190 likes | 339 Views
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา. คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน. ๑. อายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี ๒. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาสาขาใดสาขาหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ก. ด้านจิตวิทยา แพทย์ศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์
E N D
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาขั้นตอนการขึ้นทะเบียนนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ๑. อายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี ๒. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาสาขาใดสาขาหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ก. ด้านจิตวิทยา แพทย์ศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาล/สุขภาพ/จิตเวช สังคมสงเคราะห์ * มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเด็กไม่น้อยกว่า ๑ ปี * ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา
ข. สำเร็จการศึกษานอกจาก ก * มีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเด็กไม่น้อยกว่า ๒ ปี * ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา * ผ่านการอบรมหลักสูตรให้คำปรึกษา หรือการสังคม สงเคราะห์ ๓. มีอัธยาศัยและความประพฤติเหมาะสมที่จะปฏิบัติงานเกี่ยวกับ เด็กและเยาวชน ๔. ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงยุติธรรม
ขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนทางปกติขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนทางปกติ • ผู้ยื่นคำขอกรอกข้อความลงแบบพิมพ์คำขอ (ขอรับได้ที่สำนัก กฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม/สำนักงานยุติธรรม จังหวัด) • ยื่นคำขอต่อสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม/ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด/ทางไปรษณีย์ • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร คุณสมบัติ พร้อมทั้งลงทะเบียน รับและออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอ • กรณีหลักฐานไม่ครบถ้วนเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และ ให้แก้ไขภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากไม่ดำเนินการต่อ ถือว่าไม่ประสงค์ที่จะขึ้นทะเบียน
เสนอปลัดกระทรวงยุติธรรมเพื่อลงนาม • นำส่งบัตรประจำตัว หนังสือสำคัญ • ส่งรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ) • แจ้งรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อทาง Internet • ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด ๑๐ วันทำการ
การขอขึ้นทะเบียนทาง Internet • กรอกข้อความในแบบพิมพ์คำขอทาง WWW.Servicelink.moj.go.th/Welfare • Print ใบรับคำขอพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ส่งมายังสำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ภายในไม่เกิน ๑๕ วัน นับแต่วนที่ ผู้ยื่นคำขอได้มีการบันทึกข้อมูลในแบบพิมพ์คำขอทาง Internet • หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าไม่ประสงค์ยื่น คำขอ • หลังจากที่ได้รับหลักฐานครบแล้ว สำนักกฎหมายจะดำเนินการตาม วิธีการปกติ
กรณีปลัดกระทรวงยุติธรรมมีคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนกรณีปลัดกระทรวงยุติธรรมมีคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียน เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ภายใน ๓วันทำการ นับแต่วันที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมีคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียน
เหตุแห่งการลบชื่อออกจากทะเบียนนอกจากการลาออกเหตุแห่งการลบชื่อออกจากทะเบียนนอกจากการลาออก ๑. ขาดคุณสมบัติตามกฎกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ ๒. กระทำความผิด หรือบกพร่องต่อหน้าที่ หรือประพฤติผิดจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ ๓. ถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องตามที่องค์กร ควบคุมการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องวินิจฉัย ๔. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่ความผิดโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ๕. เป็นคนวิกลจริต/จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ/ไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ/ล้มละลาย
เมื่อเหตุแห่งการลบชื่อตาม (๑) (๒) (๔) และ (๕) หมดลง ผู้ที่ถูกลบชื่อดังกล่าวสามารถยื่นคำขอใหม่ได้ • เมื่อมีเหตุแห่งการลบชื่อตาม (๓) หมดลง ผู้ที่ถูกลบชื่อ สามารถยื่นคำขอใหม่ได้ เมื่อครบ ๕ ปี นับแต่เหตุแห่ง การลบชื่อดังกล่าวหมดลง
หลักฐานประกอบคำขอขึ้นทะเบียน ๑. สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาบัตรข้าราชการ ๒. สำเนาปริญญาบัตร ๓. สำเนาหลักฐานการผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ๔. สำเนาหลักฐานการผ่านการอบรมหลักสูตรการให้คำปรึกษาหรือ สังคมสงเคราะห์ (กรณีจบการศึกษาตามข้อ ข) ๕. รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป ๖. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเด็ก
บัตรประจำตัวผู้ทำหน้าที่นักจิตวิทยา/นักสังคมสงเคราะห์ มีอายุ ๕ ปี กรณีบัตรหมดอายุ ให้ยื่นคำขอต่ออายุตามแบบพิมพ์คำขอต่ออายุบัตรภายใน ๔๕ วัน ก่อนที่บัตรเดิมจะหมดอายุ พร้อมทั้งรูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๑ รูป (สำนักกฎหมายดำเนินการจัดส่งแบบคำขอต่ออายุ ฯ) • กรณีบัตรหาย ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งความประสงค์ทำบัตรใหม่ โดยส่งมาพร้อม ใบแจ้งความและรูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๑ รูป
* กรณีเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล จัดส่งสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ พร้อมรูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๑ รูป ส่งไปยังสำนักกฎหมาย *กรณีเปลี่ยนที่อยู่ แจ้งสำนักกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในการประสานงาน
สถิตินักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์สถิตินักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ • พ.ศ. ๒๕๔๓ จำนวน ๓๒๐ คน • พ.ศ. ๒๕๔๔ จำนวน ๕๘๗ คน • พ.ศ. ๒๕๔๕ จำนวน ๒๑๗ คน • พ.ศ. ๒๕๔๖ จำนวน ๓๑๗ คน • พ.ศ. ๒๕๔๗ จำนวน ๓๕๒ คน • พ.ศ. ๒๕๔๘ จำนวน ๑๔๗ คน • พ.ศ. ๒๕๔๙ จำนวน ๒๒๙ คน • พ.ศ. ๒๕๕๐ จำนวน ๑๔๐ คน • พ.ศ. ๒๕๕๑ จำนวน ๗๓ คน • พ.ศ. ๒๕๕๒ จำนวน ๑๖๔ คน รวม ๒,๕๔๖ คน * ข้อมูล ณ วันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๒
ค่าตอบแทน • ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนแก่ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ที่เข้าร่วมในการร้องทุกข์ การสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง และการพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒ ทวิ พ.ศ. ๒๕๔๓ * กำหนดให้พนักงานสอบสวนหรือศาลจ่ายค่าตอบแทน * จ่ายค่าตอบแทนในอัตรา ๕๐๐ บาท * เบิกจ่ายได้ไม่เกินคนละ ๑ ครั้งต่อวัน
สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม อาคารกระทรวงยุติธรรม ชั้น ๒๘ ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๕๐๒ ๖๕๕๓-๕ โทรสาร ๐ ๒๕๐๒ ๖๕๔๗