150 likes | 335 Views
สรุปผลการดำเนินการด้านผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย พ.ศ.2549 - ปัจจุบัน. งานควบคุมโรคติดต่อ และ อาชีวอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย. ความเป็นมา.
E N D
สรุปผลการดำเนินการด้านผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลยพ.ศ.2549 - ปัจจุบัน งานควบคุมโรคติดต่อและอาชีวอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย
ความเป็นมา • 2 ส.ค.49 รพ.เลยราม(เอกชน) แจ้งว่ามีคนงานจากเหมืองทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย ถูกสารเคมีรดตัวมีอาการหายใจไม่สะดวก ได้ถูกส่งตัวมารับการรักษาจำนวน 1ราย • แพทย์วินิจฉัย “ Cyanide poisoning ( inhalation)” • การรักษาแบบ Supportive treatment
การดำเนินงาน - งานควบคุมโรคติดต่อ ฯ ออกสอบสวนโรค เสนอ นพ.สสจ. ทราบ - ประสาน อสจ./สำนักงานสวัสดิการสังคม ฯ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง - สวัสดิการสังคม ฯ รายงาน ผวจ.เลย /ประสาน บ.ทุ่งคำ จำกัดขอเข้าตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำความปลอดภัยในการทำงาน - (20 สค.49) สวัสดิการสังคม ฯแจ้ง สสจ.เข้าร่วมตรวจเยี่ยมเหมืองทองคำ - (29 สค.49) เหมืองทองทุ่งคำประสาน สสจ.ขอบุคลากรเข้าตรวจสุขภาพคนงาน - ( พย.49) ผวจ.และคณะ/สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมกิจการเหมืองทอง ทุ่งคำ - ( ธค.49) จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการทำเหมืองแร่และ ประกอบโลหกรรม ( รอง ผวจ. เป็นประธาน อสจ.เป็นเลขา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ) รวม 31 คน
การดำเนินงาน (ต่อ ) • มีค.50 เริ่มเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ โดย สำรวจข้อมูลเบื้องต้น วิถีชีวิต และคุณภาพชีวิต ชาวบ้านที่ อาศัยอยู่รอบเหมืองทองคำ ( งบฯ สสจ.) ข้อมูลทั่วไป - มีมบ.ที่ตั้งอยู่รายรอบเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย จำนวน 6 มบ. 767 หลังคาเรือน ประชากร 3,845 คน อาชีพเกษตรกรรม ข้อมูลการเจ็บป่วย - มี ผป.โรคไม่ติดต่อ ได้แก่ เบาหวาน 65 คน, ความดันโลหิตสูง 70 คน , มะเร็งเต้านม 3 คน , มะเร็งปากมดลูก 5 คน ธาลัสซีเมีย 1 คน
การดำเนินงาน (ต่อ ) ข้อมูลการเจ็บป่วย (ต่อ ) - โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ( ข้อมูลปี 2545 – 2550 ) ได้แก่ - วัณโรค 10 ราย รักษาหาย 9 ราย กำลังรักษา 1 ราย - หอบหืด 16 คน - ผป.โรคผิวหนัง รักษาที่สอ.ห้วยผุกเป็นประจำ 4 ราย - ผป.คอพอก 54 ราย ( ข้อมูลปี 2547-2550 )
การดำเนินงาน ( ต่อ ) - ( เม.ย 50) จังหวัดจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพิ่มเติมจากชุดเดิม จำนวน 31 คน เพิ่มเป็น 115 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการอำนวยการ/ คณะกรรมการกองเลขานุการ/คณะกรรมการปฏิบัติการ (มี 3 คณะ) ประกอบด้วย คณะตรวจสอบผลกระทบด้าน สวล. , คณะตรวจสอบด้านสุขภาพอนามัย และ คณะตรวจสอบผลกระทบและเฝ้าระวัง - ( ตค.50) แกนนำชาวบ้านเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากพิษ CN จึงร้องเรียนต่อ ผวจ. ครั้งที่ 1 ขอให้เจาะเลือดชาวบ้านหาสารCN เร่งด่วนและแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่น หมอกควัน และ เสียงดัง - ผวจ. มอบ สสจ.ดำเนินการเจาะเลือดชาวบ้านหาสารไซยาไนด์
การดำเนินงาน(ต่อ) - ( ธค.50) CUP รพ.วังสะพุง ดำเนินการเจาะเลือดชาวบ้านโดยการเลือก มบ.ที่ร้องเรียน ส่วนที่เหลือได้จากการสุ่ม รวมทั้งสิ้น 281 คน - (มค.51) รพ.รามา ฯ แจ้งผลเลือดพบว่ามีสาร CN ในเลือด 54 คน เกินค่ามาตรฐาน 8 คน ( ค่าปกติ Non smoker< 0.1 ug/ml , smoker< 0.2 ug /ml ) จาการซักประวัติ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการกินมันสำปะหลังดิบและการสูบบุหรี่หรือใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่
การดำเนินงาน(ต่อ) - ( 23 มี.ค51 ) ชาวบ้านร้องเรียนไปที่ TV. TPBS “ รายการเปิดปม” • (25 เมย. 51) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเข้าเก็บ ตัวอย่างน้ำรอบเหมืองทอง 5 จุด ได้แก่ น้ำฝนชาวบ้าน บ่อน้ำตื้น น้ำบาดาล น้ำห้วยผุก และน้ำฮวย ตรวจหาสารCN และโลหะหนัก 4 ตัว (Mn/Zn/Cd/Pb/Cr ) ส่งตรวจที่คณะวิศวฯ ม.ขอนแก่น • ( 26 พค. 51) ม.ขอนแก่นแจ้งผลตรวจน้ำแก่ชาวบ้านพบว่าปกติทุกจุด แต่ชาวบ้านไม่เชื่อถือผลวิเคราะห์ - ( 30 พค.51) DSI ให้สสจ.เลยตรวจสอบข้อมูลการเจ็บป่วยของชาวบ้าน 6 คน ที่ร้องเรียนไปว่าได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำ • ( พค.51) ผวจ.เลย ให้ทบทวนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ชุดใหม่ จากชุดเดิม 115 คน คงเหลือ 32 คน เพื่อความรวดเร็วทันเหตุการณ์
การดำเนินงาน ( ต่อ ) - ( 6,19 มิย.51) ชาวบ้านร้องเรียนผ่าน สส.ในพื้นที่ไปยัง ก.ทรัพยากรฯ ให้เข้าตรวจสอบคุณภาพ สวล.รอบเหมืองทอง และได้ร้องเรียนต่อ ผวจ.เลย ครั้งที่ 2 เนื่องจากไม่เชื่อถือผลวิเคราะห์น้ำจาก ม.ขอนแก่นว่าไม่มีความเป็นกลาง และร้องขอให้ดำเนินการดังนี้ 1. ตรวจน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ (น้ำฝน น้ำลำห้วย น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำตื้น)โดยให้ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 อด. ดำเนินการ 2. ตรวจสอบกุ้งหอย ปู ปลา ในแหล่งน้ำ ฯ ที่ชาวบ้านกินประจำ 3. ให้เจาะเลือดตรวจหาสารพิษและโลหะหนักในผู้ใหญ่และเด็กที่ไม่มี กิจกรรมในการฉีดยาฆ่าหญ้ากับพ่อแม่ โดยส่งตรวจที่ รพ.รามาฯ
การดำเนินงาน ( ต่อ ) 4. ให้มีสื่อมวลชนเป็นพยานในการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจ และมีข้อ ร้องเรียนเพิ่มเติมจากเรื่องเดิมที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ได้แก่ 4.1. บ่อเก็บกากแร่สารพิษไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้ปูพลาสติกอย่างดี ได้แต่อัด บดแน่นอาจทำให้สารพิษรั่วซึมลงขั้นใต้ดินและสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้ และ บ่อเก็บกากพิษอยู่สูงกว่าชุมชนมาก 4.2. มีหมอกควัน/ฝุ่นละอองและเสียงดังรบกวนชาวบ้านเวลากลางคืน เหมืองอยู่ใกล้ชุมชน ~ 200 ม. โรงแต่งแร่ตั้งอยู่บนภูเขาสูงกว่าบ้านเรือน ชาวบ้าน
การดำเนินงาน( ต่อ ) - ( 24 มิย.51 ) ผวจ.เลยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาดังนี้ 1. ให้ สสจ. ตรวจเลือดหาสาร CN ให้แก่ชาวบ้านนาหนองบงก่อนอันดับแรกและมบ.ใกล้เคียงที่อาจได้รับผลกระทบ แล้วรายงานผลให้ ผวจ.ทราบ 2. ให้นายอำเภอวังสะพุง จัดอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านเกี่ยวกับขั้นตอนการทำเหมืองแร่ทองคำและเข้าดูกระบวนการผลิตทองคำทุกขั้นตอน 3. ให้ประชาสัมพันธ์จังหวัด ประชาสัมพันธ์การแก้ไขปัญหาของจังหวัดและขอความร่วมมือจากชาวบ้านให้เข้ารับการอบรมและให้ความร่วมมือกับสาธารณสุขในการเจาะเลือด - ( 25 มิย.51) กรมควบคุมมลพิษ/สิ่งแวดล้อมภาค9 อด./กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต 2 อด. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดร่วมกับชาวบ้านเก็บ ตย.น้ำ รอบเหมืองทอง จำนวน 11 จุด แบ่งเป็น 2 ชุด ส่งตรวจ 2 หน่วยงานเพื่อเปรียบเทียบผล
การดำเนินงาน (ต่อ ) • ( มิย.51) สสจ. เลย จัดทำโครงการศึกษาวิจัย “ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพผู้อาศัยอยู่รอบเหมืองทองคำ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ปี2551 ” ( ได้ผ่านการอนุมัติจาก คณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคน ~ สค.52 )
การดำเนินงาน (ต่อ ) • ( 5 กพ.52) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมออกแจ้งผลการตรวจสอบน้ำแก่ชาวบ้าน พบว่ามีสารโลหะหนักปนเปื้อนในแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด โดย * พบ As ในลำห้วยเหล็ก เขต พท. บ.กกสะทอน ม.2 * พบ Mn ในลำห้วยผุก เขตพท. บ.นาหนองบง ม.3 * พบ Cd ในประปาบาดาล บ.นาหนองบง ( คุ้มน้อย ) ในที่ประชุมชาวบ้านได้ร้องขอให้จังหวัดแก้ปัญหาเรื่องน้ำ ไม่รับน้ำจากเหมืองทอง ให้ตรวจสอบน้ำอีกรอบโดยแจ้งผลให้เร็วกว่าที่ผ่านมา และขอให้เก็บสัตว์น้ำ/พืชส่งตรวจหาสารโลหะหนัก - สสจ. เลย ประกาศแจ้งเตือนชาวบ้านให้ระมัดระวังการใช้น้ำอุปโภคบริโภค จากแหล่งน้ำในพื้นที่ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย (ฉบับที่ 1 ลว 4 กพ.52 ) ไม่ให้นำมาดื่มกินโดยตรง และไม่ควรนำน้ำมาใช้ในการปรุงอาหารหรือประกอบอาหารจนกว่าจะมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เหมาะสมก่อน
การดำเนินงาน (ต่อ) - (19 -20 มีค.52 ) สสจ./รพ.วังสะพุงร่วมกับชาวบ้านจัดเก็บตัวอย่างพืช/สัตว์น้ำ 15 รายการ ส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย ส่งทางเครื่องบิน (รพ.วังสะพุงสนับสนุนงบประมาณ ) • ผลตรวจสัตว์น้ำ พบว่า มีสารหนูเกินมาตรฐานในหอยขมที่เก็บจากลำห้วยเหล็ก 1 ตัวอย่าง • ( 11-12 มค.53 ) แจ้งผลตรวจสัตว์น้ำแก่ชาวบ้านและเก็บตัวอย่างหอยขมจากจุดที่มีปัญหาส่งตรวจซ้ำ (ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลตรวจ)