610 likes | 1.49k Views
ความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการป้องกันประเทศ. กรอบการนำเสนอ. ความหมาย ปัจจัยกำลังอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ แนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ ข้อพิจารณาทางด้านการทหารในการพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ขีดความสามารถของกองทัพไทย
E N D
ความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการป้องกันประเทศ
กรอบการนำเสนอ • ความหมาย • ปัจจัยกำลังอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ • แนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ • ข้อพิจารณาทางด้านการทหารในการพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ • ขีดความสามารถของกองทัพไทย • ความมุ่งหมายในการสร้างขีดความสามารถทางทหารโดยให้มีความสอดคล้องกับภาพการรบในอนาคต
กรอบการนำเสนอ • ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ • การวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ • ปัญหาด้านการป้องกันประเทศของประเทศไทย • บทบาทกองทัพภายในประเทศ
ความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ ความหมาย • สภาพการด้านการทหารที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของกำลังรบของชาติ ความพร้อมรบ ความมีประสิทธิภาพของอาวุธยุทโธปกรณ์ และการใช้อาวุธ มีวินัย ขวัญ และกำลังรบอื่น ๆ มีการจัด การฝึก การศึกษา การสวัสดิการ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีที่สามารถจะเอาชนะศัตรูผู้รุกราน ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศได้
ปัจจัยอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ กำลังอำนาจทางทหารประกอบด้วย • กำลังรบที่จัดไว้แล้ว • ศักย์สงคราม
ปัจจัยอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ กำลังรบที่จัดไว้แล้ว หมายถึงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ได้ทันที ซึ่งมีการเตรียมพร้อมทางทหารตั้งแต่ยามปกติ
ปัจจัยอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ หน้าที่ของกำลังรบที่จัดไว้แล้ว - ป้องกันการโจมตีของข้าศึก ต่อเขตแดนของชาติและพร้อมที่จะทำการรุกโต้ตอบ - เพื่อให้ส่วนหลังมีเวลาสำหรับการระดมสรรพกำลังของชาติ
ปัจจัยอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ หน้าที่ของกำลังรบที่จัดไว้แล้ว - เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้มีเวลาในการเลือกวิธีการตอบโต้การรุกราน - กวาดล้างผู้ก่อการร้ายและให้ความปลอดภัยแก่ประชาชนพลเมือง
ปัจจัยอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ ขีดความสามารถของกำลังรบที่จัดไว้แล้ว • ขนาดของกำลังรบ • คุณภาพของทหาร • อาวุธ • ยุทธวิธี • ผู้นำทางทหาร • การเตรียมการทางทหาร
ปัจจัยอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ ศักย์สงคราม ได้แก่ขีดความสามารถที่จะผลิตกำลังรบเพิ่ม ผลิตอำนาจการรบ เพิ่มองค์ประกอบของศักย์สงคราม
ปัจจัยอำนาจแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ องค์ประกอบของศักย์สงคราม • กำลังอำนาจทางเศรษฐกิจ • กำลังอำนาจทางการเมือง • ขวัญและกำลังใจเมื่อเกิดการ สู้รบขึ้น • การสนับสนุนจากพันธมิตร
แนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติแนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการป้องกันประเทศ พัฒนากองทัพให้มีโครงสร้างกำลังกองทัพที่เหมาะสม • มีความพร้อม และมีขีดความสามารถในการป้องกัน ป้องปราม และต่อต้านภัยคุกคามที่มีต่ออธิปไตยของดินแดน น่านน้ำ และน่านฟ้า • คุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเล ตลอดจนผลประโยชน์ของชาติภายนอกประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทุกระดับของสถานการณ์ที่กระทบต่อผลประโยชน์ ของชาติ
แนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติแนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการป้องกันประเทศ สนับสนุนให้กองทัพมีระบบอาวุธและระบบการแจ้งเตือนภัยทางทหาร • มีขีดความสามารถในการป้องปรามทางยุทธศาสตร์ และพึ่งตนเองได้ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคต • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การมีส่วนร่วมระหว่างกองทัพกับหน่วยงานวิจัยของภาครัฐ องค์กร สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีของภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ • จัดงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอต่อเนื่อง รวมทั้งมีกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจน
แนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติแนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการป้องกันประเทศ พัฒนาศักยภาพของชาติในการป้องกันประเทศ • ด้วยการผนึกกำลังจากทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ
แนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติแนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการป้องกันประเทศ นำศักยภาพของกองทัพในยามปกติเข้ามาช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติ • ใช้ศักยภาพของกองทัพในยามปกติเข้ามาช่วยเสริมสร้างความสามัคคี ของคนในชาติ และการพัฒนาประเทศ และมีส่วนร่วมบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตลอดถึงการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชนและชุมชนพื้นที่ชายแดน
แนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติแนวทางในการสร้างสรรค์ความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการป้องกันประเทศ พัฒนาความร่วมมือทางทหารและความเข้าใจอันดีกับกองทัพของประเทศ เพื่อนบ้านและกลุ่มอาเซียนรวมทั้งมิตรประเทศอื่น ๆ • พัฒนาความร่วมมือทางทหารและความเข้าใจอันดีอย่างใกล้ชิดในทุกระดับ และเสริมสร้างความร่วมมือทางทหารกับประเทศมหาอำนาจอย่างสมดุล บนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน โดยสอดคล้องกับนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งสนับสนุนภารกิจในการรักษาสันติภาพของโลกภายใต้กรอบของสหประชาชาติ ตลอดจนมีส่วนร่วมบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติในภูมิภาค
ข้อพิจารณาทางด้านการทหารข้อพิจารณาทางด้านการทหาร ในการพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ปัจจัยที่ควรนำมาประกอบในการพิจารณาหรือเป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติด้านการทหาร • สถานการณ์ทางทหารของโลก • ภัยคุกคาม • ภูมิศาสตร์ทหาร • ภาวะประชากร • เศรษฐกิจ
ข้อพิจารณาทางด้านการทหารข้อพิจารณาทางด้านการทหาร ในการพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ • ขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ • พันธกิจของชาติ • งบประมาณ • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • ปัจจัยกำลังอำนาจแห่งชาติกับนโยบาย ความมั่นคงแห่งชาติ
ขีดความสามารถของกองทัพไทยขีดความสามารถของกองทัพไทย • กองทัพ จะต้องมีการจัดเตรียม และพัฒนากำลังทหารให้สอดคล้องกับขีดความสามารถทางเศรษฐกิจโดยรอบของประเทศและสภาพทางภูมิศาสตร์ • ยามปกติให้จัดเตรียมกำลังกองทัพ ที่มีความพร้อมรบไว้จำนวนหนึ่ง และดำเนินการ ทั้งปวง เพื่อให้สามารถขยายกำลังได้ตามขั้นตอนของการใช้กำลังในการป้องกันประเทศ
ความมุ่งหมายในการสร้างขีดความสามารถทางทหารความมุ่งหมายในการสร้างขีดความสามารถทางทหาร โดยให้มีความสอดคล้องกับภาพการรบในอนาคต • สร้างเสริมกระบวนการที่สามารถแจ้งเตือนการบุกรุกหรือการคุกคามได้อย่างชัดเจน และทันเวลา • ให้มีระบบการควบคุมสั่ง และระบบ ข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ และมีการประสานเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธีอย่างทั่วถึงกัน ทุกเหล่าทัพ • สร้างขีดความสามารถเชิงรุกทางยุทธศาสตร์ และมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับหน่วยทหารในสนามรบ
ความมุ่งหมายในการสร้างขีดความสามารถทางทหารความมุ่งหมายในการสร้างขีดความสามารถทางทหาร โดยให้มีความสอดคล้องกับภาพการรบในอนาคต • มีกองกำลังพร้อมรบที่มีความคล่องแคล่ว ในการเคลื่อนที่ มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย สามารถเข้าถึงบริเวณที่มีปัญหาได้อย่างฉับพลัน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที • มีขีดความสามารถปฏิบัติการรบได้อย่างต่อเนื่อง • เป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับประชาชนที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพสุจริตตามแนวชายแดน
ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ • ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ • มีปัจจัย สนับสนุนจากกำลังอำนาจแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมจิตวิทยา การเมือง และ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี • พร้อมรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จากปัญหาและภัยคุกคามในปัจจุบันและสามารถที่จะเผชิญกับปัญหาและภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต • ดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหมที่กำหนดไว้ ดังนี้
ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ • การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง (Security Cooperation) • การผนึกกำลังป้องกันประเทศ (United Defence) • การป้องกันเชิงรุก (Active Defence)
ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ 1. การสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง (Security Cooperation) • ใช้ทรัพยากรทางทหารในการสนับสนุนรัฐบาล • สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน มิตรประเทศ และประเทศมหาอำนาจ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี • สร้างบรรยากาศความเป็นมิตร รักษาความเป็นกลาง ลดเงื่อนไขและลดโอกาสนำไปสู่ความขัดแย้ง
ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ 1. สร้างความร่วมมือด้านความมั่นคง (Security Cooperation) • ป้องกันมิให้ความขัดแย้งขยายขอบเขตไปนอกเหนือการควบคุม • ยึดมั่นในแนวความคิดเชิงป้องกัน หากความขัดแย้งเกิดขึ้นแล้วก็สามารถควบคุมได้ทันเวลา • มาตรการดังกล่าวต้องอยู่บนพื้นฐานของความมีเกียรติและศักดิ์ศรีในเวทีระหว่างประเทศและผลประโยชน์ของชาติ
ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ 2. การผนึกกำลังป้องกันประเทศ (United Defense) • นำทรัพยากรที่เป็นพลังอำนาจของชาติทุกประเภทในทุกมิติทั้งทางด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาบูรณาการอย่างมีระเบียบแบบแผนและเป็นระบบตั้งแต่ยามปกติ
ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ 2. การผนึกกำลังป้องกันประเทศ (United Defense) • แก้ไขข้อจำกัดของชาติ รวมทั้งชดเชยอำนาจกำลังรบของกองทัพที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีการเตรียมการ และกระทำอย่างต่อเนื่องทั้งในยามปกติและยามสงคราม
ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ 3. การป้องกันเชิงรุก (Active Defense) • จัดเตรียมกำลัง เสริมสร้าง พัฒนา และบริหารจัดการทรัพยากรทางทหาร ทั้งมวลให้กองทัพสามารถพึ่งตนเองได้ และมีความพร้อมในการใช้กำลังเพื่อการป้องปราม • การแก้ไขปัญหา และยุติความขัดแย้ง โดยมุ่งเน้นมาตรการด้านการข่าว อย่างต่อเนื่องและเชิงลึกในทุกสถานการณ์
ประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศประเมินค่าความมั่นคงแห่งชาติด้านการป้องกันประเทศ 3. การป้องกันเชิงรุก (Active Defense) • มีระบบแจ้งเตือนและเฝ้าตรวจที่มีประสิทธิภาพ พร้อมรับสถานการณ์ทั้งในยามปกติและยามสงคราม • สามารถปฏิบัติการรบได้หนึ่งด้าน และป้องกันอีกหนึ่งด้านในเวลาเดียวกัน • ยึดมั่นในหลักการ การมีกำลังรบเพื่อป้องกันตนเองและใช้หน่วยที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ที่จัดเตรียมไว้เข้าคลี่คลายสถานการณ์ในขั้นต้น พร้อมขยายกำลังได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
การวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีผลต่อความมั่นคงแห่งชาติการวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีผลต่อความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการป้องกันประเทศ • ประเทศไทยอาจจะเผชิญกับสงครามในอนาคต ที่น่าจะมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ที่มาจากทรัพยากรธรรมชาติ ทางทะเล และเกิดจากปัญหาที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ เช่น ปัญหาอาณาเขต ทั้งทางบกและทางทะเล ปัญหาการประมง ปัญหาเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ย่อมไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น
ปัญหาด้านการป้องกันประเทศของประเทศไทยปัญหาด้านการป้องกันประเทศของประเทศไทย • ในภาพรวมของงบประมาณเพื่อการป้องกันประเทศ ที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ในอนาคตมีแนวโน้มลดลงตามสัดส่วนโดยรวมของงบประมาณประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยสภาวะแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ทำให้กระทรวงกลาโหมจำเป็นต้องแสวงหาแนวทางและการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการใช้ทรัพยากรที่ได้รับจากรัฐบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปัญหาด้านการป้องกันประเทศของประเทศไทยปัญหาด้านการป้องกันประเทศของประเทศไทย การดำรงสภาพกำลังทหาร และเสริมสร้างกำลังกองทัพภายใต้ข้อจำกัดด้านงบประมาณ กองทัพจะดำรงความมุ่งมั่นในการเผชิญกับสภาพของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และปฏิบัติตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ ตามหน้าที่ความรับผิดชอบของกองทัพ
ปัญหาด้านการป้องกันประเทศของประเทศไทยปัญหาด้านการป้องกันประเทศของประเทศไทย รวมทั้งภารกิจอื่นที่จะได้รับมอบต่อไป ด้วยความเชื่อมั่นว่าความร่วมมือ อย่างจริงจังของทุกฝ่ายโดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้งจะเป็นพลังผลักดันให้ประเทศไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการไปได้และดำรงอยู่ในประชาคมโลกอย่างมีเกียรติ และศักดิ์ศรีตลอดไป
บทบาทกองทัพภายในประทศบทบาทกองทัพภายในประทศ ปัจจุบันบทบาทของกองทัพไม่เพียงแต่ป้องกันประเทศ หากแต่รวมไปถึงบทบาทในการพัฒนาประเทศ ส่งผลให้บริบทที่เกี่ยวข้องกับกองทัพมีหลายมิติ ทั้งมิติด้านความมั่นคง มิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านสังคม • การป้องกันประเทศจากภัยคุกคามภายนอก • กองทัพกับสังคม
บทบาทกองทัพภายในประทศบทบาทกองทัพภายในประทศ • การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติร่วมกับภาครัฐอื่น ๆ และเอกชน • แนวความคิดการใช้กำลังทางบก ทางเรือ และทางอากาศ และหลักนิยมการยุทธร่วม • กองทัพบก • กองทัพเรือ • กองทัพอากาศ
บทบาทกองทัพภายในประทศบทบาทกองทัพภายในประทศ • กองทัพบก กองทัพบก ต้องมีขีดความสามารถที่จะทำการรบได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตั้งแต่การปฏิบัติในสถานการณ์ของความขัดแย้งระดับต่ำไปจนถึงการปฏิบัติในภาวะสงคราม และการปฏิบัติอื่น ๆ ที่มิใช่สงคราม โดยยึดหลักพื้นฐานในการปฏิบัติการ
บทบาทกองทัพภายในประทศบทบาทกองทัพภายในประทศ • กองทัพเรือกองทัพเรือ ต้องมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือ การป้องกันฝั่ง การปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก รวมทั้งการสนับสนุนการรบทางบกและทางอากาศ เพื่อดำรงการคมนาคมทางทะเล การป้องกันฝั่ง การป้องกันชายแดน ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
บทบาทกองทัพภายในประทศบทบาทกองทัพภายในประทศ • กองทัพอากาศ กองทัพอากาศ นับว่าเป็นกำลังที่สำคัญที่สนับสนุนและเอื้ออำนวยในการเอาชนะสงครามได้อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด เนื่องจากมีความอ่อนตัว ปฏิบัติการได้ไกล มีอำนาจการทำลายสูง และมีความแม่นยำ
รัฐธรรมนูญ • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของทหารไว้ในมาตรา ๗๗ ดังต่อไปนี้ • “มาตรา ๗๗ รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ”
นโยบายความมั่นคงแห่งชาตินโยบายความมั่นคงแห่งชาติ • นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ (อยู่ระหว่างเตรียมการเสนอสภาความมั่นคงแห่งชาติพิจารณา) กรอบทิศทางหลักการดำเนินการด้านความมั่นคง • ความพร้อมขับเคลื่อนนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ • พัฒนาระบบ กลไก กฎหมาย กฎ ระเบียบ และการบริหารจัดการนโยบาย ความมั่นคงแห่งชาติ • ระบบและกลไกการประเมินผลนโยบาย • เสริมสร้างบทบาทภาคีนอกภาครัฐ • ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ
นโยบายความมั่นคงแห่งชาตินโยบายความมั่นคงแห่งชาติ • นโยบายความมั่นคงแห่งชาติทั่วไป ประกอบด้วยประเด็นนโยบาย ๔ ประการ ดังนี้ • เสริมสร้างเสถียรภาพและภูมิคุ้มกันความมั่นคงและการจัดการภัยคุกคาม • เสริมสร้างศักยภาพการป้องกันประเทศ • พัฒนาความพร้อมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง • เสริมสร้างเกียรติภูมิและรักษาผลประโยชน์ของชาติในระบบความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ
นโยบายความมั่นคงแห่งชาตินโยบายความมั่นคงแห่งชาติ
จบการนำเสนอ ตอบข้อซักถาม