680 likes | 1.69k Views
ทุนมนุษย์และการบริหารทุนมนุษย์. บทนำ. ปัจจุบันสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) เช่น ทุนมนุษย์ (Human Capital) หรือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นมุ่งสู่ สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – Base Society)
E N D
ทุนมนุษย์และการบริหารทุนมนุษย์ทุนมนุษย์และการบริหารทุนมนุษย์
บทนำ • ปัจจุบันสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) เช่น ทุนมนุษย์ (Human Capital) หรือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นมุ่งสู่ สังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – Base Society) เช่น ความรู้เป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจทำให้เกิดแนวคิดการบริหารทุนมนุษย์
ความหมายของทุนมนุษย์ Theodore W. Schultzนิยาม ทุนมนุษย์ คือ ความสามารถหลายๆอย่างที่อยู่ในตัวคน ทั้งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด หรือเกิดจากการสะสมเรียนรู้ โดยแต่ละคนจะมียีนส์เฉพาะตน ซึ่งบ่งบอกความสามารถ ซึ่งมีลักษณะที่มีคุณค่า ซึ่งมีคุณค่ามากขึ้นเมื่อลงทุนเหมาะสม The Society for Human Resource Managementนิยาม ทุนมนุษย์ คือ ผลรวมของคุณลักษณะต่างๆ ประสบการณ์ชีวิต ความรู้ พลัง ความปรารถนา ซึ่งคนนำเอามาลงทุนในการทำงาน
ความหมายของทุนมนุษย์ • Lynda Gratton & Sumantra Ghoshal นิยาม ทุนมนุษย์ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ทุนทางปัญญา Intellectual Capital ความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เครือข่ายความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือ Human Capital ทุนทางอารมณ์ ทุนทางสังคม Emotional Capital Social Capital การรับรู้ตนเอง ความมีศักดิ์ศรี การมีความยืดหยุ่น
ทุนมนุษย์ กับ ทุนทางกายภาพ
ความสำคัญของ ทุนมนุษย์ และ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • ช่วงทศวรรษ 1960 ข้อมูลจากรายได้ประชาชาติต่อคน (GNP per Capital Income) ของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียง พบว่า มีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน (GNP < 200 USD) ยกเว้น ประเทศมาเลเซียที่สูงกว่าประเทศอื่น • ต่อมาในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศเกาหลีมีรายได้ประชาชาติต่อคนที่เพิ่มมากกว่า 65 เท่า แต่ประเทศอื่นในแถบนี้เพิ่มเพียง 2-5 เท่า • Paul Romer เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทุนจากตัวแบบการเจริญเตอบโตทางเศรษฐกิจมีต้นกำเนิดจากภายใน (Endogenous Growth Model) สรุปได้ว่า ถ้าองค์การลงทุนว่าจ้างพนักงานที่มีการศึกษา มีทักษะดี และมีสุขภาพดี ส่งผลให้มีผลผลิตสูงและมีการใช้ทุนและเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดรับกับกรณีของเกาหลีที่มีอัตราการรู้หนังสือ 98 % ในปี 1990 (ของไทย 68 %)
ความแตกต่างของแนวคิดและฐานคติ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กับ การบริหารงานบุคคลแบบเก่า (Frederic W. Taylor)
หลักการในการบริหารทุนมนุษย์ในระดับบุคคล 4 ประการ • ภายใต้ความสัมพันธ์แบบสมัครใจ (Volunteer Model): บุคคลต้องมีอิสระและมีความกล้าผลักดันและพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพหรือเต็มสมรรถนะที่ตนมีอยู่ เช่น เครื่องมือประเมินแบบ 360 องศา • บุคคลต้องข้ามให้พ้นจากความคิดที่ว่าตนเป็นเพียงสินทรัพย์ (Assets) ขององค์การ : โดยต้องมองว่าตน คือ นักลงทุน (Investor) ในการสะสมความรู้และพัฒนาตนเองอย่างมีการวางแผน • บุคคลต้องพยายามเปิดใจรับรู้และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ : ต้องอาศัยกระบวนการในการเรียนรู้ 3 ประการ คือ การประยุกต์ (Application) การเรียนรู้แบบ Induction (การสรุปจากการสังเกต) และการเรียนรู้แบบสะท้อนกลับ (Refection) • ความรู้ที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน : มักเกิดจากการบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา นำไปสู่ความรู้ข้ามพรมแดน ทุนมนุษย์ด้านสังคม ทุนทางอารมณ์ และสะสมความรู้ด้าน Tacit Knowledge
การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management, HCM) • ตัวแบบบูรณาการของทุนมนุษย์ HCM องค์การ การปฏิบัติการด้านบุคลากร การพัฒนาบุคลากร เอกลักษณ์องค์การ ความผูกพัน แรงจูงใจ ความเสียสละ พนักงาน
ความแตกต่างของ HCM กับ HRM & วิวัฒนาการ HCM • Andrew Mayo (2001) เสนอว่า • HCM มุ้งเน้น คุณค่าของคน และสิ่งที่คนสร้าง และเน้นการประเมินวิธีการบริหารบุคคลและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น • HRM มุ้งเน้น กระบวนการ หรือหน้าที่ด้านบุคคล (HR Function) • Jim Matthewman & Floriane Matignon (2005) เสนอว่า วิวัฒนาการของ HCM เริ่มต้นจาก • การเน้นการประเมินประสิทธิภาพการบริหารคน • การประเมินผลกระทบของกระบวนการการบริหารคน • การใช้ข้อมูลทุนมนุษย์ • การพัฒนาตัวชี้วัดและการคำนวณความคุ้มค่าในการลงทุนของคน • การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์
องค์ประกอบของกลยุทธ์การบริหารทุนมนุษย์ 4 ประการ • ระบบต่างๆในการบริหารคน เช่น ข้อมูลองค์การ เพื่อการวางแผนและตัดสินใจ • การทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เป็นการช่วยให้องค์การประหยัดและเกิดความคล่องตัว • นำเอาระบบการวัด(HCM Metrics) มาใช้ในการบริหารทุนมนุษย์ • การจัดการให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม(Alignment) เป็นการพัฒนาการคัดเลือกพนักงาน การสื่อสาร การบริหารผล การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการกำหนดค่าตอบแทน
การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Human Capital Management) • ปัจจัยที่ใช้กำหนดกลยุทธ์ • ด้านการวิเคราะห์ภายนอก (External Analysis)อาทิ Michael E. Porter เสนอตัวแบบวิเคราะห์ปัจจัย 5 ประการ (Five-Forces Model) ได้แก่ • คู่แข่งในปัจจุบัน • คู่แข่งรายใหม่ • ลูกค้า • ผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิต (Supplier) • สินค้าทดแทน • การกำหนดกลยุทธ์ คือ แนวคิดจากสำนักที่เรียกว่า The Resource-Based View Theory) กล่าวไว้ความว่า ความสามารถที่โดดเด่น ความสามารถหลัก ทรัพยากรและการใช้ที่สะสมอยู่ในองค์การ จะทำให้องค์การเกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขัน และผู้บริหารนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์องค์การได้ ซึ่งสอดคล้องกับ ทุนทางปัญญา
ทุนทางปัญญา แบ่งได้ 3 กลุ่ม • ทุนมนุษย์ (Human Capital)ประกอบด้วย ความสามารถ ทักษะ และความยืดหยุ่นตัวบุคคล • ทุนทางความสัมพันธ์ (Relationship Capital)คือ ความสัมพันธ์กับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์การ • ทุนขององค์การ (Organizational Capital)รวมถึง กระบวนการ โครงสร้าง ตัวแบบ ตราสินค้า ทรัพย์สินทางปัญญา
องค์การที่ใช้กลยุทธ์แบบมุ่งเน้นคนองค์การที่ใช้กลยุทธ์แบบมุ่งเน้นคน เงิน ความสัมพันธ์ มนุษย์ องค์การ กายภาพ
องค์การที่ใช้กลยุทธ์แบบมุ่งเน้นกระบวนการองค์การที่ใช้กลยุทธ์แบบมุ่งเน้นกระบวนการ เงิน ความสัมพันธ์ องค์การ มนุษย์ กายภาพ
องค์การที่ใช้กลยุทธ์แบบมุ่งเน้นคนและกระบวนการแบบผสมผสานจนเป็นกระบวนการในการกำหนดกลยุทธ์องค์การที่ใช้กลยุทธ์แบบมุ่งเน้นคนและกระบวนการแบบผสมผสานจนเป็นกระบวนการในการกำหนดกลยุทธ์ ขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์ 5 ข้อ+3 หลัก การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์การ การวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์การ หลักความเกี่ยวพัน การพัฒนาทางเลือกเชิงกลยุทธ์ การทำความเข้าใจนำไปสู่ผลลัพธ์ หลักความเชื่อมโยง การตัดสินใจเลือกทางเลือก การพัฒนาแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ พันธะผูกพัน การพัฒนาเครื่องมือในการวัดผล
การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (SHCM) • The U.S. Office of Personal management นิยาม SHCM (Strategic Human Capital Management) คือ • “กระบวนการที่องค์การต้องดำเนินการเพื่อเป็นหลักประกันว่า องค์การจะได้บุคลากรในเชิงปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสม ตรงกับตำแหน่งเพื่อสร้างความสำเร็จ ตอบสนองต่อพันธกิจ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ” • The Society for Human Resource Management นิยาม ทุนมนุษย์ คือ คุณลักษณะ ประสบการณ์ชีวิต ความรู้ ความสามารถในการคิดค้น พลังความกระตือรือร้นที่คนนั้นเลือกที่จะลงทุนในการทำงานที่เขาได้รับมอบหมาย
องค์ประกอบของการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์องค์ประกอบของการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ • การมีกลยุทธ์ (Strategic Choices) • การเชื่อมโยงกลยุทธ์ (Strategic Alignment) • การวางแผน (Planning) • การแสวงหาผู้มีวุฒิสามารถ (Acquiring Talent) • การสร้างความผูกพันกับพนักงานที่มีความสามารถ (Engaging Talent) • การพัฒนาผู้มีวุฒิสามารถ (Developing Talent) • การใช้ประโยชน์จากผู้มีวุฒิสามารถ (Deploying Talent) • การสร้างผู้นำ (Leading and Managing Talent) • การรักษาผู้มีวุฒิสามารถ (Retaining Talent)
การวัดทุนมนุษย์ • การบริหารทุนมนุษย์ (HCM) พิจารณาตัวแปร Human Capital Intelligence : HCI ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน • เนื้อหา (Content) อาทิ ปัจจัยทางด้านกลยุทธ์ • การวิเคราะห์ (Analysis) อาทิ ตัววัดผลงาน ตัวขับเคลื่อน ข้อมูลตัดสินใจ • ผลลัพธ์ (Outcomes) อาทิ ผลลัพธ์ที่องค์การคาดหวัง • HCI มี 3 มิติ • มิติด้านปฏิบัติการ (Operational) ตัวชี้วัดช่วยประเมินประสิทธิภาพ นำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เป็น Benchmark • มิติด้านกลวิธี (Tactical) ใช้วัดประสิทธิผล การบรรลุเป้าหมาย โครงสร้าง กระบวนการของการบริหารคน มีการสร้างตัวชี้วัด (Key Performance Indicators) โดยนำไปเทียบกับแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practice) • มิติทางด้านกลยุทธ์ (Strategic) ใช้วางแผนคน ค่าตอบแทน การสรรหาในภาพรวมองค์การ
กรอบการวัดผลงาน • การเก็บข้อมูล • ข้อมูลด้านประชากร • ข้อมูลด้านการสรรหาและรักษา • ข้อมูลด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา • ข้อมูลผลงาน • ข้อมูลความคิดเห็น • ระดับของข้อมูล • ระดับต้น • ระดับกลาง • ระดับสูง
กรอบการวัดผลงาน • มิติการวัดทุนมนุษย์ • การจัดหาบุคลากร • การพัฒนา • การให้รางวัล • การรักษาบุคลากร • การลาออกจากงาน • การจูงใจ
ประเด็น แนวโน้ม และอนาคตของการบริหารทุนมนุษย์ • แนวโน้มของบริษัทชั้นนำของโลกได้หันเหจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบเดิมเข้าสู่การกำหนดเป็นกลยุทธ์ ประเด็นที่สำคัญในการบริหารทุนมนุษย์ คือ • การพัฒนาผู้มีวุฒิสามารถและการพัฒนาภาวะผู้นำ (45 %) • การจัดการผลการปฏิบัติงาน (21 %) • การสร้างความคล่องตัวในกระบวนการจัดการ (18 %)
สรุป • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรเป็นค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่าสูงสุด • หลักการของการบริหารทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุด คือ องค์การต้องหยุดคิดว่าพนักงานเป็นต้นทุนทางการบริหาร และเปลี่ยนมุมมองให้เป็น พนักงานเป็นการลงทุนทางกลยุทธ์ที่สำคัญ • ทุนมนุษย์เป็นการเพิ่มและสร้างคุณค่าให้กับคน เป็นทุนขององค์การที่มีมูลค่าสูงและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าสินทรัพย์อื่นใดขององค์การ • โดยการมองทั้งคนและกระบวนการอย่างเชื่อมโยงด้วยหลักความเกี่ยวพัน หลักการเชื่อมโยง และหลักพันธะผูกพัน เป็นผลให้คนมีความสมัครใจที่จะผลักดันและพัฒนาตนเอง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายขององค์การร่วมกัน
มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. 2551. (1-45)