200 likes | 443 Views
ระบบความปลอดภัย ( Security ). น.ส.ศศิธร ลิจันทร์พร 06510202 คณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา. สารบัญ. ประวัติของการรักษาความปลอดภัย ความหมายของระบบรักษาความปลอดภัย ประเภทของระบบรักษาความปลอดภัย องค์ประกอบของระบบรักษาความปลอดภัย เครื่องมือสำหรับการรักษาความปลอดภัย
E N D
ระบบความปลอดภัย (Security) น.ส.ศศิธร ลิจันทร์พร 06510202 คณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา
สารบัญ • ประวัติของการรักษาความปลอดภัย • ความหมายของระบบรักษาความปลอดภัย • ประเภทของระบบรักษาความปลอดภัย • องค์ประกอบของระบบรักษาความปลอดภัย • เครื่องมือสำหรับการรักษาความปลอดภัย • เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย • บทบาทของระบบรักษาความปลอดภัย • ประโยชน์ ของระบบรักษาความปลอดภัย • บรรณานุกรม
ประวัติของการรักษาความปลอดภัยประวัติของการรักษาความปลอดภัย รูปแบบของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สินอื่นๆนั้นได้มีวิวัฒนาการกับกาลเวลาเหมือนกับสังคมและเทคโนโลยีอื่นๆ การเรียนรู้และเข้าใจวิวัฒนาการนี้จะช่วยให้เข้าใจระบบการรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน และอาจเป็นบทเรียนที่ช่วยให้เราไม่ต้องทำผิดเหมือนกับที่เกิดขึ้นในอดีตได้
ความหมายของระบบรักษาความปลอดภัยความหมายของระบบรักษาความปลอดภัย ระบบรักษาความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์ คือ สิ่งที่คอยปกป้องคุ้มครองคอมพิวเตอร์และสิ่งที่เกี่ยวข้อง ให้พ้นจากอันตรายและการสาบสูญ ทุกสิ่งที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะได้รับการคุ้มครองจากระบบรักษาความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ ทรัพย์สิน ภูมิปัญญา ข้อมูล รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ประเภทของระบบรักษาความปลอดภัยประเภทของระบบรักษาความปลอดภัย 1.การรักษาความปลอดภัยด้านกายภาพ (Physical Security) 2.การรักษาความปลอดภัยด้านการสื่อสาร (Communication Security) 3.การรักษาความปลอดภัยการแผ่รังสี (Emission Security) 4.การรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ (Computer Security) 5.การรักษาความปลอดภัยเครือข่าย (Networ k Security) 6.การรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Information Security)
องค์ประกอบของระบบรักษาความปลอดภัยองค์ประกอบของระบบรักษาความปลอดภัย
การที่จะบอกได้ว่าข้อมูลนั้นมีความปลอดภัยหรือไม่ ต้องวิเคราะห์จากคุณสมบัติทั้ง 3 ด้านคือ ความลับ ความคงสภาพ และความพร้อมใช้งานว่ามีครบหรือไม่ ถ้าขาดคุณสมบัติด้านใดด้านหนึ่งก็แสดงว่าข้อมูลนั้นไม่มีความปลอดภัย ดังนั้น ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจึงเป็นระบบที่ต้องปกป้องรักษาคุณสมบัติทั้ง 3 ด้านของข้อมูล ความปลอดภัยของข้อมูลนั้นขึ้นอยู่กับการรักษาไว้ซึ่งคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.ความลับของข้อมูล (Confidentiality) การรักษาความลับของข้อมูล หมายถึง การทำให้ข้อมูลสามารถเข้าถึงหรือเปิดเผยได้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาติ 2.ความคงสภาพของข้อมูล (Integrity) ความคงสภาพของข้อมูล (Integrity)หมายถึง การทำให้ข้อมูลมีความเชื่อถือได้ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ความถูกต้องของเนื้อหาข้อมูลปละความถูกต้องของแหล่งที่มาของข้อมูล แหล่งที่มาของข้อมูลอาจมีผลต่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล
3.ความพร้อมใช้งานของข้อมูล (Availability) การรักษาไว้ซึ่งความพร้อมต่อการใช้งาน หมายถึง การให้ผู้ที่ได้รับอนุญาติสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เมื่อต้องการ http://www. learners.in.th/blog/9virus/195531
เครื่องมือสำหรับการรักษาความปลอดภัยเครื่องมือสำหรับการรักษาความปลอดภัย ถึงแม้ว่าการปกป้องข้อมูลเป็นสิ่งที่มีลำดับความสำคัญสูงสุด แต่การดูแลรักษาระบบหรือเครือข่ายให้ทำงานอย่างถูกต้องก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการปกป้องข้อมูลที่อยู่ในเครือข่ายนั้น ถ้ามีช่องโหว่ของระบบเครือข่ายที่อนุญาตให้โจมตีได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมากกว่าที่คาดไว้ และอาจใช้ทั้งเวลาและความพยายามอย่างมากที่จะทำให้ระบบกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม เราจึงจำเป็นที่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์หลายประเภทของเครื่องมือที่ใช้สำหรับระบบการรักษาความปลอดภัยให้กับระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
ไฟล์วอลล์ (Firewall) ระบบควบคุมการเข้าออกเครือข่ายซึ่งจะใช้สำหรับปกป้องเครือข่ายภายในองค์กรจากการโจมตีจากภายนอกได้โดยปกติแล้วไฟล์วอลล์จะติดตั้งขวางกันระหว่างสองเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดตั้งระหว่างอินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ต ถ้าคอนฟิกอย่างถูกต้องแล้วไฟล์วอลล์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กร www.vectortech.co.th/technic_003.php
ระบบตรวจจับการบุกรุก (IDS) ระบบที่ใช้สำหรับการเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนภัยถ้ามีการบุกรุก หรือมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในระบบ บางระบบสามารถตรวจจับและหยุดการบุกรุกได้อย่างไรก็ตามปัญหาของการโจมตีเครือข่ายนั้นก็คล้ายไวรัส เนื่องจากการโจมตีนั้นผู้บุกรุกจะพยายามโจมตีช่องโหว่หรือจุดอ่อนของระบบและเนื่องจากมีการค้นพบช่องโหว่หรือจุดอ่อนใหม่ๆ เป็นประจำ
การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption) เป็นกลไกหลักสำหรับป้องกันข้อมูลที่อยู่ระหว่างการสื่อสาร ถ้ามีการเข้ารหัสที่ดีข้อมูลก็จะถูกป้องกันไม่ให้สามารถอ่านได้จากผู้ที่ไม่ประสงค์ดี ผู้ใช้ที่ส่ง และรับจะต้องสามารถเข้าและถอดรหัสข้อมูลนี้ได้ ระบบการเข้า และถอดรหัสไม่สามารถจะแยกแยะได้ระหว่างผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตหรือบุกรุกถ้าผู้นั้นมีคีย์สำหรับการถอดรหัสข้อมูล
ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส (AntiVirus Software) ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการป้องกัน และการรักษาความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ ถ้ามีการติดตั้งและการใช้งานอย่างถูกต้อง มันสามารถที่จะลดความเสี่ยงต่อโปรแกรมประสงค์ร้ายได้ การใช้งานซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสนั้นจำเป็นที่ต้องอัพเดตฐานไวรัสซิกเนเจอร์ (Virus Signature) เป็นประจำพร้อมทั้งสแกนระบบเป็นประจำเช่นกัน
เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัย ระบบรักษาความปลอดภัย หรือระบบกันขโมยปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน หลายประเภท แต่หลักๆแล้ว จะใช้กันอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆ คือ • ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) • ระบบสัญญาณกันขโมย(Alarm system) • ระบบการควบคุมการเข้าออก (Access control) • ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัย (Fire alarm) ซึ่งแต่ระบบนั้นมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การที่ จะเลือกใช้ระบบใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการนั่นเอง
ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ระบบสัญญาณกันขโมย (Alarm system)
ระบบการควบคุมการเข้าออก (Access control) ระบบแจ้งเตือนอัคคีภัย (Fire alarm)
บทบาทของระบบรักษาความปลอดภัยบทบาทของระบบรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนบุคคล (Privacy) การระบุตัวตน (Identification) การพิสูจน์ทราบตัวตน (Authentication) การตรวจสอบได้ (Accountability) การอนุญาตใช้งาน (Authorization)
ประโยชน์ของระบบรักษาความปลอดภัยประโยชน์ของระบบรักษาความปลอดภัย • ดูแลและควบคุมระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล • ลดความเสี่ยงและเสียหายที่อาจเกิดจากความผิดพลาดของคน การขโมย และ การใช้งานระบบในทางที่ผิด • ทำให้มั่นใจว่าผู้ใช้มีความระมัดระวังเกี่ยวกับภัยคุกคามต่อการรักษาความปลอดภัย • ป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ป้องกันการสูญเสียและการดัดแปลงป้องกันการให้บริการทางเครือข่าย • เพื่อทำให้มั่นใจว่าระบบนั้นทำงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัย รักษาคงสภาพ และพร้อมใช้งาน
บรรณานุกรม • จตุชัย แพงจันทร์.Master in Security.นนทบุรี:ไอดีซี อินโฟ ดิสทริบิวเตอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด,2550 • กระทรวงศึกษาธิการ.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและการสื่อสาร ICT..กรุงเทพฯ,2548 • ทศพล กนกนุวัตร์.How To Protect from Hackers.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น,2542