340 likes | 864 Views
มาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต. การทดสอบการเข้ากันได้ของโลหิตและการเลือกใช้ส่วนประกอบโลหิต ตัวอย่างโลหิตและใบขอ (Samples and Requests) ต้องมีข้อมูลที่ชี้บ่งที่จำเป็น ดังนี้ . ชื่อ นามสกุล . วัน เดือน ปีเกิด หรือ อายุ . เพศ . HN . หอผู้ป่วย . ชื่อผู้เจาะเลือด
E N D
มาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิตมาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต
การทดสอบการเข้ากันได้ของโลหิตและการเลือกใช้ส่วนประกอบโลหิตการทดสอบการเข้ากันได้ของโลหิตและการเลือกใช้ส่วนประกอบโลหิต • ตัวอย่างโลหิตและใบขอ (Samples and Requests) ต้องมีข้อมูลที่ชี้บ่งที่จำเป็น ดังนี้ . ชื่อ นามสกุล . วัน เดือน ปีเกิด หรือ อายุ . เพศ . HN . หอผู้ป่วย . ชื่อผู้เจาะเลือด Samples tube • ต้องติดฉลากที่มีข้อมูลตรงกับใบ Request และข้อมูลต้องอ่านได้ชัดเจน
ข้อมูลที่ใช้ชี้บ่ง (Identifying information) . ก่อนการตรวจวิเคราะห์ทางธนาคารเลือด เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจวิเคราะห์ ต้องตรวจยืนยันข้อมูลทั้งหมดในใบ Request และ บนฉลากของหลอดตัวอย่างเลือดผู้ป่วย ต้องตรงกัน ถ้าไม่ตรงกันหรือมีข้อสงสัยต้องแจ้งให้หอผู้ป่วยดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง หรือเจาะเลือดผู้ป่วยส่งใหม่ ถ้าจำเป็น . ควรตรวจสอบประวัติเดิมทางธนาคารเลือดของผู้ป่วย . ให้เก็บตัวอย่างเลือดผู้ป่วย และผู้บริจาคโลหิต ไว้ 7 วัน เพื่อทวนสอบ กรณีมีปัญหา
การตรวจวิเคราะห์ . การตรวจหมู่โลหิต .การตรวจหมู่โลหิตจากถุงเลือด ต้องตรวจยืนยันหมู่โลหิต ABO,Rh จากสายถุงเลือด (Cell grouping)ด้วย วิธี Tube test หรือ Column Agglutination test กรณี ที่ Rh Negative ที่อุณหภูมิห้อง ต้องตรวจหา weak D หรือตรวจหมู่โลหิต ABO จากสายถุง FFP (Serum grouping) . การตรวจหมู่โลหิต ABO ให้ผู้ป่วย ต้องตรวจทั้ง Cell grouping และ Serum grouping ส่วน Rh ตรวจเฉพาะ Cell grouping กรณีที่ให้ผล Negative ที่อุณหภูมิห้อง ไม่จำเป็นต้องตรวจหา weak D
ทดสอบเข้ากันได้ของโลหิต (Crossmatch) .ใช้PlasmaหรือSerumของผู้ป่วย . ตรวจABO,Rh grouping . ตรวจ Screening Antibody . Cross matching ด้วยวิธีSaline AHGโดยอ่านผลที่ อุณหภูมิห้อง , 370ซ และ IAT หรือ วิธี column agglutination โดยใช้ Plasma หรือSerumของผู้ป่วยและRed cell ผู้บริจาค . FFP ไม่ต้องcrossmatch แต่ต้องตรวจหาหมู่โลหิตABO ให้ถูกต้องทั้งของผู้ป่วยและผู้บริจาค (ถุงFFP)ร่วมกับทำAntibody screening ของ พลาสมาทุกยูนิต ซึ่งต้องให้ผลNegative ก่อนนำไปใช้ให้ผู้ป่วย โดยให้หมู่โลหิตที่ตรงกัน หรือABO compatible
การเลือกโลหิตและส่วนประกอบโลหิตที่เข้ากันได้เพื่อให้ผู้ป่วยการเลือกโลหิตและส่วนประกอบโลหิตที่เข้ากันได้เพื่อให้ผู้ป่วย . ผู้ป่วยต้องได้รับโลหิตที่มีหมู่โลหิต ABO ตรงกัน เป็นอันดับแรก . กรณีที่ไม่มีหมู่โลหิต ABO ตรงกัน และผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับโลหิตเร่งด่วน สามารถ ให้ PRC หรือ LPRC group O แก่ผู้ป่วยได้ . กรณีที่ผู้ป่วยเป็น Group Rh negative ต้องได้รับโลหิตที่เป็น Rh negative เท่านั้น . แพทย์ และ งานธนาคารเลือด ต้องกำหนดนโยบายร่วมกันในกรณีที่จำเป็นต้องใช้โลหิตที่เป็น Rh positiveให้แก่ผู้ป่วยที่ Rh negative ดังนี้ . ในกรณีฉุกเฉินที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหากไม่ได้รับโลหิตทันที และต้องเป็นผู้ป่วยที่ตรวจแล้วไม่พบ Anti-D และการทดสอบ compatibilityให้ผลลบ
การตรวจสอบโลหิตและส่วนประกอบโลหิตก่อนจ่ายการตรวจสอบโลหิตและส่วนประกอบโลหิตก่อนจ่าย . ต้องตรวจการติดฉลากของโลหิตสำหรับผู้ป่วยหรือใบคล้อง 1. ชื่อ นามสกุล HN หอผู้ป่วย หมู่โลหิต 2.วัน เดือน ปี และชื่อผู้ทำcross-match 3.หมายเลข หมู่โลหิตABO , Rhของยูนิต 4.ผลการทำcross-match
การจ่ายโลหิตและส่วนประกอบโลหิตการจ่ายโลหิตและส่วนประกอบโลหิต • ในขณะที่จะจ่ายโลหิต ต้องมีการตรวจสอบใบขอ บันทึกผล ใบคล้องและฉลากที่ติดบนถุงโลหิตและส่วนประกอบโลหิตทุกยูนิต ให้มีความถูกต้องตรงกันในข้อมูลต่างๆ ดังนี้ • ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว หอผู้ป่วย หมู่โลหิต ABO,Rh ของผู้ป่วย • หมายเลข หมู่โลหิต ABO,Rh ของยูนิต • การแปรผลของcrossmatch รวมทั้ง การตรวจสอบสภาพโลหิตทั่วไป ได้แก่ สภาพถุงบรรจุโลหิต สี ความขุ่นและตะกอนของโลหิตและส่วนประกอบโลหิต • ชนิดของโลหิต จำนวนที่เบิก • วัน เวลา เบิก ชื่อผู้เบิก และชื่อผู้จ่ายโลหิต ถ้ามีข้อขัดแย้ง ต้องแก่ไขปัญหาให้ได้เสียก่อนจ่ายโลหิตออกไป
การขอใช้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตในกรณีฉุกเฉินการขอใช้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตในกรณีฉุกเฉิน . งานธนาคารเลือดหรืองานบริการโลหิต ต้องมีระเบียบปฏิบัติในการใช้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตในกรณีฉุกเฉิน ดังนี้ • กรณีด่วนมาก ต้องการใช้โลหิตทันที ไม่สามารถตรวจหมู่โลหิตได้ทัน ให้ใช้ PRC หรือ LPRC group O ( ขอด่วน Group O un-crossmatch ประกันเวลา 5 นาที ) • กรณีด่วน - สามารถตรวจหมู่โลหิต ABO,Rhได้ แต่ไม่สามารถคอยผลทำ crossmatch ได้ (ขอด่วน หมู่โลหิตตรงกัน ประกันเวลา 10 นาที หรือ ขอด่วน stepแรก room temp. ประกันเวลา 15นาที) ซึ่งการขอด่วนทั้ง 2 กรณีต้องมีลายเซ็นแพทย์ • ใบคล้องถุงโลหิตหรือฉลาก ต้องชี้บ่งให้ชัดเจนว่า ขณะที่จ่ายโลหิตนั้น ยัง crossmatch ไม่เสร็จ • ต้องทำการ crossmatch ต่อให้เสร็จสมบูรณ์โดยเร็ว
การขอโลหิตแบบType and Screen สามารถทำได้ ในรายที่ได้รับการขอจากแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องจัดทำเป็นระบบ มีการประชุมตกลงและประสานงานระหว่าง แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด . เกณฑ์การพิจารณาเลือกผู้ป่วย 1. ต้องเป็นการผ่าตัดที่ไม่รีบด่วน (elective case) และมีโอกาสน้อยที่จะใช้โลหิต 2. ห้ามทำในผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกง่าย 3. ผู้ป่วยต้องไม่ใช่หมู่โลหิตRh negative หรือมีหมู่โลหิตหายากชนิดอื่นๆ 4. ผู้ป่วยไม่เคยมีประวัติตรวจพบ antibody มาก่อน รวมทั้งตรวจไม่พบ antibody ในครั้งนี้ด้วย . ข้อปฏิบัติของธนาคารเลือด 1. ธนาคารเลือดต้องมีโลหิตสำรองเพียงพอสำหรับผู้ป่วยในโครงการType and Screen 2. ต้องทำการตรวจหมู่โลหิตABO,Rh ของผู้ป่วย และต้องตรวจกรองantibody โดยใช้Screening cellที่ได้มาตรฐานสามารถตรวจพบantibody ที่มีความสำคัญทางคลินิก 3. เมื่อแพทย์สั่งใช้โลหิต ต้องทำcrossmatch ทันที ถ้าอ่านผลที่อุณหภูมิห้องประกันเวลา10 นาทีแล้วทำต่อจนถึงAHG test แต่ถ้าต้องการครบทุกstep ประกันเวลา30 นาที
การให้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตการให้โลหิตและส่วนประกอบโลหิต 1. การชี้บ่งผู้ป่วยให้ถูกคน 2. การตรวจข้อมูลของโลหิตหรือส่วนประกอบโลหิตบนใบคล้อง ฉลากบนถุงโลหิต กับตัวผู้ป่วยว่าถูกต้องตรงกันทุกข้อมูลขณะที่จะให้โลหิตแก่ผู้ป่วย 3. ใบคล้องต้องติดอยู่กับยูนิตของโลหิต จนกระทั่งให้โลหิตเสร็จ 4. การสั่งการและการให้โลหิต ต้องอยู่ภายในการควบคุมดูแลของแพทย์ 5. การบันทึกทางการแพทย์ของผู้ป่วย ต้องครอบคลุมถึงชนิดของโลหิตหรือส่วนประกอบโลหิต หมายเลขยูนิต วันเวลาที่ให้ สัญญาณชีพก่อน เมื่อเริ่มให้ไปแล้ว ภายใน 15 นาที และหลังการให้โลหิตหมดถุง ปริมาณโลหิตที่ให้ ชื่อผู้ให้ และปฏิกิริยาจากการรับโลหิต 6. ต้องเฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วย ระหว่างและหลังการให้โลหิตในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อดูอาการที่ไม่พึงประสงค์ 7. ต้องให้โลหิตและส่วนประกอบโลหิตโดยผ่านชุดให้โลหิตต้องเปลี่ยนชุดให้ทุก1-2 ยูนิต หรือเมื่อเกิน 4ชม. 8. ห้ามเติมยาและสารละลายต่างๆในโลหิตหรือส่วนประกอบโลหิตนอกจากน้ำเกลือ 0.9%
การอุ่นโลหิต โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องอุ่นโลหิตก่อนให้ การอุ่นโลหิตอาจจำเป็นในกรณี ต่อไปนี้ • การให้โลหิตอย่างรวดเร็ว คือ ให้โลหิตในปริมาณ 50 มล./กก./ชม. ในผู้ใหญ่ และ 15 มล./กก./ชม. ในเด็กเล็ก • การเปลี่ยนถ่ายโลหิต (Exchange transfusion) • กรณีผู้ป่วยมีภาวะ Cold Agglutinin การอุ่นโลหิตจะต้องไม่ให้เกิดการแตกทำลายของเม็ดเลือด ต้องควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 380 ซ. ห้ามนำโลหิตที่อุ่นแล้วกลับมาเก็บเพื่อใช้อีก *การให้ FFP ต้องละลาย FFP ที่ 370 ซ. เมื่อละลายแล้วสามารถเก็บที่ 40 ซ. ได้ 24 ชม. * การให้ Cryoprecipitate ต้องละลาย ที่ 370 ซ.หลังละลายห้ามเก็บในตู้เย็น
ปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์จากการให้เลือด (Transfusion Reactions) 1. Acute Hemolytic Transfusion Reaction (AHTR) อาการ – ไข้ขึ้น หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดบริเวณกระเบนเหน็บ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก ปวดแสบปวดร้อนไปตามแนวหลอดเลือด มี Hemoglobinuria , Hemoglobinemia ภาวะไตวาย หรือเลือดออกทั่วไป จาก DIC ซึ่งอาการที่เกิดไม่จำเป็นต้องครบทุกแบบที่กล่าว สาเหตุ – เกิดจากการให้โลหิตหมู่ ABO เข้ากันไม่ได้ มักเกิดอาการรุนแรง 2. Febrile non-hemolytic transfusion reaction อาการ – ไข้ขึ้น หนาวสั่น อาจเกิดร่วมกับปฏิกิริยาการให้เลือดหลายอาการ แต่ไม่มีเม็ดเลือดแดงแตก สาเหตุ – เกิดจากปฏิกิริยาแอนติเจนกับแอนติบอดีของเม็ดเลือดขาว 3. ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reaction) อาการ – ผื่นแดง คัน สาเหตุ - แพ้โปรตีนในพลาสม่า
Transfusion Reaction ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติที่หอผู้ป่วย 1. ต้องหยุดการให้โลหิตและประเมินสถานการณ์ ให้การรักษาทันที บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร 2. ตรวจสอบฉลากติดถุงโลหิต และบันทึกต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อค้นหาความผิดพลาดในการชี้บ่ง 3. ต้องเจาะโลหิตผู้ป่วยส่งใหม่พร้อมทั้งติดฉลากอย่างถูกต้องสมบูรณ์ โดยระวังการแตกทำลายของเม็ดเลือดจากการเจาะเก็บ แล้วนำส่งธนาคารเลือดทันที พร้อมส่งถุงโลหิตที่ให้แก่ผู้ป่วยและชุดให้โลหิตที่ติดอยู่ ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติที่ธนาคารเลือด 1. ต้องตรวจดูสีของพลาสมาหรือซีรัมผู้ป่วยหลังเกิดปฏิกิริยา 2. ต้องนำตัวอย่างโลหิตผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังเกิดปฏิกิริยา มาทดสอบ DAT ตรวจหมู่โลหิต ABO,Rh และ Antibody screening 3. ตรวจดูสีของพลาสมาในยูนิตที่ให้ นำตัวอย่างในยูนิตที่ให้มาตรวจหมู่โลหิต ABO,Rh และทำ crossmatch กับตัวอย่างโลหิตผู้ป่วยทั้งก่อนและหลังเกิดปฏิกิริยา 4. ต้องส่งตัวอย่างโลหิตที่เหลือในยูนิต ตรวจย้อมเชื้อและเพาะเชื้อแบคทีเรีย 5. ต้องรายงานผลการตรวจแก่แพทย์ผู้รักษาทันทีและจะต้องบันทึกลงในเวชระเบียนผู้ป่วย
ทั้งนี้การจะบรรลุเป้าหมายเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยและเพื่อให้การบริการมีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดต่อชีวิตผู้ป่วย สิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่ไปกับการอบรมให้ความรู้คือการควบคุมกำกับและประเมินผลในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โดยหัวหน้างาน