470 likes | 850 Views
สัมมนาปัญหาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ( Seminar on Socio-Anthropogical Problems). สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. อาจารย์บุญหนา จิมานัง (ปก.ศ.,พ.ม., พธ.บ., ศศ.ม.) E-mail Boonna@MCU.ac.th. สัมมนาคืออะไร.
E N D
สัมมนาปัญหาทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา(Seminar on Socio-Anthropogical Problems) สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น อาจารย์บุญหนา จิมานัง (ปก.ศ.,พ.ม., พธ.บ., ศศ.ม.) E-mail Boonna@MCU.ac.th
สัมมนาคืออะไร • การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ปัญหาคืออะไร • ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง, คำถาม, ข้อที่ควรทราบ, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข
สังคมวิทยาคืออะไร สังคมศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ ศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคม และอาศัยความสัมพันธ์ทางสังคมอธิบายพฤติกรรมของคนที่อยู่ในความสัมพันธ์นั้น สังคมวิทยทัศน์
ปัญหาสังคมกับปัญหาสังคมวิทยาคืออะไรปัญหาสังคมกับปัญหาสังคมวิทยาคืออะไร • ปัญหาสังคมวิทยา เป็นปัญหาทางปัญญา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรู้เพิ่มพูนขึ้น • ปัญหาสังคมมีเป้าหมายที่การแก้ไขหรือป้องกันปัญหา แต่ปัญหาสังคมวิทยามีเป้าหมายในการประเทืองปัญญา เพิ่มความรู้ หรือสร้างทฤษฎี • ผู้เกี่ยวข้องปัญหาสังคมคือนักปฏิบัติทางสังคม แต่ผู้เกี่ยวข้องกับปัญหาสังคมวิทยาเป็นนักวิชาการ
ปัญหาสังคมวิทยา คำถาม: เราสามารถสร้างองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์หรือเกี่ยวกับสังคมได้หรือไม่ ? (ข้อพิจารณา) 1. ลักษณะเฉพาะของปรากฎการณ์ทางสังคม และ 2. ลักษณะเฉพาะของนักสังคมศาสตร์ • ทฤษฎีสังคมวิทยาพิสูจน์ความเป็นจริงได้ด้วยการหาข้อมูลสนาม • หรือข้อมูลประจักร์ • ทฤษฎีสังคมวิทยายึดหลักวัตถุวิสัยสัมผัสได้ด้วยอินทร์ 5
ปัญหาสังคมวิทยา คำถาม: มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวิทยา 1. การปฏิวัติในทางการเมือง 2. การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการกำเนิดลัทธิทุนนิยม 3. แนวคิดสังคมนิยม 4. การกลายเป็นเมือง 5. การเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อในศาสนา 6. พัฒนาการของวิทยาศาสตร์
ปัญหาสังคม • คือความเสียระเบียบของความสัมพันธ์ทางสังคม หรืออะไรก็ได้ที่มากระทบความสัมพันธ์ของสังคมในทางลบ
ลักษณะสำคัญของปรากฎการทางสังคมที่มีปัญหาลักษณะสำคัญของปรากฎการทางสังคมที่มีปัญหา • ปัญหาด้านปริมาณ ความสัมพันธ์เกี่ยวกับมนุษย์และสังคมมีความละเอียดอ่อนซับช้อน และมีจำนวนมาก • ปัญหาด้านมาตรวัดสังกัปนามธรรม ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิทยาศาสตร์ • ปัญหาการโต้กลับของปรากฎการณ์มนุษย์และสังคม
สรุป • ปัญหาสังคมวิทยา(Sociological Problem) คือเรื่องที่ต้องการทราบในเชิงสังคมวิทยาเป็นเรื่องทางวิชาการ การศึกษาปัญหาสังคมวิทยาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ • ปัญหาสังคม (Social Problem) คือเรื่องที่ก่อความเดือนร้อนแก่บุคคลในสังคม ควรต้องมีการแก้ไขให้หมดไป การศึกษาปัญหาสังคมเพื่อหาทางแก้ไขให้หมดไป
ทฤษฎีสังคมวิทยาคืออะไรทฤษฎีสังคมวิทยาคืออะไร • ข้อความที่ใช้อธิบายเงื่อนไขทางสังคมที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ทางสังคมที่สามารถสังเกตได้(Giddens,1991) • ข้อสรุปเชิงประจักษ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดจากการเชื่อมโยงประพจน์ต่างๆเข้าด้วยกันตามหลักตรรกศาสตร์(Merton,1968)
ทฤษฎีสังคมวิทยาคืออะไรทฤษฎีสังคมวิทยาคืออะไร คือ ทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม ประกอบด้วย 4 ทฤษฎีหลัก • ทฤษฎีโครงสร้าง การหน้าที่(Structural Functional Theory) • ทฤษฎีการขัดแย้ง(Conflict Theory) • ทฤษฎีปริวรรต(Exchange Theory) • ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์(Symbolic Interaction Theory) ทฤษฎีสังคมวิทยา การสร้างฯ
สาระสำคัญทฤษฎีโครงสร้าง การหน้าที่ • สังคมทุกสังคมต้องมีโครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยต่างๆ • แต่ละหน่วยต่างทำหน้าที่ประสานกัน • แต่ละหน่วยต่างปฏิบัติหน้าที่เพื่อความคงอยู่ของสังคม • แต่ละหน่วยต่างยึดระบบค่านิยมเป็นแนวในการปฏิบัติหน้าที่
สาระสำคัญทฤษฎีการขัดแย้งสาระสำคัญทฤษฎีการขัดแย้ง • ทุกหน่วยของสังคมอาจเปลี่ยนแปลงได้ • ทุกหน่วยของสังคมเป็นบ่อเกิดของการขัดแย้ง • ทุกหน่วยของสังคมมีส่วนส่งเสริมความไม่เป็นปึกแผ่นและการเปลี่ยนแปลง
สาระสำคัญทฤษฎีปริวรรตสาระสำคัญทฤษฎีปริวรรต • มนุษย์แต่ละคนมีความต้องการจำเป็นหลายอย่างในการดำรงชีวิต • มนุษย์ติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อสนองความต้องการจำเป็นของตน • ในการแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน แต่ละคนต้องการมูลค่าสูงสุดสำหรับสิ่งของของตน • ความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนจะดำรงอยู่ตราบที่คู่สัมพันธ์คิดว่าตนได้กำไรหรือคิดว่าการแลกเปลี่ยนมีความยุติธรรม
สาระสำคัญทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์สาระสำคัญทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ • มนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักใช้สัญลักษณ์ • มนุษย์ใช้สัญลักษณ์สร้างบำรุงรักษาและพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม • มนุษย์ใช้สัญลักษณ์ สร้าง บำรุงรักษาและพัฒนาวัฒนธรรม • มนุษย์ใช้สัญลักษณ์ ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้มนุษย์รุ่นหลัง
ลักษณะของทฤษฎีสังคมวิทยาลักษณะของทฤษฎีสังคมวิทยา • องค์ความรู้ เป็นองค์ความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคม (ประเภท, องค์ประกอบ และลักษณะ) • แสดงเหตุผล เป็นคำอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคมด้วยความสัมพันธ์ทางสังคม • ความถูกต้องชั่วคราว องค์ความรู้ และการแสดงเหตุผลข้างต้นมีความถูกต้องระยะเวลาหนึ่ง
สิ่งที่สังคมวิทยาศึกษาสิ่งที่สังคมวิทยาศึกษา • ความสัมพันธ์ทางสังคม (social relationship) แบ่งเป็น • ประเภท (แบบเพื่อน แบบครอบครัว แบบญาติ แบบสังคม/ชุมชน) • ขนาด/ปริมาณ (เล็ก กลาง ใหญ่) • ลักษณะ/คุณภาพ(เป็นปึกแผ่น แน่นหนา สามัคคี แข่งขัน ขัดแย้ง) • องค์ประกอบ(ปัจเจกบุคคล บทบาท/หน้าที่ ระเบียบสังคม) • ผลกระทบ(ต่อสมาชิก )
ประโยชน์/ความสำคัญ • มุมมองทางสังคมและสังคมวิทยา • ภาษีสังคม • ปัญหาคมสังคม • การเมาทางสังคม • การตายทางสังคม • เด็ก หนุ่มสาว ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าทางสังคม • ค่าใช้จ่ายทางสังคม • สถานภาพทางสังคม/บทบาท • มลภาวะทางสังคม(ความสัมพันธ์เสีย)
ประโยชน์/ความสำคัญ(ต่อ)ประโยชน์/ความสำคัญ(ต่อ) • สิ่งที่ได้จากทางสังคม • การศึกษาผลกระทำทางสังคมต่อปัจเจกชน • การวางแผนทางสังคม สร้างชุมชนใหม่หรือปรับปรุง • การพัฒนาชุมชน • การสังคมสงเคราะห์
วิวัฒนาการของสังคมวิทยาวิวัฒนาการของสังคมวิทยา • ผลสะท้อนอันสืบเนื่องจากการปฏิวัติรูปศาสนาโปรเตสแตนท์, ลัทธิอุตสาหกรรม, ลัทธิทุนนิยม, ระบบโรงงาน, การขยายตัวของเมือง ลัทธิเหตุผลนิยม ลัทธิปัจเจกชนนิยม เป็นผลให้สังคมตะวันตก เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างรวดเร็ว • ช่วงสร้างรากฐาน (1905-1918) มีการเปิดสอนหลักสูตรและจัดตั้งภาควิชาสังคมวิทยาขึ้นในหลายมหาวิทยาลัย เพื่อสนองตอบต่อวิกฤตการณ์และปัญหาของประเทศยุโรป
ข้อแตกต่างระหว่างสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาข้อแตกต่างระหว่างสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 1. สังคมวิทยามีแนวโน้มจะศึกษาสังคมที่รู้หนังสือ ส่วนมานุษยวิทยาสนใจสังคมที่ยังไม่มีภาษาเขียน 2. สังคมวิทยามีแนวโน้มจะศึกษาสังคมเชิงช้อน เช่น สังคมอุตสาหกรรม มานุษยวิทยาสนใจสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมง่ายๆ ไม่สลับซับช้อน เช่น สังคมชนบท ชาวเขา เป็นต้น 3. สังคมวิทยามีแนวโน้มจะศึกษาสังคมปัจจุบัน ส่วนมานุษยวิทยาสนใจศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ของสังคม 4. สังคมวิทยามีแนวโน้มจะใช้วิธีการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างมากกว่าการศึกษาเป็นรายกรณี 5. สังคมวิทยาสนใจข้อมูลทางสถิติ ส่วนมานุษยวิทยาสนใจข้อมูลที่ได้จากการใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มที่ศึกษาแบบเข้าไปมีส่วนร่วม
ความแตกต่างของสังคมวิทยากับศาสตร์อื่นๆ 1. ต่างที่เนื้อหา เน้นที่ความสัมพันธ์ สิ่งที่เกิดจากความสัมพันธ์และผลกระทบจากความสัมพันธ์ 2. ต่างที่วิธีมองปัญหา มองสิ่งใดทางสังคม จะเน้นความสัมพันธ์เป็นที่ตั้ง 3. ต่างที่ทฤษฎี มี 4 ทฤษฎีหลักที่ยึดความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นหลักอธิบายปรากฎการณ์ทางสังคม 4. ต่างที่ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการเก็บข้อมูลมี 4 วิธีหลัก หน่วยตัวแปรจะเน้นความสัมพันธ์ทางสังคม 5. ต่างที่การมองอย่างครอบคลุม
นักคิดทางสังคมวิทยาในยุดแรกนักคิดทางสังคมวิทยาในยุดแรก • โอกุส กองต์(1798-1857)ชาวฝรั่งเศส ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันสำคัญๆ ของสังคม เช่น เศรษฐกิจ ครอบครัว การเมืองฯลฯ • เฮอร์เบิรต์ สเปนเซอร์(1820-1903) ชาวอังกฤษ สนใจความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของสังคม เช่น อิทธิพลของศาสนาต่อวิถีทางการเมือง • อีมิล เดอร์กไคม์(1858-1919)ชาวฝรั่งเศส สนใจการศึกษาสังคมวิทยาเปรียบเทียบ • แมกซ์ เวเบอร์(1864-1920) ชาวเยอรมัน สนใจการวิเคราะห์สถาบันต่างๆ รวมทั้งศาสนา เศรษฐกิจ การเมือง องค์การต่างๆ
ความสนใจของนักสังคมวิทยาในปัจจุบันความสนใจของนักสังคมวิทยาในปัจจุบัน ดูจากตำราที่เขียน ความรู้สึกสนใจต่อสังคมวิทยาด้านใดมากที่สุด และงานวิจัย(ตามลำดับ)พบว่า สังความวิทยาการแพทย์ สังคมวิทยาอุสาหกรรม สังคมวิทยาชนบท สังคมวิทยานคร สังคมวิทยาศาสนา ฯลฯ
ขอบเขตสังคมวิทยา • สังคมวิทยาในฐานะศาสตร์แห่งสังคม ศึกษาโครงสร้าง ปัญหา, หน้าที่, ส่วนประกอบ และผลที่เกิดขึ้น • สังคมวิทยาในฐานะศาสตร์แห่งสถาบันต่างๆ ศึกษาลักษณะสถาบัน, ความแตกต่างระหว่างสถาบัน และหน้าที่ของสถาบัน • สังคมวิทยาในฐานะศาสตร์แห่งความสัมพันธ์ทางสังคมศึกษาขนาด และลักษณะของความสัมพันธ์ คำถาม: คำสอนทางศาสนากับความเจริญทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
แนวคิดทางสังคมวิทยาเดิมแนวคิดทางสังคมวิทยาเดิม • ยึดมั่นในกฎหรือหลักการ ประกอบด้วย ละเว้นการออกความเห็นในเรื่องศีลธรรม เลือกวิจัยเฉพาะที่สามารถวิจัยได้ง่าย ไม่สนใจปัญหาที่มีผลกระทบกับประชาชน
สังคมวิทยาแนวใหม่ • นักสังคมวิทยาแนวใหม่พยายามแก้ข้อบกพร่องในสังคม Irving Louis Horowitz มีข้อสังเกตว่า การเป็นนิโกรมีส่วนใกล้เคียงกับการเป็นผู้ร้ายจริงหรือไม่ การหย่าร้างเป็นปัญหาสังคมหรือไม่ เรือนจำส่วนใหญ่ช่วยให้คนเป็นคนดีขึ้นหรือไม่ • นักสังคมวิทยาแนวใหม่สนใจช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์มากขึ้น • ปัจจุบันคนนิยมเรียนสังคมวิทยามากขึ้น เนื่องจากคนเริ่มรู้สึกว่ามนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของพลังที่คนเองไม่เข้าใจ • ต้องการความรู้เกี่ยวกับพลังต่างๆ ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ต่อการลิขิตชะตากรรมของมนุษย์
บทบาทนักสังคมวิทยาแนวใหม่บทบาทนักสังคมวิทยาแนวใหม่ • นักสังคมวิทยาแนวใหม่มีบทบาทต่างๆกัน เช่น สนับสนุนให้รัฐช่วยเหลือผู้ยากจนโดยวิธีการประชาสงเคราะห์ และมีส่วนร่วมในการตั้งหน่วยงานช่วยหางานให้ผู้ว่างงาน • บทบาทในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์สังคม ศึกษาค้นคว้าและการสอบสวนความจริงให้หน่วยงานอื่น และในบางครั้งอาจทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้า และช่วยให้คำแนะนำด้านนโยบายสังคม
แซงต์ ซิมอง(Saint Simon,1760-1825) ซิมองคิดว่า นักวิทยาศาสตร์จะป็นยอดคน ในการกำหนดระเบียบสังคมใหม่ แทนผู้นำศาสนา ซึ่งปกครองสังคมด้วยหลักธรรมแบบไม่คำนึงถึงเหตุผล ชนชนยอดคน คือนักวิทยาศาสตร์และนักอุตสาหกรรม จะทำหน้าที่ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม ความคุมการผลิต ตลอดสิทธิ กำหนดหน้าที่ อาชีพ ด้วยหลักการของวิทยาศาสตร์ ประเด็น : ท่านเชื่อว่า ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เป็นชนชั้นยอดในสังคมหรือไม่
ออกุสต์ คองท์ (Auguste Comte, 1798-1857) คองท์มองว่า ผู้นำคือนักวิทยาศาสตร์ และนักอุตสาหกรรม ตรงข้ามกับสมัยก่อนผู้นำคือ ทหาร และสงคราม ซึ่งมีประโยชน์เพียงบังคับให้คนมีระเบียบ และสร้างอาณาจักร์ขนาดใหญ่ ความคิดแบบเดิม คือแบบเทวนิยม ปรากฏการณ์ต่างเป็นผลมาจากการกระทำของผีปีศาจ เทพเจ้า ไม่มีเหตุผล ความคิดแบบใหม่่ คือแบบปฏิฐานนิยม มนุษย์จะสังเกตการณ์ ปรากฏการณ์ตามสภาวะที่เป็นจริง
คองท์(Auguste Comte, 1798-1857) • คองท์เสนอว่า สังคมวิทยาจะต้องใช้ระเบียบวิธีศึกษาอย่างเดียวกับที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คือสังเกตการณ์ ทดลอง และเปรียบเทียบ • การสังเกตที่มีความหมายต้องมีทฤษฎีเป็นแนวทาง มิฉะนั้น เราก็ไม่รู้ว่าจะเก็บข้อเท็จจริงอะไร และข้อเท็จจริงนี้จะมีความหมายก็ต่อเมื่อถูกนำไปสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงอื่นตามทฤษฎีที่เราคิดไว้ล่วงหน้า ประเด็น : ท่านคิดว่า การศึกษาสังคมจะใช้วิธีการของวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่
เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์(Herbert Spencer,1820-1903) ชาวอังกฤษ สเปนเซอร์ เสนอไว้ว่า สังคมวิทยาเปรียบเหมือนร่างกายมนุษย์ดังนี้ 1. มีพัฒนาการ หรือเจริญเติมโต 2. มีการเพิ่มขนาด หมายถึงการเพิ่มความซับช้อน 3. มีการแบ่งตัวในเชิงโครงสร้าง นำไปสู่การแบ่งหน้าที่ 4. แต่ละส่วนต้องพึ่งพาอาศัยกัน 5. แต่ละส่วนถือว่าเป็นหน่วยย่อยโดยตัวของมันเอง 6. เมื่อองค์รวมถูกทำลายไป หน่อยย่อยจะยังคงอยู่ต่อไประยะหนึ่ง ประเด็น : ขอให้ท่านแสดงความคิดเห็น
อีมิล เดอร์กไคม์ (Emile Durkheim,1858-1919) ชาวฝรั่วเศส • เดอร์กไคม์ เสนอว่า สังคมวิทยาเป็นการศึกษาสังคมซึ่งจะต้องมีการศึกษาอย่างกว้างขวางครบถ้วน เพราะสังคมประกอบด้วย ระบบการเมือง ระบบศาสนา ระบบครอบครัว และระบบเศรษฐกิจ ประเด็น : ท่านคิดว่า ปัจจุบันสังคมไทยใช้ระบบใดนำในการพัฒนาสังคม
แม็กซ์ เวเบอร์(Max Weber,1864-1920) ชาวเยอรมัน • เสนอว่า การปฏิบัติหรือดำเนินการทางสังคมนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อบุคคลมีวัตถุประสงค์ มีความตั้งใจที่จะดำเนินการไปในทางที่ผู้อื่นหรือบุคคลอื่นคาดหวังไว้ • ดังนั้น วิชาสังคมวิทยาจะได้ผลต่อเมื่อสามารถอธิบายหรือเข้าใจเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการกระทำนั้นๆ ประเด็น : ท่านคิดว่า ปัจจุบันวัยรุ่นไทยคาดหวังอะไรกับการแต่งตัวโป้
ต้นศตวรรษที่ 19 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรุนแรง ผลอันเกิดจากการขยายตัวของการผลิตแบบอุตสาหกรรม คนรู้จักคิดใช้เหตุผลแบบวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทำให้ศาสนาจักรสูญเสียอำนาจ • ในขณะเดียวกัน นักสังคมวิทยาอย่างน้อย 2 ท่าน เสนอให้พัฒนาวิทยาศาสตร์เป็นศาสนาสาขาใหม่ขึ้น เพื่อให้มีหน้าที่ศึกษาเรื่องของคนในฐานะที่อยู่ร่วมกัน และใช้ข้อค้นพบและความรู้จากวิทยาศาสตร์สาขานี้ในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม • ท่านคิดว่า ศาสนาปัจจุบันควรจะมีสถานภาพและบทบาทในสังคมอย่างไร
ประเด็นสัมมนาข้อที่ 1 • แซงต์ ซิงมอง สนับสนุนให้ใช้วิทยาศาสตร์เข้าแทนที่ศาสนา เพราะความรู้ที่ได้จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ตระหนักแน่ พิสูจน์ได้นำไปใช้ได้ผลจริง ต่างกับความรู้ศาสนาเป็นเพียงการเดาหรือคาดการณ์เอาเอง โดยมีนักวิทยาศาสตร์เข้าสวมบทบาทแทนพระในสังคม ในฐานะเป็นชนชั้นยอด(Elite) ซึ่งจะมีหน้าที่จัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม ควบคุมการผลิต ตลอดจนกำหนดสิทธิหน้าที่ อาชีพของแต่ละบุคคล ท่านเห็นด้วยหรือไม่
คองท์ กล่าวว่า สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สาขาสุดท้ายที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคมและมนุษย์ซึ่งถือว่ามีความซับซ้อนมากที่สุด และเป็นเรื่องเฉพาะมากที่สุด สังคมวิทยาจึงมีฐานะสูงสุด เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์และเป็นยอดของความรู้ซึ่งส่วนหนึ่งได้มาจากการสังเคราะห์หรือรวมเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์ทุกสาขาที่เกิดขึ้นก่อนเข้าด้วยกัน ดังนั้น สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาขึ้นมาในสังคมปัจจุบันเพราะเป็นสังคมอุตสาหกรรม-วิทยาศาสตร์ ท่านจะเถียงคองท์ว่าอย่างไร
ประเด็นสัมมนาข้อที่ 2 • จากการศึกษาสาระสำคัญทฤษฎีโครงสร้างการหน้าที่ ท่านคิดว่า สถาบันศาสนาในสังคมไทย เป็นหน่วยที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อความคงอยู่ของสังคมไทยหรือไม่
ประเด็นสัมมนาข้อที่ 3 • จากการศึกษาสาระสำคัญทฤษฎีการขัดแย้ง ท่านคิดว่าพระพุทธศาสนาในสังคม มีส่วนส่งเสริมความไม่เป็นปึกแผ่นและการเปลี่ยนแปลงสังคมหรือไม่
ประเด็นสัมมนาข้อที่ 4 • จากการศึกษาสาระสำคัญทฤษฎีปริวรรต(การขัดแย้ง) ท่านคิดว่าสังคมไทยคาดหวังอะไรจากสถาบันสงฆ์ไทย และความคาดหวังนั้นเป็นมูลค่าสูงสุดและสนองความต้องการที่จำเป็นแก่สังคมไทยแล้วหรือยัง
ประเด็นวิจัย • กรอบคำถาม • ปัจจุบันชุมชนใช้องค์กรใดเป็นตัวนำในการพัฒนา