1 / 9

ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ. นางสาว รัมภ์ร ดา สุขนิกร เลขที่ 25 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / 2. โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง. เทคโนโลยีและสารสนเทศ ง .31101. เรื่อง 4.5 ซีพียู (CPU) และการประมวลผลข้อมูล.

phyre
Download Presentation

ผู้จัดทำ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผู้จัดทำ นางสาวรัมภ์รดา สุขนิกร เลขที่ 25 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง เทคโนโลยีและสารสนเทศ ง.31101

  2. เรื่อง 4.5 ซีพียู (CPU)และการประมวลผลข้อมูล

  3. ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ซีพียูเป็นชิปสารกึ่งตัวนำตัวหนึ่งที่เป็นหัวใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยชิปตัวนี้ประกอบอยู่ในเมนบอร์ด ที่บางครั้งเรียกกันว่า system board คำว่า ชิป(chip) เป็นสารกึ่งตัวนำขนาดเล็ก ซึ่งภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไว้มากมาย โดยภายในประกอบด้วยทรานซีสเตอร์จำนวนมาก จึงเรียกชิปต่างๆว่า ไอซี(IC) หมายถึงวงจรรวม (integrated circuit) สำหรับหน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (มาจากคำว่า central processing unit)ในอดีตหน่วยประมวลผลกลางจะมีขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันเมื่อนำสารกึ่งตัวกลางตัวนำมาใช้ก็ทำให้หน่วยประมวลผลกลางถูกพัฒนาให้เล็กลง โดยรวมวงจรต่างๆ ไว้ในชิปเดียว ชิปตัวนี้ถูกเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ภายในไมโครโปรเซสเซอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญใหญ่ๆ สามส่วนคือ หน่วยควบคุม (control unit) หน่วยการกระทำกางคณิตศาสตร์และลอจิก (arithmetic logic unit) เรียกสั้นๆว่า ALU และหน่วยเก็บข้อมูลชั่วคราวภายในซีพียูที่มีชื่อว่า รีจีสเตอร์ (register)

  4. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์และลอจิก (ALU)จะทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และทางลอจิก ซึ่งกล่าวได้ว่าหากข้อมูลคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดจากวงจรส่วนนี้ทั้งสิ้น การประมวลผลทางคณิตศาสตร์ได้แก่การบวก การลบ การคูณ การหาร นอกจากนี้ยังรวมถึงการเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆอีกด้วย • หน่วยควบคุม (Control Unit) • เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ • ควบคุมทิศทางการรับส่งข้อมูลต่างๆให้ทำงานได้ถูกต้อง • ควบคุมขั้นตอนการทำคำสั่งของคอมพิวเตอร์ • ควบคุมการประมวลผล • การใช้บัสต่างๆในการรับส่งข้อมูล

  5. ไซเคิลคำสั่ง (Machine Cycle) จากที่กล่าวไว้แล้วว่าโปรแกรมเกิดจากการนำคำสั่งมาเรียงต่อกัน เมื่อคอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยควบคุมจะทำการอ่านคำสั่งต่างๆ เข้ามาประมวลผลในซีพียู โดยขั้นตอนการทำคำสั่งของซีพียูประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4ขั้นตอน เรียกว่าไซเคิลคำสั่ง (Machine Cucle) ประกอบด้วย • ขั้นตอนที่ 1 fetching เริ่มแรกหน่วยควบคุมของซีพียูจะอ่านรหัสคำสั่งและ ข้อมูลที่จะประมวลผลจากหน่วยความจำ RAM มาเก็บ ในซีพียู • ขั้นตอนที่ 2 decoding เมื่อรหัสคำสั่งเข้ามาอยู่ในซีพียูแล้ว หน่วยควบคุมจะ ถอด รหัสคำสั่งว่ารหัสนี้ต้องการให้ซีพียูทำอะไร เพื่อ ให้ซีพียูประมวล ผลต่อไปได้ • ขั้นตอนที่ 3 executing เมื่อถอดรหัสคำสั่งและทราบแล้วว่าต้องการทำอะไร ซีพียูก็จะทำตามคำสั่งนั้น • ขั้นตอนที่ 4 storing หลังจากทำคำสั่งก็จะเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความ จำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์

  6. รีจีสเตอร์ (Register) หน่วยเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่อยู่ภายในซีพียู มีความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลสูงเรียกว่า รีจีสเตอร์ ภายในซีพียูจะใช้รีจีสเตอร์ในการเก็บข้อมูลและคำสั่งชั่วคราวเพื่อรอการประมวลผลต่อไป ตัวอย่างเช่น ถ้าหากต้องการให้ซีพียูบวกเลข เมื่อซีพียูรับข้อมูลตัวเลขเข้ามา ก็จะนำตัวเลขนั้นเก็บในรีจีสเตอร์ก่อน และจึงส่งให้ ALU บวกเลข และเมื่อALU บวกเลขเสร็จแล้วก็จะนำผลลัพธ์ที่ได้มาพักไว้ในรีจีสเตอร์ก่อนเช่นกัน ก่อนที่จะส่งออกไปเก็บในหน่วยความจำหลัก

  7. สัญญาณนาฬิกาของระบบ (System Clock) ระบบคอมพิวเตอร์จะใช้ crystal ขนาดเล็กเป็นตัวควบคุมสัญญาณนาฬิกาของระบบ โดยมีการออกแบบไว้ว่าขั้นตอนการทำงานหนึ่งๆ จะใช้สัญญาณนาฬิกากี่ลูก ถ้าหากสัญญาณนาฬิกาที่ป้อนเข้ามามีความถี่สูง ก็จะทำให้การทำงานนั้นๆ เร็วขึ้นด้วย เนื่องจากค่าความถี่ที่สูงทำให้สัญญาณนาฬิกาหนึ่งลูกใช้เวลาน้อยลง ในปัจจุบันความถี่ของสัญญาณนาฬิกาก็สามารถใช้เป็นตัวบอกความเร็วการทำงานของซีพียูได้ หน่วยวัดสัญญาณนาฬิกาจะใช้หน่วย Hertz หมายถึงสัญญาณนาฬิกาหนึ่งลูกต่อวินาที สำหรับหนึ่งกิกะเฮิร์ด(GHz) หมายถึงสัญญาณนาฬิกาหนึ่งพันหลายลูกต่อวินาที ถ้าหากคอมพิวเตอร์ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.6GHz หมายความว่าซีพียูของคอมพิวเตอร์ตัวนั้นถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณนาฬิกา 2.6 พันล้านลูกต่อวินาที ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตซีพียูได้พัฒนาไปมาก ในปี 1970 มีทรานซีสเตอร์บรรจุอยู่ไม่ถึงหนึ่งหมื่นตัว แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนามากขึ้นจนซีพียูในปัจจุบันวงจรภายในมีทรานซีสเตอร์บรรจุอยู่หลายล้านตัว ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ยังพัฒนาให้ซีพียูทำงานที่ความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งทำให้ซีพียูทำงานได้เร็วขึ้น ปัจจุบันทำงานที่ความถี่สัญญาณนาฬิการะดับกิกะเฮิร์ต

  8. การพัฒนาให้ซีพียูทำงานที่ความถี่สัญญาณนาฬิกาสูงกว่านี้จะทำได้ยาก เนื่องจากคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำเอง ดังนั้นการพัฒนาซีพียูในยุคใหม่ๆ จึงมีการปรับปรุงวิธีการประมวลผลภายในซีพียูแทนการปรับสัญญาณนาฬิกาให้เร็วขึ้น ซึ่งจะพบได้ในปัจจุบันที่มีซีพียูแบบ dual-core และแบบ multi-core ออกมา ซึ่งทำให้ซีพียูทำงานได้เร็วขึ้นแม้ว่าความถี่ของสัญญาณนาฬิกาจะลดลง การพูดถึงความเร็วของซีพียูนั้นถ้าหากโครงสร้างต่างกันจะม่สามารถนำความถี่สัญญาณนาฬิกามาเปรียบเทียบกันได้ การวัดความเร็วของโปรเซสเวอร์จะวัดเป็นจำนวนล้านคำสั่งต่อวินาที โดยมีหน่วยเป็น MIPS (Millions of instructions per second) ในปัจจุบันได้มีการผลิตไมโครเซสเซอร์ออกมาหลายรุ่น โดยอินเทล(Intel) นอกจากนี้ยังมีไมโครเซสเซอร์ของบริษัทอื่นๆ อีกที่ผลิตซีพียูให้เข้ากันได้กับซีพียูของอินเทล ที่เรียกว่า Intel-Compatible Processor โดยสามารถใช้ชุดคำสั่งและโปรแกรมเหมือนกับของอินเทลได้

  9. คำถามเกี่ยวกับซีพียู (CPU) และการประมวลผลข้อมูล 1. CPU ย่อมาจากคำว่า ? ตอบ มาจากคำว่า Central Processing Unit 2. หน่วยเก็บข้อมูลชั่วคราวภายในซีพียู มีชื่อว่า ? ตอบ รีจีสเตอร์ (Register) 3. ถ้าหากต้องการให้ซีพียูบวกเลข เมื่อซีพียูรับข้อมูลตัวเลขเข้ามา ก็จะนำตัวเลขนั้นเก็บในรีจีสเตอร์ก่อน และจึงส่งให้ ALU บวกเลข และเมื่อALU บวกเลขเสร็จแล้วก็จะนำผลลัพธ์ที่ได้มาพักไว้ในที่ใดเพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวในซีพียู ก่อนที่จะส่งออกไปเก็บในหน่วยความจำหลัก ตอบ รีจีสเตอร์ (Register)

More Related