1 / 28

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Economy)

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Economy). อาจารย์พงศ์ พัฒน์ เพ็ชรรุ่ง เรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์. จุดมุ่งหมายของรายวิชา. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิศวกรรมและการจัดการ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจในโครงการด้านวิศวกรรม

peggy
Download Presentation

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Economy)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (Engineering Economy) อาจารย์พงศ์พัฒน์เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 153-301 Engineering Economy

  2. จุดมุ่งหมายของรายวิชาจุดมุ่งหมายของรายวิชา • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิศวกรรมและการจัดการ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจในโครงการด้านวิศวกรรม • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินโครงการทางวิศวกรรม • เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการทางวิศวกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ 153-301 Engineering Economy

  3. จุดมุ่งหมายของรายวิชา (ต่อ) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้หลักการด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเพื่อประกอบในการตัดสินใจในโครงการทางวิศวกรรมในลักษณะต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เช่น ภาษี ภาวะเงินเฟ้อ ตลอดจนความเสี่ยงของโครงการ 153-301 Engineering Economy

  4. เค้าโครงรายวิชา บทนำและความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (Cost and Expense) การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even analysis) ค่าของเงินที่เปลี่ยนตามเวลา (Time value of money) - ดอกเบี้ย(Interest) -สูตรดอกเบี้ย (Interest rate) -ค่าเทียบเท่า (Equivalence)

  5. เค้าโครงรายวิชา (ต่อ) การแก้ไขปัญหาดอกเบี้ย (Solving Interest Problem) ค่าเงินต้นเทียบเท่าปีที่ปัจจุบัน (Present Worth) ค่าเทียบเท่าของเงินจ่ายเท่ากันรายปี, (Annual Worth) การหาอัตราผลตอบแทน (Determination of Rate of Return) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Benefit Cost Ratio) ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)

  6. เค้าโครงรายวิชา (ต่อ) การศึกษาการทดแทนของทรัพย์สิน (Evaluation of Replacement) การวิเคราะห์ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงเศรษฐศาสตร์ (Sensitivity analysis in Economy Study) การวิเคราะห์ภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (Evaluation under risk and Uncertainty) การวิเคราะห์ส่วนที่ไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขที่แท้จริงได้(Evaluation of Intangible)

  7. การประเมินผลการศึกษา การทดสอบย่อย …..ครั้ง รายงานกลุ่ม การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ

  8. บทนำและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมบทนำและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม 153-301 Engineering Economy

  9. วัตถุประสงค์การเรียน (Learning Objectives) • เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม • เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงความหมาย หลักการแนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม รวมถึงแนวความคิดต่างๆที่เกี่ยวข้อง 153-301 Engineering Economy

  10. เนื้อหาในบทนี้ (Chapter Contents) • แนวความคิดและความรู้เบื้องต้นบางอย่างทางที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม • ต้นกำเนิดของวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม • ความสำคัญของวิชานี้ในการปฏิบัติงานทางวิศวกรรม • การพัฒนาทางเลือกและการตัดสินใจ 153-301 Engineering Economy

  11. 1.1. แนวความคิดและความรู้เบื้องต้นบางอย่างทางที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม • คุณคิดว่าอากาศที่หายใจนี้มีความจำเป็นหรือไม่ • คุณเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ คุณเลือก เพราะเหตุผลใด • คุณกำลังซื้อรถใหม่ทำไมต้องพิจารณาว่าราคาขายต่อมันราคาไม่ตก • ตอนเลือกซื้อผลไม้เพื่อไปเลี้ยงเด็กบ้านราชวิถี คิดว่าไปซื้อที่ตลาดไทเป็นเข่ง ดีกว่าซื้อเป็นกิโลกรัม • บางคนมีความต้องการอยากขับรถหรูราคาแพง(Wants) แต่ไม่สามารถซื้อได้ แต่บางคนมีความต้องการ(Demand) และพร้อมที่จะซื้อ(Willing to buy)กับซื้อได้ คนสองคนนี้ต่างกันอย่างไร 153-301 Engineering Economy

  12. NEEDS, WANTS, DEMANDS • NEEDS : เป็นความต้องการพื้นฐานของคนในการดำรงชีวิต เช่นความต้องการปัจจัยสี่ • WANTS ; เป็นความต้องการที่มากกว่า needs คือนอกจากความต้องการที่มากกว่าความต้องการพื้นฐานคือความต้องการที่สร้างความพึงพอใจมากกว่าความต้องการพื้นฐาน เช่น นอกจากต้องการอาหารเป็นข้าวและกับข้าว ยังต้องการกาแฟ พิซซา อื่น ๆ เป็นต้น • DEMANDS ; เป็นความต้องการที่สืบเนื่องมาจาก needs และ wants แต่ demands จะเกิดได้เมื่อมีความต้องการและมีความสามารถจ่ายเพื่อสิ่งที่ต้องการได้ เรียก อุปสงค์ 153-301 Engineering Economy

  13. คำจำกัดความของเศรษฐศาสตร์คืออะไรคำจำกัดความของเศรษฐศาสตร์คืออะไร • “ศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในการเลือกใช้สิ่งที่มีอยู่จำกัด ซึ่งใช้ประโยชน์ได้หลายด้านเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์” (Robbins, 1935 ) • คำจำกัดความของท่านละ • KEYWORDS:………… 153-301 Engineering Economy

  14. แนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ • เศรษฐศาสตร์ ถือเป็นแขนงวิชาหนึ่งที่ศึกษาถึงการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรใน การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อสนองความต้องการอย่างไม่มีจำกัดของมนุษย์ ทั้งนี้การศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) และ เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) 153-301 Engineering Economy

  15. ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ • เศรษฐศาสตร์ มีบทบาทมากเกี่ยวกับเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน การการขาดแคลนทรัพยากรที่เป็นปัจจัยการผลิตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เกิดจากการปรับตัวของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาเศรษฐศาสตร์จึงมีความสำคัญมากขึ้น ดังนี้ ความสำคัญต่อสังคม ความสำคัญต่อประชาชน ความสำคัญต่อผู้ประกอบการ ความสำคัญต่อผลประโยชน์ของรัฐ ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ 153-301 Engineering Economy

  16. อุปสงค์ของสินค้าและบริการอุปสงค์ของสินค้าและบริการ อุปทานของสินค้าและบริการ ตลาดสินค้าและบริการ ครัวเรือน ธุรกิจ อุปสงค์ของปัจจัย อุปทานของปัจจัย ตลาดปัจจัยการผลิต ระบบเศรษฐกิจ 153-301 Engineering Economy

  17. ยุคการล่า ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุค IT ข้อมูลข่าวสาร โทรคมนาคมและสื่อสารมวลชนยุคการล่า ยุค GMOs หรือ พันธุวิศวกรรม........ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ แนวคิดทางทฤษฎีและอนาคต 153-301 Engineering Economy

  18. แนวคิดทางทฤษฎีและอนาคตแนวคิดทางทฤษฎีและอนาคต • กฎของความขาดแคลนทรัพยากร (The Law of Scarcity of Resource) • กฎการลดลงของผลได้ (The Law of Diminishing Return) • หลักของการผลิตจำนวนมาก (Mass Production) • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ อุปสงค์ อุปทาน และ ดุลยภาพ 153-301 Engineering Economy

  19. 2. ต้นกำเนิดของวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม • การพิจารณาต้นทุนของโครงการและการเปรียบเทียบทางเลือกเป็นพื้นฐานของเหล่าวิศวกรในการปฏิบัติงาน ซึ่งก็ใช้หลักทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน การบัญชีมาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรม อย่างไรก็ตามการพัฒนาของวิธีทางเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมมีการพิจารณามากกว่า 100 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันก็มีการพัฒนามากขึ้นทั้งวิธีการคำนวณ จนถึงการคำนวณทางคอมพิวเตอร์ 153-301 Engineering Economy

  20. 2. ต้นกำเนิดของวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (ต่อ) • ได้กล่าวว่าผู้ริเริ่มในศาสตร์นี้ คือ Arthur M. Wellington เป็นผู้เขียนตำราเรื่อง The Economic Theory of Railway Location, 2nd ed., 1887 ท่านเป็นวิศวกรโยธา ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์โครงการทางวิศวกรรม โดยเฉพาะการก่อสร้างทางรถไฟในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นก็มีผู้ศึกษาและนำเสนองานเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม การเงิน และ คณิตศาสตร์ประยุกต์ จนปี คศ. 1930 Eugene Grant ได้จัดพิมพ์ตำรา ชื่อ Principles of Engineering Economy เป็นเล่มแรก นั่นอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศาสตร์นี้จนถึงทุกวันนี้ 153-301 Engineering Economy

  21. 2. ต้นกำเนิดของวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (ต่อ) • สำหรับในประเทศไทยมีการนำวิชานี้มาสอนในระดับมหาวิทยาลัย และ ระดับอาชีวะในลำดับต่อไป หนังสือ เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ของ ท่าน อ.วิศิษฐ์ อ.กิตติ และ อ.ธนากร(2523) อ.วันชัย และ อ.ชอุ่ม(2529) เป็นตำราเล่มแรกๆที่ใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากนั้นก็มีอาจารย์หลายท่านเขียนตำรามาอีกหลายเล่ม 153-301 Engineering Economy

  22. 2. ต้นกำเนิดของวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม (ต่อ) • จนถึงปัจจุบันยุคที่คอมพิวเตอร์มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มีโปรแกรมตารางคำนวณ ตัวอย่างเช่น MS. EXCEL, LOTUS เป็นต้น นำมาใช้ช่วยในการคำนวณ สร้างกราฟ นำมาใช้ในการแปรผันค่าตัวแปรต่างๆในการวิเคราะห์ความไว ใช้ฟังก์ชันที่มีมากับโปรแกรมมาประยุกต์ทำให้การคำนวณได้รวดเร็ว และสามารถเขียนโปรแกรมประกอบการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)ได้อย่างรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนข้อมูลตัวแปรต่างๆ เพราะปัจจุบันความเร็วในการตัดสินใจและข้อมูลที่ฉับไวถือเป็นอาวุธในสงครามธุรกิจ 153-301 Engineering Economy

  23. 3. ความสำคัญของวิชานี้ในการปฏิบัติงานทางวิศวกรรม • เหตุผลหลักที่วิศวกรทุกคนควรมีความรู้ในวิชานี้ คือ เพื่อแก้ปัญหาของโลก ลดมลพิษจากการใช้จ่ายหรือการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือย การคิดทางเลือกที่ประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 153-301 Engineering Economy

  24. 4. การพัฒนาทางเลือกและการตัดสินใจ • คิดบวก (Positive Thinking) และคิดลบ (Negative Thinking) หรือ ให้คิดสีเทา • คิดสร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศ • เทคนิคการสร้างทางเลือกและการตัดสินใจ 153-301 Engineering Economy

  25. เทคนิคการสร้างทางเลือกและการตัดสินใจ การระดมสมอง (Brainstorming) การสร้างแนวคิดใหม่โดยอาศัยแนวคิดเดิม (Attribute Listing ) การแยกองค์ประกอบของความคิด (Morphological Synthesis) การค้นหาความคิดที่มีคนอื่นคิดเอาไว้ (Idea Checklist ) การนำสถานการณ์ต่างกันมาเชื่อมโยง (Synectic Methods) 153-301 Engineering Economy

  26. ต้นทุนและค่าใช้จ่าย (Cost and Expense) การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ คำว่า “ต้นทุน” และ “ค่าใช้จ่าย” (Cost กับ Expense) มักมีความหมายเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยมีความหมายว่า เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของทุนที่เป็นปัจจัยในการผลิต ความหมายของ ต้นทุน จะเสมือนว่า การใช้จ่ายเงินทุนสำหรับการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่ยังคง มีมูลค่า แม้ว่าจะได้ใช้สินทรัพย์นั้นในการผลิตไปบ้างแล้ว เช่น ค่าที่ดิน ค่า ก่อสร้างโรงงาน ค่าเครื่องจักร อุปกรณ์ ส่วน ค่าใช้จ่าย มักจะหมายถึง เงินทุนที่ถูกใช้จ่ายกับสิ่งที่หมดไปกับการผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ การแบ่งแยกนี้จะพบเห็นในทางการบัญชี 153-301 Engineering Economy

  27. หลักการบัญชีแยกต้นทุนตามประเภทของค่าใช้จ่ายหลักการบัญชีแยกต้นทุนตามประเภทของค่าใช้จ่าย สามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะสำคัญ ดังนี้ • ค่าวัตถุดิบและค่าแรงโดยตรง (Direct materialanddirectlaborcost) ได้แก่ ค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และ ค่าแรงที่ใช้ในการผลิต ต้นทุนส่วนนี้รวมเป็น ต้นทุนปฐม (Primecost) • ค่าวัตถุดิบ และค่าแรงทางอ้อม(Indirectmaterialandindirectlaborcost) ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ และค่าแรงที่มิได้ใช้ในการผลิตโดยตรง หรือไม่ได้ใช้ในการผลิตเลย เป็นค่าวัตถุดิบทางอ้อม เช่น ค่าน้ำยาล้าง ค่ากาวทาป้ายสินค้า อะไรทำนองนั้น ตัวอย่างของค่าแรงทางอ้อม เช่น ค่าจ้างแรงงานในการซ่อมบำรุง 153-301 Engineering Economy

  28. ต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน (Fixed Cost and Variable Cost) • ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) จะไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ให้บริการหรือผลิต เช่น ต้นทุนเครื่องจักร อาคารสำนักงาน โรงงาน ค่าเบี้ยประกัน เป็นต้น • ต้นทุนแปรผัน (Variable Cost) จะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น ค่าวัตถุดิบ แรงงานที่ใช้ในการผลิต ค่าพลังงานที่ใช้ในการผลิต ค่าคอมมิชั่น เป็นต้น 153-301 Engineering Economy

More Related