290 likes | 561 Views
กรอบแนวทางการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินโครงการขนาดเล็กด้านการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชน. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. นโยบายกระทรวง.
E N D
กรอบแนวทางการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินโครงการขนาดเล็กด้านการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นโยบายกระทรวง • กระทรวงมีนโยบายแก้ไขปัญหาน้ำเสีย/ขยะมูลฝอยในชุมชนขนาดเล็ก โดยการสนับสนุน อปท. ดำเนินโครงการขนาดเล็ก ด้านการจัดการน้ำเสียและ ขยะมูลฝอย • ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น • บริหารจัดการถูกต้องตามหลักวิชาการ • สามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
กองทุนสิ่งแวดล้อม • กองทุนสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นตาม พรบ. สิ่งแวดล้อม 2535 หมวด 2 (มาตรา 22–31) • เป็นมาตรการทางการเงิน • ส่วนราชการ อปท. รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนNGOs • ในการป้องกัน และรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน • หลักการผู้ก่อให้เกิดมลพิษและเป็นผู้จ่าย
ผู้มีสิทธ์และประเภทโครงการที่ขอรับการสนับสนุนผู้มีสิทธ์และประเภทโครงการที่ขอรับการสนับสนุน • อปท. • ดำเนินโครงการขนาดเล็ก ที่มีลักษณะโครงการตามมาตรา 23(1) พรบ. สิ่งแวดล้อม 2535 ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 • ขยะมูลฝอยชุมชน • น้ำเสียชุมชน
ข้อเสนอโครงการ • ต้องจัดทำและนำเสนอให้สอดคล้องตามขั้นตอนการจัดทำและพิจารณาแผนปฏิบัติการ ฯ ระดับจังหวัด ปีงบฯ 2553 • แนวทางการพิจารณาแผนปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัด ปีงบฯ 2553 (รายละเอียดตามคู่มือแผน ปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัด) • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขกองทุนสิ่งแวดล้อม
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม • 1. หลักเกณฑ์โครงการขนาดเล็ก • โครงการขนาดเล็กด้านน้ำเสียชุมชน • 1) ปริมาณน้ำเสียที่จะเข้าสู่ระบบ 50-500 ลบ.ม./วัน • 2) วงเงินโครงการไม่เกิน 20 ล้านบาท • การกำหนด อปท. เป้าหมาย พิจารณาตาม • นโยบายและพื้นที่เป้าหมายการจัดการน้ำเสียชุมชน พ.ศ. 2552-2559 ของกรมควบคุมมลพิษ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • โครงการขนาดเล็กด้านน้ำเสียชุมชน (ต่อ) • โดยให้ความสำคัญ ดังนี้ • การออกแบบระบบบำบัด เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ • ยึดหลักธรรมชาติ หรือใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย เช่น บึงประดิษฐ์ ระบบบ่อผึ่งผสม ระบบกรองชีวภาพไร้อากาศ ระบบทรายกรอง ระบบหอชีวภาพ เป็นต้น
4. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม(ต่อ) • โครงการขนาดเล็กด้านน้ำเสียชุมชน (ต่อ) • พื้นที่ดำเนินโครงการอยู่นอกเขตหรือห่างไกลจากเขตบริการของระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนรองรับ • อปท. ต้องมีการออกเทศบัญญัติหรือประกาศอื่นใดเกี่ยวกับการติดตั้งบ่อดักไขมันในระดับครัวเรือนไว้ด้วยแล้ว
4. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • โครงการขนาดเล็กด้านขยะมูลฝอยชุมชน • 1) ปริมาณขยะมูลฝอย 5 - 10 ตัน/วัน • 2) วงเงินโครงการไม่เกิน 50 ล้านบาท • ทั้งนี้ ในการกำหนด อปท. เป้าหมาย พิจารณาตามความจำเป็นเร่งด่วน และความพร้อมของ อปท.
4. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • โครงการขนาดเล็กด้านขยะมูลฝอยชุมชน(ต่อ) โดยให้ความสำคัญ ดังนี้ • ยึดหลักการแยกขยะต้นทางและกำจัดขยะโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม • การออกแบบระบบใช้ข้อมูลที่สำรวจได้จริงในพื้นที่ • พื้นที่ดำเนินโครงการจะต้องอยู่นอกเขตหรือห่างไกลจากเขตบริการของระบบกำจัดขยะมูลฝอยรวม ไม่ต่ำกว่า 70 กิโลเมตร หรือเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็น และไม่มีระบบกำจัดขยะมูลฝอยรองรับ
4. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • โครงการขนาดเล็กด้านขยะมูลฝอยชุมชน(ต่อ) โดยให้ความสำคัญ ดังนี้ • กรณีใช้ระบบเตาเผา - อปท. ต้องมีระบบการจัดการเบื้องต้น และต้องมีความพร้อมเรื่องพื้นที่ • - อปท. ต้องคัดแยกขยะมูลฝอย (ก่อนเริ่มโครงการ) ภายใน 1 ปี และ อปท. ต้องเป็นผู้ลงทุนสิ่งปลูกสร้างเอง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • กรณีใช้ระบบเตาเผา คุณลักษณะเบื้องต้นของเตาเผา - อุณหภูมิในการเผาเป็นไปตามมาตรฐาน คพ. - ต้องมีระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ และอากาศที่ออกปล่องสู่บรรยากาศ ต้องไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศจากเตาเผา ตามที่ คพ.กำหนด
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • 2. เงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม • ต้องอยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัด • มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ และไม่สามารถขอตั้งงบประมาณ หรือไม่อาจสรรหาเงินจากแหล่งอื่นได้ โดยความเห็นชอบจาก กก.วล. • มี FS/DD ของโครงการ แสดงถึงความเหมาะสมและเป็นไปได้ทั้งทางด้านพื้นที่ ด้านเทคนิควิชาการ ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านการบริหารจัดการ โดยคำนึงถึงความพร้อมของ อปท.
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • 2. เงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • ต้องนำเสนออัตราการจัดเก็บค่าบริการ (ม.88) และอัตราส่วนการหักส่งค่าบริการที่จัดเก็บได้ (ม.93) เข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการเสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ • อปท. ต้องสมทบงบประมาณร้อยละ 10 ของวงเงินรวมของโครงการ ขึ้นอยู่กับศักยภาพทางการเงินการคลังของอปท.
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • 2. เงื่อนไขของกองทุนสิ่งแวดล้อม (ต่อ) • อปท. ที่ได้รับเงินจากกองทุนฯ แล้ว จะต้องลงนามในบันทึกข้อตกลง เพื่อกำกับการบริหารโครงการ • อปท. จะต้องรับผิดชอบ ค่า K และการปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากวงเงินที่ กก.กองทุนอนุมัติ • โครงการมีการขยายเวลาดำเนินโครงการ อปท. จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมผูกพัน (Commitment Charge)ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ของวงเงินที่ไม่ได้ทำการเบิกจ่ายและภายในระยะเวลาที่ขอขยายเวลาดำเนินการ
องค์กรและกลไกการพิจารณาให้การสนับสนุนองค์กรและกลไกการพิจารณาให้การสนับสนุน • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมของโครงการตามระเบียบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข เพื่อนำเสนอ • คณะทำงานสนับสนุน อปท. • คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการด้านการจัดการมลพิษ • คณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม
องค์กรและกลไกการพิจารณาให้การสนับสนุน (ต่อ) • คณะทำงานสนับสนุน อปท. เพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินโครงการขนาดเล็กด้านการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชนทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษา และสนับสนุน อปท. ในการทำโครงการ • คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองโครงการด้านการจัดการมลพิษทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองโครงการ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อมต่อไป
องค์กรและกลไกการพิจารณาให้การสนับสนุน (ต่อ) • คณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่พิจารณาและอนุมัติการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนในการพิจารณาโครงการขั้นตอนในการพิจารณาโครงการ สผ. และคณะทำงานสนับสนุน อปท. อนุกรรมการกลั่นกรองโครงการด้านมลพิษ แผนปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัด เสนอ กก.วล. กก.กองทุน อนุมัติจัดสรรเงิน
อปท.กลุ่มเป้าหมาย • การจัดการน้ำเสียขนาดเล็ก การคัดเลือกพื้นที่พิจารณาจาก • ความสำคัญของพื้นที่ และความรุนแรงของมลพิษในพื้นที่ • เป็นพื้นที่ที่จะต้องดำเนินการในระยะเร่งด่วน (2-3 ปี) ในลุ่มน้ำเสื่อมโทรม 5 ลุ่มน้ำ • เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ
อปท.กลุ่มเป้าหมาย • การจัดการน้ำเสียขนาดเล็ก (อปท. 60 แห่ง) • ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (11 แห่ง) • ลุ่มน้ำท่าจีน (15 แห่ง) • ลุ่มน้ำบางปะกง (16 แห่ง) • ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (1 แห่ง) • ลุ่มน้ำลำตะคองตอนล่าง (3 แห่ง) • พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเกาะ (4 แห่ง)
อปท.กลุ่มเป้าหมาย • การจัดการขยะมูลฝอยขนาดเล็ก การเลือกพื้นที่พิจารณาจาก • ปริมาณขยะ 5-10 ตัน/วัน • ระยะทางห่างไกลจากศูนย์กำจัดขยะรวม (cluster) 70 กม. • สภาพแวดล้อมของพื้นที่ ซึ่งต้องสำรวจพื้นที่จริง เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและสภาพปัญหาอย่างละเอียดอีกครั้ง
อปท.กลุ่มเป้าหมาย • การจัดการขยะมูลฝอยขนาดเล็ก (อปท. 18 แห่ง) คัดเลือกเฉพาะ - พื้นที่ที่อยู่นอกกลุ่ม cluster (15 แห่ง) - ในกลุ่ม cluster แต่มีข้อจำกัดของสภาพพื้นที่ (เป็นเกาะ) และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ (3 แห่ง)
ขั้นตอนในการพิจารณาโครงการขั้นตอนในการพิจารณาโครงการ สำนักงานโยบายและแผนทรัยพากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แจ้งจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 คณะกรรมการจัดทำและติดตามประเมินผลแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 ผู้ว่าราชการจังหวัด พิจารณาเห็นชอบ และส่งแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 มายัง สผ. และ สสภ. สผ. และ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค (สสภ.) วิเคราะห์ปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 และโครงการของ อปท.
งบกระจายอำนาจ งบกองทุนสิ่งแวดล้อม คณะทำงานพิจารณาแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 และโครงการของ อปท. คณะทำงานสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมในการดำเนินโครงการขนาดเล็กด้านการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยชุมชนให้คำแนะนำ ปรึกษาและสนับสนุน อปท. ในการจัดทำโครงการ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการด้านการจัดการมลพิษพิจารณาความเหมาะสมด้านเทคนิควิชาการและกลั่นกรองโครงการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยขนาดเล็กของ อปท.
คณะอนุกรรมการกำกับการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด พิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 งบกระจายอำนาจ งบกองทุนสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการด้านการจัดการมลพิษ พิจารณาความเหมาะสมด้านเทคนิควิชาการและกลั่นกรองโครงการจัดการน้ำเสียและขยะมูลฝอยขนาดเล็กของ อปท. คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.(กกถ.) พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ดำเนินการโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ในระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2553 และโครงการของ อปท.. คณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อม พิจารณาการอนุมัติและจัดสรรเงินเพื่อดำเนินโครงการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ขอตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2553 ให้แก่ อปท.
การติดต่อขอรับการสนับสนุน การติดต่อขอรับการสนับสนุน สำนักงานกองทุนสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 60/1 ซอยพิบูลวัฒนา 7 ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์ 0-2265-6588-90 โทรสาร 0-2265-6588 หรือ 0-2265-6590 หรือ www.envfund.onep.go.th