1 / 319

ภาพรวม

ภาพรวม. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. ภาษีเงินได้นิติบุคคล. เลขประจำตัว ประชาชน. เลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากร. ประมวลรัษฎากร. เลขทะเบียน นิติบุคคล. อากรแสตมป์. ภาษีมูลค่าเพิ่ม. ภาษีธุรกิจเฉพาะ. โครงสร้างของภาษีอากร. (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษี (2) ฐานภาษี (3) อัตราภาษี

powa
Download Presentation

ภาพรวม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาพรวม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เลขประจำตัว ประชาชน เลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากร ประมวลรัษฎากร เลขทะเบียน นิติบุคคล อากรแสตมป์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ

  2. โครงสร้างของภาษีอากร (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษี (2) ฐานภาษี (3) อัตราภาษี (4) วิธีการชำระภาษี (5) วิธีการขจัดข้อโต้แย้งในข้อพิพาท (การอุทธรณ์) (6) บทลงโทษ Slide 2

  3. www.rd.go.th ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาPersonal Income Tax : PIT

  4. การคำนวณภาษี 1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 2 เงินได้พึงประเมิน (ไม่รวมเงินได้ประเภทที่1) จำนวนตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป เงินได้พึงประเมิน - ( 8 ประเภท) - หักยกเว้น หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน และยกเว้น คูณอัตราร้อยละ 0.5 2 เงินได้สุทธิ 3 ยกเว้น เฉพาะมีภาษีที่ต้องเสียไม่เกิน 5,000 บาท คูณอัตราภาษีก้าวหน้า 3 เปรียบเทียบ ชำระภาษีตามวิธีที่มากกว่า 4 ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 , 91 ภายในเดือนมีนาคม ของปีภาษีถัดไป

  5. 1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1.1 บุคคลธรรมดา - มาตรา 56 วรรคหนึ่ง , 57 , 57 ตรี , เบญจ 1.2 ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี - มาตรา 57 ทวิ วรรคหนึ่ง 1.3 กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง - มาตรา 57 ทวิ วรรคสอง • 1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคล • - มาตรา 56 วรรคสอง หสม. Slide 5

  6. วิสาหกิจชุมชน ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเงินได้ของวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด (มาตรา42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (78) (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 287 (พ.ศ.2555) ประกอบกับประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 221) 30 ก.ค.2555)

  7. คำชี้แจงกรมสรรพากร ลงวันที่ 19 ก.ย. 55 โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ว่า การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาตามมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นการจำกัดสิทธิสามีและภริยาในการยื่นรายการและเสียภาษี ถือว่าไม่ส่งเสริมความเสมอภาคของชายและหญิง กรณีจึงขัดหรือแย้งต่อมาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บทบัญญัติตามมาตรา ๕๗ ตรี และมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร จึงเป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลให้มีผลในวันอ่าน คือ ตั้งแต่วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ตามข้อ ๕๕ ของข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐

  8. คำชี้แจงกรมสรรพากร ลงวันที่ 19 ก.ย. 55 ข้อ 1การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาสำหรับปีภาษี 2555 เป็นต้นไปนั้น มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล………………………….… ข้อ 3การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 ว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 29 มาตรา 30 และมาตรา 80 ดังนั้น การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยาก่อนปีภาษี 2555 ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญที่ 48/2545 ลงวันที่ 12 กันยายน 2545 และบังคับใช้บทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากรต่อไป โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2555 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2555

  9. 1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี (ต่อ) 2. ผู้ที่ได้รับยกว้นไม่ต้องเสียภาษี 2.1 บุคคลตามสัญญา ว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้หรือจะได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ (พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 18)) 2.2 องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ และเจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การ หรือทบวงการดังกล่าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศไทย ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง (พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10)) 2.3 สถานเอกอัคราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล บุคคลในคณะทูต บุคคลในคณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่าอยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 10)) ...เป็นต้น...

  10. 3. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ กับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษี(หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) เนื่องจาก หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย กิจการที่ทำในประเทศไทย กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย. มาตรา 41 ว.1 มาตรา 41 ว.2 , 3 หลักแหล่งเงินได้ (แหล่งเงินได้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย) หลักถิ่นที่อยู่ (แหล่งเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ) เนื่องจาก • หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ • กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ • ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ (1) ต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ถึง 180 วัน ใน ปีภาษี นั้น และ (2) นำเงินได้นั้น เข้ามาในไทย ในปีภาษีที่เกิดเงินได้. Slide 10

  11. หัก ยกเว้น (ม.42) เช่น กบข. หัก ยกเว้น (ม.42) เช่น เบี้ยประกันชีวิต 2. ฐานภาษี วิธีที่ 1 การคำนวณหาเงินได้สุทธิ ตามมาตรา 48 (1) เงินได้สุทธิ X อัตราภาษี (ก้าวหน้า) (= เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) (ฐานภาษี) - คืออะไร ม. 39 ม. 47 บัญชีอัตราภาษีเงินได้ ข้อ (1) ท้ายหมวด 3 ม. 42 ทวิ 42 ตรี 43 44 45 46 - กี่ประเภท ม. 40 - ยกเว้นหรือไม่ ม. 42 วิธีที่ 2 การคำนวณภาษี ตามมาตรา 48 (2) เงินได้พึงประเมิน (ประเภทที่ 2–8 รวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป) X อัตราภาษี (0.5%) (ฐานภาษี)

  12. 2. ฐานภาษี (ต่อ) เงินได้พึงประเมิน หมายถึง (มาตรา 39) (ก) เงินสด (ข) ทรัพย์สิน ซึ่งอาจคำนวณคิดได้เป็นเงิน (ค) ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณ ได้เป็นเงิน (ง) เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทน ให้ไม่ว่าทอดใด ๆ (จ) เครดิตภาษีเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร ตาม มาตรา 47 ทวิ .

  13. 2. ฐานภาษี (ต่อ) อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล x เงินปันผลฯที่ได้รับ 100 อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับเครดิตภาษีในการคำนวณภาษี ตามมาตรา 47 ทวิ 1. ผู้ที่ได้รับเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไร ซึ่งได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย 2. ผู้ที่ได้รับเงินได้ตาม 1. เป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย 3. ได้รับเครดิตภาษี เท่ากับ -

  14. ปัญหา เงินได้พึงประเมิน : ประโยชน์เพิ่มของพนักงาน 2. ฐานภาษี (ต่อ) 1. การเลี้ยงอาหารกลางวัน 2. การจัดรถรับ-ส่ง 3. ได้อยู่บ้านพักของนายจ้าง 4. ให้เครื่องแบบ (Uniform) 5. การจัดนำเที่ยว / จัดงานปีใหม่ 6. จ่ายเบี้ยประกันชีวิต / ประกันสุขภาพ ให้ 7. รางวัลกรณีอายุงานมาก อยู่นาน

  15. ลูกจ้างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จากประโยชน์เพิ่มดังกล่าว ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 285 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับ 13 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป) ยกเว้น : เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าที่ลูกจ้างได้รับจากการนำบุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมไปอยู่ในความดูแลของสถานรับเลี้ยงเด็กตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็กที่นายจ้างได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการของลูกจ้างสำหรับ สถานประกอบการนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป Slide 15

  16. ประเภทที่ 1 เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้างฯ ประเภทที่ 2 เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้าฯ ประเภทที่ 3 ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่นฯ ประเภทที่ 4 เงินได้จาก ดอกเบี้ยทุกชนิด เงินปันผลฯ ประเภทที่ 5 เงินได้จาก การให้เช่าทรัพย์สินฯ ประเภทที่ 6 เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เช่น กฎหมาย การประกอบโรคศิลป บัญชี วิศวกรรม สถาปัตยกรรม ประณีตศิลปกรรม ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหา สัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ ประเภทที่ 8 เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่นที่มิได้ระบุไว้ใน 1-7 ฯ สรุป : ประเภทเงินได้พึงประเมิน (มาตรา 40) 2. ฐานภาษี Slide 16

  17. ข้อหารือ “ประเภทของเงินได้”กรณี ข้อแตกต่างของเงินได้ประเภทที่ 2 , 7 และ 8 กรณีบริษัทฯ ได้ว่าจ้างให้บุคคลธรรมดาทำการกั้นห้อง หรือเทพื้นคอนกรีต หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า (ก) ผู้รับจ้างได้ใช้แรงงานของตนเป็นส่วนใหญ่ โดยไม่มีการจัดตั้งเป็นสำนักงานที่มีเครื่องมือ เครื่องใช้ ไม่มีการจ้างพนักงาน ลูกจ้าง กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40(2) บริษัทฯ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1)                (ข) ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น สี ปูน อิฐ และวัสดุต่าง ๆ ทั้งหมด เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการรับเหมาตาม ม. 40(7) บริษัทฯ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 (ค) ผู้รับจ้างได้จัดตั้งเป็นสำนักงานและได้ลงทุนด้วยการจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และมีค่าใช้จ่ายประจำของสำนักงาน ตลอดจนค่าจ้างพนักงานหรือลูกจ้าง กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการประกอบธุรกิจหรือพาณิชย์ ตามมาตรา 40(8) บริษัทฯ ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 (กค 0706(กม.05)/1022 ลว. 8 ธันวาคม 2547 )

  18. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มาตรา 42) เงินได้พึงประเมินบางอย่างที่ผู้มีเงินได้ฯ ได้รับใน บางกรณีกฎหมายได้กำหนดให้มีการยกเว้นไม่ต้องนำเอา เงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • เงินได้ฯ ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีอยู่หลายกรณีตามที่กำหนดไว้ตาม • 1. มาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร • 2. กฎกระทรวงฉบับที่ 126 และ • 3. พระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ

  19. การยกเว้นภาษี ลักษณะของการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 ลักษณะที่ 1ยกเว้นเงินได้พึงประเมิน โดยไม่ต้องนำมาแสดงในแบบแสดงรายการ เช่น (10) เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี (12) บำนาญพิเศษ บำเหน็จพิเศษ บำนาญตกทอด หรือบำเหน็จตกทอด (13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์

  20. การยกเว้นภาษี ลักษณะของการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 ลักษณะที่ 2ยกเว้นเงินได้พึงประเมินโดยต้องนำมาแสดงในแบบแสดงรายการ เช่น “(72) เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด” (มาตรา42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (72)) “ข้อ 5  ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1ต้องแสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นั้น พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” (ประกาศอธิบดีฯ (ฉบับที่ 150))

  21. การยกเว้นภาษี ลักษณะของการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 ลักษณะที่ 3ยกเว้นเงินได้เท่าที่จ่ายฯ โดยให้หักออกจากเงินได้พึงประเมินก่อนหักค่าใช้จ่าย (เพื่อบรรเทาภาระภาษี = รายการลดหย่อน)เช่น “ (43) เงินได้เท่าที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าแสนบาท สำหรับปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป” (มาตรา42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวง(ฉบับที่ 126) ข้อ 2 (43) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง(ฉบับที่ 266) พ.ศ.2551ข้อ 2))

  22. การยกเว้นภาษี ลักษณะของการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 ลักษณะที่ 4ยกเว้นเงินได้เท่าที่จ่ายฯ โดยให้หักออกจากเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย (เพื่อบรรเทาภาระภาษี = รายการลดหย่อน)เช่น (66) เงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวฯ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาแต่ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป  เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ต่อ

  23. การยกเว้นภาษี ลักษณะของการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 ลักษณะที่ 4ยกเว้นเงินได้เท่าที่จ่ายฯ โดยให้หักออกจากเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย (เพื่อบรรเทาภาระภาษี = รายการลดหย่อน)เช่น (ต่อ) “ข้อ 7 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อหักตามมาตรา 42 ทวิถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว”(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 133))

  24. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 1. เนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ • 2. เพื่อส่งเสริมอาชีพหรือธุรกิจบางอย่าง • 3. เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ ในตลาดทุนและตลาดเงิน • 4. เพื่อส่งเสริมการศึกษา • 5. เพื่อตอบแทนการทำคุณประโยชน์ • 6. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ • 7. เพื่อมิให้มีการเก็บภาษีซ้ำซ้อน • 8. เนื่องจากเป็นมรดก • 9. เนื่องจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือในพิธีฯ • 10. เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ / ผู้พิการ

  25. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 1. เนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ(ต่อ) 1.5 เงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้ หรือจ่าย แทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล สำหรับ                            (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความ อุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำใน ประเทศไทย                            (ข) ลูกจ้างในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลใน ต่างประเทศในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ เงินจำนวนดังกล่าวได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น (มาตรา42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (4))

  26. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 1. เนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ(ต่อ) • 1.6 เงินได้เท่าที่นายจ้างจ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกินหนึ่งปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่า รักษาพยาบาลสำหรับ •                                       (ก) ลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการีหรือผู้สืบสันดานซึ่งอยู่ในความ อุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะการรักษาพยาบาลในประเทศไทย •                                       (ข) ลูกจ้าง ในกรณีที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลใน ต่างประเทศ ในขณะที่ปฏิบัติการตามหน้าที่ในต่างประเทศเป็นครั้งคราว(มาตรา42 (17)ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (77))

  27. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 1. เนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ(ต่อ) 1.10 เงินได้ที่คำนวณได้จากมูลค่าของเครื่องแบบซึ่งลูกจ้างได้รับจาก นายจ้างในจำนวนคนละไม่เกินสองชุดต่อไป และเสื้อนอกในจำนวนคนละไม่เกิน หนึ่งตัวต่อปี                                       “เครื่องแบบ” ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องแต่งกาย รวมทั้งสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่กำหนดให้แต่งเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน แต่ไม่ รวมถึงรองเท้าที่อาจใช้งานได้ทั่วไป ชุดชั้นใน หรือสิ่งประกอบเครื่องแต่งกายที่ ทำด้วยโลหะหรืออัญมณีที่มีค่าเช่น เงิน ทองคำ ทับทิม หยก                                       “เสื้อนอก” ตามวรรคหนึ่ง หมายความรวมถึง ชุดไทย พระราชทานและเสื้อที่นิยมใช้ในการแต่งกายไปในงานสำคัญต่างๆ(มาตรา42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (34))

  28. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 1. เนื่องจากมีลักษณะเป็นรายจ่ายหรือค่าทดแทนหรือสวัสดิการ(ต่อ) 1.11เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุน ประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม (มาตรา42 (25)) 1.12เงินค่าทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้เฉพาะที่ดินที่ต้องเวนคืน และอสังหาริมทรัพย์อื่นบน ที่ดินที่ต้องเวนคืน(มาตรา42 (17)ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (29)) 1.13 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือ การฌาปนกิจสงเคราะห์ (มาตรา42 (13))

  29. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 2. เพื่อส่งเสริมอาชีพหรือธุรกิจบางอย่าง 2.1 เงินได้จากการขาย หรือส่วนลดจากการซื้ออากร แสตมป์หรือแสตมป์ไปรษณียากรของรัฐบาล (มาตรา42 (6)) 2.2 เงินได้ของชาวนาที่ได้จากการขายข้าว อันเกิดจาก กสิกรรมที่ตนและหรือครอบครัวได้ทำเอง (มาตรา42 (15))

  30. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 2. เพื่อส่งเสริมอาชีพหรือธุรกิจบางอย่าง(ต่อ) 2.3 เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลาก กินแบ่งของรัฐบาล (มาตรา42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (2)) 2.4 เงินได้จากการขายสินค้ายาสูบ ที่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลังได้เสียภาษีเงินได้แทนผู้ขายสินค้าดังกล่าวทุกทอด ตามมาตรา 48 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (มาตรา42 (17) ประกอบกับ กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ข้อ 2 (19))

  31. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 2. เพื่อส่งเสริมอาชีพหรือธุรกิจบางอย่าง (ต่อ) 2.7  เงินได้ที่นักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์ซึ่งมีภูมิลำเนา อยู่ในต่างประเทศได้รับอันเนื่องมาจากการเสดงภาพยนตร์ต่างประเทศซึ่ง ดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ (มาตรา42 (17) ประกอบกับ กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (84))

  32. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เงินได้ประเภทที่ 8 ค่าจ้างนักแสดงสาธารณะ กรณีมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ (อัตราก้าวหน้า)เว้นแต่นักแสดงสาธารณะที่เป็น นักแสดงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ เฉพาะกรณีที่มีการดำเนินการถ่ายทำ ภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำในประเทศไทยจากคณะอนุกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. 2544 หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0

  33. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 3. เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ ในตลาดทุนและตลาดเงิน • 3.1 ดอกเบี้ยดังต่อไปนี้ •         (ก) ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสิน ของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก        (ข) ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์        (ค) ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรที่ต้องจ่าย คืนเมื่อทวงถามประเภทออมทรัพย์ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ย ดังกล่าวในจำนวนรวมกันทั้งสิ้นไม่เกิน 20,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น ทั้งนี้ ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด (มาตรา42 (8) (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (38))

  34. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 3. เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ ในตลาดทุนและตลาดเงิน (ต่อ) • 3.2 ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (มาตรา42 (17) กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (22)) • 3.3 ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับธนาคารในประเทศ หรือ ดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจากการฝากเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ตามกฎหมายว่า ด้วยสหกรณ์ ในประเทศ และต้องเป็นดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากการฝากเงินเป็น รายเดือนติดต่อกันมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือนนับแต่วันที่เริ่มฝาก โดยมี ยอดเงินฝากแต่ละคราวเท่ากันแต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน และรวมทั้ง หมดแล้วต้องไม่เกิน 600,000 บาท (พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539)

  35. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 3. เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ ในตลาดทุนและตลาดเงิน (ต่อ) • 3.4 ดอกเบี้ยและรางวัลสลากออมทรัพย์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร แต่ไม่รวมถึงดอกเบี้ยซึ่งผู้รับมิใช่ผู้ทรงคนแรก ทั้งนี้ สำหรับ สลากออมทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2545 เป็นต้นไป (มาตรา 42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (60)) • 3.5 ดอกเบี้ยที่ได้รับตามมาตรา 4 ทศ (มาตรา42 (19)) • 3.6 ดอกเบี้ยเงินสะสมที่ได้รับจากรัฐวิสาหกิจซึ่งมิใช่บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ในอัตราเดียวกับที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการ และ รัฐวิสาหกิจผู้จ่ายเงินมิได้ออกค่าภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวให้ (มาตรา42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (11))

  36. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 3. เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ ในตลาดทุนและตลาดเงิน (ต่อ) • 3.7 เงินได้จากการเป็นสมาชิกสหกรณ์เฉพาะส่วนเงินได้ ที่เป็น เงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืน (พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่40) พ.ศ. 2514) • 3.8 เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นหุ้นกู้หรือพันธบัตร(มาตรา 42 • (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (23)) • 3.9 เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใน • ประเทศสมาชิกอาเซียน ที่มีการซื้อขายผ่านระบบที่ตลาดหลักทรัพย์แห่ง • ประเทศไทยจัดให้มีขึ้นเพื่อเชื่อมโยงการซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ • สมาชิกอาเซียน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่เป็นตั๋วเงินคลัง • พันธบัตร ตั๋วเงิน หรือหุ้นกู้ (มาตรา 42 (17) กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (85))

  37. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี • 4. เพื่อส่งเสริมการศึกษา • 4.1 เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบ ที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้ (มาตรา 42 (7)) • 4.2 รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ รางวัลสลาก กินแบ่งหรือสลากออมสินของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการ ประกวดหรือแข่งขัน ซึ่งผู้รับมิได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน หรือสินบนรางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการปราบปราม กระทำความผิด (มาตรา 42 (11))

  38. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี • 5. เพื่อตอบแทนการทำคุณประโยชน์ (ต่อ) • 5.7 เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่วัด วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ เฉพาะการโอนที่ดินส่วนที่ ทำให้วัด วัดบาทหลวงโรมันคาธอลิค หรือมัสยิดมีที่ดินไม่เกิน 50 ไร่(มาตรา 42 (17) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (49))

  39. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี • 7. เพื่อมิให้มีการเก็บภาษีซ้ำซ้อน • 7.1 เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติใน ส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม(มาตรา 42 (14)) • 7.2 เงินได้ที่ได้รับจากกองมรดก ซึ่งต้องเสียภาษีตาม ความในมาตรา 57 ทวิ(มาตรา 42 (16))

  40. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี • 8. เนื่องจากเป็นมรดก • 8.1 เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก (มาตรา 42 (10)) • 8.2 การขายสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือสังหาริมทรัพย์ที่ ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แต่ไม่รวมถึงเรือกำปั่น เรือที่ มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้า ตันขึ้นไป หรือแพ (มาตรา 42 (9))

  41. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี • 8. เนื่องจากเป็นมรดก (ต่อ) • 8.3 เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือ สังหาริมทรัพย์ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา ที่ตั้งอยู่นอกเขต กรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครอง ท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ ทั้งนี้ เฉพาะเงินได้จากการ ขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น  (มาตรา 42 (17) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (17))

  42. ข้อหารือ “การยกเว้นภาษี” กรณี ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลได้แก่ เขตตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ที่อยู่นอกเขตหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล เมืองพัทยา หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ดังนั้น การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล โดยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้รับมาทางมรดกหรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา เฉพาะเงินได้จากการขายในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาทตลอดปีภาษีนั้น ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (17) (กค 0811/01818ลว. 10 กุมภาพันธ์ 2541)

  43. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี • 9. เนื่องจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี • 9.1 เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เงินได้ ที่ได้รับจากการรับมรดก หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตาม โอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี (มาตรา 42 (10))

  44. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี • 9. เนื่องจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี (ต่อ) • 9.2 เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองใน อสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มี ค่าตอบแทน บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญ ธรรมด้วย(มาตรา 42 (17) ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (18))

  45. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 10. เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ 10.1 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักรเฉพาะดอกเบี้ยเงิน ฝากประจำที่มีระยะเวลาการฝากตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ย เงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วต้องมีจำนวนทั้งสิ้นไม่เกินสามหมื่น บาทตลอดปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวเมื่อมีอายุไม่ ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดี ประกาศกำหนด(มาตรา42 (17)ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (69))

  46. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 10. เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ(ต่อ) 10.2 เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำ กว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้า หมื่นบาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด(มาตรา42 (17) ประกอบกับ กฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (72))

  47. หักยกเว้นก่อนหักค่าใช้จ่าย : เพื่อผู้สูงอายุ หลักเกณฑ์ : ให้ยกเว้นเงินได้ 190,000 บาท • ผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป • เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย • กรณีผู้มีเงินได้และคู่สมรส ต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และต่างฝ่ายเข้าหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นเงินได้คนละ 190,000 บาท • จะใช้สิทธิหักจากเงินได้ประเภทใดก็ได้ แต่สิทธิทั้งหมดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน คนละ 190,000 บาท • ต้องเป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง • กรณีสามีภริยามีเงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล Slide 47

  48. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 10. เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ(ต่อ) 10.3 บำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และ กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่ 11 พ.ย.2546 10.4 เงินที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ ซึ่งพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย พนักงานการรถไฟแห่ง ประเทศไทย และพนักงานธนาคารออมสินได้รับ โดยมีอัตราและวิธีการคำนวณ เช่นเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและ กฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่ 10 มี.ค.2547 เป็น ต้นไป(มาตรา42 (17)ประกอบกับ กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (64) (73))

  49. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 10. เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ(ต่อ) 10.5เงินได้ที่มีลักษณะเดียวกับบำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ซึ่งเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยได้รับโดยมีอัตราและวิธีการคำนวณเช่นเดียวกับ บำเหน็จดำรงชีพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกฎหมายว่า ด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

  50. 2. ฐานภาษี (ต่อ) การยกเว้นภาษี การยกเว้นภาษี จัดแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการยกเว้นได้ 10 กรณี 10. เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตาม กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการซึ่งเป็นผู้ อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทสำหรับปีภาษี นั้นทั้งนี้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ วันที่๑มกราคมพ.ศ.๒๕๕๓เป็นต้นไป  และให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด(มาตรา42 (17) ประกอบ กับกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (81)) และประกาศอธิบดีฯ 197)

More Related