311 likes | 617 Views
สำนักงานในอนาคต. อ. ศิวพร ชุณหวิทยะธีระ Siwaphon@eau.ac.th. แนวคิดเบื้องต้น. สำนักงานในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อความสอดคล้องกับความเป็นไปของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน
E N D
สำนักงานในอนาคต อ. ศิวพร ชุณหวิทยะธีระ Siwaphon@eau.ac.th
แนวคิดเบื้องต้น • สำนักงานในอนาคตจะมีการปรับเปลี่ยนให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อความสอดคล้องกับความเป็นไปของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน • สำนักงานควรที่จะเห็นความสำคัญของระบบและเทคโนโลยีใหม่ๆให้มากขึ้น โดยนำไปใช้บริหารงานสำนักงานเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา • การจัดสำนักงานให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติ คือ กระบวนการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้บุคลากรในสำนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาจมีอุปกรณ์ทุ่นแรง และช่วยประหยัดเวลาชนิดต่างๆ เช่น ระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ระบบการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการใช้เครื่องใช้สำนักงานที่อาศัยเทคโนโลยีต่างๆ
แนวคิดเบื้องต้น (ต่อ) • สำนักงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังมีการจัดสำนักงานอัตโนมัติอยู่ในรูปแบบที่ไม่สมบูรณ์ เพราะธุรกิจต่างๆพัฒนาไปสู่ระบบอัตโนมัติได้ไม่เท่าเทียมกัน • มีการวิเคราะห์กันว่าแนวโน้มความเป็นไปได้ของสำนักงานอัตโนมัติในเมืองไทยนั้นคงใช้เวลาอีกไม่นาน เพราะการพัฒนาระบบการบิหารสมัยใหม่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ผู้บริหารจะถูกกดดันจากการทำงานสูงขึ้น ต้องทำงานแข่งกันทั้งเวลา สภาพเศรษฐกิจ สภาวการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ระบบสำนักงานอัตโนมัติมีแนวโน้มที่จะเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานในองค์กรต่อไปในอนาคต
ลักษณะของสำนักงานอัตโนมัติในอนาคตลักษณะของสำนักงานอัตโนมัติในอนาคต • มีการใช้เครื่องใช้สำนักงานที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าในอดีต • แนวโน้มสำนักงานในอนาคต จะมีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คล้ายกับปัจจุบัน แต่จะมีความสะดวกและคล่องตัวในการใช้งานมากกว่า • มีการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเครื่องใช้อย่างครบวงจร • ยิ่งมีการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มากเท่าไร การใช้บุคลากรในการปฏิบัติงานจะน้อยลงเท่านั้น • อัตราการใช้กระดาษในงานสำนักงานลดลง • ช่วยในการประหยัดพลังงานและช่วยลดภาวะโลกร้อน
ลักษณะของสำนักงานอัตโนมัติในอนาคต (ต่อ) • มีความสามารถในการค้นหาข้อมูลและเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ • ข้อมูลที่อยู่ในระบบจะไม่ซ้ำซ้อนและมีความสะดวกในการค้นหา • การออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อง่ายต่อการตัดสินใจในเรื่องการบริหารจัดการ • บุคลากรขององค์กรสามารถนั่งทำงานที่บ้านได้ โดยใช้คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายติดต่อกับระบบในสำนักงาน • สามารถลดต้นทุนที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานได้หลายประการ
การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานในสำนักงานอัตโนมัติการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานในสำนักงานอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงการทำงานสำหรับพนักงานในสำนักงานอัตโนมัติเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น • เกิดงานใหม่จากงานเดิมที่เคยปฏิบัติ หรือการลดงานหรือขจัดตำแหน่งบางอย่างออกไป • พนักงานสามารถกระทำงานได้ในระดับที่สูงขึ้น เช่น สามารถอนุมัติ ตัดสินใจแทนระดับผู้บริหารได้ในบางกรณี เนื่องจากมีข้อมูลพร้อมในการตัดสินใจ • มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทรงประสิทธิภาพหลายประการ เช่น การจัดเก็บเอกสารลงในฐานข้อมูล การใช้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกลหรือการประชุมทางจอคอมพิวเตอร์
การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานในสำนักงานอัตโนมัติ(ต่อ)การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานในสำนักงานอัตโนมัติ(ต่อ) • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่งานจัดทำเอกสาร • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดแก่งานจัดเวลานัดพบและจัดทำตารางเวลา • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดแก่งานจัดการข้อมูลและเอกสาร • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่งานติดต่อสื่อสาร • การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่การติดตามงาน
1. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่งานจัดทำเอกสาร • การใช้เครื่องพิมพ์ดีด ต้องมีความสามารถอย่างน้อย 2 ประการ คือ พิมพ์ได้ด้วยความแม่นยำและด้วยความเร็วที่พอสมควร และต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาและคำศัพท์ด้วย • ปัจจุบัน ระบบประมวลผลคำสามารถอำนวยความสะดวกแทบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานพิมพ์ เช่น • สามารถแก้ไขส่วนหนึ่งส่วนใดของเอกสารโดยไม่ต้องมีรอยแก้หรือไม่ต้องพิมพ์ซ้ำ • สามารถตรวจสอบคำสะกด เมื่อพบที่ผิดก็สามารถแสดงคำสะกดที่ถูกต้องได้ • พนักงานในสำนักงานอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องเก่งเรื่องคำศัพท์ และไม่ต้องพิมพ์ด้วยความเร็วอีกต่อไป แต่ต้องเก่งเรื่องการคิดเรื่องการจัดรูปแบบของเอกสารตลอดจนมีความชำนาญในด้านการใช้ถ้อยคำสำนวน
2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดแก่งานจัดเวลานัดพบและจัดทำตารางเวลา • ระบบเดิม งานจัดเวลานัดพบและจัดทำตารางเวลาเป็นเรื่องความจำ จดรายการนัดหมายหรือกิจกรรมที่ต้องทำไว้ในสมุดบันทึก เพื่อใช้เป็นสิ่งเตือนความจำ • เมื่อมีการนัดประชุมที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก เวลาว่างของแต่ละคนมักว่างไม่ตรงกัน ผู้ที่รับผิดชอบต่อการนัดหมายจะต้องจัดเวลาที่ลงตัวพอดีสำหรับทุกคนซึ่งต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก
2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดแก่งานจัดเวลานัดพบและจัดทำตารางเวลา • ระบบงานอัตโนมัติในปัจจุบัน สามารถบันทึกตารางนัดหมายของคนที่เกี่ยวข้องกันไว้ในโปรแกรม และจัดเวลาที่เหมาะสมสำหรับผู้ร่วมประชุมที่เกี่ยวข้องทุกคนได้อย่างรวดเร็ว และอาศัยระบบสื่อสารข้อมูลภายในสำนักงานแจ้งต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ • ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองตรวจสอบตารางนัดหมายในแต่ละวันได้ และมีการแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาที่นัดหมาย
3. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดแก่งานจัดการข้อมูลและเอกสาร • ข้อมูลและเอกสารจะถูกเก็บไว้ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำกลับมาใช้ได้โดยสะดวก และสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และทำรายงานในรูปแบบต่างๆกัน • พนักงานต้องเรียนรู้เทคนิคของระบบบริหารฐานข้อมูลและกระดาษอิเล็กทรอนิกส์เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูล พร้อมทั้งจัดระบบรายงานผลในเชิงวิเคราะห์ หรือการประมวลผลข้อมูลแบบไร้กระดาษ (paperless)
4. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่งานติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์กรหรือกับบุคคลภายนอก ระบบสำนักงานอัตโนมัติมีสมรรถภาพในการทำงานดังนี้ • สามารถสื่อสารกันโดยเสียงพูดและรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบสื่อสารข้อมูลได้ • สามารถสื่อสารด้วยระบบบันทึกแล้วส่งต่อ ผู้รับไม่จำเป็นต้องอยู่รับข้อมูลในขณะที่ผู้ส่งต้องการส่งข้อมูลหรือต้องการติดต่อด้วย • สามารถจัดเวลาการทำงานที่ต้องการติดต่อกับผู้อื่นได้ล่วงหน้าพร้อมทั้งบันทึกเรื่องที่ต้องการติดต่อด้วย เมื่อถึงเวลาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะช่วยติดตามและช่วยติดต่อให้โดยอัตโนมัติ
5. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่การติดตามงาน • การติดตามงานส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการอาศัยความจำในเรื่องที่ต้องการติดตามงานและให้มีการเตือนความจำเมื่อถึงเวลา หรือให้สามารถค้นหาเรื่องที่ต้องการติดตามได้โดยง่าย • ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยทำงานด้านนี้โดยตรง วิธีการคือพิมพ์ข้อความสั้นๆ เกี่ยวกับงานที่ต้องการติดตามไว้ในคอมพิวเตอร์ และสั่งให้คอมพิวเตอร์เตือนความจำเมื่อถึงเวลา และอาจทำกันเป็นรายวันด้วยการสรุปเรื่องที่ต้องการให้ติดตามเป็นรายวัน หรือค้นหาเรื่องที่ยังคั่งค้างอยู่
การแบ่งระดับสำนักงานในอนาคตการแบ่งระดับสำนักงานในอนาคต • สำนักงานในอนาคตระดับแรก • สำนักงานในอนาคตระดับที่สองหรือระดับกลาง • สำนักงานอัตโนมัติระดับที่สามหรือระดับสูงสุด
1. สำนักงานในอนาคตระดับแรก เริ่มนำเอาคอมพิวเตอร์ในสำนักงานมาใช้แล้ว ซึ่งอาจเป็นเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ โน้ตบุ้ค • งานพิมพ์เอกสาร งานด้านการประมวลผลคำ และระบบการพิมพ์ตั้งโต๊ะ เป็นเหตุผลใหญ่ในการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ ทดแทนพิมพ์ดีด หรือแท่นเรียงพิมพ์ ลักษณะการทำงานยังต้องพึ่งพาอาศัยกระดาษอยู่มาก เพราะต้องแจกจ่ายภายในสำนักงาน หรือเผยแพร่ไปยังภายนอก • งานเก็บข้อมูล เช่นข้อมูลการขาย ประวัติพนักงาน สถิติการทำงาน หรือยอดสินค้า เมื่อต้องการทราบข้อมูลใดก็สามารถเรียกมาดูที่หน้าจอ หรือสั่งพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารอ้างอิงได้ • คอมพิวเตอร์มักทำงานแบบอิสระ ไม่มีการเชื่อมต่อ ระบบการสื่อสารข้อมูลเป็นแบบ sneaker net
2. สำนักงานในอนาคตระดับที่สองหรือระดับกลาง • เริ่มก้าวสู่ความเป็นสำนักงานอัตโนมัติที่ไร้กระดาษมากขึ้น • มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงานเข้าด้วยกันเป็นระบบออนไลน์ ซึ่งสามารถขจัดขั้นตอนการใช้แบบฟอร์ม จดหมาย บันทึก • มีความสามารถส่งข้อความถึงกันได้ทันที • มีความสามารถในการส่งถ่ายเอกสารโดยไม่ต้องพิมพ์ออกมา
2. สำนักงานในอนาคตระดับที่สองหรือระดับกลาง • มีระบบแผงข่าว หรือศูนย์รวมข่าว หรือประชาสัมพันธ์ โดยมีการจัดหัวข้อไว้เป็นเรื่องๆ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านหัวข้อที่สนใจ • แฟกซ์ สามารถสงถ่ายข้อมูลโดยประหยัดเวลาและมีความแม่นยำสูง • Electronic Billboard ป้ายโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ที่มีตัวอักษรวิ่ง สามารถช่วยกระจายข่าวและลดจำนวนกระดาษลงได้
3. สำนักงานอัตโนมัติระดับที่สามหรือระดับสูงสุด • เป็นเทคโนโลยีสูงสุดของสำนักงานอัตโนมัติ มีการใช้กระดาษน้อยที่สุด • มีการเชื่อมต่อเครือข่ายในสำนักงานเข้ากับสำนักงานอื่นๆ หรือเครือข่ายอื่นๆ • ISDN (Integrated Services Digital Network) ให้บริการโทรศัพท์ปกติและบริการเพิ่มเติมแก่บริษัทที่เป็นลูกข่าย เช่น การส่งแฟกซ์ภาพนิ่ง หรือข้อมูลต่างๆผ่านเครือข่าย จัดการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ซึ่งแทบไม่มีกระดาษเกิดขึ้นเลย • สอดคล้องกับอาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Intelligent Building) ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเรื่องต่างๆในสำนักงาน
อาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Intelligent Building) • อาคารสำนักงานอัจฉริยะเป็นอาคารสำนักงานสมัยใหม่สำหรับปัจจุบันและอนาคต เพื่อความทันสมัยในการทำงานรูปแบบใหม่และสอดคล้องกับระบบสำนักงานอัตโนมัติ • อาคารอัจฉริยะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ความรวดเร็ว และความได้เปรียบคู่แข่งขัน
อาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Intelligent Building) (ต่อ) • อาคารอัจฉริยะเป็นแนวคิด เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเน้นถึงการใช้เนื้อที่ของอาคารให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในสำนักงาน • ประเทศแถบทวีปยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นได้นำแนวความคิดนี้ไปปรับปรุงใช้งาน โดยนำเอาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดไปใช้ในอาคาร หรือที่เรียกว่าระบบไฮเทค
อาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Intelligent Building) (ต่อ) • การออกแบบอาคารในปัจจุบันส่วนใหญ่ คำนึงถึงการใช้สอยในปัจจุบันและอนาคต พร้อมทั้งออกแบบระบบต่างๆให้ตรงตามความต้องการของเจ้าของอาคารในการทำธุรกิจนั้นๆ • การออกแบบอาคารอัจฉริยะ พิจารณาถึงงานระบบต่างๆที่ง่ายต่อการปรับปรุง และเพิ่มเติมให้ทันสมัย หรือใช้งานได้ในอนาคต พร้องทั้งพิจารณาถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในอาคารได้ทั้งหมด โดยเน้นการปรับปรุงและเพิ่มเติมเป็นหลัก เหมาะสมกับความต้องการใช้ในอนาคตโดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
อาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Intelligent Building) (ต่อ) อาคารอัจฉริยะมีระบบต่างๆเป็นส่วนประกอบมากมาย โดยมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน • ระบบปรับอากาศ ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นโดยอัตโนมัติ • ระบบแสงสว่าง ปิด-เปิด หรือหรี่ไฟเป็นเวลา ระบบไฟสำรองฉุกเฉินกรณีไฟฟ้าดับ • ระบบตรวจสอบความปลอดภัย เช่น ตรวจจับระดับน้ำในถังน้ำใช้น้ำดื่ม ตรวจจับน้ำใต้พื้น ป้องกันน้ำรั่วไหล ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ระบบตรวจจับการบุกรุก • ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบดับเพลิง • ระบบประหยัดพลังงาน • ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
อาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Intelligent Building) (ต่อ) การจัดระดับของอาคารอัจฉริยะ • ระดับ 0 เป็นอาคารธุรกิจที่มีระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ โดยมีการควบคุม ระบบต่างๆไม่มากนัก แต่ละระบบทำงานเป็นอิสระแยกจากกัน • ระดับ 1 จัดเป็นอาคารอัจฉริยะระดับเล็กที่สุด มีระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติโดยมีการควบคุมระบบต่างๆไม่มากนัก มีการต่อรวมกับระบบอื่นๆอย่างง่ายๆ และมีการใช้ระบบแลนเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าด้วยกัน
อาคารสำนักงานอัจฉริยะ (Intelligent Building) (ต่อ) • ระดับ 2 เป็นอาคารอัจฉริยะระดับกลาง มีระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติและต่อรวมกับระบบอื่นๆอย่างแท้จริง ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมทั้งมีระบบแลนใช้เชื่อมต่อกับระบบสำนักงานอัตโนมัติ • ระดับ 3 เป็นอาคารอัจฉริยะสูงสุด มีการต่อรวมระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ระบบโทรคมนาคมเข้าด้วยกันทั้งหมด
สำนักงานในบ้าน (Home Office) • แนวโน้มในอนาคตสำหรับการทำงานโดยไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงาน เกิดขึ้นในหลายๆประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือกำลังพัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา • จากการวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าสำนักงานหลายแห่งนิยมจัดสำนักงานในบ้าน โดย • ร้อยละ 25 ทำงานเต็มเวลาที่บ้าน ลักษณะงานที่ทำแตกต่างกันไป เช่น นักเขียน นักออกแบบ นักประพันธ์ นักวิชาการ หรือผู้บริหาร • ร้อยละ 14 ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีระบบแลนต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายภายในบ้าน • ในหมู่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 1 ใน 10 คน มีโฮมเพจบนเว็บเป็นของตนเอง และ 2 ใน 5 มีแผนการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์
สำนักงานในบ้าน (Home Office) (ต่อ) ปัจจัยที่สนับสนุน • จะต้องมีความพร้อมในเรื่องของเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้แก่ โทรศัพท์ เครื่องตอบรับโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ที่มีโมเด็ม พรินเตอร์ เครื่องแฟกซ์ เป็นต้น • ลักษณะงานที่ทำ ต้องเป็นงานที่ไม่ต้องติดต่อ พบปะกับผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา เช่น นักวิชาการ นักเขียน ผลิตหนังสือ งานพาณิชย์ศิลป์ งานเขียน งานแปลต่างๆ งานโฆษณา งานวิจัย หรืออาจจะเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัว เจ้าของธุรกิจขายส่ง ที่ปรึกษากฎหมาย ธุรกิจทางบัญชีภาษีอากร เป็นต้น
สำนักงานในบ้าน (Home Office) (ต่อ) ปัจจัยที่สนับสนุน • ต้องได้รับการยอมรับจากหน่วยงานและเพื่อนร่วมงาน ด้วยการพิสูจน์ตนเองแล้วว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าของหน่วยงาน จนทำให้ทุกคนในหน่วยงานยอมรับได้ • มีความสามารถเป็นที่ปรากฏ ได้รับความเชื่อถือไว้วางใจในผลงาน และสามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา • มีฐานลูกค้าที่มั่นคง มีการสั่งสมสายสัมพันธ์มากพอ
สำนักงานในบ้าน (Home Office) (ต่อ) ปัจจัยข้อจำกัด • ขาดสังคมระหว่างเพื่อนร่วมงาน ไม่มีการ่วมทุกข์ร่วมทุกข์ระหว่างการทำงานร่วมกัน • ไม่มีผู้บังคับบัญชาคอยตรวจสอบการทำงาน ดังนั้นการทำงานต้องมีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ • ไม่มีแรงกดดันจากกฎเกณฑ์ ข้อระเบียบต่างๆที่ต้องถือปฏิบัติ วัดฝีมือจากผลงาน
สำนักงานในบ้าน (Home Office) (ต่อ) ประโยชน์ของการทำงานในสำนักงานที่บ้าน • ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายของสำนักงานได้หลายอย่าง เช่น ต้นทุนของเนื้อที่สำนักงานที่มีราคาสูง เมื่อพนักงานทำงานที่บ้าน สำนักงานก็ไม่ต้องมีขนาดใหญ่โตโดยไม่จำเป็น นอกจากนั้นยังช่วยลดต้นทุนในการซื้อเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน เครื่องมือเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น • ตัวพนักงานเอง ลดต้นทุนเรื่องค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวไปทำงาน ค่าน้ำมัน ค่าเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และอื่นๆอีกมากมาย • ผู้บริหาร สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องเข้าสำนักงาน ทำให้สามารถทำงานที่บ้าน หรือทำงานควบคู่ไปกับการทำธุระนอกบ้านได้