1 / 10

อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง

อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง. แนวคิด ระดับบุคคล ครอบครัว 1. “ ก่อนจะพึ่งตนเองได้ ทุกคนต้องมีความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ)เสียก่อน -- ” หนึ่งในนั้นคือการมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง แต่ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักขอบเขต ขีดจำกัดของตนเอง ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ระมัดระวัง ปรัชญา ข้อที่ 1 คือความพอประมาณ.

phuoc
Download Presentation

อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียงอาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง

  2. แนวคิด ระดับบุคคล ครอบครัว 1. “ก่อนจะพึ่งตนเองได้ ทุกคนต้องมีความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ)เสียก่อน --” หนึ่งในนั้นคือการมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง แต่ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักขอบเขต ขีดจำกัดของตนเอง ใช้ชีวิตอย่างสมดุล ระมัดระวัง ปรัชญา ข้อที่ 1 คือความพอประมาณ โครงการอาหารปลอดภัยเชียงใหม่ ให้ความสำคัญต่อการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นอันดับแรก หากมีเหลือจึงนำไปขาย แต่จะขายในชุมชน ในตลาดใกล้บ้านก่อน การพัฒนาจะเป็นขั้นตอน โดยมีความระมัดระวังปัญหาการลงทุนที่เกินกำลัง การขาดประสบการณ์เช่นเรื่องขนส่ง เมื่อพร้อมแล้ว จึงจะนำผลิตผลที่เหลือเข้าสู่ตลาดใหญ่ อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

  3. แนวคิด ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน 2. “ --การดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณหมายถึงการไม่เบียดเบียนผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน มีความโปร่งใสในการประกอบอาชีพ เอื้ออาทรต่อกัน อันเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของเรา--” ปรัชญา ข้อที่ 1 คือความพอประมาณ โครงการอาหารปลอดภัยเชียงใหม่ เน้นที่การประกอบกิจการที่โปร่งใส ไม่เห็นแก่ได้ เช่นเจตนาและ/หรือปิดบังการผลิต การประกอบหรือการจำหน่ายอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษ สนับสนุนการสร้างความมั่นคงให้สถาบันครอบครัว ชุมชน ด้วยการดึงความมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคน ปรับเจตคติให้บุคคลในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความเอื้ออาทรต่อกัน อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

  4. แนวคิด ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน 3. “--ประกอบอาชีพอย่างมีความสุข ยึดความประหยัด เช่น เกษตรกรไม่ใช้สารเคมีในการเกษตร ผู้ผลิตอาหารไม่ใช้สารพิษในการปรุงอาหาร ทำให้ลดต้นทุนและยังมีอาหารที่ปลอดภัยไว้จำหน่ายด้วย” ปรัชญาข้อที่ 2 คือความมีเหตุผล ความรอบคอบ โครงการอาหารปลอดภัยเชียงใหม่ ให้ความสำคัญต่อการผลิตผัก ผลไม้ปลอดสารพิษ อาหารถึงผู้บริโภคที่ไม่มีสารพิษตกค้าง และเกษตรอินทรีย์ เน้นการเข้าถึงด้วยระบบการสื่อสารข้อมูล การแก้ปัญหาของการผลิต การบริโภค การกระจายฯลฯ ด้วยวิธีการที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูง อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

  5. แนวคิด ระดับชุมชน ท้องถิ่น 4. “– เนื่องจากเราอยู่ท่ามกลางยุคโลกาภิวัฒน์ เราต้องระมัดระวังในการใช้เทคนิควิชาการ ระวังความไม่สมดุลของการพัฒนาด้านต่างๆ เช่นเศรษฐกิจ สังคมที่จะส่งผลร้ายในภายหลัง--” ปรัชญาข้อที่ 2 คือ ความมีเหตุผล รอบคอบ โครงการอาหารปลอดภัยเชียงใหม่ เน้นการแก้ปัญหาการผลิต การบริโภค การกระจาย ฯลฯ ด้วยวิธีการที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูง ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาด้านสังคมเศรษฐกิจอื่นๆควบคู่กันไป กำหนดให้มีมาตรฐาน ข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องอาหารปลอดภัย อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

  6. แนวคิด ระดับชุมชน ท้องถิ่น 5. “– สร้างภูมิคุ้มกันจากผลลบจากกระแสการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ต้องการการลงทุน การแข่งขัน จากระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยปัจจัยภายนอก ทำให้ความสามารถพึ่งพาตนเองลดลง-- ” ปรัชญาข้อที่ 3 ป้องกันตนเองจากสภาวะแวดล้อมที่เป็นพิษภัย โครงการอาหารปลอดภัย เน้นการเข้าถึงทุกครอบครัวด้วยระบบการสื่อสารสาธารณะ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องของอาหารและโภชนาการ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากกระแสการโฆษณา การยั่วยุให้บริโภคโดยไม่จำเป็นหรือเป็นพิษภัย สร้างแหล่งอาหารปลอดสารพิษที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ให้ครอบคลุมกว้างขวาง อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

  7. แนวคิด ระดับชุมชน ท้องถิ่น 6. “– ชุมชนต้องตัดสินใจร่วมกันในกิจการของชุมชน เรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น - ” ปรัชญา ข้อที่ 2 คือความมีเหตุผล โครงการอาหารปลอดภัย มีจุดหมายปลายทางที่ชุมชนมีโครงการเรื่องอาหารปลอดภัยที่ร่วมกันคิดร่วมกันทำ มีการรวมพลังกันเป็นกลุ่มเพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่ปลอดภัย ภาคีทุกภาคส่วนร่วมมือกันสนับสนุนโครงการชุมชนภายใต้โครงสร้างของแผนที่ยุทธศาสตร์ อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

  8. แนวคิด ระดับชุมชน ท้องถิ่น 7. “– ต้องวางแผนให้รอบคอบ จัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้คงสภาพที่ดีตลอดไป สร้างระบบการศึกษาให้ตอบสนองปัญหาของท้องถิ่นด้วยการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม - ” ปรัชญา ข้อที่ 2 คือความมีเหตุผล โครงการอาหารปลอดภัย เน้นการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ อันเป็นการอนุรักษ์ดินและสภาวะแวดล้อมที่ปลอดจากสารพิษ มีการถอดบทเรียนจากการพัฒนาโครงการเพื่อการปรับปรุงกลยุทธ์และการสร้างนวัตกรรม นำประสบการณ์จากโครงการที่ผ่านมาสร้างศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นๆ อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

  9. อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)อาหารปลอดภัยกับปรัชญาแห่งความพอเพียง(ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) • โดยสรุป ปรัชญาแห่งความพอเพียงคือการปฏิเสธคำกล่าวที่เราเคยเชื่อกันว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” • ปรัชญาแห่งความพอเพียงคือ “ทางสายกลาง” ในการดำรงชีวิต • ปรัชญาแห่งความพอเพียงสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางโครงการอาหารปลอดภัยได้

  10. สวัสดี

More Related