600 likes | 1.2k Views
การจัดทำแบบประเมินของพนักงาน สายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป. มาทำความเข้าใจการกรอกแบบประเมินนะ คร๊าบ. 1. ระเบียบมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วย การสรรหา การคัดเลือก และการทดลองปฏิบัติงาน พ.ศ. 2550. หมวด ๓ การบรรจุแต่งตั้ง
E N D
การจัดทำแบบประเมินของพนักงาน สายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป มาทำความเข้าใจการกรอกแบบประเมินนะคร๊าบ 1
ระเบียบมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงว่าด้วย การสรรหา การคัดเลือก และการทดลองปฏิบัติงาน พ.ศ. 2550 หมวด ๓ การบรรจุแต่งตั้ง ข้อ ๑๑ การบรรจุแต่งตั้งเป็นพนักงาน ให้บรรจุแต่งตั้งโดยใช้ระบบสัญญาจ้างที่มี กำหนดระยะเวลาดังนี้ (๑) สัญญาแรก ๑ ปี สัญญาที่สอง ๒ ปี และสัญญาต่อไปคราวละ ๓ ปี หรือ (๒) ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 2
หมวด ๔ การประเมิน • ข้อ ๑๒ ให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานของพนักงานที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งในระดับแรกเข้า เป็นระยะเวลา ๓ - ๖ เดือน หรือตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด เว้นแต่พนักงานซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ หรือความชำนาญงาน อาจให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานตามระยะเวลาดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ตามที่มหาวิทยาลัยเห็นสมควร • ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการประเมินทำการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานของพนักงานเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด • ข้อ ๑๔ เมื่อพนักงานได้ปฏิบัติงานตามความในข้อ ๑๒ แล้ว และมีผลการประเมินว่าเป็นผู้มีความสามารถเหมาะสมในด้านการปฏิบัติงาน ด้านความประพฤติ และด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตลอดจนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ได้รับบรรจุแต่งตั้งให้คณะกรรมการประเมินรายงานผลต่ออธิการบดี เพื่อพิจารณาให้พนักงานปฏิบัติงานจนสิ้นสุดสัญญาจ้าง หรือพิจารณาความดีความชอบต่อไป 3
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่พนักงานมีผลการประเมินไม่ผ่าน อธิการบดีโดยความเห็นของคณะกรรมการประเมินอาจพิจารณาให้มีการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานอีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อรวมระยะเวลาการปฏิบัติงานเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว ต้องไม่เกินระยะเวลาตามสัญญาจ้างแรก หรือไม่เกิน ๑ ปี ทั้งนี้ให้คณะกรรมการประเมินติดตามและประเมินการทดลองปฏิบัติงานให้เสร็จสิ้น ถ้าผลการประเมินผ่าน ก็ให้ดำเนินการตามระเบียบนี้ต่อไป หากพนักงานยังคงมีผลการประเมินไม่ผ่าน และคณะกรรมการประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะให้ผู้นั้นออกจากงาน ให้คณะกรรมการประเมินรายงาน ไปยังอธิการบดีเพื่อพิจารณาไม่ต่อสัญญาจ้าง หรือสั่งให้ออกจากงานโดยให้มีผลเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าวตามแต่กรณีและไม่มีสิทธิได้รับเงินสะสมกองทุนเงินสะสมสมทบในส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดให้ ทั้งนี้ให้รายงานคณะกรรมการบริหารงานบุคคลทราบต่อไป • ข้อ ๑๖ เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่บรรจุแต่งตั้ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนด อย่างต่อเนื่อง ทุกภาคการศึกษา ทั้งนี้ให้นำผลการประเมินดังกล่าวมาเป็นผลเพื่อประกอบการพิจารณาต่อเพื่อต่อสัญญาจ้าง หรือพิจารณาความดีความชอบแล้วแต่กรณี 4
ข้อพึงระวังสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานข้อพึงระวังสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน • การประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีผู้รับการประเมินต้องมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานในแต่ละรอบการประเมินไม่ต่ำกว่า 3 เดือน • ในกรณีที่พนักงานมีผลการประเมินไม่ผ่าน อธิการบดีโดยความเห็นของคณะกรรมการประเมินอาจพิจารณาให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอีกครั้งหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขให้ขยายระยะเวลาออกไป 3 – 6 เดือนเพื่อให้ผู้รับการประเมินปรับปรุงและพัฒนางานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ หรืออาจจะพิจารณาให้ต่อสัญญาจ้างโดยไม่เป็นไปตามระยะเวลาปกติ ตัวอย่างเช่น การพิจารณาต่อสัญญาจ้างที่ 2 (ระยะเวลา 2 ปี) ของนาย ก คณะกรรมการมีความเห็นว่าผลการปฏิบัติงานของนาย ก ไม่มีการพัฒนาและปรับปรุงงานมากนัก จึงมีมติให้ต่อสัญญาจ้างเพียง 1 ปี เพื่อให้นำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไข โดยเมื่อครบ 1 ปี จึงจะให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอีกครั้งว่านาย ก สามารถปรับปรุงพัฒนาได้ตามข้อเสนอแนะหรือไม่ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการประเมินติดตามและประเมินการปฏิบัติงานให้เสร็จสิ้น ถ้าผลการประเมินผ่านก็ให้ดำเนินการตามระเบียบนี้ต่อไป
ข้อพึงระวังสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) • หากพนักงานยังคงมีผลการประเมินไม่ผ่าน และคณะกรรมการประเมินพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะให้ผู้นั้นออกจากงาน ให้คณะกรรมการประเมินรายงานไปยังอธิการบดีเพื่อพิจารณาไม่ต่อสัญญาจ้าง หรือสั่งให้ออกจากงานโดยให้มีผลเมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าวตามแต่กรณีและไม่มีสิทธิได้รับเงินสะสมกองทุนเงินสะสมสมทบในส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดให้ ทั้งนี้ให้รายงานคณะกรรมการบริหารงานบุคคลทราบต่อไป • การไม่ได้เลื่อนขึ้นเงินเดือนติดต่อกัน 2 ปี จะมีผลต่อการถูกปลดออกจากงานซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วย การบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2547 หมวด 8 การออกจากงาน ข้อ 54 (4) และข้อบังคับมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง ว่าด้วย การบริหารงานบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2547 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมระบุว่า “เมื่อพนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยผู้ใดไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีติดต่อกัน 2 ปี เว้นแต่กรณีเงินเดือนเต็มขั้น”
ข้อพึงระวังสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) พนักงานที่มีคุณสมบัติ และผลการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปี (ตามประกาศมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นเงินเดือนประจำปี) • มีระยะเวลาการปฏิบัติงานในรอบปีการประเมินรวมทั้งสิ้นน้อยกว่า 8 เดือน • มาทำงานสายเกิน 12 วัน (ยกเว้นสายวิชาการ) • มีวันลากิจ ลาป่วยธรรมดาเกิน 15 ครั้ง และเกิน 30 วัน หรือมีวันลาป่วยซึ่งต้องใช้เวลานานในการรักษาพยาบาลเกิน 60 วัน • มีวันลาคลอดเกิน 90 วัน • มีวันลาอุปสมบทเกิน 100 วัน
ข้อพึงระวังสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) พนักงานที่มีคุณสมบัติ และผลการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นเงินเดือนประจำปี (ตามประกาศมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นเงินเดือนประจำปี) • ลาไปประกอบพิธีฮัจย์เกิน 70 วัน • ขาดงานอันมิใช่เป็นเพราะเหตุสุดวิสัย • ถูกลงโทษทางวินัย • มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ไม่ผ่าน • เงินเดือนเต็มขั้น
รายละเอียดของแบบประเมินผลการปฏิบัติงานรายละเอียดของแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปจะเป็นการประเมินจากปริมาณงานตามภารกิจและคุณภาพของงานโดยแบบประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานสายสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ประวัติส่วนตัว • เป็นข้อมูลส่วนตัวของพนักงานสำหรับใช้ประกอบการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงาน 9
รายละเอียดของแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) ส่วนที่ 2 ข้อมูลประกอบการพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงาน 1. ผลการปฏิบัติงานตามภาระงานงานตามภาระงานแบ่งออกเป็น 1.1 ภาระงานหลัก หมายถึง งานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบโดยตรงของพนักงานนั้นๆ เป็นรายบุคคล 1.2 ภาระงานรอง หมายถึง งานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นภาระหน้าที่ นอกเหนือจากงานหลัก โดยได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาหรือมหาวิทยาลัย 1.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย 10
การคิดสัดส่วนปริมาณงานให้กำหนดดังนี้การคิดสัดส่วนปริมาณงานให้กำหนดดังนี้ • ภาระงานหลักมีปริมาณงาน 70% • ภาระงานรองมีปริมาณงาน 20% • การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย 10 % **สำหรับการคิดปริมาณงานย่อยในแต่ละภาระงานให้ขึ้นกับการมอบหมายงานที่ผู้บังคับบัญชาได้มอบให้ ทั้งนี้ สัดส่วนของปริมาณงานตามภาระงานสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละส่วนงาน 11
2. ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและพฤติกรรม เป็นการประเมินการปฏิบัติงานและพฤติกรรมของพนักงานนั้นๆ เป็นรายบุคคลโดยจะมีหัวข้อการประเมินดังนี้ • ความสามารถในการปฏิบัติงานให้บรรลุหรือมากกว่าเป้าหมายตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย • ความเอาใจใส่ในการปฏิบัติงานด้วยความถูกต้อง แม่นยำ ประณีตเรียบร้อย • การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการนำแนวความคิดหรือแนวปฏิบัติใหม่ๆ มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย • มีความรู้ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญในภาระงานที่รับผิดชอบ • ปฏิบัติงานตามคำแนะนำของผู้บังคับบัญชาด้วยความรับผิดชอบ • สามารถปฏิบัติงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น • อุทิศตนให้กับงานโดยไม่ย่อท้อ สม่ำเสมอ ด้วยความอุตสาหะ วิริยะ • ความซื่อสัตย์ต่อองค์กร เสริมสร้างให้ตนและหน่วยงานมีชื่อเสียง • ประพฤติตนอยู่ในกรอบของศีลธรรมอันดีงาม มีจรรยาบรรณวิชาชีพอย่าง เสมอต้นเสมอปลาย • สามารถแก้ปัญหาและมีการตัดสินใจอย่างรอบคอบ รวดเร็ว 12
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นของผู้รับการประเมิน เป็นความคิดเห็นโดยทั่วไปของผู้รับการประเมินไม่นำมาพิจารณาประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น • ความต้องการในการพัฒนาตนเอง • งานที่มีความภูมิใจ • สิ่งที่อยากให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือ • ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะทั่วไป 13
การกำหนดสัดส่วนคะแนนคุณภาพการกำหนดสัดส่วนคะแนนคุณภาพ ส่วนที่ 1 ให้พิจารณาคุณภาพงานแต่ละงานในปริมาณงานที่พนักงานได้ปฏิบัติบรรลุตามเป้าหมายและมีคุณภาพในระดับใด โดยให้คะแนนคุณภาพ 1 - 5 ส่วนที่ 2ให้คะแนนคุณภาพตามความรู้ความสามารถในการปฏิบัติรวมถึงพฤติกรรม โดยให้คะแนนคุณภาพ 1–5 • คะแนนในส่วนที่ 1 คิด 50 % • คะแนนในส่วนที่ 2 คิด 50 % • รวมคะแนน ส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 2 เป็น 100% 14
รอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ • การประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน ระยะเวลา 3 – 6 เดือน หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด • การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง สัญญาที่ 1 ระยะเวลา 1 ปี สัญญาที่ 2 ระยะเวลา 2 ปี สัญญาที่ 3 ระยะเวลา 3 ปี หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด • การประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีเพื่อพิจารณาความดีความชอบจะดำเนินการประเมินปีละ 2 ครั้ง โดยมีรอบการประเมิน ดังนี้ ครั้งที่ 1 :เดือน มิถุนายน(ปีที่ผ่านมา) – พฤศจิกายน(ปีที่ผ่านมา) ประเมินในเดือน ธันวาคม (ปีที่ผ่านมา) ครั้งที่ 2 :เดือน ธันวาคม(ปีที่ผ่านมา) – พฤษภาคม (ปีปัจจุบัน) ประเมินในเดือน มิถุนายน (ปีปัจจุบัน) 16
การนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้การนำผลการประเมินผลการปฏิบัติงานไปใช้ 1.เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปี 2.เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน และ/หรือพิจารณาต่อสัญญาจ้าง 3. เพื่อประกอบการพิจารณาเลื่อน/เปลี่ยนระดับ ตำแหน่งหรือโยกย้ายหน่วยงาน 4. เพื่อสามารถนำจุดเด่นหรือศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมหาวิทยาลัยและสามารถนำจุดด้อยไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไข 17
องค์ประกอบคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์ประกอบคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน • ตามระเบียบว่าด้วยสรรหา การเลือกสรร การคัดเลือก และการทดลองปฏิบัติงาน พ.ศ.2550 ข้อที่ 7 ระบุไว้ว่า ให้อธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 9 คน เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงาน ของพนักงาน 18
คณะกรรมการการประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการการประเมินผลการปฏิบัติงาน • การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง องค์ประกอบคณะกรรมการประเมินฯ ดังนี้ • รองอธิการบดีที่อธิการบดีเป็นผู้มอบหมาย ประธาน • รองอธิการบดีที่กำกับดูแล กรรมการ • หัวหน้าหน่วยงาน กรรมการ • หัวหน้าส่วนการเจ้าหน้าที่ เลขานุการ 19
ตัวอย่าง องค์ประกอบคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง • กรณีที่หน่วยงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดี (นางพรทิพย์ ภูติโยธิน) รองอธิการบดี (นางพรทิพย์ ภูติโยธิน) ประธานกรรมการ หัวหน้าส่วนการเงินและบัญชี กรรมการ หัวหน้าฝ่ายหรือพนักงานอาวุโสในหน่วยงาน กรรมการ หัวหน้าส่วนการเจ้าหน้าที่ เลขานุการ • กรณีที่หน่วยงานไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรองอธิการบดี (นางพรทิพย์ ภูติโยธิน) รองอธิการบดี (นางพรทิพย์ ภูติโยธิน) ประธานกรรมการ รองอธิการบดี (รศ.กัลณกา สาธิตธาดา) กรรมการ หัวหน้าส่วนบริการงานวิจัย กรรมการ หัวหน้าส่วนการเจ้าหน้าที่ เลขานุการ 20
ประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีประเมินประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีประเมิน คณะกรรมการประเมินพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหาร ทั่วไปในสังกัดศูนย์หรือสำนักวิชา มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1. ผู้อำนวยการศูนย์ / คณบดี ประธานกรรมการ 2. หัวหน้าสาขาหรือผู้แทน กรรมการ 3. ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ผู้ที่ได้รับการยอมรับ) กรรมการ 4. ผู้ที่ผู้อำนวยการศูนย์ / คณบดี แต่งตั้งเลขานุการ 21
ประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีประเมินประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีประเมิน คณะกรรมการประเมินพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปในสังกัด ส่วนงาน /หน่วยงาน มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1. หัวหน้าส่วนงาน / หัวหน้าหน่วยงาน ประธานกรรมการ 2. หัวหน้าฝ่ายหรือพนักงานอาวุโสในส่วนงาน กรรมการ 3. ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ผู้ที่ได้รับการยอมรับ) กรรมการ 4. ผู้ที่หัวหน้าหน่วยงานแต่งตั้ง เลขานุการ หมายเหตุ องค์ประกอบคณะกรรมการประเมินมีวาระ 2 ปี 22
มาดูตัวอย่างนะค่ะ ตัวอย่าง การจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ของพนักงาน 1 ราย (นาย ก) เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552 (วันที่บรรจุ) จะสิ้นสุดสัญญาที่ 1 วันที่ 31 สิงหาคม 2553 (สัญญาจ้างแรก 1 ปี) 23
ลำดับที่ 1. การประเมินผลการทดลองงานระยะเวลา 6 เดือน วันบรรจุ 1 กันยายน 2552 ครบระยะเวลาประเมินทดลองงาน 28 กุมภาพันธ์ 2553 • ส่วนการเจ้าหน้าที่จะดำเนินการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงาน ระยะ 6 เดือนแรก คำชี้แจง • ผู้รับการประเมินไม่ต้องจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานส่งให้กับ ส่วนการเจ้าหน้าที่ • ส่วนการเจ้าหน้าที่จะดำเนินการประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานระยะ 6 เดือนแรก โดยการจัดส่งแบบประเมินศักยภาพการปฏิบัติงานให้หัวหน้าหน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการประเมินและส่งผลการประเมินให้กับส่วนการเจ้าหน้าที่ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อแจ้งผลให้กับพนักงานทราบ 24
Flowchart การประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานระยะ 6 เดือนแรก 25
ลำดับที่ 2. การประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีประเมิน ครั้งที่ 1 วันบรรจุ 1 กันยายน 2552 ครบระยะเวลาประเมินตามรอบปี ครั้งที่ 1 เนื่องจากพนักงานอยู่ในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปี ครั้งที่ 1 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2552 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 ดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว นาย ก ต้องจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามรอบปี ครั้งที่ 1/2553 (เนื่องจากอายุงานครบ 3 เดือน) คำชี้แจง • การประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปี ครั้งที่ 1 :เดือน มิถุนายน(ปีที่ผ่านมา) – พฤศจิกายน(ปีที่ผ่านมา) ประเมินในเดือน ธันวาคม(ปีที่ผ่านมา) 26
ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปี • ส่วนการเจ้าหน้าที่ดำเนินการสรุปวันลาและจัดเตรียมเอกสารประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปี • ส่วนการเจ้าหน้าที่จัดส่งเอกสารประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ • หน่วยงานต่างๆ ส่งรายชื่อคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานมายัง ส่วนการเจ้าหน้าที่ • ส่วนการเจ้าหน้าที่จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน • หน่วยงานต่างๆทำการจัดประชุมประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาความดีความชอบและนำเสนอผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไป 27
ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปี (ต่อ) • ส่วนการเจ้าหน้าที่รวบรวมผลการประเมิน แบบประเมินผลการปฏิบัติงานและแบบแจ้งผลการประเมิน • ส่วนการเจ้าหน้าที่ดำเนินการสรุปผลคะแนนเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบ (ขึ้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ) • ส่วนการเจ้าหน้าที่ส่งแบบประเมินคืนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐานต่อไป • หน่วยงานต่างๆ แจ้งผลการประเมินการปฏิบัติงานให้ผู้ถูกประเมินทราบ หมายเหตุ ผู้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีต้องมีอายุงานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน 28
Flowchart การประเมินผลการปฏิบัติตามรอบปี 29
ลำดับที่ 3. การประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปีประเมิน ครั้งที่ 2 วันบรรจุ 1 กันยายน 2552 ครบระยะเวลาประเมินตามรอบปี ครั้งที่ 2 เนื่องจากพนักงานอยู่ในช่วงการประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปี ครั้งที่ 2 ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 ดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว นาย ก ต้องจัดทำแบบประเมินผล การปฏิบัติงานตามรอบปี ครั้งที่ 2/2553 คำชี้แจง ครั้งที่ 2 :เดือน ธันวาคม(ปีที่ผ่านมา) – พฤษภาคม (ปีปัจจุบัน) ประเมินในเดือน มิถุนายน (ปีปัจจุบัน) 30
ลำดับที่ 4. การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง วันบรรจุ 1 กันยายน 2552 ครบระยะเวลาประเมินเพื่อพิจารณา ต่อสัญญาจ้าง วันที่ 31 สิงหาคม 2553 (สัญญาแรก 1 ปี ) ดังนั้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว นาย ก ต้องจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้างสัญญาที่ 2 (ระยะเวลา 2 ปี) • คำชี้แจง • นาย ก ต้องจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง • ส่วนการเจ้าหน้าที่จะแจ้งเป็นหนังสือให้นาย ก จัดทำแบบประเมินฯ และจัดส่งให้กับส่วนการเจ้าหน้าที่ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 31
ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้างขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง • จัดเตรียมรายชื่อพนักงานที่จะหมดสัญญาจ้างไว้ล่วงหน้า 3 เดือน (ก่อนหมดสัญญาจ้าง) • จัดส่งบันทึกข้อความถึงพนักงานก่อนที่จะหมดสัญญาจ้างล่วงหน้า 2 เดือนเพื่อให้พนักงานส่งแบบประเมิน จำนวน 5 ชุด • จัดส่งบันทึกข้อความถึงผู้บังคับบัญชาผู้ประเมินก่อนที่จะหมดสัญญาจ้างล่วงหน้า 2 เดือนเพื่อขอผลคะแนนประเมินศักยภาพในการทำงานของพนักงาน • จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน 32
ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง (ต่อ) • จัดเตรียมเอกสารประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเวียนให้คณะกรรมการ พิจารณา ซึ่งประกอบด้วย วาระการการประชุม แบบสรุปผลการปฏิบัติงาน ผลการประเมินศักยภาพพนักงาน แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน แฟ้มประวัติพนักงาน • ดำเนินการประชุมตามวันเวลาและสถานที่ที่นัดหมายไว้พร้อมทั้งบันทึกผลการประเมินลงใน แบบสรุปผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนเพื่อให้คณะกรรมการลงนาม 33
ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง (ต่อ) • จัดทำบันทึกแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา และผู้รับการประเมินรับทราบผล การประเมิน 8. จัดทำสัญญาจ้างพนักงาน 9. จัดเก็บเอกสารฉบับจริงไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งแบบประเมิน และเอกสารแนบกลับคืนให้ผู้รับการประเมิน 34
Flow chart การประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง 35
สรุป ช่วงระยะเวลา 1 กันยายน 2552 – 31 สิงหาคม 2553 (สัญญาที่ 1 ระยะเวลา 1 ปี) • นาย ก ได้ดำเนินการจัดทำแบบประเมิน ดังนี้ • การประเมินผลการทดลองปฏิบัติงานระยะ 6 เดือนแรก (ไม่ต้องกรอกภาระงานในแบบประเมิน เนื่องจากส่วนการเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ดำเนินการ และจะแจ้งให้นาย ก รับทราบผลการประเมินภายหลัง) • จัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปี ครั้งที่ 1/2553 • จัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานตามรอบปี ครั้งที่ 2/2553 • จัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง (สัญญาที่ 2 ระยะเวลา 2 ปี) 36
เทคนิคในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานเทคนิคในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ตัวอย่าง นาย ก เริ่มบรรจุงาน 1 กันยายน 2552 – 31 สิงหาคม 2553 • จัดทำแบบประเมินตามรอบปี ครั้งที่ 1/2553 • จัดทำแบบประเมินตามรอบปี ครั้งที่ 2/2553 *ผลการประเมินรอบปี ครั้งที่ 1/2553 และครั้งที่ 2/2553 จะนำมา ประกอบการพิจารณาความดีความชอบ (การขึ้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ 2554) 37
เทคนิคในการจัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน (ต่อ) 3. จัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง(สัญญาที่ 2) ทั้งนี้การกรอกภาระงานให้นำภาระงานที่ได้จัดทำไปในการประเมินตามรอบปี ครั้งที่ 1/2553 และ 2/2553 มารวมกัน + ภาระงานเดือนพฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ได้จัดทำภาระงานเสร็จสิ้น เช่น ส่วนการเจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้ส่งภาระงานภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2553 นาย ก จัดทำภาระงานเสร็จสิ้นในวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 ก็ถือว่า วันนั้นเป็นวันสุดท้ายของการกรอกภาระงานไม่จำเป็นต้องรอให้จนถึง วันที่สิ้นสุดสัญญาจ้าง 38
ขอบคุณค่ะ ส่วนการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 39