510 likes | 894 Views
บทที่ 8. การจัดการความรู้ Knowledge Management. Knowledge resides in the users and not in the collection. ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้ . การจัดการความรู้. การเรียนรู้ตลอดชีพ ทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้องค์กรต้องเรียนรู้
E N D
บทที่ 8 การจัดการความรู้ Knowledge Management Knowledge resides in the users and not in the collection. ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้
การจัดการความรู้ • การเรียนรู้ตลอดชีพ ทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ • การเปลี่ยนแปลงเป็นแรงผลักดันที่ทำให้องค์กรต้องเรียนรู้ • สังคมเรียนรู้นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่
ความหมายของการจัดการความรู้ความหมายของการจัดการความรู้ MIS for Admin • นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 1. บรรลุเป้าหมายของงาน 2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน
ประโยชน์ของการจัดการความรู้ประโยชน์ของการจัดการความรู้ บทบาทความสำคัญของสารสนเทศ เป็นผลเนื่องมาจากการ เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ยุคเกษตรกรรม » ที่ดิน, แรงงาน ยุคอุตสาหกรรม » คน, เครื่องจักร ยุคสารสนเทศ » ข้อมูล, ข่าวสาร, ความรู้
ประโยชน์ของการจัดการความรู้ประโยชน์ของการจัดการความรู้ 1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร 2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคลากร เกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต 3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด 4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร
ประโยชน์ของการจัดการความรู้ประโยชน์ของการจัดการความรู้ 5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ 6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน 7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
MIS for Admin Knowledge Management
ความหมายของการจัดการความรู้ความหมายของการจัดการความรู้ • สรุป การจัดการความรู้นั้นเป็นการบูรณาการศาสตร์ 2 สาขาเข้าด้วยกันคือ ความรู้ (Knowledge) การบริหารจัดการ (Management) โดยเน้นที่กระบวนการจัดการข่าวสาร สารสนเทศ และความรู้ ด้วยการให้ความสำคัญกับบุคคล โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย จัดการความรู้ผ่านช่องทางความรู้ต่าง ๆ
ความหมายของความรู้ ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมจากการศึกษาเล่าเรียน ค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจ อาจ รับมาจากการได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ KM is a Journey, not a destination. การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง
ความหมายของความรู้ ความรู้ คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่จำกัดเวลา A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle. ความรู้เพียงเล็กน้อยเมื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ
ประเภทของความรู้ ความรูอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ • ความรูซ้อนเร้นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ (Tacit Knowledge) 2. ความรูที่ปรากฏชัดแจ้งความรู้อย่างเป็นทางการ (Explicit Knowledge)
ประเภทของความรู้ Explicit Knowledge : EK (ความรู้ที่ชัดแจ้ง) Tacit Knowledge : TK (ความรู้ที่ฝังลึกในคน/ความรู้โดยนัย ) คือ ความรู้ที่เป็นเหตุและผลที่สามารถบรรยาย/ถอดความออกมาได้ในรูปของทฤษฏี การแก้ปัญหา คู่มือ และฐานข้อมูล ความรู้ที่สามารถอธิบายหรือเขียนออกมาได้โดยง่าย เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน หรือ วิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ (ทุกคนสามารถเข้าถึง/ซื้อได้) คือ ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลที่ได้มาจากประสบการณ์และความสามารถส่วนตัว ยากที่จะเขียนหรืออธิบายออกมาได้ เช่น ให้บอกวิธีในการว่ายน้ำ, วิธีการวาดรูปให้สวย, วิธีการตอบสนองต่อปัญหาเฉพาะหน้าใดๆ ที่เกิดขึ้น ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันกันได้ และเป็นความรู้ที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันได้
ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) 20% ความรู้แบบซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) 80%
ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อธิบายได้ แต่ยังไม่ถูกนำไปบันทึก ( 1 ) อธิบายไม่ได้ อธิบายได้ แต่ไม่อยากอธิบาย ( 2 ) ( 3 ) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) 9
ความรูที่ปรากฏชัดแจ้งความรูที่ปรากฏชัดแจ้ง ความรูที่ปรากฏชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรูที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได โดยผ่านวิธีตางๆ เชน การบันทึกเปนลายลักษณอักษร เป็นความรู้ที่อยู่ใน รูปแบบของเอกสารตำราทฤษฎีคูมือ บางครั้งเรียก วาเปนความรูแบบ “รูปธรรม”
สินทรัพย์ในองค์กร 3 ประเภท • สินทรัพย์ทางการเงิน • สินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น อาคาร เครื่องจักร วัสดุครุภัณฑ์ • สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ความรู้และสารสนเทศ
ข้อมูล, สารสนเทศ, ความรู้ ความเข้าใจ (Know- How) ข้อมูล (Data) ประมวลผลข้อมูล (Data Processing) สารสนเทศ (Information) ความรู้ (Knowledge)
ความรู้..จากส่วนตัวเป็นขององค์กรความรู้..จากส่วนตัวเป็นขององค์กร โลตัสแบ่งความรู้ของคนไว้ 3 ประเภท คือ • ความรู้โดยนัย • ความรู้ที่ชัดแจ้ง • ความรู้ที่ฝังอยู่ในองค์กร
ความรู้..จากส่วนตัวเป็นขององค์กรความรู้..จากส่วนตัวเป็นขององค์กร โลตัสแบ่งความรู้ของคนไว้ 3 ประเภท คือ • ความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้คำพูดได้ มีลักษณะเป็นความเชื่อ ฝึกฝนเให้เกิดความชำนาญ มีลักษณะเป็นเรื่องส่วนบุคคล ต้องใช้วิจารณญาณ เช่น ความสามารถในการชิมรสไวน์ ทักษะในการสังเกตเปลวควันจากปล่องโรงงานว่ามีปัญหาใน กระบวนการผลิตหรือไม่
ความรู้..จากส่วนตัวเป็นขององค์กรความรู้..จากส่วนตัวเป็นขององค์กร • ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่รวบรวมได้ง่าย มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective) เป็นทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ เช่น นโยบายขององค์กร กระบวนการทำงาน ซอฟต์แวร์ เอกสาร และกลยุทธ์ เป้าหมาย และความสามารถขององค์กร
ความรู้..จากส่วนตัวเป็นขององค์กรความรู้..จากส่วนตัวเป็นขององค์กร 3. ความรู้แบบฝังอยู่ภายใน (Embedded Knowledge) เป็นความเข้าใจในกระบวนการสินค้าและบริการซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์
ขอบเขตและแหล่งขององค์ความรู้ขอบเขตและแหล่งขององค์ความรู้ วิศวกรองค์ความรู้จะเป็นผู้ประสานงานติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรวบรวมความรู้ไว้ในฐานองค์ความรู้ มุมมองของวิศวกรรมองค์ความรู้แบ่งออกได้ 2 ด้าน • มุมมองด้านแคบ เกี่ยวกับการจัดรูปแบบองค์ความรู้ การตรวจสอบความถูกต้อง การอนุมาน การอธิบาย และบำรุงรักษา 2. มุมมองด้านกว้าง เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาและการบำรุงรักษา
กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน • การดึงองค์ความรู้ • การตรวจสอบความถูกต้องขององค์ความรู้ • การจัดรูปแบบขององค์ความรู้ • การสรุปความ • การอธิบายความและการใช้เหตุผล
กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้ (ต่อ) • การดึงองค์ความรู้ จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ผู้เชี่ยวชาญ หนังสือ เอกสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ องค์ความรู้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ - องค์ความรู้ทั่วไป - องค์ความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ คือ องค์ความรู้ เฉพาะทางเฉพาะด้าน
กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้ (ต่อ) 2.การตรวจสอบความถูกต้องขององค์ความรู้ อาจใช้วิธีการ ตรวจสอบตามตามสภาพของข้อมูลจนเป็นที่ยอมรับในองค์กรนั้นๆ • การจัดรูปแบบองค์ความรู้ เป็นกิจกรรมในขั้นตอนการจัดรูปแบบองค์ความรู้ เก็บข้อมูลลงฐานองค์ความรู้ เชื่อมโยงความรู้เข้าด้วยกัน แปลงองค์ความรู้โดยการเขียน โปรแกรมหรือลงรหัส
กระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้ (ต่อ) • การสรุปความ เป็นขั้นตอนการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อประมวลองค์ความรู้ ได้ผลลัพธ์เพื่อนำไปแสดงผลในส่วนของผู้ใช้ • การอธิบายความและการใช้เหตุผล เป็นการอธิบายและให้เหตุผลที่ได้ออกแบบและเขียนโปรแกรมหรือลงรหัสไว้
แหล่งกำเนิดขององค์ความรู้แหล่งกำเนิดขององค์ความรู้ ได้จากภาพถ่าย หนังสือ แผนที่ ผังงาน ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาพ และเสียง องค์ความรู้แบ่งเป็น 2 รูปแบบ 1. รูปแบบที่เป็นทางการ 2. รูปแบบที่ไม่เป็นทางการ
ปัญหาในการถ่ายโอน หรือการถ่ายทอดองค์ความรู้ • การตีความองค์ความรู้ จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความทรงจำ การรับรู้จากความเชื่อของตน จิตใต้สำนึกและการรับรู้จากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน • การส่งผ่านองค์ความรู้ อาจยุ่งยากและซับซ้อน นำเข้า ประมวลผล แสดงผล จัดเก็บ สื่อสารหรือโต้ตอบ • จำนวนของผู้ที่เกี่ยวข้อง หากมีบุคคลจำนวนมากอาจเกิดความยุ่งยาก • โครงสร้างขององค์ความรู้ โครงสร้างในการนำเสนอจะต้องชัดเจน นำเสนออย่างไรผู้รับจึงจะเข้าใจ (กราฟ แบบสรุป รายงาน)
วิธีที่ได้มาซึ่งองค์ความรู้วิธีที่ได้มาซึ่งองค์ความรู้ • การสัมภาษณ์ของวิศวกรองค์ความรู้ ทั้งแบบไม่มีโครงสร้างและแบบมีโครงสร้าง • วิธีการติดตามผล ส่วนใหญ่ใช้การวิเคราะห์อย่างเป็นลำดับขั้นตอน เป็นการวิเคราะห์คำพูดของผู้เชี่ยวชาญ แปลความสรุป นำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อทบทวนอีกครั้ง • วิธีการสังเกตการณ์และเทคนิคอื่นๆ เป็นการใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมของผู้เชี่ยวชาญ หรือการวิเคราะห์จากกรณีศึกษา การระดมสมอง การแสดงความคิดเห็น • การได้มาซึ่งองค์ความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
การจัดรูปแบบองค์ความรู้การจัดรูปแบบองค์ความรู้ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ • องค์ความรู้ระดับง่าย องค์ความรู้ระดับนี้ไม่ค่อยใช้ในระบบผู้เชี่ยวชาญเนื่องจำไม่ค่อยมีประโยชน์ ยกเว้นเป็นงานที่ต้องทำประจำ • องค์ความรู้ระดับผิวเผิน อาจได้จากการสังเกต การรับรู้จากจิตใต้สำนึก ไม่สามารถรับรองผลลัพธ์ได้ว่าถูกต้องเสมอไป เป็นองค์ความรู้กับงานเฉพาะด้านที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง • องค์ความรู้ระดับเชิงลึก สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ ได้ หลากหลาย ยากต่อการรวบรวมจัดเก็บ
การจัดการความรู้ในรูปแบบปลาทูการจัดการความรู้ในรูปแบบปลาทู
การจัดการความรู้ในรูปแบบปลาทูการจัดการความรู้ในรูปแบบปลาทู • Knowledge Vision (KV)คือ วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ เป็นการกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ว่าดำเนินการไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ก็เปรียบเสมือนหัวปลาที่บอกทิศทางในการว่าย ว่าจะเคลื่อนที่ไปทางใด โดยเป้าหมายสำคัญที่กำหนดขึ้นต้องสอดคล้อง และสนับสนุนกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ขององค์กร เช่น การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานสู่ความเป็นเลิศ, การจัดการความรู้เรื่องกฎและระเบียบสำหรับพนักงานสายสนับสนุน และการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว เป็นต้น
การจัดการความรู้ในรูปแบบปลาทูการจัดการความรู้ในรูปแบบปลาทู 2. Knowledge Sharing (KS) คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจ และยากที่สุดสำหรับการจัดการความรู้ เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้คนแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่น คนทั่วไปมักคิดว่า ผู้มีความรู้ คือ ผู้ที่มีอำนาจ ถ้าต้องถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นจะทำให้ตนเองรู้สึกไม่มั่นคง ไม่มีอำนาจ อาจโดนคนอื่นแย่งตำแหน่ง แย่งหน้าที่การงาน เป็นต้น ดังนั้นในการจัดการความรู้ในส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมุ่งหวังเพื่อจัดการให้เกิดเหตุปัจจัย และสิ่งแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้คนตระหนัก และพร้อมที่จะแบ่งปันและเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดการความรู้ในรูปแบบปลาทูการจัดการความรู้ในรูปแบบปลาทู 3.Knowledge Assets (KA)คือ ความรู้ที่ถูกจัดเก็บอยู่ใน คลังความรู้ เป็นความรู้ที่มีความสำคัญ และสอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดการความรู้ คลังความรู้ที่ดี จะต้องมีการวางระบบในการจัดเก็บ จัดหมวดหมู่ ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีและการสื่อสารโดยเฉพาะเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่ออำนวยความสะดวก
การบริหารจัดการความรู้แบบก้านกล้วยโมเดลการบริหารจัดการความรู้แบบก้านกล้วยโมเดล
การบริหารจัดการความรู้แบบก้านกล้วยโมเดลการบริหารจัดการความรู้แบบก้านกล้วยโมเดล กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process หรือ เรียกย่อๆ ว่า KM Process) เปรียบได้เสมือนกับตัวช้าง หรือ อาจจะชื่อว่า “ก้านกล้วยโมเดล” เพื่อทำให้เราเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งในแต่ละส่วนของช้างนั้นมีหน้าที่และมีความสำคัญเท่าๆ กันจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้เพราะจะเป็นช้างพิการ
ความรู้แบบก้านกล้วยโมเดลความรู้แบบก้านกล้วยโมเดล งวงช้าง เป็นอวัยวะที่ดูดน้ำเปรียบได้กับการเสาะแสวงหาและการถอดความรู้จากคนและจากแหล่งข้อมูลต่างๆ • งาช้าง เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะของช้าง เปรียบได้กับ ภาวะผู้นำในองค์กรที่จะต้องเห็นด้วยและสนับสนุนการจัดการความรู้
ความรู้แบบก้านกล้วยโมเดลความรู้แบบก้านกล้วยโมเดล • ส่วนลำตัวของช้าง มีขนาดใหญ่และมีกิจกรรมากมายที่จะต้องทำจึงเปรียบได้เสมือนกับ KM Process • ส่วนหัวของช้าง นับว่ามีความสำคัญมากเช่นไว้บรรจุสมองเพื่อควบคุมการทำงานของร่างกายเปรียบได้กับ ฐานข้อมูลความรู้ (Data Warehouse) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing and Transferring) ขององค์กร
ตาของช้าง เปรียบเหมือนกับวิสัยทัศน์ขององค์กรที่จะต้องมีเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ขาทั้งสี่ข้าง ของช้างเป็นองค์กรประกอบที่สำคัญเพื่อจะพาช้างเดินไปข้างหน้าเปรียบได้กับ วัฒนธรรมองค์กร, การสื่อสาร, การพัฒนา Knowledge Worker และการวัดประเมินการจัดการความรู้ ความรู้แบบก้านกล้วยโมเดล
หางของช้าง เป็นส่วนที่มีความสำคัญเช่นเดียว คือ เทคโนโลยี ที่คอยขับเคลื่อนให้การจัดการความรู้นั้นประสบความสำเร็จ และในฉบับต่อๆไปผู้เขียนจะอธิบายถึงกระบวนการจัดการความรู้ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ความสำคัญในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จต่อ
วงจรชีวิตของการจัดการความรู้วงจรชีวิตของการจัดการความรู้ ความรู้เด่นชัด ความรู้ฝังลึก
วงจรชีวิตของการจัดการความรู้วงจรชีวิตของการจัดการความรู้ • การจัดการ“ความรู้เด่นชัด” จะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป (ดูวงจรทางซ้ายในรูป) • ส่วนการจัดการ“ความรู้ซ่อนเร้น” นั้นจะเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป (ดูวงจรทางขวาในรูป)
การคิดแบบหมวก 6 ใบ แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วย
การคิดแบบหมวก 6 ใบ • สีขาว สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข • สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์ • สีดำสีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ • สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย • สีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ ๆ • สีฟ้า หมายถึงการควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ