1 / 33

บทที่ 5 ระบบสารสนเทศและ บุคลากรในระบบสารสนเทศ

บทที่ 5 ระบบสารสนเทศและ บุคลากรในระบบสารสนเทศ. โดย อ.เอกบดินทร์ เกตุขาว Eakbodin4_7@hotmail.com สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราช ภัฏจันทร เกษม. วัตถุประสงค์. เพื่อให้ เข้าใจถึงแนวคิด ความหมาย และเป้าหมายของระบบสารสนเทศ

Download Presentation

บทที่ 5 ระบบสารสนเทศและ บุคลากรในระบบสารสนเทศ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 5 ระบบสารสนเทศและบุคลากรในระบบสารสนเทศ โดย อ.เอกบดินทร์ เกตุขาว Eakbodin4_7@hotmail.com สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

  2. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ เข้าใจถึงแนวคิด ความหมาย และเป้าหมายของระบบสารสนเทศ • เพื่อให้สามารถอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ • เพื่อให้เข้าใจถึงระบบสารสนเทศในมุมมองของธุรกิจ แนวทางการใช้ระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน คุณภาพของสารสนเทศ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ การจัดการที่ประสบผลสำเร็จ การจัดทรัพยากรสารสนเทศ ต้นแบบจำลองของระบบธุรกิจ การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ การจัดการระบบสารสนเทศ และรูปแบบของระบบสารสนเทศ • เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และระบบสารสนเทศ และมีมุมมองในด้านโครงสร้างองค์กร การบริหาร/จัดการ และเทคโนโลยี • เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทต่าง ๆ ของบุคลากรในระบบสารสนเทศ

  3. ระบบสารสนเทศ(Information Systems) • คือ กลุ่มของระบบงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และการควบคุมภายในองค์กร • ประกอบด้วย บุคลากร ระเบียบปฏิบัติการ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูล ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะทำงานร่วมกัน เพื่อผลิตสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้ในองค์กร สารสนเทศนี้จะช่วยในการผลิตสินค้าหรือการบริการต่างๆ ให้สำเร็จด้วยดี ซึ่งจะส่งผลกำไรให้กับองค์กร

  4. ความสำคัญของระบบสารสนเทศความสำคัญของระบบสารสนเทศ • การท้าทายของเศรษฐกิจโลก • การแข่งขันทางการค้า • การขยายเครือข่ายทางการค้า • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

  5. เป้าหมายของระบบสารสนเทศเป้าหมายของระบบสารสนเทศ • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน • เพิ่มผลผลิต • เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า • เพิ่มสินค้าใหม่และขยายผลิตภัณฑ์ • สามารถที่จะสร้างทางเลือกในการแข่งขันได้ • การสร้างโอกาสทางธุรกิจ • การดึงดูดลูกค้าไว้และป้องกันคู่แข่งขัน • ลดต้นทุน • เพิ่มภาพพจน์ให้กับองค์กร

  6. ตัวอย่างระบบสารสนเทศ • ระบบ ATMs ของธนาคาร • ระบบจองตั๋วเครื่องบิน (airline reservation systems) • ระบบลงทะเบียนเรียน (enrolment systems) • ระบบทะเบียนคนไข้

  7. ประมวลผล สารสนเทศ ข้อมูล 1.5 1.1 1.2 1.8 …. ยอดขายในงวดสุดท้ายของปี 2546 นี้คือ$1.8ล้านบาท ระบบสารสนเทศ ข้อมูลและสารสนเทศ(Data & Information) .

  8. ลูกค้า ผู้จัดจำหน่าย สิ่งแวดล้อมองค์กร ระบบสารสนเทศ ข้อมูล ประมวลผล สารสนเทศ Feedback คู่แข่งขัน ผู้สนับสนุน กฎ ข้อบังคับ ระบบสารสนเทศ (Information Systems)

  9. ระบบสารสนเทศ (Information Systems) ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 ส่วน • บุคลากร (People) • ระบบปฏิบัติการ (Procedure) • ซอฟต์แวร์ (Software) หรือ โปรแกรม (Program) • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • ข้อมูล (Data)

  10. เทคโนโลยี องค์กร ระบบสารสนเทศ การบริหาร/จัดการ ระบบสารสนเทศในมุมมองของธุรกิจ

  11. กลุ่มเทคนิค การวิจัยเพื่อการจัดการ คอมพิวเตอร์ศาสตร์ ระบบสารสนเทศ ทฤษฎีการบริหารจัดการ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ กลุ่มพฤติกรรม แนวทางการใช้ระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน Sociotechnical system

  12. ถูกต้องแม่นยำ (Accurate) สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) เข้าใจง่าย (Simple) ทันต่อเวลา (Timely) เชื่อถือได้ (Reliable) คุ้มราคา (Economical) ตรวจสอบได้ (Verifiable) ยืดหยุ่น (Flexible) สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant) สะดวกในการเข้าถึง (Accessible) ปลอดภัย (Secure) คุณลักษณะของสารสนเทศ

  13. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศประโยชน์ของระบบสารสนเทศ • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน • ช่วยสนับสนุนในการตัดสินใจ • ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน • ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต

  14. การจัดการที่ประสบผลสำเร็จการจัดการที่ประสบผลสำเร็จ ใช้ทรัพยากร/ปัจจัยหลัก 4 ประการ • เงิน • วัสดุ • บุคลากร • สารสนเทศ

  15. ระดับของการจัดการ ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ ผู้บริหารระดับสูง (Senior Managers) EIS, DSS, ES ระดับวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Managers) MIS, DSS ระดับบริหารจัดการ ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Managers TPS ระดับควบคุมการปฏิบัติงาน TPS, POS Terminal ผู้ปฏิบัติงาน (worker) ระดับปฏิบัติงาน ระดับผู้ใช้ระบบสารสนเทศ นิยมแบ่งออกตามระดับของการปฏิบัติงานหรือการบริหารจัดการ 4 ระดับ

  16. ประเภทของระบบสารสนเทศประเภทของระบบสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศจำแนกตามชื่อหน่วยงาน เช่น ระบบสารสนเทศบริหารงานโรงแรม ประกอบด้วย ระบบสำรองห้องพัก ระบบบัญชี ระบบจัดการห้องพัก • ระบบสารสนเทศจำแนกตามหน้าที่ของงาน เช่น ระบบสารสนเทศจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย ระบบจัดการข้อมูลพนักงาน ระบบการสรรหาและคัดเลือก ระบบฝึกอบรม ระบบประเมินผล และระบบสวัสดิการ • ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน และตามระดับของผู้ใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับการนำสารสนเทศไปใช้ประกอบการบริหารและตัดสินใจ เช่น ระบบ TPS, MIS, DSS, EIS, OIS, AI และ ES

  17. EIS การจัดการเชิงรุก DSS การจัดการเชิงยุทธวิธี MRS/MIS การจัดการเชิงปฏิบัติการ TPS/DP ปฏิบัติการ การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ

  18. ระบบสารสนเทศจำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน • ระบบการประมวลผลข้อมูล (Data ProcessingSystems – DP) หรือ (Transaction Processing Systems – TPS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management InformationSystems – MIS) • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) • ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive InformationSystems – EIS) • ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) และ ระบบผู้เชี่ยวชาญ(ExpertSystems – ES)

  19. ระบบสารสนเทศการประมวลผลรายการธุรกรรมข้อมูล (Transaction ProcessingSystems: TPS) • เป็นระบบสารสนเทศประเภทแรกที่นิยมมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อการประมวลผลที่รวดเร็วลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการให้บริการลูกค้า • ระบบสารสนเทศแบบประมวลผลรายการธุรกรรม-ข้อมูล ทำหน้าที่รวบรวม บันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (file) หรือฐานข้อมูล (database) และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากทำธุรกรรมและการปฏิบัติงานประจำ (routine) ขององค์การเพื่อนำไปจัดทำระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น ๆ • ตัวอย่างเช่น แมคโดนัล ซึ่งแต่ละวันขายแฮมเบอร์เกอร์ได้จำนวนมาก สั่งวัตถุดิบจากบริษัทผู้ขายปัจจัยการผลิต (supplier) ในแต่ละวันที่แมคโดนัลสั่งสินค้าจาก supplier จะมีการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชื่อบริษัทผู้ขาย ที่อยู่ วงเงินเครดิต ประเภท และปริมาณของสินค้าเป็นต้น • นอกจากนี้ในชีวิตประจำวันยังพบว่ามีระบบประมวลผลรายการเกิดขึ้นหลายประเภท เช่น การซื้อสินค้าในร้านค้าปลีก การฝากหรือถอนเงินธนาคาร การสำรองห้องพักโรงแรม การจองตั๋วเครื่องบิน และการลงทะเบียนของนักศึกษา

  20. 4.จัดเก็บข้อมูล - ข้อมูลลูกค้า - ข้อมูลการขาย - ข้อมูลสินค้า 1.การรวบรวมข้อมูล บันทึกรายการสั่งสินค้า 2.ประมวลผลข้อมูล 3.นำเสนอสารสนเทศ ขั้นตอนการประมวลผลรายการข้อมูลธุรกรรม (TPS)

  21. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการManagement Information Systems: MIS • รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (Periodic Report) เป็นรายงานที่จัดทำไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจเป็นรายงานที่จัดทำขึ้นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน หรือทุก ๆ ปี เช่น รายงานยอดขายของพนักงาน • รายงานสรุป (Summarized Report) เป็นรายงานที่จัดทำเพื่อสรุปการดำเนินงานโดยภาพรวม โดยปกติจะแสดงผลในรูปของตารางสรุปจำนวนกราฟเปรียบเทียบ • รายงานที่จัดทำตามเงี่อนไขเฉพาะ (Exception Report) เป็นรายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขพิเศษที่ไม่อยู่ในเกณฑ์การจัดทำรายงานตามปกติมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้บริหารได้ใช้ระบบสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจได้อย่างทันเวลา • รายงานที่จัดทำตามต้องการ (Demand Report) เป็นรายงานที่มีลักษณะตรงข้ามกับรายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (periodic report) ซึ่งรายงานจะกระทำตามเวลาอย่างสม่ำเสมอในขณะที่ demand report จะจัดทำเมื่อผู้บริหารมีความต้องการในรายงานนั้นๆ เท่านั้น

  22. รายงานตามระยะเวลา ฐานข้อมูล รายงานสรุป ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ TPS และ CIS รายงายตามเงื่อนไขเฉพาะ รายงานตามความต้องการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)

  23. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) • เป็นระบบสารสนเทศที่นำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการตัดสินใจ โดยปกติแล้ว TPSและ MIS จะจัดทำรายงานสำหรับควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั่วๆไปเพื่อให้องค์การดำเนินงานได้อย่างถูกต้อง หรือ “do thing right” ในขณะที่ DSS จะสนับสนุนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจเฉพาะกรณีตามที่ผู้บริหารต้องการเป็นการเน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้สารสนเทศเป็นพื้นฐานเพื่อช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องหรือ “do the right thing” • ข้อมูลที่ DSS นำมาใช้อาจประกอบด้วยฐานข้อมูลต่างๆ ภายในองค์การ เช่น ข้อมูลการขาย ข้อมูลการเงิน ข้อมูลสินค้าคงคลัง เป็นต้น และข้อมูลจากฐานข้อมูลภายนอก เช่น อัตราดอกเบี้ย ราคาวัตถุดิบ และแนวโน้มของประชากร • ลักษณะที่สำคัญของ DSS คือจะต้องเป็นระบบที่ใช้สารสนเทศอย่างรวดเร็วต่อการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ ดังนั้น DSS จึงควรออกแบบในลักษณะที่โต้ตอบ (interactive) กับผู้ใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนา DSS

  24. TPS DSS software เช่น OLAP ฐานข้อมูล DSS ข้อมูลภายนอก ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)

  25. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems: EIS หรือ Executive Support Systems: ESS) • เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงสารสนเทศโดยกำหนดมุมมองได้ในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวสูง การสรุปสารสนเทศกระทำได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ นอกจากนี้ยังมีการออกแบบส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interface) ให้ผู้บริหารใช้งานได้ง่าย • EIS สามารถเข้าถึงสารสนเทศจากฐานข้อมูลภายในและภายนอกองค์การ และจะนำเสนอสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปแบบของรายงาน ตาราง หรือ กราฟ เพื่อการสรุปสารสนเทศให้ผู้บริหารได้เข้าใจง่ายและประหยัดเวลา

  26. EIS สารสนเทศ • เครื่องมือวิเคราะห์ • และวางแผนกลยุทธ์ • เจาะลึกสารสนเทศ • ยืดหยุ่น ข้อมูลจากภายใน - TPS/MIS/DSS - ข้อมูลการเงิน - ระบบการจัดการ สำนักงาน ข้อมูลจากภายนอก - ดาวน์โจนส์ - Standard & Poor’s สารสนเทศ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (EIS)

  27. ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems: ES) • ปัญญาประดิษฐ์ เป็นความพยายามที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนกับมนุษย์หรือเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ AI มีหลายสาขา เช่น การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing) ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ (robotics) ระบบการมองเห็น (vision systems) ระบบการเรียนรู้ (learning systems) เครือข่ายเส้นประสาท (neural networks) และระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert systems)

  28. ผู้ใช้ ระบบผู้เชี่ยวชาญ คำถาม กลไกอนุมาน ส่วนติดต่อ กับผู้ใช้ คำแนะนำ / คำอธิบาย ฐานความรู้ การทำงานของระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert Systems (ES)

  29. บุคลากรในระบบสารสนเทศบุคลากรในระบบสารสนเทศ • บุคลากร MIS ที่ต้องมีการติดต่อโดยตรงกับผู้จัดการ และผู้ใช้ -- Computer Operations Managers, Computer Operators, Data-Entry personnel, and Systems librarians • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst :SA) • นักเขียนโปรแกรม (Programmers) -- Application Programmers, Systems Programmers • บุคลากรศูนย์ข้อมูล ข่าวสาร (Information Center Personnel) • บุคลากรสำนักงานอัติโนมัติ (Office Automation Center)

  30. บุคลากรในระบบสารสนเทศบุคลากรในระบบสารสนเทศ • การจัดการด้านระบบสารสนเทศ (MIS Management) • เจ้าหน้าที่บริหารฐานข้อมูล (Database Administrators) • การจัดการด้านโทรคมนาคมและการจัดการด้านเครือข่าย (Telecommunication and Network Management)

  31. เอกสารอ้างอิง Laudon, K. & Laudon, J.(2002) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. Pearson Education, Bangkok. (เรียบเรียงโดย สัลยุทธ์ สว่างวรรณ) Long L. & Long, N. (2000) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ Computers. Pearson Education, Bangkok. (เรียบเรียงโดย ผ.ศ. ลานนา ดวงสิงห์) ประณีตพลกรัง, ประสงค์ และ คณะ(2543). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและกรณีศึกษา. บริษัทธนธัชการพิมพ์, กรุงเทพ. กายาผาด, สานิตย์ และ คณะ(2542). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน). ผศ.ดร.ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล,(2547).เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ.บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

  32. คำถามทบทวน • ให้อธิบายความแตกต่างของ “ข้อมูล” และ “สารสนเทศ” • ให้อธิบายความหมาย และ เป้าหมายของระบบสารสนเทศ • ให้อธิบายความแตกต่างระหว่างการศึกษาด้านพฤติกรรม และ ด้านเทคนิคสำหรับระบบสารสนเทศ • ให้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง องค์กร และ ระบบสารสนเทศ • มุมมองในด้านโครงสร้างองค์กร การบริหาร/จัดการ และเทคโนโลยี นั้นมีข้อพิจารณาอย่างไร

  33. คำถามทบทวน • ให้อธิบายประโยชน์ของระบบสารสนเทศ และ ปัจจัยในการจัดการที่ทำให้ระบบสารสนเทศประสบผลสำเร็จ • ให้อธิบายระดับของการใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ พร้อมยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่ใช้ในแต่ละระดับ • ให้อธิบายความแตกต่างของ การจัดการระบบสารสนเทศตามหน้าที่ขององค์กร และ การจัดการระบบสารสนเทศแบบผสมผสานเบ็ดเสร็จ • ให้อธิบายความแตกต่างระหว่าง MIS และ DSS • ให้อธิบายบทบาทของบุคลากรในระบบสารสนเทศมา 5 บทบาท

More Related