660 likes | 827 Views
การเตรียมความพร้อม ของการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น. เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
E N D
การเตรียมความพร้อมของการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นการเตรียมความพร้อมของการเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เอกสารประกอบการอบรม ข้าราชการและพนักงาน สายสนับสนุนในมหาวิทยาลัย เพื่อทำแผลงานทางวิชาการในการกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นเป็นระดับ ชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ และ เชี่ยวชาญ
การกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้น ตำแหน่งนั้นจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบคุณภาพและความยุ่งยากของงานในตำแหน่งเพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญถึงขนาดที่จะต้องกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้น การกำหนดระดับตำแหน่ง ต้องยึดหลักการวิเคราะห์ภารกิจของหน่วยงานและประเมินค่างานเพื่อวัดคุณภาพของตำแหน่งตามลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพ และความยุ่งยากของงาน
ที่มา: พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 20 ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดกรอบของตำแหน่ง อันดับเงินเดือนของตำแหน่งและจำนวนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาที่พึงมีในสถาบันอุดมศึกษานั้น รวมทั้งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง และคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคราวละสี่ปี โดยต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพความไม่ซ้ำซ้อน ความประหยัด และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ ก.พ.อ. กำหนด
ระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ กำหนดให้มีได้ทั้งหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการวิชาการ และ หน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา * ข้อ 3(1) ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนด ระดับตำแหน่งและการแต่งตั้ง ขรก.พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งให้สูงขึ้น ลวท.22 ธค.53
ระดับ เชี่ยวชาญ และ เชี่ยวชาญพิเศษ กำหนดให้มีได้เฉพาะหน่วยงานที่ปฏิบัติภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่สอน วิจัย ให้บริการวิชาการ และ สำนักงานอธิการบดี(ไม่รวมกอง) * ข้อ 3(2) ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานการกำหนด ระดับตำแหน่งและการแต่งตั้ง ขรก.พลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งให้สูงขึ้น ลวท.22 ธค.53
ผลงานที่ต้องใช้ยื่นประกอบการขอกำหนดตำแหน่งผลงานที่ต้องใช้ยื่นประกอบการขอกำหนดตำแหน่ง
ระดับชำนาญงาน ชำนาญงานพิเศษชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ - ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ ชนง.ชนพ. ชนก. ชนพ.- จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ระดับเชี่ยวชาญ - ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ ชช.- จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ- การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนงานบริการวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ - ผลงานที่แสดงความเป็นผู้ ชชพ.- จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ- การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนงานบริการวิชาการ- ความเป็นที่ยอมรับในงานด้านนั้นๆ หรือในวงวิชาการ/วิชาชีพ
หลักเกณฑ์และการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นต้องเป็นตำแหน่งที่สถาบันอุดมศึกษาได้ประเมินค่างานแล้ว ผลงานที่นำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณา อย่างน้อยต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ - มิใช่ผลงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาและการฝึกอบรม - มิใช่ผลงานเดิมที่เคยใช้ประเมินแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นมาแล้ว - กรณีที่เป็นผลงานร่วมต้องระบุการมีส่วนร่วมและมีคำรับรองจากผู้มีส่วนร่วม
การประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ต้องคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพของผู้ยื่นขอ เกณฑ์การตัดสินผลสัมฤทธิ์ของงาน ความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งที่จะประเมิน หรือสมรรถนะทางการบริหาร ให้เป็นไปตามที่สภาสภาบันอุดมศึกษากำหนด ให้สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดระดับคุณภาพของงาน(ปรับปรุง พอใช้ ดี ดีมาก ดีเด่น ฯลฯ)ในการประเมิน
การตัดสินคุณภาพของผลงานให้ใช้คะแนนเสียงข้างมากเว้นแต่โดยวิธีพิเศษต้องใช้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าเสียงของที่ประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ให้กระทำได้สองวิธีคือ วิธีปกติ และ วิธีพิเศษ วิธีปกติ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้... - มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง - ต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่จะแต่งตั้ง โดยมีจำนวนกรรมการประเมินฯไม่น้อยกว่าสามคน
วิธีพิเศษ มีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ทั้งนี้ต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับที่จะแต่งตั้ง โดยสภาสถาบันอุดมศึกษาจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้ง และผลงานที่มีระดับคุณภาพสูงกว่าวิธีปกติ โดยมีจำนวนกรรมการประเมินไม่น้อยกว่าห้าคน วิธีการประเมินค่างาน ให้สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินค่างาน จำนวนไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน โดยมีผู้บังคับบัญชาผู้เสนอขอฯร่วมเป็นกรรมการ และ หัวหน้าหน่วยงานที่รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลเป็นกรรมการเลขานุการ
การประเมินค่างานของระดับ ชช.พิเศษในตำแหน่งที่ปรึกษาให้สภาสถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้งคณะ กก. ประเมินค่างานประกอบด้วยผู้บริหารตาม ม.18 (ข) (๑) และ(๒) ภายในสถาบันอุดมศึกษาไม่น้อยกว่าสามคนแต่ไม่เกินห้าคน แล้วนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติกรอบตำแหน่งที่ปรึกษา คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯเพื่อประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพจะต้องเป็นผู้ทรงฯที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญหรือความเชี่ยวชาญตรงสาขาวิชาชีพกับวิชาชีพของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และ จะต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือเทียบเท่า
ระดับชำนาญงาน ชำนาญการ กก.ผู้ทรงฯประกอบด้วยกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลภายในสถาบันอุดมศึกษานั้น แต่ต้องต่างสังกัดหน่วยงานกับผู้เสนอขอแต่งตั้ง(หน่วยงานระดับคณะ/ศูนย์/สถาบัน/สำนัก)และกรรมการภายนอกสถาบันอุดมศึกษาอีกอย่างน้อยหนึ่งคน รวมจำนวน กก.ทั้งหมดไม่น้อยกว่าสามคน ระดับชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ กก.ผู้ทรงฯประกอบด้วย กก.ไม่น้อยกว่าสามคน โดยแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกสถาบันอุดมศึกษาตามบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.พ.อ.กำหนดในกรณีที่มีความจำเป็นที่ไม่อาจแต่งตั้งตามบัญชีได้ให้เสนอ ก.พ.อ.เห็นชอบเป็นกรณีไป
ระดับชำนาญงาน ชำนาญการ ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการพิเศษ กก.ผู้ทรงฯประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ แต่ละคนประเมินแล้วส่งผลการประเมินโดยจะไม่มีการประชุมก็ได้ ระดับเชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ กก.ผู้ทรงฯประเมินผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ จะต้องจัดให้มีการประชุมพิจารณาผลงานร่วมกัน
การแต่งตั้งให้บุคคลดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น ให้อธิการบดีโดยความเห็นชอบของหรือคณะกก.ที่สภาสถาบันอุดมศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งแต่งตั้ง เว้นแต่ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาเสนอ ก.พ.อ. ให้ความเห็นต่อ รมว.กระทรวงศึกษาฯ เพื่อนำเสนอ นรม.นำกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เมื่อมีการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นแล้ว ให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการตามลักษณะงานหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพและความยุ่งยากของงานของตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งด้วย
ในกรณีที่ กก.ผู้ทรงฯ มีมติให้ปรับปรุงผลงาน ให้ผู้เสนอขอฯปรับปรุงผลงานได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่รับทราบมติ ยกเว้นมีเหตุผลความจำเป็นอาจขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือน ทั้งนี้...หากผลการพิจารณาผลงานที่ปรับปรุงแล้วมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด วันที่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต้องเป็นวันที่สภาสถาบันอุดมศึกษารับผลงานที่ปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว กรณีที่ให้ปรับปรุง หมายถึง การปรับปรุงผลงานชิ้นเดิมที่ยังไม่เข้าเกณฑ์เฉพาะส่วนที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องเท่านั้นมิใช่เป็นการทำผลงานชิ้นใหม่ หรือส่งผลงานชิ้นใหม่พิจารณาแทน
ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่ง ผู้เสนอขอฯ มีสิทธิขอให้สภาสถาบันอุดมศึกษาพิจารณาทบทวนได้ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยในคำขอทบทวนนั้นต้องแสดงข้อเท็จจริง ข้ออ้างและเหตุผลที่สนับสนุน(ทบทวน) และต้องยื่นขอทบทวนภายใน 90 วัน นับจากวันที่รับทราบมติ เมื่อสภาสถาบันอุดมศึกษาได้รับเรื่องคำขอทบทวนแล้วให้ส่งคำขอนั้นแก่คณะกก.ประเมินฯ หากคณะกก.ดังกล่าวมีความเห็นประการใด ให้เสนอต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาพิจาณา ผลการพิจารณาของสภาสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นที่สุด
เมื่อคณะกก.ประเมินฯ ได้รับเรื่องการขอทบทวน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้.... การทบทวนครั้งที่ 1 ก.กรณีเห็นว่าคำขอทบทวนขาดข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอ ให้มีมติไม่รับพิจารณา ข.กรณีเห็นว่าคำขอทบทวนมีข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอ ให้มีมติรับพิจารณา แล้วให้กก.ประเมินฯชุดเดิมพิจารณา
การทบทวนครั้งที่ 2 ก.กรณีเห็นว่าคำขอทบทวนขาดข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอเพิ่มเติมจากครั้งที่ 1 ให้มีมติไม่รับพิจารณา ข.กรณีเห็นว่าคำขอทบทวนมีข้อเท็จจริง ข้ออ้าง และเหตุผลที่สนับสนุนคำขอเพิ่มเติมจากครั้งที่ 1 ให้มีมติรับพิจารณา แล้วแต่งตั้งกก.ประเมินฯชุดใหม่พิจารณา โดยมีจำนวนกก.เท่ากับชุดเดิมเพื่อพิจารณา ค.เมื่อกก.ประเมินฯชุดใหม่ได้พิจารณาคำขอทบทวนแล้ว ให้สถาบันอุดมศึกษานำผลการพิจารณาชองชุดใหม่และชุดเดิม เสนอคณะกรรมการประเมินเพื่อแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นพิจารณาต่อไป
คำนิยามผลงาน คู่มือปฏิบัติงานหลัก คือ เอกสารแสดงเส้นทางการทำงานในงานหลักของตำแหน่ง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยระบุขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน กฎ ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานดังกล่าว ซึ่งต้องใช้ประกอบการปฏิบัติงานมาแล้ว และต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงาน
ผลงานเชิงวิเคราะห์ คือ ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่องอย่างมีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษา
ผลงานเชิงสังเคราะห์ คือ ผลงานที่แสดงการรวบรวมเนื้อหาสาระต่าง ๆ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างเบื้องต้น เพื่อให้เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการใหม่ในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่องานของหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษา
ผลงานวิจัยคือ ผลงานที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคำตอบหรือข้อสรุปรวมที่เป็นประโยชน์และนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในงานของหน่วยงานหรือสถาบันอุดมศึกษา
ผลงานในลักษณะอื่น คือ สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ หรือผลงานด้านศิลปะ ตกแต่ง ซ่อมบำรุง ซึ่งมิใช่มีลักษณะเป็นเอกสาร หนังสือ คู่มือ หรืองานวิจัย โดยผลงานที่เสนอจะต้องประกอบด้วยบทวิเคราะห์ที่อธิบายและชี้ให้เห็นว่างานดังกล่าวเป็นประโยชน์และนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาในงาน ทั้งนี้ ผลงานดังกล่าวต้องเป็นผลงานที่ผ่านการพิสูจน์หรือมีหลักฐานที่แสดงถึงคุณค่าของผลงานนั้น
สรุปความก้าวหน้าของสายสนับสนุนสรุปความก้าวหน้าของสายสนับสนุน ชำนาญงาน แท่งทั่วไป ชำนาญงานพิเศษ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ แท่งวิชาชีพเฉพาะหรือ เชี่ยวชาญเฉพาะ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ
อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
อัตราเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าตอบแทน ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (ป.ตรี) 13,000 บาท เชี่ยวชาญพิเศษ(10) 9,900 บาท เชี่ยวชาญ(9) 5,600 บาท(วช.) 3,500 บาท(ค่าตอบแทน) ชำนาญการพิเศษ(8) 3,500 บาท(วช.) ชำนาญการ(6-7) ปฏิบัติการ(3-5)
อัตราเงินเดือน ตำแหน่งประเภททั่วไป (ต่ำกว่าปริญญาตรี) ชำนาญการพิเศษ(7-8) ชำนาญงาน(5-6) ปฏิบัติงาน(1-3)
เงือนไขการรับเงินประจำตำแหน่งเงือนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง