160 likes | 391 Views
การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นใน การพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย. เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์ ศูนย์อนามัยที่ 3 กรมอนามัย Email : pensri0701@gmail.com. ที่มาและความสำคัญของปัญหา.
E N D
การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย เพ็ญศรี กองสัมฤทธิ์ ศูนย์อนามัยที่ 3 กรมอนามัย Email : pensri0701@gmail.com
ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่มาและความสำคัญของปัญหา • ครอบครัวในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง โดยแม่ของเด็กก้าวสู่โลกของการทำงานมากขึ้น ทำให้บทบาทของพ่อ-แม่ในการอบรมเลี้ยงดูต้องปรับเปลี่ยน ระยะเวลาในการอบรมเลี้ยงดูน้อยลงเรื่อยจากเดิม 6 ปี เป็น 3 ปี และ 3 เดือน • มีหน่วยงานต่างๆเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยมากขึ้น ได้แก่ อปท. ศูนย์เด็กเล็ก รพ.สต. แกนนำต่างๆ และชมรมต่างๆ เป็นต้น
Research Question : 1. ระบบความคิด ความเชื่อ และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของชุมชน ท้องถิ่นในพื้นที่อย่างไร 2. การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวอย่างไรที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 3. รูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยเป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์ • เพื่อศึกษา ระบบความคิด ความเชื่อการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย • เพื่อศึกษาลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย • เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ รูปแบบ ของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย
กรอบแนวคิดในการศึกษา • ครอบครัว • - เดี่ยว,ขยาย ระดับการศึกษาของพ่อแม่ • ลักษณะอาชีพ, รายได้ • สัมพันธภาพในครอบครัว (การสังเกต) การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น - อบต./เทศบาล - ภาครัฐต่างๆ (รพ.สต. ศูนย์เด็กเล็ก) - ภาคประชาชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม.ปราชญ์นมแม่ แกนนำธรรมชาติ และชมรมต่างๆ เด็ก -น้ำหนักแรกเกิด, เพศ, ลำดับการเกิด -น้ำหนัก ส่วนสูง - การเลี้ยงดูด้วยนมแม่, การเล่นของเด็ก พัฒนาการต่างๆ (ปกติ,ล่าช้า) - ภาษา - สังคมและการช่วยเหลือตนเอง - กล้ามเนื้อมัดเล็ก - กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู - ประชาธิปไตย - เผด็จการ - คุ้มครองเกินไป - ปล่อยปละละเลย
การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่น หมายถึงการที่บุคคล กลุ่มคน หรือองค์กรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ท้องถิ่น ศพด. รพ.สต. แกนนำ ชมรมต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย • การมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา • การมีส่วนร่วมกำหนดแนวทางและตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา • การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ • การมีส่วนร่วมในการรับประโยชน์ • การมีส่วนร่วมในการประเมินผล Cohen & Uphoff. 1977 : p 38-40
ขอบเขตของการศึกษา พื้นที่ดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับประเทศ ทำทุกภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระดับภาค เลือกภาคละ 1 เขตบริการสุขภาพๆละ 1จังหวัด รวมเป็น 4 พื้นที่การศึกษา
การเลือกพื้นที่ดำเนินการเขตบริการสุขภาพการเลือกพื้นที่ดำเนินการเขตบริการสุขภาพ 1. เลือกจังหวัดที่มีการดำเนินงานตำบลนมแม่ฯ และผ่านเกณฑ์ในปี พ.ศ.2555 แต่ถ้าจังหวัดที่สุ่มได้ไม่มีตำบลนมแม่เลย ขอให้สุ่มอย่าง่ายเครือข่ายละ 1 จังหวัด 2. เลือก อปท. 2 แห่ง แห่งแรกเป็นตำบลนมแม่ฯที่ผ่านเกณฑ์ แห่งที่สองเลือกพื้นที่ที่มีลักษณะตรงข้ามกับตำบลนมแม่ฯ หรือถ้าจังหวัดที่สุ่มได้ไม่มีตำบลนมแม่ฯ ก็ขอให้เลือกพื้นที่ดังนี้ 2.1 อบต./เทศบาล ที่มีลักษณะของความเป็นชุมชนเมืองสูง 1 แห่ง 2.2 อบต./เทศบาล ที่มีลักษณะของความเป็นชุมชนชนบทสูง 1 แห่ง (โดยดูในเรื่องของ ความเป็นอยู่ ลักษณะอาชีพ การศึกษา วิถีชีวิต)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ของแต่ละ อปท แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ครอบครัว 16 ครอบครัว (ของแต่ละกลุ่มวัยๆละ 4 คน เป็นปกติ 2 คน ล่าช้า 2 คน) 2. นายกอบต./เทศบาล หรือปลัด อบต.และผอ.กองสาธารณสุข 3. รพ.สต. ทุกแห่งใน อบต./เทศบาล 4. ศูนย์เด็กเล็กทุกแห่งใน อบต./เทศบาล 5. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประธาน อสม. ปราชญ์นมแม่ ชมรมสายใยรักฯ
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) มี 5 ฉบับ ฉบับที่ 1ลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ฉบับที่ 2โรงเรียนพ่อ-แม่ (รพ.สต.)ลักษณะของการให้บริการ ฉบับที่ 3การอบรมเลี้ยงดูในศูนย์เด็กเล็ก ฉบับที่ 4 การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการพัฒนาการเด็กปฐมวัย ฉบับที่ 5 การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่าง ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์นมแม่ ปราน อสม. ชมรมต่างๆ เป็นต้น
การหาคุณภาพของเครื่องมือการหาคุณภาพของเครื่องมือ Validity และ Reliabilityจะทำขณะสัมภาษณ์ โดยดูว่าคำตอบที่ได้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนหรือไม่ หรือสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์หรือไม่ ซึ่งเรียกว่า การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation)
การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลขอให้ลงเก็บพร้อมๆกันทั้ง 5 โครงการ โดยขอให้เก็บในตำบลที่จะลงในโครงการวิจัยที่ 4 – 5 ก่อน เพื่อที่จะนำข้อมูลไปใช้ต่อไป โดยโครงการวิจัยที่ 5ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 1-2 เดือน มีการดำเนินงาน ดังนี้ 1. สัปดาห์ที่หนึ่ง-สอง สัมภาษณ์ระดับลึก นายก อบต./เทศบาล ศพด. รพ.สต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน อสม. ชมรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง 2. สัปดาห์ที่สาม-สี่ สัมภาษณ์ระดับลึก 16 ครอบครัว (หลังจากที่รู้ของการตรวจพัฒนาการ และได้เด็กมา 4 กลุ่ม รวมเป็น16 คน ปกติ 8 คน ล่าช้า 8 คน)
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)เพื่อดู 1. ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว รพ.สต. และศูนย์เด็กเล็กกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2. เพื่อดูการมีส่วนร่วมและการเชื่อมโยงของชุมชน ท้องถิ่น ได้แก่ อปท. รพ.สต. ศพด. แกนนำต่าง และครอบครัว ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย
การเขียนรายงาน การบรรยายถึงความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นในชุมชน (ประกอบด้วย การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว การมีส่วนร่วมของ อปท. ศูนย์เด็กเล็ก รพ.สต. แกนนำ ชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว) กับกระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัย และความเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏี