1 / 55

การปฏิบัติศาสนพิธี ทางราชการ

การปฏิบัติศาสนพิธี ทางราชการ. ศาสนพิธี ๓ ระดับ. - ศาสนพิธีในงานพระราชพิธีและพระราชกุศล. - ศาสนพิธีทางราชการ. - ศาสนพิธีท้องถิ่นหรือพื้นบ้าน. การจัดพิธีของส่วนราชการในวันสำคัญ เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์. - จัดแบบมีพิธีสงฆ์ งานมงคลและงานอวมงคล. -จัดแบบไม่มีพิธีสงฆ์ มีเฉพาะถวายราชสักการะ.

quade
Download Presentation

การปฏิบัติศาสนพิธี ทางราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การปฏิบัติศาสนพิธี ทางราชการ

  2. ศาสนพิธี ๓ ระดับ - ศาสนพิธีในงานพระราชพิธีและพระราชกุศล - ศาสนพิธีทางราชการ - ศาสนพิธีท้องถิ่นหรือพื้นบ้าน

  3. การจัดพิธีของส่วนราชการในวันสำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์การจัดพิธีของส่วนราชการในวันสำคัญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ - จัดแบบมีพิธีสงฆ์ งานมงคลและงานอวมงคล -จัดแบบไม่มีพิธีสงฆ์ มีเฉพาะถวายราชสักการะ

  4. การจัดแบบมีพิธีสงฆ์ - ถ้าเป็นพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศ์ที่ทรงพระชนม์อยู่ จัดแบบงานมงคล

  5. - ถ้าเป็นพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศถวายเแด่พระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศ์ ที่สวรรคตหรือสิ้นพระชนม์แล้ว จัดแบบงานอวมงคล * การนิมนต์พระสงฆ์ในพิธีทั้ง ๒ นั้น ควรใช้พระสงฆ์ จำนวน ๑๐ รูป

  6. วันสำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์วันสำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ - วันจักรี - วันปิยมหาราช - วันเฉลิมพระชนมพรรษา - และวันอื่นๆ - วันฉัตรมงคล

  7. วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำนักพระราชวังกำหนดไว้ ๓ แบบแบบที่ ๑ การลงนามถวายพระพรแบบที่ ๒ การลงนามถวายพระพร และชุมนุมสดุดี พระพรชัยมงคลแบบที่ ๓ การลงนามถวายพระพร ชุมนุมสดุดี และบำเพ็ญกุศลถวายเป็นพระราชกุศล

  8. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แบบที่ ๑ การลงนามถวายพระพร • จัดสถานที่ เตรียมรับรองผู้ที่จะมาลงนาม ถวายพระพร ตามแบบที่สำนักพระราชวังกำหนด- ลงนามถวายพระพรแล้ว เดินไปหน้าพระบรม ฉายาลักษณ์ ถวายความเคารพ ๑ ครั้ง • การแต่งกาย ข้าราชการ เครื่องแบบปกติขาว พลเรือน ชุดสุภาพหรือสากล

  9. แบบที่ ๒ การลงนามถวายพระพรและชุมนุมสดุดี ถวายพระพรชัยมงคล • จัดสถานที่ เตรียมสถานที่ลงนามถวายพระพร และชุมนุมสดุดีถวายพระพรชัยมงคล ตามแบบที่สำนักพระราชวังกำหนด- ลงนามถวายพระพรแล้ว เข้าประจำที่ ตามลำดับ ตำแหน่งหน้าที่- ประธานเดินไปที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ เปิดกรวยถวาย ราชสักการะ แล้วถอยออกมาเพื่อถวายความเคารพ ทุกคนถวายความเคารพพร้อมประธาน

  10. ประธานอ่านคำสดุดีเฉลิมพระเกียรติ ถวายพระพรชัยมงคล- ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจบ- ทุกคนถวายความเคารพพร้อมกัน- เสร็จพิธี • การแต่งกาย ข้าราชการ แต่งเครื่องแบบเต็มยศ พลเรือน ชุดสุภาพหรือสากล

  11. แบบที่ ๓ การลงนามถวายพระพร ชุมนุมสดุดี และบำเพ็ญกุศล ถวายเป็นพระราชกุศล • จัดสถานที่ เตรียมสถานที่ลงนามถวายพระพร และบำเพ็ญ กุศล ตามแบบที่สำนักพระราชวังกำหนด- ประธานเข้าสู่ที่ประชุม จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบ ๓ ครั้งแล้ว ถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ ไปนั่งประจำที่ประธาน- เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล - พระสงฆ์ตั้งพัดยศให้ศีล- ประธานและผู้ชุมนุมประนมมือรับศีล

  12. - ประธานไปที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ (ทุกคนยืนขึ้น) - ประธานเปิดกรวยกระทงดอกไม้แล้วถอยออกมาถวายความ เคารพพระบรมฉายาลักษณ์ ผู้ชุมนุม ณ ที่นั้นถวายความ เคารพพร้อมประธาน- ประธานอ่านคำสดุดีเฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคล จบแล้วถวายความเคารพ- พระสงฆ์ตั้งพัดยศเจริญชัยมงคลคาถา - ดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจบ ถวายความ เคารพพร้อมกัน แล้วนั่งประจำที่ - พระสงฆ์ถวายพรพระ

  13. ประธานประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ - ประธานประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์- พระสงฆ์อนุโมทนา ประธานกรวดน้ำ-รับพร เมื่อพระสงฆ์ กล่าว ถวายอดิเรก ทุกคนเอามือลง จบคำถวายอดิเรกแล้ว ประนมมือรับพรต่อไปจนจบ- พระสงฆ์เดินทางกลับ - ประธานและทุกคนถวายความเคารพ พระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมกัน เป็นเสร็จพิธี

  14. การจัดธูปเทียนแพกรวยดอกไม้การจัดธูปเทียนแพกรวยดอกไม้ - ตามแบบของสำนักพระราชวัง เรียงลำดับจาก ด้านบน คือ กรวยดอกไม้ ธูป เทียน- ตามแบบที่ขายในร้านสังฆภัณฑ์ เรียงลำดับคือ กรวยดอกไม้ เทียน ธูป*ควรยึดแบบของสำนักพระราชวังเป็นหลักปฏิบัติ

  15. เครื่องทองน้อย

  16. เดิมพระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นเครื่องราชสักการะเดิมพระมหากษัตริย์ทรงใช้เป็นเครื่องราชสักการะ • พระบรมศพ พระบรมอัฐิแต่ปัจจุบันใช้ได้ทั่วไปทั้ง • พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ • และสามัญชน นิยมใช้ในกรณีต่อไปนี้ • - บูชาพระบรมสารีริกธาตุ • สักการะพระบรมศพ พระบรมอัฐิ หรือพระบรมรูป • บุรพมหากษัตริย์ • - เคารพศพ อัฐิ หรือรูป ของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว • - บูชาพระธรรมในพิธีเทศน์

  17. เครื่องประกอบในเครื่องทองน้อยเครื่องประกอบในเครื่องทองน้อย - เชิงธูป ๑ เชิง สำหรับปักธูปไม้ระกำ - เชิงเทียน ๑ เชิง สำหรับปักเทียน - กรวยดอกไม้ ๓ กรวย * ตั้งรวมอยู่ในพานทอง พานมุก หรือพานแก้ว

  18. การจัดชุดเครื่องทองน้อย การจัดชุดเครื่องทองน้อย - กรวยดอกไม้ ๓ กรวย อยู่ด้านนอก - เชิงธูป ปักธูปไม้ระกำ อยู่ด้านซ้ายมือของผู้จัด - เชิงเทียน อยู่ด้านขวามือของผู้จัด

  19. การตั้งและการจุดเครื่องทองน้อยเพื่อบูชาการตั้งและการจุดเครื่องทองน้อยเพื่อบูชา • - จะบูชาสิ่งใด ให้ตั้งหันด้านพุ่มดอกไม้ไปทางสิ่งนั้น • เจ้าภาพเคารพศพ หรืออัฐิ ตั้งหันพุ่มดอกไม้เข้าหาศพ • หรืออัฐิ • ถ้าต้องการให้ศพหรืออัฐิบูชาพระ ให้ตั้งหันด้านธูปเทียน • เข้าหาศพหรืออัฐิ • การจุดเครื่องทองน้อย ให้จุดธูปก่อนแล้วจึงจุดเทียน • เป็นลำดับต่อไป

  20. งานพระราชพิธี พระราชกุศล และรัฐพิธี

  21. งานพระราชพิธี เป็นงานที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นเป็นประจำปี เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา หรืองานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นเป็นกรณีพิเศษ เช่น พระราชพิธีอภิเษกสมรส พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่

  22. งานพระราชกุศล เป็นงานที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล งานพระราชกุศลบางงานต่อเนื่องกับงานพระราชพิธี เช่น พระราชกุศลมาฆบูชา พราะราชกุศลทักษิณานุประทานพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี พระราชกุศลทรงบาตร

  23. งานรัฐพิธี เป็นงานพิธีที่รัฐบาลหรือทางราชการจัดขึ้นเป็นประจำปี โดยกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงเป็นประธานประกอบพิธี เช่นรัฐพิธีที่ระลึกวันจักรี รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัจจุบันทรงรับเข้าเป็นงานพระราชพิธี

  24. งานทั้ง ๓ นี้ จะมีหมายกำหนดการ ทุกงาน การนิมนต์พระสงฆ์ และการปฏิบัติศาสนพิธี เป็นหน้าที่ของฝ่ายพิธี กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยปฏิบัติงานร่วมกับสำนักพระราชวัง

  25. หมายกำหนดการ เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีโดยเฉพาะ ลักษณะของเอกสารจะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือขึ้นต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯสั่งว่า”เสมอไป และในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่จะต้องส่งหมายกำหนดการดังกล่าวนี้ เสนอนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ

  26. หมายรับสั่ง เป็นเอกสารที่ออกถึงผู้มีตำแหน่งเข้าเฝ้าฯตามหมายกำหนดการหรือกำหนดการ ทั้งนี้รวมถึงหมายที่สั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพระราชพิธี รัฐพิธี พิธีต่างๆ และผู้ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่างๆ ตอนล่างสุดของหมายรับสั่งเขียนไว้ว่า “ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่ง โดยหน้าที่ราชการ”แล้วลงชื่อผู้รับรับสั่ง ผู้สั่งคือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้รับรับสั่งคือเลขาธิการพระราชวัง

  27. กำหนดการ เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานโดยทั่วไปที่ทางราชการหรือส่วนเอกชนจัดทำขึ้นเอง แม้ว่างานนั้น ๆ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเบื้องพระยุคลบาท เช่น เป็นงานที่เสด็จพระราชดำเนิน แต่ถ้างานนั้นมิใช่เป็นงานพระราชพิธี ซึ่งกำหนดขึ้นโดยพระบรมราชโองการแล้ว เรียกว่ากำหนดการทั้งสิ้น เช่น ขั้นตอนของงานสวนสนามสำแดงความสวามิภักดิ์ของทหารรักษาพระองค์ก็ใช้ว่ากำหนดการ เพราะงานนี้มิใช่พระราชพิธีที่มีพระบรมราชโองการให้จัดขึ้น หากแต่ทางราชการทหารจัดขึ้น เพื่อสำแดงความสวามิภักดิ์ ต่อเบื้องพระยุคลบาท

  28. สดับปกรณ์ คือ มาติกา-บังสุกุล สดับปกรณ์ ใช้กับ - พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ พระองค์เจ้าขึ้นไป - สมเด็จพระสังฆราช

More Related