470 likes | 629 Views
สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์. วารสาร KM โรงพยาบาลเลิศสิน. วิทยากรโดย นพ.ปรีชา ชื่นวิภาสกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลเลิศสิน. วิชาชีพบรรณารักษ์
E N D
สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์
วารสาร KM โรงพยาบาลเลิศสิน • วิทยากรโดย นพ.ปรีชา ชื่นวิภาสกุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ • หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลเลิศสิน
วิชาชีพบรรณารักษ์ • งานบรรณาธิการมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับวิชาชีพหนึ่งซึ่งทำงานเกี่ยวข้องกับหนังสือเหมือนกัน คือ วิชาชีพบรรณารักษ์ • ราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำนิยาม บรรณารักษ์ เป็นบุคคลที่รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินงานในห้องสมุด
ประสบการณ์ของบรรณารักษ์ที่สามารถใช้ในงานบรรณาธิการได้ประสบการณ์ของบรรณารักษ์ที่สามารถใช้ในงานบรรณาธิการได้ 1.ประเมินคุณค่าของต้นฉบับ 2.ตรวจการอ้างอิงกับหลักฐานที่อ้างเพื่อความถูกต้อง 3.แนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม 4.ตรวจกับบรรณานุกรมและเชิงอรรถ 5.ให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดหน้าและออกแบบสิ่งพิมพ์ 6.ตรวจแก้ต้นฉบับ 7.ตรวจพิสูจน์อักษร 8.เขียนคำนำ บทนำ บทบรรณาธิการ 9.แนะนำแหล่งเพื่อวางจำหน่าย
การเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ • วิทยากรโดย นายแพทย์ธวัช ประสาทฤทธา • ข้าราชบำนาญ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
เทคนิคการทำงานของ อ.ธวัช • 1.ไม่บ่น • 2.Begining with the end of mind • 3.win-win • 4.แยกแยะความสำคัญของงาน ด่วน ไม่ด่วน • 5.Synergy • 6.Shaped the saw • 7.คิดบวก ขยัน
ธวัช ประสาทฤทธา. การเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ. วารสารกรมการแพทย์ 2552;34:587-90.
วิทยากรโดย นางสาวนุชนาท บุญต่อเติม ข้าราชการบำนาญ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
KPI = Key Performance Indicator = ตัวชี้วัดผลงาน • การประเมินผลงานในระดับบุคคล คือ การวัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรคนหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามลักษณะงานของบุคลากรน้น • วัตถุประสงค์ของการประเมิน สามารถมองได้ 2 มุม คือ- มุมมองขององค์กร – ผู้บังคับบัญชา- มุมมองของบุคลากร • องค์ประกอบของการประเมิน มีดังนี้1. ผู้ประเมิน2. ผู้ถูกประเมิน3. เกณฑ์การประเมิน4. ผลการประเมิน5. การให้คำปรึกษา6. การใช้ประโยชน์
ขั้นตอนการหา KPI1. จัดกลุ่มงาน = เอา job descriptions มาดูแล้ว จัดกลุ่มงานที่มีความใกล้เคียงกันอยู่ในชุดเดียวกัน2. ผลที่คาดหวัง = ให้วิเคราะห์ผลที่คาดหวังจากแต่ละกลุ่มงาน ส่วนนี้อาจจะใช้เครื่องมือเพิ่ม คือ Balance Scorecard***3. ตัวชี้วัดผลงาน (ดูที่ PI เป็นหลัก) = ให้นำผลที่คาดหวังมาวัดผลโดยกำหนดคะแนนตาม ร้อยละของงาน, สัดส่วนของงาน, ระยะเวลา, มูลค่า, จำนวน4. ตัวชี้วัดผลงานหลัก = ให้เลือกตัวชี้วัดผลงานหลักของตำแหน่งงานออกมา 3-7 ตัว เพื่อพิจารณาอีกที โดยดูจากความสำคัญของผลงานที่มีต่อองค์กรมากที่สุด • ***Balanced Scorecard ของ ก.พ.ร.นำมาใช้ในการบริหารภาครัฐของไทย ได้มีการกำหนดกรอบ 4 มิติ ดังนี้ (1) คุณค่าด้านประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ (2) คุณค่าด้านคุณภาพการบริการ (3) คุณค่าด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ และ (4) คุณค่าด้านการพัฒนาองค์การ
หลักการของ S-M-A-R-TS = Specific = ชัดเจน ไม่คลุมเครือM = Measurable = วัดผลได้A = Achievable without compromising another result = สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยตนเอง ไม่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นๆR = Realistic = สามารถทำได้จริงและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงานT = Time framed = มีการกำหนดเวลาที่แล้วเสร็จแน่นอน
วิทยากรโดย นายแพทย์ทวีทอง กออนันตกูล • นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
บรรณารักษ์ในวงการแพทย์สามารถสนับสนุนการทำงานของแพทย์ได้อย่างไรบรรณารักษ์ในวงการแพทย์สามารถสนับสนุนการทำงานของแพทย์ได้อย่างไร
แนวคิดระบบข้อมูลใหม่ของระบบห้องสมุดด้านการแพทย์ • - อยากรู้อะไรต้องได้รู้- ทำได้ด้วยตนเอง- เรียนรู้ง่าย จำนวนคลิ๊กที่เข้าถึงข้อมูลต้องน้อยที่สุด- เมื่อส่งคำถามแล้วต้องได้คำตอบเดี๋ยวนั้นเลย- ทำกราฟ และสถิติได้หลายรูปแบบ- ฟรี ไม่ต้องตั้งงบประมาณ
แนวคิดเสริมของระบบห้องสมุดด้านการแพทย์แนวคิดเสริมของระบบห้องสมุดด้านการแพทย์ • - โปรแกรมเดียวสามารถใช้ได้ทุกงาน- ฝึกอบรมรอบเดียวก็เพียงพอ- ไม่ต้องสร้างหลายโปรแกรม- ในกรณีฉุกเฉินต่างๆ ก็สามารถใช้งานได้- พัฒนาต่อยอดได้เรื่อยๆ- ประหยัดงบประมาณ- มาตรฐานด้านเทคโนโลยี
ในปี 2541 จึงได้มีการจัดซื้อฐานข้อมูล full text ของวารสารการแพทย์ เพื่อให้บริการ โดยรูปแบบการให้บริการก็ คือ แพทย์ พยาบาล บุคลากรในหน่วยงาน สามารถติดต่อขอใช้บริการฐานข้อมูล Full text มาที่ห้องสมุดกรมควบคุมโรค (ผ่าน จดหมาย แฟกซ์ อีเมล์) แล้วทางบรรณารักษ์ก็จะค้นข้อมูลและจัดส่งเนื้อหาไปให้ • แต่ผลที่ได้ คือ 1 ปีมีคนค้นหาเพียงแค่ 53 เรื่องเท่านั้น เนื่องจากปัญหาของการซื้อฐานข้อมูลต้องดูเรื่องจำนวนสิทธิ์ในการเข้าถึงฐานข้อมูลด้วย ดังนั้นนอกหน่วยงานจึงไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้ จึงทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนเท่าที่ควร
ในปี 2549 กรมการแพทย์ได้ลงทุนในการซื้อฐานข้อมูล E-Journal ในราคา 3 ล้านบาท โดยรูปแบบการให้บริการยังคงคล้ายๆ กับการให้บริการในปี 2541 แต่คราวนี้นำเรื่องการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบ intranet และ VPN เข้ามาใช้ร่วมด้วย ทำให้แพทย์สามาารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้เมื่ออยู่ในกรมการแพทย์ ส่วนแพทย์ที่อยู่นอกองค์กรก็สามารถใช้ VPN เข้ามาใช้งานฐานข้อมูลได้ด้วย • ผลที่ได้ จำนวนการเข้าถึงฐานข้อมูลมีมากขึ้นแต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนอีกเช่นเคย เนื่องจากการใช้ VPN มากๆ บริษัทผู้ขายก็แจ้งเตือนจำนวนการใช้งานมาเป็นระยะๆ และการต่อ VPN เองก็ค่อนข้างซับซ้อน
ในปี 2554 กรมการแพทย์จึงได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือในเรื่องของฐานข้อมูลการแพทย์ โดยที่ขอความร่วมมือกับหน่วยงานการแพทย์ หรือ สถาบันการศึกษาด้านการแพทย์ที่ใหญ่ๆ เพื่อนำฐานข้อมูลมารวมกันและให้บริการแก่หน่วยงานที่ขาดงบประมาณ รูปแบบการทำงานแบบง่ายๆ คือ หน่วยงานที่มีฐานข้อมูลนำฐานข้อมูลมาลงไว้ที่ส่วนกลางที่เดียวและสะสมข้อมูลไปเรื่อยๆ การให้บริการก็สามารถทำได้โดยการใช VPN หรือส่งคำข้อผ่านทาง webboard, email ก็ได้
ปัจจุบัน Elibrary ของกรมการแพทย์ คือ http://www.dms.moph.go.th • แนะนำโปรแรกม UCHA ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับระบบห้องสมุดได้ด้วยใช้งานได้ง่ายแถมครอบคลุมการทำงานในโรงพยาบาลได้อีก ค่อนข้างสมบูรณ์เลยทีเดียว • สามารถหาอ่านข้อมูลโปรแกรม UCHA ได้เพิ่มเติมที่ http://110.164.65.40/wiki/doku.php
วิทยากรโดย นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์
สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์เป็นสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 5 มีนาคม 2553คนที่ติดเคเบิลที่บ้านหรือติดจานดาวเทียมที่บ้านดูได้หมดยกเว้นของทรู นอกจากนี้ยังดูผ่าน iphone ipad ได้ด้วยhttp://www.springnewstv.tv/ • การบริหารจัดการข้อมูลในสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ1. การจัดการคน2. การจัดการข้อมูล
การบรรยายจะเน้นในเรื่องของการจัดการข้อมูลเป็นหลัก โดยเฉพาะการจัดการศูนย์ข้อมูลข่าวที่เน้นในเรื่องการจัดเก็บไฟล์ภาพข่าว โดยต้องใช้คนที่เชี่ยวชาญในเรื่องของการจัดหมวดหมู่ (ควรมีพื้นฐานด้านห้องสมุดหรือบรรณารักษ์) มาเป็นคนกำหนดหัวเรื่องให้กับภาพข่าวซึ่งมีความสำคัญมาก • เช่น ไฟล์ภาพข่าวที่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มักจะให้หัวเรื่องว่า “สถานการณ์ใต้” ซึ่งหัวเรื่องค่อนข้างกว้างมาก ถ้าจัดการไม่ดีจะทำให้การค้นหาข้อมูลไฟล์ข่าวมีปัญหาล่าช้าไปด้วย เพราะว่าต้องจำชื่อเรื่อง สถานที่ และวันและเวลาที่เกิดเหตุให้ได้ แต่ถ้าจัดการดีจะทำให้เราสามารถบริหารข้อมูลได้ดีไปด้วย
วิทยากรโดย นายแพทย์วุฒิชัย จตุทอง หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลเลิศสิน กรมการแพทย์
นักวิจัยต้องการอะไรจากห้องสมุด (บรรณารักษ์)- หัวข้องานวิจัย / โจทย์งานวิจัย- Review Literature- การอภิปรายย่อยเป็นกลุ่มๆ- ฐานข้อมูลสืบค้นออนไลน์- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย (สำหรับผู้เริ่มต้นทำงานวิจัย) • นักวิจัยคิดอย่างไรกับห้องสมุด- ห้องสมุดมีความสำคัญ และจะให้ประโยชน์กับนักวิจัยอย่างไร- ห้องสมุดของหน่วยงานตัวเองดีกว่าห้องสมุดของหน่วยงานอื่นหรือไม่ อย่างไร- ห้องสมุดมีเครือข่ายหรือไม่- ห้องสมุดมีฐานข้อมูลอะไรบ้าง
แหล่งข้อมูลสำหรับงานวิจัยในห้องสมุด แบ่งออกเป็น • 1. ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต : แหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่น่าสนใจ เช่น • - http://www.google.com- http://www.webmedlit.com- http://www.medmatrix.org- http://www.tripdatabase.com • 2. เอกสารที่ไม่ได้มีการตีพิมพ์โดยทั่วไป • - Grey Literature Report- Netprints- SIGLE- CPG
3. ฐานข้อมูลการแพทย์ออนไลน์ ที่ควรรู้จัก เช่น • - Medline- EMBASE- CINAHL- PsychInfo- ERIC • การศึกษารูปแบบการวิจัยแบบ Systematic Review สามารถดูข้อมูลได้จาก- http://www.cochrane.org- http://www.york.ac.uk/inst/crd/welcome.htm- http://hstat.nlm.nih.gov- http://www.acpjc.org- http://www.clinicalevidence.com- http://www.uptodate.com
รูปแบบของการสืบค้นในฐานข้อมูลก็มีอยู่หลายแบบ เช่น การสืบค้นด้วยคำสำคัญ, การสืบค้นตามเงื่อนไข, การสืบค้นแบบไล่เรียง ฯลฯสิ่งที่ต้องคำนึงถึในการค้นหา คือ เรื่องการตัดคำ หรือการใช้ธีซอรัส (ความสัมพันธ์ของคำสืบค้น)….. • การวิจัยกับบทบาทที่เปลี่ยนไปของบรรณารักษ์ยุคดิจิทัลในอดีตเราอาจจะถูกมองว่าเป็นผู้อนุรักษ์หรือผู้เก็บหนังสือ แต่ด้วยบทบาทในสังคมสมัยใหม่ทำให้เราได้เปลี่ยนบทบาทตัวเองมาเป็นผู้จัดการสารสนเทศ และทิศทางในอนาคตเราจะกลายเป็นผู้เอื้ออำนวยความรู้ (ผู้ชี้นำความรู้)
บรรณารักษ์จะสนับสนุนการทำวิจัยได้อย่างไร- จัดหางานวิจัย และให้คำปรึกษาในการใช้งานวิจัย- วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่งานวิจัย- พัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัย- พัฒนาเครื่องมือเพื่อเข้าถึงงานวิจัย- เผยแพร่งานวิจัย
ตัวอย่างกรณีศึกษาบรรณารักษ์กับการสนับสนุนงานวิจัย : บรรณารักษ์พบนักวิจัย สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่- ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการหาแหล่งข้อมูลเพื่อการวิจัย- ให้คำแนะนำบริการ และการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์- แนะนำฐานข้อมูลที่ใช้เป็นแหล่งตรวจสอบการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citation analysis)- จัดโปรแกรมฝึกอบรมเรียนรู้การใช้สารนิเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการค้นคว้าข้อมูล- ประสานความต้องการระหว่างนักวิจัยกับสำนักหอสมุด
วิทยากรโดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้
“ทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้เรื่องไอที” ประเด็นอยู่ที่ว่างานในห้องสมุดปัจจุบันเกือบทุกส่วนต้องพึ่งพาไอทีหรือคอมพิวเตอร์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานบริการ งานบริหาร งานจัดทำรายการ ฯลฯ • “ไอทีสำหรับบรรณารักษ์”คงไม่ต้องถึงขั้นว่า เขียนโปรแกรม หรือ พัฒนาโปรแกรม เหมือนพวกโปรแกรมเมอร์หรอกนะครับแต่ผมแค่ต้องการให้เรารู้จักโปรแกรม เข้าใจโปรแกรม และนำโปรแกรมไปใช้งานให้ถูกต้องก็เท่านั้นเอง
ทักษะและความรู้ด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 8 ด้าน ได้แก่1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต7. ความรู้และทักษะการใช้งานระบบห้องสมุด8. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0
เครื่องมือออนไลน์ที่สามารถนำมาใช้พัฒนาห้องสมุด (แบบฟรีๆ) มีดังนี้- Blog- E-mail- MSN- Twitter- Facebook- Youtube- Flickr- Slideshare
วิทยากรนายแพทย์ธีรชัย ยงชัยตระกูล • หัวหน้ากลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลเลิศลิน กรมการแพทย์
ห้องสมุดสมัยโบราณ (Ancient Ages)ห้องสมุดในอดีตคงต้องมองย้อนไปตั้งแต่เกิดห้องสมุดแห่งแรกของโลกบริเวณที่เกิดอารายธรรมเมโสโปเตเมียเลย (เมื่อ 4000 ปีก่อน) ในยุคนั้นมีการแกะสลักตัวอักษรลงในแท่นดินเหนียว ถัดมาจนถึงยุคของอียิปต์โบราณที่ใช้กระดาษปาปิรุสบันทึกข้อมูล ไล่มาเรื่อยๆ จนถึง Royal Library at Dresden ที่บันทึกข้อมูลด้วยหนังสัตว์ และมีการนำหนังสัตว์มาเย็บรวมกันที่เรียกว่า Codex เป็นครั้งแรก • ภาพ Codex จาก http://extraordinaryintelligence.com
2.ห้องสมุดในยุคกลางในยุคนี้จะพูดถึงเรื่องทวีปยุโรปได้มีการจัดสร้างห้องคัดลอกหนังสือ (Scriptorium) ไล่ไปจนถึงจีนที่เริ่มมีการทำกระดาษครั้งแรกของโลก และการกำเนิดเครื่องพิมพ์เครื่องแรกของโลก โดย johannes gutenbergห้องคัดลอกหนังสือ จาก http://joukekleerebezem.com
3.ห้องสมุดในยุคใหม่ • การจัดการสื่อในห้องสมุดจะเปลี่ยนไปแค่ไหน- จากหนังสือ จะกลายเป็น Digital File- จากชั้นหนังสือ จะกลายเป็น Storage Server • การจัดการด้านเครือข่ายในห้องสมุด- การเข้าถึงข้อมูล จากต้องเข้ามาที่ห้องสมุด จะกลายเป็น เข้าที่ไหนก็ได้- การเข้ารับบริการ จากต้องเข้าใช้ตามเวลาที่ห้องสมุดเปิด จะกลายเป็น เข้าได้ 24 ชั่วโมง • ท่านวิทยากรได้ยกตัวอย่างมาตรฐานของสมาคมห้องสมุด พ.ศ. 2552 โดยหมวดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะถูกแทรกอยู่ในหมวด 5, 7, 8
งานที่เกี่ยวกับสื่อในห้องสมุด และการบริการในห้องสมุด งานไอทีที่จำเป็นในงานดังกล่าวจะประกอบด้วย- Server = ดูเรื่องของการจัดการ, ความปลอดภัย, ฐานข้อมูล- Client = เครื่องของผู้เข้ารับบริการจะต้องเข้าใช้งานได้ ตรวจสอบผู้ใช้ได้- Network = มีให้เลือกทั้งแบบมีสายและไร้สาย (ปัจจุบันรพ.เลิศสิน เช่น leased line)- Content = content ทั้งหมดสามารถเข้าผ่าน intranet ได้- Software
วิทยาการโดย นายแพทย์ภัทรกานต์ สุวรรณทศ • นักศึกษาแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลเลิศสิน
วิทยากรได้นำภาพบรรยากาศในห้องสมุดการแพทย์มาให้พวกเราดู โดยเน้นที่รูปหนังสือเล่มใหญ่ๆ (หนังสือด้านการแพทย์ส่วนใหญ่เล่มใหญ่ หนา และหนัก) ทำให้ผู้ใช้บริการหลายคนไม่นิยมที่จะยืมหนังสือเหล่านี้ออกจากห้องสมุด ปัจจุบันนักศึกษาแพทย์หลายคนนิยมใช้ Ipad บ้าง Ebook reader บ้าง เพื่อที่จะใช้อ่าน E-book วิทยากรได้โชว์ว่าในเครื่องคอมตัวเองก็เก็บหนังสือ e-book มากมาย ราวๆ 400 กว่าเล่ม นี่ก็เป็นส่วนนึงที่อยากแสดงให้เห็นว่า “ใครจะไปแบกหนังสือในห้องสมุดบ้าง” • แล้วตกลง “มีห้องสมุดการแพทย์ไว้ทำไม”วิทยากรได้แบ่งการใช้งานห้องสมุดการแพทย์ออกมาเป็น 2 ส่วน คือ- ใช้ในแง่แหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วารสาร ฐานข้อมูล e-book ฯลฯ- ใช้ในแง่ส่วนตัว เช่น พักผ่อน นัดพบ หาความรู้เพิ่มเติม
ห้องสมุดการแพทย์ในฝันตามสไตล์นักศึกษาแพทย์ห้องสมุดการแพทย์ในฝันตามสไตล์นักศึกษาแพทย์ • 1 การเป็นแหล่งข้อมูล (อันนี้เน้นการให้บริการทางเว็บไซต์ หรือ การสร้างชุมชนการเรียนรู้) โดยห้องสมุดจะต้องมีฟีเจอร์เพิ่มเติม คือ • 1.1 ระบบการค้นหาที่ใช้ง่าย และค้นหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ1.2 ระบบการสะสมองค์ความรู้ จัดเก็บข้อมูลได้เป็นระบบ1.3 ระบบการสร้าง สามารถสร้างองค์ความรู้ หรือ มีพื้นที่ในการเขียนเรื่องต่างๆ ในเว็บห้องสมุด1.4 ระบบการเผยแพร่ ถ่ายทอดและส่งต่อองค์ความรู้เพื่อให้ผู้อื่นได้อ่านและแสดงความคิดเห็นได้ • 2 สื่อการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ เช่น • 2.1 ไฟล์วีดีโอทางด้านการแพทย์ เช่น การผ่าตัด การรักษาเฉพาะที่ ฯลฯ2.2 ไฟล์ภาพทางด้านการแพทย์ เช่น ภาพการวินิจฉัยโรคต่างๆ ฯลฯ2.3 ไฟล์ฟิล์มภาพ X-ray เช่นภาพกระดูกหัก กระดูกแตก กระดูกคต ฯลฯ
3 บรรยากาศภายในห้องสมุด • 3.1 สถานที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้3.2 สถานที่เงียบสงบ • 4 ส่วนสนับสนุน • 4.1 หนังสือพิมพ์4.2 วารสาร4.3 อินเทอร์เน็ตไร้สาย • 5 อื่นๆ • 5.1 ห้องน้ำ5.2 ห้องอาหาร • นี่ก็เป็นเพียงความเห็นส่วนหนึ่งจากผู้ใช้บริการ หากเราสามารถทำตามความต้องการของผู้ใช้บริการได้ ห้องสมุดก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ตลอดไป
วิทยาการโดย นายแพทย์สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์ กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลเลิศสิน
Hand ? Medical Librarian • โรคนิ้วสะดุด • ข้อมูลทั่วไป • - ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย- พบในวัยกลางคน- เกิดอาการที่นิ้วแม่มือ, นิ้วนาง, นิ้วกลาง • การรักษา • -พักการใช้งานชั่วคราว- ใส่เครื่องดามมือ- ทานยาแก้อักเสบ- ฉีดยาแก้อักเสบ (ฉีดสารสเตอรอยด์)- ผ่าตัด
Hand ? Medical Librarian • โรคอักเสบบริเวณข้อมือ • ข้อมูลทั่วไป • - ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย- พบในวัยกลางคน • การรักษา • - พักการใช้งานชั่วคราว- ใส่เครื่องดามมือ- ทานยาแก้อักเสบ- ฉีดยาแก้อักเสบ (ฉีดสารสเตอรอยด์)- ผ่าตัด
Hand ? Medical Librarian • โรคเส้นประสาทถูกกดทับ บริเวณข้อมือ • ข้อมูลทั่วไป • - ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย- คนท้องหรือตั้งครรภ์เกิดบ่อยมาก- เกิดอาการชาเป็นพักๆ ถ้าหนักๆ จะเกิดอาการชาแล้วไม่หาย • การรักษา • - การรักษาจากต้นทาง (สาเหตุ) เช่น ปรับปรุงวิธีทำงาน การปรับการนั่งทำงาน การวางมือบนแป้นคีย์บอร์ด- ดามข้อมือ- ทานยา ยาแก้อักเสบ วิตามิน B6- ผ่าตัด
Hand ? Medical Librarian • โรคข้อเสื่อมทางมือ • ข้อมูลทั่วไป • - ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย- พบในวัยกลางคน- ข้อนิ้วยึดติดในตอนเช้า- ลักษณะนิ้วเก • การรักษาขั้นต้น • - แช่น้ำอุ่นๆ ช่วงเช้า 3-5 นาที • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ มาจาก- กรรมพันธุ์- อายุ, เพศ, น้ำหนักตัว, ภาวะประจำเดือน- การทำงาน