1 / 56

ประเทศไทยกับ ทิศทางการดำเนินการ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยกับ ทิศทางการดำเนินการ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ดร.รวีวรรณ ภูริเดช รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. หัวข้อการนำเสนอ. ทิศทางการดำเนินการระดับสากล ทิศทางการดำเนินการของประเทศไทย.

phuong
Download Presentation

ประเทศไทยกับ ทิศทางการดำเนินการ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประเทศไทยกับทิศทางการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประเทศไทยกับทิศทางการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดร.รวีวรรณ ภูริเดช รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  2. หัวข้อการนำเสนอ ทิศทางการดำเนินการระดับสากล ทิศทางการดำเนินการของประเทศไทย

  3. ทิศทางการดำเนินการระดับสากลทิศทางการดำเนินการระดับสากล

  4. ผลลัพธ์ของการประชุม Rio+20ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เน้นย้ำให้มีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับเป็นเรื่องระดับโลกที่จำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ริเริ่มให้มีการตั้งกองทุน Green Climate Fund เรียกร้องให้ภาคีสมาชิก UNFCCC และ KP ปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตัดสินใจที่ได้มีมติร่วมกันไว้ และดำเนินการต่อยอดจากความคืบหน้าที่ได้บรรลุไปแล้ว

  5. การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 17 (Seventeenth session of the Conference of the Parties: COP17) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 7 (Seventh session of the Conference of the Parties serving as the meeting of the Parties to the Kyoto Protocol: CMP7) ได้มีข้อตัดสินใจที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ในหลายประเด็น เช่น การขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลไกทางการเงิน กลไกเทคโนโลยี และกรอบการดำเนินงานด้านการปรับตัว เป็นต้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกลไกต่างๆ เหล่านั้น อย่างไรก็ดี ในข้อตัดสินใจต่างๆ มีบางประเด็นที่มีแนวโน้มเพิ่มเติมความรับผิดชอบในการดำเนินงานให้แก่ประเทศกำลังพัฒนามากยิ่งขึ้น เช่น การจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นใหม่เพื่อเจรจาผลลัพธ์ที่ตกลงกันที่มีผลบังคับทางกฎหมายต่อทุกประเทศ หรือข้อตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกโดยประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประเทศไทยต้องเพิ่มพูนการดำเนินงานภายในประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมต่อประเด็นต่างๆ ที่จะมีผลต่อไทยในอนาคต

  6. ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับอาเซียนความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับอาเซียน กำหนดให้ประเด็น “การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ” เป็นหนึ่งใน แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Blueprint) สำหรับปี 2552-2558 จัดตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ASEAN Working Group on Climate Change: AWGCC) โดย ในช่วงปี 2553-2555 ประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน

  7. ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับอาเซียนความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับอาเซียน เห็นชอบในหลักการต่อแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน (ASEAN Action Plan on Joint Response to Climate Change: AAP-JRCC)ครอบคลุมการดำเนินงาน 6 สาขา คือ 1. การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2. การลดก๊าซเรือนกระจก 3. การเงินและการลงทุน 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี 5. การเสริมสร้างสมรรถนะ 6. ประเด็นอื่นๆ เพื่อความร่วมมือภายในภูมิภาค

  8. ทิศทางการดำเนินการของประเทศไทยทิศทางการดำเนินการของประเทศไทย

  9. แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรน้อยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้ทรัพยากรน้อยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ UNEP เสนอว่าแนวคิด Decoupling เป็นหัวใจของ Green Economy ที่มา: UNEP (2011)

  10. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การใช้พลังงาน และการปล่อยก๊าซ CO2 ของประเทศต่างๆ CO2: 6.67 CO2: 4.18 CO2: 9.85 CO2: 10.4 CO2: 5.28 CO2: 2.05 ที่มา: ข้อมูลจาก World Development Indicators, ประมวลผลโดย SIGA โดยให้ปี 1980 เป็นปีฐาน

  11. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งของภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจ สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

  12. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ 1. เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ 2. เพื่อขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศก้าวไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ 3. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และเตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นสิ่งแวดล้อมโลก 4. เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีการคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของประเทศจากข้อตกลงและพันธกรณีระหว่างประเทศ

  13. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 1. เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพโดยรักษาพื้นที่อนุรักษ์ไว้ ไม่ < 19 % เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ 40 % ของพื้นที่ประเทศ และเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนไม่ < ปีละ 5,000 ไร่ 2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำและการบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ชลประทานเฉลี่ยปีละ 200,000 ไร่ เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร

  14. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 3. สร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากการพัฒนา โดยควบคุมคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำหลักและแม่น้ำสายสำคัญให้อยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่พอใช้ขึ้นไปไม่ < 80 % ฟื้นฟูคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนในไม่ให้อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก คุณภาพอากาศในเขตเมืองและเขตอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การจัดการขยะชุมชนถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น > 50 % ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น และมีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ไม่ < 30 %

  15. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 4. เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติให้มีความพร้อมทั้งระดับประเทศ พื้นที่และชุมชน 5. เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 6. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างเกื้อกูลกัน

  16. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนา: ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม • การยกระดับขีดความสามารถในการรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน มีแนวทางสำคัญ • การสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  17. แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555-2559 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับฐานการผลิตและการบริโภคให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาล ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประชาชนในทุกระดับ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาคนและสังคมให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

  18. ยุทธศาสตร์ที่ 5:การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ มุ่งเน้นการสร้างศักยภาพและความพร้อมของทุกภาคส่วนในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากภัยธรรมชาติและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งร่วมมือในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและรักษาความมั่นคงในการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป้าหมายยุทธศาสตร์ มีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติ

  19. ยุทธศาสตร์ที่ 5:การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ แผนงานที่ 5.1:การสร้างความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ แผนงานที่ 5.2:การวางรากฐานสู่การพัฒนาแบบปล่อยคาร์บอนต่ำ

  20. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพ.ศ. 2555 - 2593

  21. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555- 2593 แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นกรอบแนวทางการบูรณาการนโยบายและแผนงานต่างๆ ร่วมกับในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และปรัชญาการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงของไทย

  22. ขั้นตอนการจัดทำแผนแม่บทฯขั้นตอนการจัดทำแผนแม่บทฯ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย สำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในฐานะหน่วยประสานงานหลักการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ จัดตั้งคณะทำงาน 2 คณะ คือ ติดตามประเมินผล/ปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงฯ ตามระยะเวลาที่กำหนด 1. คณะทำงานทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ด้าน Adaptation 2.คณะทำงานทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ด้าน Mitigation องค์ประกอบ: จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อำนาจหน้าที่ : ยกร่างแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... (ร่าง) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... การรับฟังความคิดเห็นภาคประชาสังคม จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ ๑ ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ ๒ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ ๓ ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก ครั้งที่ ๔ ภาคเหนือตอนบนจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ ๕ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ ๖ ภาคกลางตอนล่าง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การประชุมคณะทำงานทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ด้าน Adaptation และด้าน Mitigation (ร่าง)แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... ฉบับผ่านการปรับปรุงแก้ไขจากการรับฟังความคิดเห็นภาคประชาสังคมและจากข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นคณะทำงานฯ ทั้ง 2 ชุด การประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง)แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ... ในระดับภูมิภาค 5 ภูมิภาค ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 ภาคเหนือ ....... ครั้งที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ....... ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออก........ ครั้งที่ 5 ภาคใต้....... แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555 - 2593 คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านวิชาการ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

  23. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555 - 2593 คณะอนุกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านวิชาการ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ขั้นตอนการจัดทำแผนแม่บทฯ ขณะนี้แผนแม่บทฯ ได้ผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นทั้ง 5 ภูมิภาคแล้ว และกำลังนำเข้าคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาต่อไป

  24. หลักการ ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการป้องกัน แก้ไข รองรับและปรับตัวต่อปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะภาคส่วนที่มีความเสี่ยงและความเปราะบางทางชีวภาพ กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่สูง เช่น ภาคการเกษตรรายย่อย การประมงพื้นบ้าน เป็นต้น ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยความสมัครใจในระดับที่แตกต่างและขีดความสามารถ (Common but differentiated responsibility and capacity) ในการดำเนินงานตามหลักการของ UNFCCC ประเทศไทยใช้วิกฤตและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เป็นโอกาสในการส่งเสริมและพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้านอย่างยั่งยืน และตามแบบวิถีชีวิตพอเพียงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

  25. หลักการ (ต่อ) ยึดหลักภาครัฐเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Public-sector Stewardship) พร้อมทั้ง ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (Public-Private Partnership หรือ P-PP) และการมีส่วนร่วมของชุมชนเข้มแข็ง รวมทั้ง หลักการของผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principle: PPP) แบ่งกรอบระยะเวลาดำเนินงานเป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว และจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการ ตลอดจนปรับปรุงแผนแม่บทฯ ทุกๆ 10 ปี เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของแผนแม่บทฯ และการดำเนินงาน

  26. กรอบแนวคิดการจัดทำแผนแม่บทฯกรอบแนวคิดการจัดทำแผนแม่บทฯ ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา Development factors กลไก Mechanism ผลสัมฤทธิ์ของแผนแม่บทฯ Accomplishments • การพัฒนาอย่างยั่งยืน • เศรษฐกิจและวิถีชีวิต พอเพียง • ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น การเมือง ภาวะเศรษฐกิจ โลก ภัยพิบัติ ฯลฯ • สถาบัน • การเงิน • เทคโนโลยี • การจัดการ • ความร่วมมือภายในและระหว่างประเทศ • ส่งเสริมสวัสดิการที่ดีของ สังคมไทย • สร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศให้ สังคมไทย • ส่งเสริมความร่วมมือภายใน และระหว่างประเทศ • ส่งเสริมขีดความสามารถใน การแข่งขัน

  27. แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2555- 2593 วิสัยทัศน์ ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีส่วนร่วมกับประชาคมโลกในการลดและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาประเทศไปสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียงและสังคมคาร์บอนต่ำอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน

  28. พันธกิจ 1. สร้างความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนในการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยคำนึงถึงศักยภาพที่แตกต่างกันระหว่างแต่ละภาคส่วนในสังคม 2. สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนและผลประโยชน์ร่วมกัน (Co-benefits) บนพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในบริบทของสังคมไทยที่ยึดหลักเศรษฐกิจและวิถีชีวิตแบบพอเพียงและเป็นธรรมตามหลักการการรับผิดชอบร่วมในระดับที่แตกต่าง 3. เสริมสร้างองค์ความรู้และกลไกในการผลักดันการวางแผนแบบบูรณาการในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศอย่างมีประสิทธิผลและเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมในทุกระดับ

  29. พันธกิจ (ต่อ) 4. ดำเนินงานร่วมกับประชาคมโลกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของประเทศ 5. ส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้มีภูมิคุ้มกันเพื่อการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำและเสมอภาคโดยพิจารณารูปแบบการพัฒนาและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างเหมาะสม

  30. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นกรอบแนวทางและกลไกในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ทั้งด้านการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วนและทุกระดับ 2. เพื่อผลักดันให้ทุกภาคส่วนและทุกระดับสามารถจัดทำแผนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม 3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่อย่างยั่งยืนของประเทศไทยโดยมีความสอดคล้องกับการดำเนินงานของนานาชาติในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 4. เพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยเพื่อนำไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และลดความเหลื่อมล้ำ ได้อย่างยั่งยืนภายใต้บริบทการพัฒนาประเทศแบบเศรษฐกิจพอเพียง

  31. เป้าหมาย ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนและเป็นธรรม ควบคู่ไปกับการลดอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่กระทบต่อ สวัสดิการสังคมของประชาชนโดยสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง ไม่สูญเสียขีดความสามารถในพัฒนาและการแข่งขันของทุกภาคส่วนและทุกระดับ ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)

  32. ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. แผนการดำเนินงาน/แผนปฏิบัติการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทุกภาคส่วนและทุกระดับ ทั้งในระยะเร่งด่วนระยะกลาง และระยะยาว 2. อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงของทุกภาคส่วนและทุกระดับภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) เมื่อเทียบกับปีฐาน (พ.ศ. 2548 หรือ ค.ศ. 2005)

  33. ผลสัมฤทธิ์ 1. ประเทศไทยสามารถรักษาสวัสดิการสังคม ทั้งด้านคุณภาพชีวิต ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน และทุนธรรมชาติ (Nature capital) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2. สังคมไทยมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศที่ดีขึ้น สามารถเผชิญกับความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการร่วมมือกับนานาชาติในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะ การกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 4. ประเทศไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาและการแข่งขันโดยอาศัยโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  34. กรอบยุทธศาสตร์รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกรอบยุทธศาสตร์รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่กำหนดหลักและแนวทางในการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1:การตั้งรับปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยุทธศาสตร์ที่ 2: การลดการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ยุทธศาสตร์ที่ 3:ประเด็นปัญหาร่วม (Cross Cutting Issues) การเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศเพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

  35. ยุทธศาสตร์ที่ 1: การปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับให้มีความสามารถในการรับมือและป้องกันเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะกลางและระยะยาว 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับอย่างแท้จริง และผลักให้ทุกภาคส่วนในทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในการจัดทำแผนการดำเนินงานและแผนปฏิบัติการด้านการตั้งรับปรับตัว (Adaptation) อย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  36. ยุทธศาสตร์ที่ 1: การปรับตัว (Adaptation) เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย แนวทางเช่น สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักรู้ที่ถูกต้องเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบให้แก่สาธารณะชนในทุกภาคส่วนและทุกระดับ สร้างกลไกทางการเงินเพื่อการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนการชดเชยความเสียหายจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรม พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความทันสมัย สะดวกต่อการใช้งาน และสามารถเชื่อมต่อระหว่างกันได้สะดวกรวดเร็ว

  37. ยุทธศาสตร์ที่ 2:การลดการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและทุกระดับในการลดการปล่อยและเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก 2. เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และทรัพยากรภายในประเทศแบบสมประโยชน์ (win-win) ทั้งในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก 3. เสริมสร้างองค์ความรู้และผลักดันด้านการผลิตและการบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง สร้างศักยภาพรายสาขาที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทางเลือกอื่นๆ ในการบรรเทาผลกระทบ

  38. ยุทธศาสตร์ที่ 2:การลดการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย แนวทางเช่น • ส่งเสริมศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานทางเลือก พลังงานสะอาดมลพิษต่ำ และลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน และส่งเสริมศักยภาพของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการวางแผนพลังงานระดับท้องถิ่นและการใช้พลังงานหมุนเวียนให้เต็มศักยภาพในแต่ละพื้นที่ • การดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกี่ยวข้องกับภาคป่าไม้ (REDD) หรือมีผลกระทบต่อชุมชุนที่อาศัยในพื้นที่ป่าจะต้องจัดให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมทั้งการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นที่สะท้อนหลักการการได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนในระยะเวลาที่พอเพียง การมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ และมีกลไกเพื่อนำผลการับฟังความคิดเห็นนั้นประกอบการตัดสินใจทางนโยบาย

  39. ยุทธศาสตร์ที่ 2:การลดการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ประกอบด้วย แนวทางเช่น • ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดทำฉลากคาร์บอน (carbonfootprint) สำหรับสินค้าและบริการทุกประเภท • พัฒนาระบบการจัดเก็บภาษีคาร์บอนและภาษีสิ่งแวดล้อมอื่นๆ โดยยึดหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter Pay Principle) ในรูปแบบที่เป็นธรรม • ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเมืองและชุมชนให้สามารถก้าวไปเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Cities) ไดอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ถูกต้องเหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่

  40. ยุทธศาสตร์ที่ 3: ประเด็นปัญหาร่วม (Cross Cutting Issues): การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กร บุคลากร และประเทศ เพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 2. สร้างกลไกที่จะขับเคลื่อนแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ.๒๕๕๕- ๒๕๙๓ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการกำหนดท่าทีการเจรจาระหว่างประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศประชาชนไทย

  41. ยุทธศาสตร์ที่ 3: ประเด็นปัญหาร่วม (Cross Cutting Issues): การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับ ประกอบด้วย แนวทางเช่น • ปรับปรุงแก้ไขและบังคับใช้กฎระเบียบ กฎหมายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของทุกภาคส่วน • กำหนดให้มีแผนงานการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างต่างประเทศ และการเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการเจรจาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและผลประโยชน์ร่วมกัน (Co-benefits)

  42. ยุทธศาสตร์ที่ 3: ประเด็นปัญหาร่วม (Cross Cutting Issues): การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรเพื่อจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในทุกภาคส่วนและทุกระดับ • การจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารความรู้ที่เป็นปัจจุบันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเผยแพร่ให้กับชุมชน โดยเป็นสื่อที่มีเนื้อหาเข้าใจง่าย และชุมชนสามารถเข้าถึงได้ • พัฒนากลไกและเครื่องทางเศรษฐศาสตร์สำหรับการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ • เปิดโอกาสให้กับภาคประชาสังคม และองค์กรชุมชนเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้หรือเทคโนโลยี เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  43. กลไกลการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Clearing House Mechanism: CHM)

  44. ที่มา ความตื่นตัวต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หน่วยงานมีการดำเนินงานอย่างแพร่หลาย ในลักษณะต่างคนต่างทำ การกระจายของข้อมูลที่ขาดการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ขาดหน่วยงานกลางในการกลั่นกรองข้อมูล เชื่อมโยงให้สอดคล้อง ทันสมัย เชื่อถือได้

  45. วัตถุประสงค์ สร้างระบบการกลั่นกรองและความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานในการจัดเก็บข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับรองรับการพัฒนาฐานข้อมูล การบริหารจัดการฐานข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างบูรณาการ และเป็นระบบ

  46. แนวทางการดำเนินการ 1. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ♠ ฐานข้อมูลบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ♠ ฐานข้อมูลด้านผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับโลก ภูมิภาค และประเทศไทย ♠ ฐานข้อมูลด้านอนุสัญญาฯ และพิธีสารฯ และกฏระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ♠ ฐานข้อมูลการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ♠ ฐานข้อมูลคู่มือและวิธีการ(Guidelines and Methodologies) ♠ ฐานข้อมูลแบบจำลองการเรียนรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  47. แนวทางการดำเนินการ (ต่อ) 2. พัฒนาเว็บไซต์เพื่อรองรับการเผยแพร่ฐานข้อมูล 3. การเผยแพร่ผ่านกลไกผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Coordinator: CCC) จากหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 30 หน่วยงาน

  48. แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศไทยแนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศไทย 1. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านบัญชีก๊าซเรือนกระจก รวบรวมข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในภาคการผลิตต่างๆ ตามกรอบ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) นำเสนอภาพรวมและข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ตามรายงานบัญชีแห่งชาติ(National Communications) นำเสนอข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รายภาคการผลิต (พลังงาน อุตสาหกรรม เกษตร ของเสีย และป่าไม้)

  49. แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศไทย (ต่อ) 2. ฐานข้อมูลด้านผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ นำเสนอรายงานข่าวและผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศ นำเสนอบทวิเคราะห์ บทความ และรายงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อนำเสนอข้อมูลในปัจจุบัน และทิศทางของปัญหาในอนาคต

  50. แนวทางการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของประเทศไทย (ต่อ) 3. ฐานข้อมูลด้านอนุสัญญาฯ พิธีสารฯ และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลด้านอนุสัญญาฯ พิธีสารฯ และกฎระเบียบต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา ศึกษา และอ้างอิง ข้อมูลผลการประชุมรัฐภาคี (COP)และการบรรลุข้อตกลงที่สำคัญและที่เกี่ยวข้องกับประเทศภาคี เพื่อสะดวกต่อการค้นหา ศึกษา และอ้างอิง ข้อมูลการดำเนินการและสถานะของการดำเนินงานของประเทศไทย เพื่อตอบสนองต่อข้อตกลงต่าง ๆ

More Related