120 likes | 432 Views
ความแตกต่างของเถรวาทและมหายานอย่างน้อย 10 ประเด็น ( ข้อแตกต่างบางประการ ). เสนอ อาจารย์สมบูรณ์ วัฒนะ จัดทำโดย นางสาวบูรลิน บุญฤทธิโรจน์ 5270347. ระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน
E N D
ความแตกต่างของเถรวาทและมหายานอย่างน้อย 10 ประเด็น(ข้อแตกต่างบางประการ) เสนอ อาจารย์สมบูรณ์ วัฒนะ จัดทำโดย นางสาวบูรลิน บุญฤทธิโรจน์ 5270347
ระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายานระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน พระพุทธศาสนามี 2 นิกายใหญ่เรียกว่าเถรวาทและมหายานตามลำดับการแตกแยกของสงฆ์เริ่มขึ้นเกือบทันทีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน และการแตกแยกของพระสงฆ์เป็น 2 นิกายอย่างชัดเจนปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 1 ศตวรรษหลังพุทธปรินิพพาน การแตกแยกเริ่มเกิดเมื่อพระสงฆ์ 2 ฝ่ายมีทัศนะต่างกันในเรื่องเกี่ยวกับพระวินัยบัญญัติบางประเด็น ต่อมาไม่ช้าการตีความพระธรรมต่างกันก็ติดตามมา พอถึงพุทธศตวรรษที่ 3 หลังพุทธกาล ก็เกิดมีสำนักทางความคิดแล้วถึง 18 สำนัก พระพุทธศาสนาแบบมหายานแท้ๆนั้นเริ่มเกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หลังพุทธกาล เมื่อเกิดมีพระสูตรมหายานขึ้นหลายสูตร ความแตกต่างสำคัญระหว่างนิกายทั้ง 2 มีดังต่อไปนี้
1. พระพุทธศาสนาเถรวาท ได้ชื่อเช่นนั้นเพราะยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งที่ประชุมใหญ่ของพระมหาเถระผู้มีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้าช่วยกันรวบรวมแจกแจงจัดหมวดหมู่ยอมรับกันและท่องจำไว้ในการทำสังคายนาครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นหลังพุทธปรินิพพานเพียง 3 เดือน พระพุทธศาสนามหายานบางทีเรียกว่า อาจริยวาท หรือลัทธินิยมของพระอาจารย์รุ่นหลังชาวเถรวาทเชื่อว่าพระสูตรมหายานถูกสร้างขึ้นมาแล้วก็เอาใส่พระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าโดยพระนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 ถึงที่ 5 2. พระพุทธศาสนาเถรวาทได้รับการตั้งชื่อโดยชาวมหายานว่า หินยาน หมายถึง ยานน้อย คับแคบและต่ำทราม เพราะพระพุทธศาสนาเถรวาทเน้นความสำคัญของการหลุดพ้นจากสังสาระ (การเวียนว่ายตายเกิด)ของบุคคลแต่ละคนก่อนสิ่งใด พระพุทธศาสนามหายานนั้น ชาวมหายานเรียกตัวเองเช่นนั้น เพราะชาวมหายานมุ่งเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อที่จะช่วยคนให้พ้นจากความทุกข์ได้ทีละมาก ๆ
3. พระพุทธศาสนาเถรวาทบางทีก็เรียกว่า สาวกยาน หรือ ยานของพระสาวก เพราะว่าชาวเถรวาทมุ่งเป็นเพียงสาวกของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนามหายานเรียกว่า โพธิสัตวยาน (ยานของพระโพธิสัตว์)เพราะว่าชาวมหายานมุ่งต่อการเป็นพระโพธิสัตว์ ที่จะช่วยนำสัตว์อื่นๆให้บรรลุถึงพระนิพพานก่อน ส่วนตนเองจะเป็นคนสุดท้ายที่จะเข้าสู่นิพพาน 4.พระพุทธศาสนาเถรวาทบางทีเรียกว่า นิกายฝ่ายใต้(ทักษิณนิกาย) เพราะแผ่ขยายจากอินเดียไปสู่ภาคใต้ของเอเชีย และทุกวันนี้มีอยู่ในประเทศแถบใต้ของเอเชีย เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว และกัมพูชา พระพุทธศาสนามหายานเรียกว่านิกายฝ่ายเหนือ เพราะจะพบได้ในประเทศแถบเหนือของเอเชียเช่น มองโกเลียทิเบตเกาหลีญี่ปุ่น
5. พระพุทธศาสนาเถรวาทยึดถือพระไตรปิฎกว่าเป็นที่มาที่แท้จริงและขั้นสุดท้ายของคำสั่งสอนอันแท้จริงของพระพุทธเจ้า และมองว่าพระสูตรมหายานเป็นงานที่สร้างขึ้นภายหลัง พระพุทธศาสนามหายานถือว่าพระสูตรมหายานต่างๆเช่นปรัชญาปารมิตาสูตรสัทธรรมปุณฑริกสูตร อวตังสกสูตร ฯลฯ เป็นคำสอนอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้และนำสืบต่อกันมาโดยทางลัทธินิยมสายอื่น 6. พระพุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาถิ่นภาษาหนึ่งแห่งภาษาโบราณของอินเดียโบราณเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์และเป็นภาษาสากลของตน พระพุทธศาสนามหายาน ใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจารึกพระคัมภีร์ก่อนที่คัมภีร์ทั้งหมดจะถูกแปลเป็นภาษาจีนและภาษาถิ่นอื่นๆ
7. พระพุทธศาสนาเถรวาทเคารพบูชาพระโคตะมะพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เคารพบูชาสูงสุดแม้ว่าพระองค์จะเสด็จสู่นิพพานมาเป็นเวลานานแล้วก็ตาม พระพุทธศาสนามหายานเคารพบูชาพระโพธิสัตว์ต่างๆ ซึ่งคนเชื่อว่ายังมีพระชนม์อยู่และท่องเที่ยวไปในโลกเพื่อช่วยเหลือใครๆก็ตามที่ต้องการช่วยเหลือและสวดมนต์ขอให้ท่านมาช่วย 8. พระพุทธศาสนาเถรวาท เชื่อว่าพระพุทธเจ้าโคตะมะได้เข้าถึงนิพพานแล้ว จึงเสด็จไปแล้วอย่างสิ้นเชิงไม่สามารถจะกลับมาช่วยใครได้ชาวพุทธได้แต่เคารพบูชาพระองค์ในฐานะเป็นครูและเป็นผู้ก่อตั้งในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนาเท่านั้น พระพุทธศาสนามหายาน เชื่อว่าพระศากยะมุนีพุทธเจ้าเป็นเพียงการปรากฏตัวครั้งหนึ่ง เพื่อประกอบภารกิจในการสอนคนเฉพาะคราว ของธาตุพุทธะอันเป็นอมตะเรียกว่าธรรมกาย
9. พระพุทธศาสนาเถรวาทมีทัศนะคติแบบอนุรักษ์นิยมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่รวบรวมไว้ในพระไตรปิฎกได้รับความเชื่อถือว่าเป็นความจริงขั้นสุดท้ายแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตีความใหม่ใดๆ เพราะฉะนั้น จึงมีเอกภาพค่อนข้างสูงและหยุดนิ่ง พระพุทธศาสนามหายานมีลักษณะเปิดกว้างมีเสรีภาพในการตีความหลักคำสอนต่างๆ ท่าทีใจกว้างแบบนี้ประกอบกับการไม่มีศูนย์อำนาจกลางมาควบคุม ได้เปิดโอกาสให้มีการตีความคำสอนใหม่และเกิดมีนิกายและอนุนิกายขึ้นมามากมาย ดังนั้นพระพุทธศาสนามหายานจึงเจริญเติบโตและแตกแยกออกไปเรื่อยๆ 10. พระพุทธศาสนาเถรวาทมีลักษณะเป็นปฏิบัตินิยมมีการวางหลักปฏิบัติที่ชัดเจนและปฏิบัติได้ไว้เพื่อไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน พระพุทธศาสนามหายานมีลักษณะคิดเก็งความจริงค้นหาเหตุผลและเป็นปรัชญามากกว่า ชอบเสนอเหตุผลที่เป็นนามธรรมเพื่อสนับสนุนหรือค้านความเป็นจริงทางอภิปรัชญาต่างๆเช่น ธรรมชาติของพระพุทธจิตดั้งเดิมแท้จริง สุญญตา เป็นต้น
11. พระพุทธศาสนาเถรวาทส่งเสริมให้ดำเนินตามมรรคไปตามลำดับขั้น ตามปกติเริ่มต้นด้วยการมีความเชื่อ ในพระรัตนตรัย(ศรัทธา)งดเว้นจากการกระทำชั่วที่เป็นพิษเป็นภัย (ศีล)กระทำความดีด้วยการให้ (ทาน)สร้างความรักความปรารถนาดี ในสัตว์ทั้งปวง(เมตตา)สร้างความสงสารเห็นใจ (กรุณา)ความพลอยยินดีในผลสำเร็จของผู้อื่น (มุทิตา)และการวางตัวเป็นกลาง(อุเบกขา)ปฏิบัติสมถะภาวนา (สมาธิ)และการพัฒนาปัญญาเพื่อรู้แจ้งในความจริงแท้ของสิ่งทั้งปวง (ปัญญา) พระพุทธศาสนามหายาน มิได้กำหนดทางดำเนินที่แน่นอนเพียงหนึ่งเดียวแก่ศาสนิกชนทั้งปวง แต่ละคนมีอิสระที่จะยึดถือขั้นใดขั้นหนึ่งที่ตนชอบหรือที่เหมาะกับภูมิหลังทางศักยภาพหรือความถนัดของตน ตัวอย่างเช่นนิกายสุขาวดี อาจจะเน้นศรัทธา ส่วนนิกายเซ็นอาจเน้นวิชชุญาณและการตรัสรู้แบบฉับพลัน
12. พระพุทธศาสนาเถรวาทสอนให้พระคงรักษาศีล 227 ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เมื่อเกือบ 2,600 ปีมาแล้ว พระภิกษุมหายานได้ยกเลิกพระวินัยมากมายหลายข้อ คงรักษาไว้เฉพาะบางข้อที่ปฏิบัติได้เหมาะสมกับสภาพทางสังคมและดินฟ้าอากาศของตนเท่านั้น 13. พระพุทธศาสนาเถรวาท ไม่บังคับให้พระฉันอาหารมังสวิรัติพระส่วนมากจึงยังฉันเนื้อสัตว์ถ้าเนื้อนั้นประกอบด้วยองค์ 3 ประการ คือ พระไม่ได้เห็นเขาฆ่าพระไม่ได้ยินเสียงเขาฆ่าพระไม่รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อตนโดยเฉพาะ พระฝ่ายมหายานเป็นนักมังสวิรัติที่เคร่งครัด นอกจากพระวินัยสงฆ์ทั่วๆไปแล้ว พระมหายานยังต้องรักษาศีลของพระโพธิสัตว์อีกจำนวนหนึ่งด้วยรวมทั้งข้อที่ให้เจริญมหากรุณาด้วย คือไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
ส วั ส ดี