270 likes | 1.03k Views
สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับ : การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. Saruthipong Bhuwatvaranon 5120130105. URL : Bhuwatvaranon.com and e-Mail : Saruthipong@ Bhuwatvaranon.com. สัตตศิลาคืออะไร.
E N D
สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับ : การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ Saruthipong Bhuwatvaranon 5120130105 URL: Bhuwatvaranon.com and e-Mail : Saruthipong@ Bhuwatvaranon.com
สัตตศิลาคืออะไร สัตตศิลาคือหลักเจ็ดประการ สำหรับการเปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ที่คณะผู้วิจัยของโครงการวิจัย “การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้” ได้เป็นข้อค้นพบจากการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย หลักที่ 1 คุณลักษณะบุคคลที่พึงประสงค์ หลักที่ 2 หลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน หลักที่ 3 รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CRP หลักที่ 4 การเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้ หลักที่ 5 การเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ หลักที่ 6 การบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา หลักที่ 7 แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Best Practice)
สัตตศิลาคืออะไร สัตตศิลาเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น โดยความมุ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านการศึกษาให้สามารถพัฒนาคนให้ได้เต็มตามศักยภาพ เพื่อเป็นทรัพยากรที่มีค่าของประเทศ สามารถพัฒนาสังคมและประเทศให้ก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ ที่ความรู้เป็นฐานสำคัญของการผลิตและบริโภค เพื่อการแข่งขันโดยมีพื้นฐานของความเป็นไทย
บทนำ การเปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (KBE) Saruthipong Bhuwatvaranon 08-1898-4477 URL: Bhuwatvaranon.com and e-Mail : Saruthipong@ Bhuwatvaranon.com
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 1 ประเด็นศึกษา เศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทำอย่างไรจึงให้เท่าทัน เท่าทันและสร้างสรรค์ด้วยตนเอง ฐานคิดที่เป็นของไทย ต้องปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษา สัตตศิลาคือทางเลือก
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 2 เศรษฐกิจฐานความรู้ เศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นแนวคิดและกิจกรรมการดำเนินงานในสังคมของประเทศตะวันตกที่ได้พัฒนาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว พร้อมกับนำความรู้นั้นมาสร้างขึ้นเป็นผลผลิตที่เกิดจากความรู้เป็นฐานหลัก และเมื่อความรู้นั้นพัฒนาขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ก็มีผลให้ผลผลิตนั้นพัฒนาตามไปด้วย นิยามเศรษฐกิจฐานความรู้ตามแนวคิดตะวันตก : เป็นเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (Dahlman,2004) แต่สำหรับแนวคิดของตะวันออกแล้วเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นเศรษฐกิจที่มีความผสมกลมกลืนกับพื้นฐานความก้าวหน้าและการพัฒนาของประเทศตะวันออก โดยมีกระบวนการทางความรู้ที่สะสมได้เป็นเวลาอันยาวนานของโลกตะวันออกนำมาใช้ในระบบของเศรษฐกิจด้วย
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 3 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ด้วยระบบของการพัฒนาวิชาการที่ใช้ความรู้เพื่อธุรกิจประกอบกับการเป็นโลกไร้พรหมแดนและการผลักดันของธุรกิจข้ามชาติ ทำให้กระแสเศรษฐกิจฐานความรู้เกิด เติบโต กระจายและขยายผลไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เศรษฐกิจฐานความรู้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะประเทศเปิดอย่างประเทศไทย ความจำเป็นที่จะต้องรู้ให้ทันและคงความเป็นตะวันออกไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญ
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 4 ทำอย่างไรจึงให้เท่าทัน เมื่อเศรษฐกิจฐานความรู้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทำอย่างไรเราจึงจะไม่ตกเป็นทาสทางปัญญาและทาสทางเศรษฐกิจของระบบธุรกิจฐานวิชาการ จนทำให้ประเทศของเรากลายเป็นลูกค้านักบริโภคนิยมเต็มตัวทำให้เขายิ่งเติบโตก้าวหน้าและร่ำรวยในขณะที่เราวิ่งไล่กวด พึ่งพาทางวิชาการ และแสวงหาความช่วยเหลือจากประโยชน์ที่เติบโตอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นประชาชนของประเทศจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ คิด และเข้าใจกับระบบที่เป็นอยู่ตามให้ทันกับการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของวิธีการโลก และไม่เป็นเครื่องมือของกระแสวิชาการ กระแสธุรกิจและกระแสการเมือง ในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างขาดสติ การติดตาม เข้าถึงและวิเคราะห์วิจารณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 5 เท่าทันและสร้างสรรค์ด้วยตนเอง แม้การรู้เท่าทันและไม่ตกเป็นทาสทางปัญญาอย่างขาดสติจะนับเป็นฐานแรกของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ แต่จะไม่มั่นคงและยั่งยืนถ้าเราไม่ยืนอยู่บนขาของตัวเองให้ ได้ด้วย การสร้างความรู้สร้างความคิดและสร้างผลผลิตทั้งในการร่วมสร้างและสร้างขึ้นมาเอง กระบวนการเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่คิดและสร้างขึ้นนั้นจะต้องมีคุณค่าและคุณภาพเพียงพอที่จะเป็นตัวเลือกให้กับสังคมไทยและสังคมโลกได้ ระบบของการสร้างสรรค์จึงต้องมีแนวคิดใหม่ มีผลงานที่สืบเนื่องมาจากแนวคิดใหม่ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพที่เด่นพอ ชัดพอ การคิดสร้างสรรค์ คิดแจ้งแทงตลอดไปจนถึงการวิจัยค้นคว้า จึงเป็นสิ่งสำคัญตามมา
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 6 ฐานคิดที่เป็นของไทย แม้ความรู้และวิชาการที่เติบโตในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ จะเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นความรู้สากล แต่ในความรู้สากลนั้นเมื่อคิดอะไรขึ้นใหม่ รู้อะไรขึ้นใหม่ ก็จะมีสิ่งที่ไม่รู้ตามมาด้วยเสมอ (Evors,H-G,Gerke,S. and Menkhoft, T.,2006) ความรู้จึงอยู่กับความไม่รู้อยู่ตลอดเวลาและในทุกสถานที่ความรู้ในท้องถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะความรู้ในประเทศไทยของเราที่สะสม สืบทอดและส่งต่อ ด้วยวิถีของไทยมานับเป็น 1000 ปี จึงเป็นสิ่งสำคัญในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่เข้าอยู่ในสังคมไทย ทั้งในเชิงความรู้ที่ยังไม่ได้มีการศึกษา พัฒนาและสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ ตลอดจนวิธีคิด ความเชื่อ วัฒนธรรมที่มีค่าแก่โลกได้อย่างมหาศาล การพัฒนาความรู้ที่ฝังตัวอยู่ในสังคมไทยเป็นเวลาอันยาวนานจึงควรได้รับการพัฒนาขึ้นมาควบคู่กับความรู้สมัยใหม่
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 7 ต้องปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษา การศึกษาของไทยแต่เดิมเป็นการศึกษาแบบสมดุล คือ ความรู้ ความคิด วิธีการสอดคล้องและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสังคม ความรู้นำไปสู่ผลผลิตและการใช้ชีวิตที่สอดคล้องต่อสังคมทั้งบ้าน วัด และวัง สอนให้รู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ต่อมาเมื่อมีการรับความรู้ ความคิด และแบบแผนชีวิตของตะวันตกเข้ามา ในสมัยรัชกาลที่ 5 การศึกษาของไทยจึงเป็นลักษณะการศึกษาแบบต่างประเทศมาตลอด ส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมการศึกษาและวัฒนธรรมชีวิตที่เป็นวัฒนธรรมการรับ (ReceivingCulture) ทำให้สังคมไทยทั้งด้านความคิด ด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจเป็นไปในรูปแบบของการรับเอาและการบริโภค สิ่งที่มาทำขึ้นและมาจากต่างประเทศโดยตลอดในปัจจุบัน
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 8 ต้องปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษา ถ้า ปรากฏการณ์เศรษฐกิจฐานความรู้ไม่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรวดเร็วอย่างที่เป็นอยู่ วัฒนธรรมการรับก็ยังคงดำเนินไปได้บ้าง แต่การเติบโตของความรู้และการใช้ความรู้กับเศรษฐกิจเช่นนี้ทำให้เราต้อง รู้เท่าทันสร้างสรรค์ด้วยตนเองและมีฐานคิดที่เป็นไทย ได้นั้น เราต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นวัฒนธรรมของการสร้าง (Producing Culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของเศรษฐกิจฐานความรู้ทั้งในระบบของความคิด การศึกษาและเศรษฐกิจ วัฒนธรรมการสร้างไม่ใช่เป็นการปฏิเสธตะวันตกหรือเป็นการปิดประเทศ แต่เป็นการเรียนรู้ของเราและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นในระบบของเราเอง (Sinlarat,2006) ดังนั้นการเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ได้อย่างเท่าทันและเป็นอิสระได้ จึงจำเป็นต้องปรับการศึกษาให้เป็นวัฒนธรรมของการสร้างให้ได้
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 9 ต้องปรับกระบวนทัศน์ของการศึกษา นั่นคือ เราต้องรู้เท่าทันสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งในเชิงความคิด เศรษฐกิจ และการเมือง เราต้องคิดสร้างระบบและผลผลิตของเราเองได้และให้ได้เพียงพอที่จะแข่งขันกับคนอื่น โดยมีพื้นฐานของเราเอง การศึกษาของเราที่ผ่านมาตกอยู่ในกระแสทางวัฒนธรรมการรับเป็นหลักใหญ่ เด็กและคนของเรา จึงกลายเป็นผู้บริโภคความคิด ความรู้ และพฤติกรรมของฝรั่งเป็นหลัก ดังนั้นการเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ได้อย่างเท่าทันและเป็นอิสระได้ จึงจำเป็นต้องปรับการศึกษาให้เป็นวัฒนธรรมของการสร้างให้ได้
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 10 สัตตศิลา คือ ทางเลือก (1) การที่จะเปลี่ยนการศึกษาเพื่อสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะของคนที่อยู่ในเศรษฐกิจฐานความรู้ได้ คือ การมีวัฒนธรรมของการสร้าง จำเป็นจะต้องเปลี่ยนผ่านการศึกษา ด้วยหลัก 7 ประการ หรือ สัตตศิลา ซึ่งเป็นผลที่พัฒนาขึ้นจากคณะวิจัยของโครงการ (ดังปรากฏในแผนภาพที่ 1 หลักสัตตศิลาเมื่อการเปลี่ยนผ่านการศึกษา หน้า จ)
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 11 สัตตศิลา คือ ทางเลือก (2) หลักการของสัตตศิลาในข้อแรก คือ คุณลักษณะของบุคคลที่พึงประสงค์ในเศรษฐกิจฐานความรู้จำเป็นจะต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ มั่นใจในตนเอง กระตือรือร้นและตามทันโลก พร้อมทั้งเป็นผู้ผลิต ผู้สร้างได้อย่างดีและต้องสร้างให้ได้คุณภาพแข่งขันกับโลกได้ แต่ก็คำนึงถึงความเป็นไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วยคุณลักษณะ 4ร คือ รู้ทันรู้นำโลก เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ รวมพลังสร้างสรรค์สังคม และรักษ์วัฒนธรรมไทย ใฝ่สันติP.3-9 เมื่อได้คุณลักษณะเป็นหลักที่ 1 แล้ว หลักที่ 2 และ 3 ก็จะตามมา คือ หลักสูตร ที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างสนุกสนาน รู้จักตัวเอง รู้ว่าเน้นไปที่จุดใดและให้สำเร็จผลตามที่ตัวเองเน้นจึงเป็นเรื่อง Fun Find Focus และ FulfillmentP.18พร้อมกับตามมาด้วย หลักที่ 3 คือการสอนในแนวสร้างสรรค์และผลิตภาพ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกด้วยวิธีวิจัยและเชิงผลิตภาพ (CRP = Crystal Research Product) P.33
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 12 สัตตศิลา คือ ทางเลือก (3) หลักที่ 4คือ การสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยเฉพาะผู้ปกครองที่ต้องมี การให้กำลังใจ การควบคุมดูแล และเป็นพี่เลี้ยงก็มีส่วนสำคัญต่อการจัดการศึกษา (P.45-54) เน้น P.48 3M โดยมี หลักที่ 5 คือ เป็นส่วนเสริมเข้ามา คือ การเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับผู้เรียน เครือข่ายการเรียนรู้ต้องสนุกสนานและการเสริมสร้างสารสนเทศต้องเหมาะแก่บุคคล (P.59 NET)
บทนำ : เปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ 13 สัตตศิลา คือ ทางเลือก (4) หลักที่ 6เป็นเรื่องของการบริหารจัดการในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ต้องการการบริหารทั้งบริหารเขตพื้นที่และโรงเรียนในระบบบูรณาการ (Intergrated Educational Management System: iEMS) ที่จะต้องนำองค์ประกอบของการบริหารจัดการทุกอย่างผสมผสานกัน (P.66-72) หลักที่ 7 อันเป็นหลักสุดท้าย การศึกษาเปรียบเทียบในสิ่งที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการศึกษาในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ในด้านต่าง ๆ (Best Practices) ของโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ (P.74-83) สาระหลักหน้า จ. แผนภาพที่ 1
เนื้อหาหลักโดยสรุป สิ่งที่กล่าวถึง/เนื้อหาหลักโดยสรุป เป็นงานวิจัยที่เป็นคณะเรื่องสัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับการ เปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
R สัตตศิลา P KBE ภาพรวม...จากการศึกษาเรื่องสัตตศิลา ผู้เรียน 4ร. 12ค.
สิ่งที่ได้รับจากการศึกษา 1. ได้แนวคิด วิธีคิด หลักคิดในการทำวิทยานิพนธ์ เช่น ในเรื่องของการพัฒนารูปแบบฯ 2. เกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการวิจัย การคิดนอกกรอบ ในเรื่องที่จะทำวิจัย 3. ได้แนวคิดในการพัฒนารูปแบบ...โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีมารองรับ P. 33 รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CRP
เอกสารอ้างอิง หนังสือ ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ,2549.สัตตศิลา หลักเจ็ดประการสำหรับ : การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุค เศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คำคม คนนำเสนอ หรือ Education is growth การศึกษาคือการเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมสติ ปัญญารวมทั้งประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นดีมีความรู้คู่คุณธรรม
กราบขอบพระคุณ กระผม นายศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่เคารพนะครับที่ให้โอกาส กระผมในการนำเสนอ หากมีข้อบกพร่องผิดพลาดประการใดกระผมต้องกราบขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ....ศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ สาขาภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา....
ประวัติผู้นำเสนอ ชื่อ สกุลนายศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์ วัน เดือน ปีเกิด19 มกราคม 2516 วุฒิ ชื่อสถาบัน ปีที่สำเร็จการศึกษา ค.บ. (ครุศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1) สถาบันราชภัฏยะลา 2540 ศษ.ม. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต เกรด 4.00 ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2545 วิทยาเขตปัตตานี ป.บัณฑิต (เกรด 4.00) สถาบันราชภัฏสงขลา 2551ปัจจุบัน:ศึกษาต่อปริญญาเอกสาขาภาวะผู้นำและนวัตกรรมฯ ตำแหน่งและสถานที่ทำงานรองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลำเปา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา : Saruthipong@Bhuwatvaranon.com
ศึกษาอดีต เรียนรู้ปัจจุบัน ก้าวทันอนาคต Thank You !