอง มาตรา 5มาตรา 6 มาตรา มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  39. ในกรณีที่ความผิดได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 20 กฎหมายให้เจ้าพนักงานซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ ดังต่อไปนี้มีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวน • 1. อัยการสูงสุด • ผู้รักษาการอัยการสูงสุด • พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้ได้รับมอบหมาย • พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ • พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่น หรือบุคคลที่ • ได้รับความเสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  40. มาตรา ๒๐ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือจะมอบหมายหน้าที่นั้น ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมอบหมายให้พนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายให้พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้ ให้พนักงานอัยการ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือให้ทำการสอบสวนร่วม กับพนักงานสอบสวนมีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน บรรดาอำนาจและหน้าที่ประการอื่นที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานอัยการ ในกรณีที่พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐาน ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอคำสั่งจากอัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทน (๑) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับในเขตอำนาจ (๒) พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วแต่กรณี เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตามมาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ หรือมาตรา ๑๔๒ ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  41. เช่น นาย ก. คนไทยได้ข้ามไปเที่ยวเวียงจันทร์ แล้วทำร้าย นาย ข. คนลาว แล้วหนีกลับมายังประเทศไทย นาย ข. ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจของ สภ.อ.เมือง จ.หนองคาย เช่นนี้ พนักงานสอบสวนอำเภอเมืองหนองคาย มีอำนาจ สอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

  42. จบ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

More Related